• รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม
    .
    มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด
    .
    ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม
    .
    สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด
    .
    ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง
    .
    เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง
    .
    ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม
    .
    อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม
    .
    นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย
    .
    ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย
    .
    ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย
    .
    จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน
    .
    ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน
    .
    ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539
    ..............
    Sondhi X
    รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม . มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด . ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม . สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย . ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด . ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง . เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง . ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม . อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม . นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย . ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย . ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย . จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน . ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน . ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539 .............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสายการบิน Aeroflot ประเทศรัสเซีย ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับชุดล้อ หลังบินออกจากภูเก็ต

    เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER ทะเบียน RA-73158 เที่ยวบิน SU 277 ของสายการบิน Aeroflot ของรัสเซีย ลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังบินขึ้นจากท่าอากาศยานภูเก็ต(HKT)เวลา 17.30 น.ไปยังท่าอากาศยานเชเรเมียตเยวา (SVO) กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย

    รายงานระบุว่า เที่ยวบินดังกล่าวเกิดปัญหาชุดล้อ Landing Gear ทำให้ต้องขอลงจอดฉุกเฉินโดยขับวนในทะเลอันดามัน และ อ่าวไทยเป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงเพื่อเผาน้ำมันเชื้อเพลิงทิ้งให้สามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย โดยทางกัปตันประสานขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ

    เที่ยวบิน SU 277 มีผู้โดยสารชาวรัสเซีย 327 คน , ชาวเบลารุส 3 คน , ชาวมาเลเซีย 3 คน , ชาวบริติช 1 คน และลูกเรือรัสเซียทั้งหมด 15 คน รวม 349 คน
    เครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสายการบิน Aeroflot ประเทศรัสเซีย ต้องลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับชุดล้อ หลังบินออกจากภูเก็ต เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER ทะเบียน RA-73158 เที่ยวบิน SU 277 ของสายการบิน Aeroflot ของรัสเซีย ลงจอดฉุกเฉินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังบินขึ้นจากท่าอากาศยานภูเก็ต(HKT)เวลา 17.30 น.ไปยังท่าอากาศยานเชเรเมียตเยวา (SVO) กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย รายงานระบุว่า เที่ยวบินดังกล่าวเกิดปัญหาชุดล้อ Landing Gear ทำให้ต้องขอลงจอดฉุกเฉินโดยขับวนในทะเลอันดามัน และ อ่าวไทยเป็นเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงเพื่อเผาน้ำมันเชื้อเพลิงทิ้งให้สามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัย โดยทางกัปตันประสานขอลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ เที่ยวบิน SU 277 มีผู้โดยสารชาวรัสเซีย 327 คน , ชาวเบลารุส 3 คน , ชาวมาเลเซีย 3 คน , ชาวบริติช 1 คน และลูกเรือรัสเซียทั้งหมด 15 คน รวม 349 คน
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 119 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER เกิดขัดข้อง บินวนอยู่เหนืออันดามัน แถวอ่าวไทย หลายชั่วโมง คาดนักบินต้องการบินเผาน้ำมันให้เครื่องน้ำหนักเบาลง เปลี่ยนเส้นทางไปจอดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเรียบร้อยแล้ว

    วันนี้ (10 ก.พ. 68) มีรายงานว่าเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER เที่ยวบิน SU277 บินออกจากภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคเกี่ยวกับอุปกรณ์ลงจอด

    โดยเครื่องบินได้บินวนอยู่เหนืออันดามันราว 3 ชั่วโมง และมาบินวนแถวอ่าวไทยระหว่างสนามบินชุมพรและสนามบินหัวหิน คาดว่านักบินต้องการบินเผาน้ำมันให้เครื่องน้ำหนักเบาลง แล้วจะเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ

    ล่าสุดเวลา 21.17 น. เครื่องบินลำดังกล่าวได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000013479

    #MGROnline #SU277 #ภูเก็ต #มอสโก
    เครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER เกิดขัดข้อง บินวนอยู่เหนืออันดามัน แถวอ่าวไทย หลายชั่วโมง คาดนักบินต้องการบินเผาน้ำมันให้เครื่องน้ำหนักเบาลง เปลี่ยนเส้นทางไปจอดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเรียบร้อยแล้ว • วันนี้ (10 ก.พ. 68) มีรายงานว่าเครื่องบินโบอิ้ง 777-300ER เที่ยวบิน SU277 บินออกจากภูเก็ตมุ่งหน้ามอสโก เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคเกี่ยวกับอุปกรณ์ลงจอด • โดยเครื่องบินได้บินวนอยู่เหนืออันดามันราว 3 ชั่วโมง และมาบินวนแถวอ่าวไทยระหว่างสนามบินชุมพรและสนามบินหัวหิน คาดว่านักบินต้องการบินเผาน้ำมันให้เครื่องน้ำหนักเบาลง แล้วจะเปลี่ยนเส้นทางไปลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ • ล่าสุดเวลา 21.17 น. เครื่องบินลำดังกล่าวได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000013479 • #MGROnline #SU277 #ภูเก็ต #มอสโก
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้ (10 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า สายการบิน Aeroflot เที่ยวบิน SU 277 ภูเก็ต -มอสโก หลังขึ้นบินจากสนามบินภูเก็ต ในช่วงบ่ายวันนี้ โดยบินวนมาหลายชั่วโมงในทะเลอันดามัน ขณะนี้ย้ายบินมาบริเวณอ่าวไทย โดยมีรายงานว่าได้ติดต่อสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อขอลงจอดฉุกเฉิน

