เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
เวลาประหารยามอู่สามเค่อสวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับอีกเกร็ดเล็กๆ จาก เรื่อง <ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์>ในฉากที่เริ่มการสอบชิงเข้าเป็นศิษย์ของหลี่ฉางเซิงนั้น มีการโยนป้ายคำสั่งให้เริ่มแข่ง ทำให้เยี่ยติ่งจือถึงกับหลุดปากออกมาว่าได้อารมณ์เหมือนตอนลงทัณฑ์นักโทษยามอู่สามเค่อ เลยเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ของ Storyฯ ว่า ในหลายซีรีส์เรามักเห็นเขานั่งรอเวลาประหารนักโทษกัน มันมีความนัยอย่างไรหรือไม่? Storyฯ ไปทำการบ้านมาพบว่าในสมัยจีนโบราณมีหลักเกณฑ์การเลือกเวลาประหารนักโทษค่ะยามอู่สามเค่อคือกี่โมง? ยามอู่คือช่วงเวลาระหว่าง 11.00 – 12.59น. และหนึ่งเค่อคือระยะเวลาประมาณ 15 นาที ส่วนยามอู่ที่ถูกกล่าวถึงใน ‘ยามอู่สามเค่อ’นั้น เป็นที่ถกเถียงกันไม่น้อยว่าหมายถึง ‘เข้ายามอู่’ (คือ 11.00น.) หรือ ‘ยามอู่หลัก’ (12.00น.) แต่ด้วยความนัยของเวลาประหารนักโทษ หลายข้อมูลที่หาพบจึงกล่าวว่า ‘ยามอู่สามเค่อ’ ก็คือเวลา 11.45น. นั่นเอง ถามว่าทำไมต้องเลือกเวลานี้เพื่อทำการประหารนักโทษ? เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อเรื่องพลังแห่งหยางและดวงวิญญาณในวัฒนธรรมจีนโบราณมีความเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ และก่อนจะได้ไปเกิดใหม่วิญญาณอาจวนเวียนอยู่ใกล้สถานที่ตายหรือผู้ที่สังหารตนได้ และในส่วนนักโทษที่มีโทษหนักนั้น ก็จะมีความเชื่อว่าวิญญาณเหล่านั้นจะมีแรงอาฆาตสูง ดังนั้น การเลือกเวลาประหารควรเลือกเวลาที่มีพลังหยางสูงสุดเพื่อลดทอนพลังหยินและแรงอาฆาตของวิญญาณเหล่านี้ และเวลา 11.45น. นี้เป็นเวลาที่คนโบราณเชื่อว่าแสงแดดแรงสุด พลังหยางสูงสุด คนที่ถูกฆ่าในเวลานี้ดวงวิญญาณจะถูกทำลายสิ้นไม่สามารถไปเกิดใหม่ได้และแน่นอนว่าไม่สามารถมาวนเวียนก่อกวนความสงบสุขของใครได้ นับว่าเป็นการลงทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดแล้วแต่เวลาประหารนักโทษนี้ เดิมไม่ได้เลือกเวลา 11.45น. เสมอไป ในสมัยถังและซ่งนั้น เวลาประหารนักโทษคือเวลาตะวันคล้อยก่อนเลิกงานซึ่งก็คือช่วงยามเซิน (15.00-16.59น.) เป็นนัยว่าเพื่อส่งให้เขาเหล่านั้นไปยังปรโลกได้โดยเร็ว เว้นแต่นักโทษประหารที่ก่อคดีร้ายแรงมาก จึงจะเลือกเวลา 11.45น. เพื่อไม่ให้ได้ไปผุดไปเกิด แต่ต่อมาในช่วงปลายหมิงและชิงได้เปลี่ยนแนวปฏิบัติมาใช้เวลา 11.45น. สำหรับโทษประหารทุกคน บางคนวิเคราะห์เหตุผลว่า นอกจากความเชื่อเรื่องแรงอาฆาตของดวงวิญญาณแล้ว เวลาใกล้เที่ยงนี้ยังเป็นเวลาที่เรียกคนมาชมการประหารได้มาก ยิ่งส่งเสริมการ ‘เชือดไก่ให้ลิงดู’ เพื่อให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวต่อการถูกประหารจนไม่กล้าทำความผิดทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกวันที่จะทำการประหารนักโทษได้ ในแต่ละยุคสมัยยังมีการระบุว่าวันใดที่ห้ามทำการประหารนักโทษ อย่างเช่นในสมัยถัง ห้ามประหารนักโทษในวันขึ้น 1, 8, 14, 15 ค่ำของทุกเดือน ฯลฯ (ซึ่ง Storyฯ ก็ไม่ทราบความนัย) อีกทั้งไม่ให้ทำการประหารในยามฝนตกอีกด้วย ดังนั้น เอาจริงๆ แล้วในหนึ่งปีก็มีไม่กี่วันหรอกค่ะ ที่สามารถทำการประหารนักโทษได้ในไทยโบราณมีเลือกเวลาอย่างนี้ไหมคะ มีใครทราบบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20240724A06SDS00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.sohu.com/a/565335367_121249220 https://www.163.com/dy/article/J5AAPH670543LPNW.html https://www.sohu.com/a/820535074_121629584 https://www.zxls.com/Item/5992.aspx #ดรุณควบม้าขาวเมามายลมวสันต์ #ยามอู่สามเค่อ #เวลาประหารนักโทษ #สาระจีน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
338 มุมมอง
0 รีวิว