สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)
‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย
แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?
จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า
ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง
ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)
จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย
ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น
ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’
แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน
ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
http://economy.guoxue.com/?p=888
#ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)
‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย
แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?
จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า
ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง
ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)
จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย
ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น
ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’
แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน
ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
http://economy.guoxue.com/?p=888
#ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
สี่อาชีพในสังคมจีนโบราณ
ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> จะยังจำได้ไหมว่าในตอนต้นเรื่องนั้น จางผิงผู้เป็นบัณฑิตตกยากออกมาขายของกินยามค่ำคืนกับเพื่อนซี้ เขาโดนคนที่เดินผ่านมาถากถางว่าเป็นบัณฑิตแต่กลับไม่รักดีมาขายของโดยสาธยายว่า “ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด” (士农工商 商为最贱)
‘บัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้า’ หรือที่เรียกว่า ‘ซื่อหนงกงซัง” (士农工商) นั้น เป็นสี่หมวดอาชีพในสังคมจีนโบราณโดยในประโยคที่ยกมาจากในละครข้างต้นได้จัดเรียงลำดับชนชั้นจากความสูงส่งไปจนต่ำต้อย
แล้วในสมัยจีนโบราณอาชีพพ่อค้าต่ำต้อยที่สุดจริงหรือ?
จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ แรกเริ่มเลยในสมัยราชวงศ์ซาง (1600-1050 ก่อนคริสตกาล) การเป็นพ่อค้าเป็นอาชีพที่คนชอบ ทำให้มีเกษตรกรน้อย ต่อมาในราชวงศ์ถัดๆ ไปจึงถูกมองว่านั่นทำให้รากฐานสังคมไม่แข็งแรงและเป็นหนึ่งในสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ซาง ในสมัยราชวงศ์โจวจึงมีการสนับสนุนให้ประชาชนทำการเกษตรมากกว่าการค้า
ในยุคสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อนคริสตกาล) สี่หมวดอาชีพ ‘ซื่อหนงกงซัง’ นี้ถูกรวมกันเป็น ‘ซื่อหมิน’ (四民 แปลตรงตัวว่า ‘สี่ประชาชน’ หมายถึงสี่อาชีพ) ในบันทึกสั้นโบราณว่าด้วยปรัชญาการปกครองที่มีชื่อเรียกว่า ‘เสี่ยวควง’ ของก่วนจ้ง อัครมหาเสนาบดีของแคว้นฉีในยุคสมัยชุนชิว ซึ่งต่อมาถูกผนวกรวมเข้าไปไว้ในหมวดที่สามของประมวลสาส์นสี่พระคลัง (四库全书 / ซื่อคู่เฉวียนซู) ที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง
ก่วนจ้งเองมาจากครอบครัวพ่อค้า เขามองอาชีพพ่อค้าเป็นอาชีพเท่าเทียมกับอาชีพอื่น ข้อความเดิมของเขาระบุไว้ว่า ‘ซื่อหนงกงซังสี่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นศิลารากฐานแห่งประเทศชาติ’ โดยมีนัยว่าสังคมจะขาดหนึ่งกลุ่มอาชีพใดไม่ได้ และก่วนจ้งไม่ได้มีการจัดแบ่งชนชั้นต่ำสูง แต่ให้แง่คิดสำหรับระบบการปกครองว่าควรจัดสรรที่ดินทำกินและเขตพำนักให้เหมาะสมกับกลุ่มอาชีพ เพราะแต่ละกลุ่มจะมีความสันทัดและมีรูปแบบชีวิตของตน และหากคนในวิชาชีพเดียวกันได้อยู่ด้วยกันจะสืบทอดและพัฒนาความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังเอื้อต่อการปกครอง (หมายเหตุ ‘ซื่อ’ ไม่เพียงหมายถึงบัณฑิต หากแต่หมายรวมถึงผู้มีการศึกษาสามารถดูแลปกครองผู้อื่นได้ และหมายรวมถึงผู้ที่เข้ารับราชการด้วย)
