• สกุลถานไถ

    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน

    แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl)

    จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥)

    เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ

    ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง

    เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง

    ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา

    ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง)

    นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน

    ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm
    http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx
    http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm
    https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/

    #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    สกุลถานไถ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จันทราอัสดง> มาฝาก สืบเนื่องจากความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ เกี่ยวกับแซ่ ‘ถานไถ’ (澹台) ของพระเอกในเรื่อง เพราะ Storyฯ หูตาคับแคบไม่เคยผ่านตาผ่านหูแซ่นี้มาก่อน จึงไปทำการบ้านมา และพบว่าก็มีเรื่องราวให้อ่านเพลินได้เหมือนกัน แซ่ถานไถปรากฏเป็นลำดับที่ 421 ในบันทึก ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) ซึ่งจริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ เป็นหนึ่งในหนังสือเรียนของเด็กที่ Storyฯ เคยเล่าถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0s5Bpm8cCd2bAxRL1yW3RDTbdyco8ee6z5Jifnvg5R5k9waJpeWmyfo13f7ysJnyEl) จีนมีศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า ‘ซิ่งซื่อเสวีย’ (姓氏学) ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับที่มาของชื่อสกุล โดยศึกษาผ่านเอกสารจารึกทางประวัติศาสตร์ วรรณกรรมโบราณ ชื่อสถานที่โบราณ ฯลฯ เป็นองค์ประกอบ ภาษาอังกฤษเรียกศาสตร์นี้ว่า Anthroponymy ซึ่งเคยมีคนแปลไว้ว่า ‘มานุษยวิทยา’ แต่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจว่าคำแปลนี้ถูกต้องหรือไม่ หนึ่งในบันทึกที่รวบรวมการศึกษาดังกล่าวคือ ‘ซิ่งซื่อข่าวเลวี่ย’ (姓氏考略 / บทวิเคราะห์ชื่อสกุล) ที่จัดทำในสมัยราชวงศ์ชิงของเฉินถิงเหว่ย โดยมีกล่าวถึงที่มาของแซ่ถานไถนี้ว่า มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (ประมาณปี 770-403 ก่อนคริสตศักราช) ต้นตระกูลคือถานไถเมี่ยหมิง (澹台灭冥) เลยต้องมาคุยกันสักหน่อยเกี่ยวกับถานไถเมี่ยหมิง เขาเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์เอกของขงจื๊อ ไม่ปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับบุพการีและสกุลเดิมของเขา ทราบแต่ว่าชื่อเมี่ยหมิง นามรองคือจื๋ออวี่ เกิดเมื่อประมาณปี 512 ก่อนคริสตศักราชที่แคว้นหลู่ ด้วยภูมิลำเนาใกล้กับเขาถานไถ (ปัจจุบันคือมณฑลซานตง) จึงใช้ถานไถนี้เป็นแซ่ของตัวเอง เมี่ยหมิงเดิมเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย อายุอ่อนกว่าขงจื๊อ 39 ปี ดังนั้นในสมัยที่เขากราบเรียนกับขงจื๊อนั้น เป็นช่วงบั้นปลายชีวิตของขงจื๊อ เขาเป็นคนตรงไม่เห็นแก่สมบัติลาภยศ ไม่ใช้ทางลัดใฝ่หาความสำเร็จ เป็นคนใฝ่รู้ขยันศึกษา และในใจมีประชาชนเป็นที่ตั้ง ด้วยอุปนิสัยใจคออย่างนี้ เขาควรเป็นศิษย์รักของขงจื๊อ แต่... เขาหน้าตาอัปลักษณ์มาก จนบางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อไม่รับเขาเป็นศิษย์ เพราะมีอคติว่าหน้าตาอย่างนี้จะมีพรสวรรค์อะไรได้ เขาจึงต้องอาศัยการศึกษาอ่านตำราเอง บางข้อมูลบอกว่าขงจื๊อรับเขาเป็นศิษย์ แต่ไม่ค่อยดูดำดูดีเพราะไม่ปลื้มหน้าตาของเขา ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมี่ยหมิงศึกษาตำราและคำสอนของขงจื๊อด้วยตนเองจนแตกฉานแล้วออกเดินทางลงใต้ไปยังแคว้นอู๋จนสุดท้ายปักหลักอยู่แถบพื้นที่เจียงซู รับศิษย์กว่าสามร้อยคน ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ปรัชญาของขงจื๊อ ตลอดชีวิตที่เหลือของเขานั้น เขายกย่องนับถือขงจื๊อเป็นอาจารย์ และเขาได้รับการยกย่องนับถือมากมาย ทั้งด้วยการวางตนที่ดีและความรู้ที่ลึกล้ำ ชื่อเสียงของเขาร่ำลือไปไกลจนถึงหูของขงจื๊อ ขงจื๊อก็คิดได้ถึงความอคติของตนที่เคยมี จนถึงกับปรารภขึ้นอย่างละอายใจว่า “ข้าพเจ้ามองคนที่ภายนอก จึงมองจื๋ออวี่ผิดไป”... และว่ากันว่า นี่เป็นที่มาของคติสอนใจว่า ‘อย่ามองคนที่ภายนอก’ (人不可貌相 / เหรินปู้เข่อเม่าเซี่ยง) นับได้ว่าเมี่ยหมิงเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ลัทธิหรู และต่อมาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งใน 72 ศิษย์ของขงจื๊อที่สามารถศึกษาปรัชญาของขงจื๊อสำเร็จจนแตกฉาน ปัจจุบันยังมีคนใช้แซ่ถานไถนี้อยู่ และที่เพิ่มเติมคือได้มีการแตกสกุลออกมาเป็นแซ่ถาน และแซ่ไถด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2023-04/03/content_mObpd4cVLq.html https://www.newton.com.tw/wiki/澹臺滅明/14241 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/rw/kongzi/kz04.htm http://www.kongjia.org/web/xdrw/20160924/1107.html https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4FD56C8A9082CD0AF3.aspx http://www.qulishi.com/baijiaxing/421.htm https://baijiaxing.bmcx.com/dantai__baijiaxing/ #จันทราอัสดง #แซ่ถานไถ #ถานไถ #ถานไถเมี่ยหมิง #ขงจื๊อ #อย่ามองคนที่ภายนอก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 41 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว