• อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ

    การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้

    นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น

    นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568

    รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด

    #Newskit
    อันวาร์ตั้งทักษิณ ฝ่าด่านออกนอกประเทศ การประกาศแต่งตั้งนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียน ของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ในฐานะประธานอาเซียนในปี 2568 ระหว่างการเยือนประเทศมาเลเซียอย่างเป็นทางการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายอันวาร์มั่นใจว่าประสบการณ์นายทักษิณในฐานะนักการเมืองจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า พร้อมกับทีมงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมาเลเซียต้องการประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญการเมือง (Statesmen) เหล่านี้ นายโมฮัมหมัด ฮะซัน รมว.ต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า นายทักษิณจะมีบทบาทในฐานะที่ปรึกษาอย่างไม่เป็นทางการ เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลในประเทศไทย ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจีน ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอาเซียน นายทักษิณและบุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆ ที่จะประกาศแต่งตั้งในภายหลังร่วมงานกับนายอันวาร์มายาวนาน สามารถเสนอข้อมูลเชิงลึกว่าอาเซียนจะก้าวต่อไปได้อย่างไร ยืนยันว่าไม่ใช่คณะที่ปรึกษาอาเซียน แต่เป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียน และไม่ใช่องค์กรอย่างเป็นทางการหรือหน่วยงานใหม่ในอาเซียน เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 ศาลอาญาให้ปล่อยตัวชั่วคราวนายทักษิณ ในคดีมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จากกรณีให้สัมภาษณ์สื่อเกาหลีใต้เมื่อปี 2558 ตีราคาประกัน 500,000 บาท และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล นายทักษิณเคยขอเดินทางออกนอกประเทศเพื่อไปพบแพทย์ที่ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไปพบบุคคลสำคัญ แต่ศาลอาญายกคำร้องไม่อนุญาต เพราะอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดแก่บุคคลทั่วไป และแพทย์ในประเทศตรวจรักษาเป็นประจำอยู่แล้ว ส่วนการไปพบบุคคลสำคัญก็เป็นเรื่องส่วนตัว และไม่มีพยานหลักฐานยืนยันชัดแจ้งถึงความจำเป็น นายทักษิณอาจใช้การเป็นที่ปรึกษาประธานอาเซียนของนายอันวาร์ เพื่อขอเดินทางออกนอกประเทศก็เป็นได้ ซึ่งคดีมาตรา 112 ศาลกำหนดนัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในช่วงเดือน ก.ค. 2568 รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง เห็นว่าการที่นายอันวาร์แต่งตั้งนายทักษิณ ช่วยอุดช่องว่างเรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันขาดความรู้ความชำนาญในเรื่องมาเลเซีย เพราะ น.ส.แพทองธาร ไม่มีความพร้อมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ก็เป็นดาบสองคม หากใช้ไม่ระวัง ไม่มีความชัดเจนและโปร่งใส เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศในแนวทางที่ถูกต้อง อาจกระทบต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และคนไทยโดยรวมได้ในที่สุด #Newskit
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 579 มุมมอง 0 รีวิว
  • บึ้มขวางกวนอิมเทพา ทำลายพหุวัฒนธรรม

    6 โมงเช้า วันที่ 20 พ.ย. คนร้ายลอบวางระเบิดใส่แคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม บ้านปากบางสะกอม หมู่ 1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ต่อมาเวลา 10.30 น และ 10.40 น. เกิดระเบิดลูกที่ 3 และลูกที่4 บริเวณเส้นทางเข้าที่เกิดเหตุห่างจากที่เกิดเหตุจุดแรกประมาณ 400 เมตร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบจดหมายพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นภาษาไทยและเมียนมา ระบุว่า "ถ้าใครที่ทำงานในโครงการนี้ที่นี่และในสามจังหวัดชายแดนใต้ เราขอเตือนจงหยุด ไม่งั้นเราจะไม่รับรองชีวิตของท่าน"

    พ.อ.ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. แถลงว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุพยายามทำลายรูปเคารพทางศาสนา ซึ่งเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของความเป็นพหุวัฒนธรรม พยายามสร้างสังคมเชิงเดี่ยวที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและหลักของศาสนาอันดีงาม เชื่อว่าพยายามหยิบความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นปัญหาขัดแย้งในพื้นที่ แต่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แกนนำคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อ้างว่าไม่ใช่การวางระเบิดแบบปกติ ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่พยายามคัดค้านการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เพราะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิคมฯ แต่ก็แผ่วลง และเห็นว่าเป็นสิทธิ์ของนายทุน กระทั่งเริ่มลงเสาขนาดใหญ่ในพื้นที่

    เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และครอบครัว ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกเจดีย์สัมฤทธิ์ผลคุ้มลูกกันภัย ณ สถานที่ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เมื่อวันที่ 14 พ.ย. หรือ 6 วันก่อนเกิดเหตุ โดยมี พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย และได้เชิญพระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส แสดงธรรมเทศนา โดยยืนยันว่าจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ เพราะบรรยากาศโดยรอบสวยงามตามธรรมชาติ หาดสวย ทะเลน้ำใส มีเสน่ห์เฉพาะตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ

    สำหรับโครงการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 โดยบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดิน 65 ไร่ เพื่อก่อสร้าง เช่นเดียวกับเจ้าแม่กวนอิมในต่างประเทศ แต่ต่อมาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลานำชาวมุสลิมกว่า 4,000 คน ละหมาดฮายัตเพื่อคัดค้านการก่อสร้าง อ้างว่ามีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะอยู่เบื้องหลัง และอ้างว่าล้อมรอบด้วยชุมชนชาวมุสลิม ทั้งที่ความจริงที่ดินอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ต สวนยางพารา และสวนมะพร้าวเท่านั้น

    #Newskit #เจ้าแม่กวนอิม #เทพา
    บึ้มขวางกวนอิมเทพา ทำลายพหุวัฒนธรรม 6 โมงเช้า วันที่ 20 พ.ย. คนร้ายลอบวางระเบิดใส่แคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม บ้านปากบางสะกอม หมู่ 1 ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 ราย ต่อมาเวลา 10.30 น และ 10.40 น. เกิดระเบิดลูกที่ 3 และลูกที่4 บริเวณเส้นทางเข้าที่เกิดเหตุห่างจากที่เกิดเหตุจุดแรกประมาณ 400 เมตร แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุ พบจดหมายพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์เป็นภาษาไทยและเมียนมา ระบุว่า "ถ้าใครที่ทำงานในโครงการนี้ที่นี่และในสามจังหวัดชายแดนใต้ เราขอเตือนจงหยุด ไม่งั้นเราจะไม่รับรองชีวิตของท่าน" พ.อ.ปองพล สุทธิเบญจกุล รองโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 สน. แถลงว่า กลุ่มผู้ก่อเหตุพยายามทำลายรูปเคารพทางศาสนา ซึ่งเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของความเป็นพหุวัฒนธรรม พยายามสร้างสังคมเชิงเดี่ยวที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและหลักของศาสนาอันดีงาม เชื่อว่าพยายามหยิบความขัดแย้งทางศาสนามาเป็นปัญหาขัดแย้งในพื้นที่ แต่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลสะบ้าย้อย แกนนำคัดค้านนิคมอุตสาหกรรมจะนะ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส อ้างว่าไม่ใช่การวางระเบิดแบบปกติ ที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่พยายามคัดค้านการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เพราะมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของนิคมฯ แต่ก็แผ่วลง และเห็นว่าเป็นสิทธิ์ของนายทุน กระทั่งเริ่มลงเสาขนาดใหญ่ในพื้นที่ เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และครอบครัว ได้จัดพิธีพุทธาภิเษกเจดีย์สัมฤทธิ์ผลคุ้มลูกกันภัย ณ สถานที่ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เมื่อวันที่ 14 พ.ย. หรือ 6 วันก่อนเกิดเหตุ โดยมี พล.อ.มณี จันทร์ทิพย์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล ที่ปรึกษา กอ.รมน.ภาค 4 และนายนิพนธ์ บุญญามณี อดีต รมช.มหาดไทย และได้เชิญพระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส แสดงธรรมเทศนา โดยยืนยันว่าจะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ เพราะบรรยากาศโดยรอบสวยงามตามธรรมชาติ หาดสวย ทะเลน้ำใส มีเสน่ห์เฉพาะตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ สำหรับโครงการก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 โดยบริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ได้ซื้อที่ดิน 65 ไร่ เพื่อก่อสร้าง เช่นเดียวกับเจ้าแม่กวนอิมในต่างประเทศ แต่ต่อมาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลานำชาวมุสลิมกว่า 4,000 คน ละหมาดฮายัตเพื่อคัดค้านการก่อสร้าง อ้างว่ามีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะอยู่เบื้องหลัง และอ้างว่าล้อมรอบด้วยชุมชนชาวมุสลิม ทั้งที่ความจริงที่ดินอยู่ห่างไกลจากชุมชนมาก ส่วนใหญ่เป็นรีสอร์ต สวนยางพารา และสวนมะพร้าวเท่านั้น #Newskit #เจ้าแม่กวนอิม #เทพา
    Like
    Sad
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1042 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 770 มุมมอง 0 รีวิว
  • "โรม" หวังปาฏิหาริย์ คดีตากใบ 25/10/67 #คดีตากใบ #รังสิมันต์ โรม #พรรคประชาชน #สามจังหวัดชายแดน
    "โรม" หวังปาฏิหาริย์ คดีตากใบ 25/10/67 #คดีตากใบ #รังสิมันต์ โรม #พรรคประชาชน #สามจังหวัดชายแดน
    Like
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2066 มุมมอง 496 0 รีวิว
  • คดีตากใบ เกิดรุ่นพ่อ จ่ายรุ่นอา อวสานรุ่นลูก