จะเห็นได้ว่า แรกเริ่มเลย ‘สี่ประชาชน’ นั้นเป็นการวางระบบการปกครองตามหมวดหมู่วิชาชีพโดยมองทุกกลุ่มชนเท่าเทียมกัน แต่ผลที่ตามมาก็คือ เกษตรกรเกิดในครอบครัวเกษตรกร คนมีการศึกษาเกิดในตระกูลคนมีการศึกษาด้วยกัน พอผ่านไปหลายชั่วคน ประชาชนจะถูกจำกัดให้อยู่ภายในกลุ่มหมวดอาชีพของตนโดยปริยาย
ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรัชญาขงจื๊อได้รับการยกย่องและยอมรับอย่างแพร่หลายและมีอิทธิพลอย่างมากต่อการปกครองบ้านเมือง ผลที่ตามมาคือการยกระดับกลุ่มคนมีการศึกษาขึ้นสูงเหนือกลุ่มอื่น และเริ่มมีการมองอย่างดูแคลนว่าพ่อค้าเอาผลประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งมากกว่าความเจริญของส่วนรวม นี่ไม่ใช่คำสอนของขงจื๊อ แต่เป็นวิวัฒนาการทางความคิดของสังคมที่ไปในทิศทางนั้น
ในตำราประวัติศาสตร์สมัยถังต้น (旧唐书¬) มีการบันทึกไว้ว่า ‘ผู้ที่รับเบี้ยหวัดราชการ ห้ามแก่งแย่งผลประโยชน์จากผู้ที่ต่ำกว่า ช่างและพ่อค้าหลากประเภท ห้ามมิให้เข้ารับราชการ’ (食禄之家,不得与下人争利。工商杂类,不得预于士伍。) เป็นที่สังเกตได้ว่ามีการใช้คำ ‘ผู้ที่ต่ำกว่า’ และ ‘หลากประเภท’ ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งแยกต่ำและสูง (หมายเหตุ ‘หลากประเภท’ ในที่นี้เป็นคำเรียกที่สะท้อนความหมายถึงชนชั้นต่ำ) และในสมัยถังไท่จงมีกฎว่า ห้ามไม่ให้ขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปทำการค้า วัตถุประสงค์ของกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นการจัดระเบียบสังคมและป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างไรก็ดี มันเสริมสร้างการแบ่งแยกทางชนชั้นด้วยอาชีพ สุดท้ายกลายเป็นการตอกย้ำความเชื่อของสังคมที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’
แต่ความคิดนี้เริ่มเปลี่ยนไปในช่วงกลางและปลายของสมัยถัง และได้มีการผ่อนคลายกฏเกณฑ์บางอย่าง การเปลี่ยนแปลงนี้ค่อยๆ มีอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในสมัยซ่ง การค้าเจริญรุ่งเรือง เกิดการคบค้าสมาคมกันอย่างกว้างขวางข้ามกลุ่มอาชีพ และพ่อค้ากลับกลายมาเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของสังคม โดยมีบทบาทเข้ามาช่วยเหลือจุนเจือสังคมมากขึ้น จะเห็นได้ว่า บทบาทและสถานะทางสังคมของอาชีพต่างๆ แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของวิวัฒนาการต่างๆ ทางด้านการปกครองและเศรษฐกิจเพราะเป็นสองศาสตร์วิชาที่ทั้งกว้างทั้งลึก วันนี้จึงเพียงคุยโดยคร่าวให้เพื่อนเพจฟังในแง่ที่ว่า สี่หมวดหมู่อาชีพนี้ เป็นการจัดหมวดหมู่เพื่อการปกครองมาแต่โบราณกาลและเดิมไม่ได้เป็นการตั้งใจแบ่งชนชั้นวรรณะตามอาชีพ เพียงแต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มุมมองก็เปลี่ยนไปจนเกิดเป็นการแบ่งแยกให้ชนชั้นที่มีการศึกษาเป็นชั้นสูงและให้พ่อค้าเป็นชนชั้นล่างสุด แต่นี่ไม่ใช่สถานะที่ถาวร หากแต่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน
ละครเรื่อง <ยอดบุรุษพลิกคดี> เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเครื่องแบบข้าราชการแล้วเป็นการอิงตามสมัยถัง จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นวลีที่ว่า ‘ในบรรดาบัณฑิต เกษตรกร ช่าง และพ่อค้านั้น พ่อค้าคือต่ำต้อยสุด’ นี้ในละครเรื่องนี้
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.themoviedb.org/tv/128712/images/posters?language=zh-HK
https://zhuanlan.zhihu.com/p/531009133
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://ctext.org/guanzi/xiao-kuang/zhs
http://www.qulishi.com/article/201909/363094.html
https://www.163.com/dy/article/FLEULDGE0543KAMS.html
https://www.sxlib.org.cn/dfzy/sczl/wwgjp/qb/201808/t20180806_929973.html
http://www.rmlt.com.cn/2018/1116/533321.shtml
http://www.jjckb.cn/2016-12/05/c_135881236.htm#
http://economy.guoxue.com/?p=888
#ยอดบุรุษพลิกคดี #สี่อาชีพจีนโบราณ #ซี่อหนงกงซัง #ซื่อหมิน #สี่ประชาชน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
139 มุมมอง
0 รีวิว