    25 ต.ค. 2567 เป็นวันสุดท้ายที่คดีสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส หากไม่สามารถนำตัวจำเลยขึ้นสู่ศาลจังหวัดนราธิวาส จะหมดอายุความ 20 ปี ในคดีที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส.ก่อนหน้านี้

    ส่วนข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.ขยายอายุความ ในที่สุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในนามรัฐบาล แสดงความเสียใจและให้คำตอบว่าทำไม่ได้ เพราะถามกฤษฎีกาแล้วไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก

    นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น อ้างว่าเป็นไปตามหลักการ ไม่ถือว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ และกล่าวว่า "ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น" ต่อมาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป

    มีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ เพราะผู้ต้องหาทั้ง 7 คนอายุมาก 74-75 ปี บางคนสุขภาพไม่ดี คาดว่าต่อสู้คดียาวนานอย่างน้อย 5-10 ปี ประการต่อมา หากคดีตากใบเดินหน้าต่อ จะมีผลไปถึงการจ่ายเงินเยียวยาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี และคดีต้องถึงที่สุดเท่านั้น อาจมีนักร้องไปยื่นสอยรัฐมนตรีบางคน เช่น พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม หรือดำเนินคดีอาญา ครม.ยุคยิ่งลักษณ์

    นอกนั้นมองไปไกลว่า จำเลยอาจซัดทอดไปยังผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ซึ่งนายทักษิณเคยย้าย พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แทน

    #Newskit #คดีตากใบ
    คดีตากใบ เกิดรุ่นพ่อ จ่ายรุ่นอา อวสานรุ่นลูก 25 ต.ค. 2567 เป็นวันสุดท้ายที่คดีสลายการชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรตากใบ จังหวัดนราธิวาส หากไม่สามารถนำตัวจำเลยขึ้นสู่ศาลจังหวัดนราธิวาส จะหมดอายุความ 20 ปี ในคดีที่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 48 รายพร้อมญาติยื่นฟ้องด้วยเอง ศาลประทับรับฟ้องเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2567 และออกหมายจับผู้ต้องหา 7 คน พบว่าแต่ละคนหลบหนี โดยเฉพาะ พล.อ.พิศาล วัฒนวงษ์คีรี อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ที่ยื่นใบลาออกจาก สส.ก่อนหน้านี้ ส่วนข้อเสนอที่เรียกร้องให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.ขยายอายุความ ในที่สุด น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวในนามรัฐบาล แสดงความเสียใจและให้คำตอบว่าทำไม่ได้ เพราะถามกฤษฎีกาแล้วไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2547 ชาวบ้านกว่า 2,000 คน รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวมุสลิม 6 คน ที่ถูกควบคุมตัวโดยกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปล้นปืนและก่อความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสลายการชุมนุม ผู้ชุมนุมเสียชีวิตทันที 5 คน ที่เหลือนอนทับซ้อนกันในรถบรรทุกทหารไปยังค่ายอิงคยุทธบริหาร จ.ปัตตานี ห่างออกไป 150 กิโลเมตร มีผู้ชุมนุมขาดอากาศหายใจ เสียชีวิต 78 คน บาดเจ็บและพิการอีกมาก นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น อ้างว่าเป็นไปตามหลักการ ไม่ถือว่าเจ้าหน้าที่กระทำเกินกว่าเหตุ และกล่าวว่า "ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้ เพราะเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น" ต่อมาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นคณะกรรมการเยียวยาฯ และ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. จ่ายเงินเยียวยากว่า 641 ล้านบาท ผู้เสียชีวิตจ่ายรายละ 7.5 ล้านบาท ผู้บาดเจ็บ ผู้พิการได้รับลดหลั่นกันไป มีการวิเคราะห์กันว่า เหตุที่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ เพราะผู้ต้องหาทั้ง 7 คนอายุมาก 74-75 ปี บางคนสุขภาพไม่ดี คาดว่าต่อสู้คดียาวนานอย่างน้อย 5-10 ปี ประการต่อมา หากคดีตากใบเดินหน้าต่อ จะมีผลไปถึงการจ่ายเงินเยียวยาสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องผ่านมติคณะรัฐมนตรี และคดีต้องถึงที่สุดเท่านั้น อาจมีนักร้องไปยื่นสอยรัฐมนตรีบางคน เช่น พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม หรือดำเนินคดีอาญา ครม.ยุคยิ่งลักษณ์ นอกนั้นมองไปไกลว่า จำเลยอาจซัดทอดไปยังผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่า ซึ่งนายทักษิณเคยย้าย พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร ไปเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) แทน #Newskit #คดีตากใบ
    Like
    Haha
    Angry
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 866 มุมมอง 0 รีวิว