    Cr. http://flightradar24.com

    #MGROnline #SU277 #ภูเก็ต #มอสโก
    วันนี้ (10 ก.พ.) รายงานข่าวแจ้งว่า สายการบิน Aeroflot เที่ยวบิน SU 277 ภูเก็ต -มอสโก หลังขึ้นบินจากสนามบินภูเก็ต ในช่วงบ่ายวันนี้ โดยบินวนมาหลายชั่วโมงในทะเลอันดามัน ขณะนี้ย้ายบินมาบริเวณอ่าวไทย โดยมีรายงานว่าได้ติดต่อสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อขอลงจอดฉุกเฉิน • Cr. http://flightradar24.com • #MGROnline #SU277 #ภูเก็ต #มอสโก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 96 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เผยว่าได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นที่เรียบร้อยแล้วผ่านทางโทรศัพท์ เกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ถือเป็นสนทนากันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกระหว่าง ปูตินกับผู้นำรายหนึ่งๆของอเมริกา นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ รับปากยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ยังไม่เคยพูดกับสาธารณะชนว่าเขาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาบอกว่าอเมริกากำลังพูดคุยกับทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครน เกี่ยวกับการคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติม
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์บนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันเมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกกับนิวยอร์กโพสต์ว่า คงจะดีกว่าที่ไม่บอกว่าเขาพูดคุยกับปูตินไปแล้วกี่ครั้งและหลายครั้งมากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เปิดเผยด้วยว่าครั้งสุดท้ายของการสนทนากันนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ "เขา(ปูติน) อยากเห็นผู้คนหยุดบาดเจ็บล้มตาย" ทรัมป์กล่าว
    .
    ด้าน ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวทาสส์นิวส์ สื่อมวลชนแห่งรัฐ ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์ ส่วน ไมค์ วอลต์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ตอบคำถามระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซีในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่าง ทรัมป์ กับ ปูติน ว่า "ผมไม่ขอให้ข้อมูลไปมากกว่าท่านประธานาธิบดี แต่แน่นอนว่ามีการสนทนาในประเด็นที่อ่อนไหวมากมาย"
    .
    ทรัมป์ เน้นย้ำซ้ำๆว่าเขาต้องการยุติสงครามและจะพบปะพูดคุยกับปูติน เพื่อหารือในเรืองนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ไหนและเวลาใด อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อช่วงต้นเดือนว่า รัสเซียได้เล็งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เอาไว้ ในฐานะสถานที่ที่เป็นไปได้สำหรับจัดการประชุมซัมมิตระหว่างปูตินกับทรัมป์
    .
    ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะพากันมุ่งหน้าไปยังยุโรป ส่วนหนึ่งในการหารือเกี่ยวกับสงคราม ในนั้นรวมถึง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ, พีต เฮกเซท รัฐมนตรีกลาโหม, รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ และ คีธ เคลล็อกก์ ทูตพิเศษด้านสงครามยูเครน
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซี วอลต์ซบ่งชี้ว่าทรัมป์อาจมีความตั้งใจใช้มาตรการคว่ำบาตรและรีดภาษีหว่านล้อมให้ปูตินเข้าสู่โต๊ะเจรจา พร้อมเผยว่าพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและยูเครนจะหารือเกี่ยวกับกรณีอเมริกาจะเข้าถึงทรัพยากรแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ชดเชยเงินช่วยเหนือของวอชิงตันที่มอบให้แก่พันธฒิตรแห่งนี้ "การพูดคุยเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้"
    .
    เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปูติน วางกรอบเงื่อนไขอย่างเปิดเผยสำหรับการยุติสงครามในทันที นั่นคือยูเครนต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต และถอนกำลังพลออกจาก 4 แคว้นของเคียฟ ที่ปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัสเซียเป็นส่วนใหญ่และมอสโกกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน
    .
    รอยเตอร์รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ว่า ปูติน เปิดกว้างหารือข้อตกลงสันติภาพกับทรัมป์ แต่ปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆของการยอมสละดินแดนครั้งใหญ่แลกข้อตกลง และยืนยันว่าเคียฟต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต
    .
    วังเครามลิน เน้นย้ำซ้ำๆให้ระมัดระวังในการคาดเดาใดๆในเรื่องการติดต่อกับคณะทำงานของทรัมป์ เกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพที่เป็นไปได้ใดๆ
    .
    อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอาร์ไอเอ รายงานอ้าง ลีโอนิด สลัตสกี หัวหน้าคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย ระบุในวันพฤหัสบดีที่แล้ว(6ก.พ.) ว่าเวลานี้อยู่ในขั้นการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการประชุมดังกล่าว และมันอาจเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็เดือนมีนาคม
    .
    ปูติน พูดคุยครั้งสุดท้ายกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ไม่นานก่อนที่ ปูติน ออกคำสั่งให้ทหารหลายหมื่นนายบุกเข้าไปในยูเครน
    .
    รอยเตอร์, วอชิงตันโพสต์ และ Axios เคยรายงานแยกกันว่า ทรัมป์ และ ปูติน ได้พูดคุยกันไปแล้วในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แต่วังเครมลินปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว
    .
    เมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกว่าเขาอาจพบปะกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการยุติสงคราม ในขณะที่ เซเลนสกี เผยกับรอยเตอร์ ว่าเขาต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธและแร่ธาตุอื่นๆแก่สหรัฐฯ แลกกับเงินสนับสนุนในการทำสงคราม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013148
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เผยว่าได้พูดคุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เป็นที่เรียบร้อยแล้วผ่านทางโทรศัพท์ เกี่ยวกับการยุติสงครามในยูเครน ตามรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ถือเป็นสนทนากันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกระหว่าง ปูตินกับผู้นำรายหนึ่งๆของอเมริกา นับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 . ที่ผ่านมา ทรัมป์ รับปากยุติสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ยังไม่เคยพูดกับสาธารณะชนว่าเขาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาบอกว่าอเมริกากำลังพูดคุยกับทั้งฝ่ายรัสเซียและยูเครน เกี่ยวกับการคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆเพิ่มเติม . ระหว่างให้สัมภาษณ์บนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวันเมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกกับนิวยอร์กโพสต์ว่า คงจะดีกว่าที่ไม่บอกว่าเขาพูดคุยกับปูตินไปแล้วกี่ครั้งและหลายครั้งมากแค่ไหน นอกจากนี้แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เปิดเผยด้วยว่าครั้งสุดท้ายของการสนทนากันนั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ "เขา(ปูติน) อยากเห็นผู้คนหยุดบาดเจ็บล้มตาย" ทรัมป์กล่าว . ด้าน ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวทาสส์นิวส์ สื่อมวลชนแห่งรัฐ ไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวของนิวยอร์กโพสต์ ส่วน ไมค์ วอลต์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ตอบคำถามระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอ็นบีซีในวันอาทิตย์(9ก.พ.) เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่าง ทรัมป์ กับ ปูติน ว่า "ผมไม่ขอให้ข้อมูลไปมากกว่าท่านประธานาธิบดี แต่แน่นอนว่ามีการสนทนาในประเด็นที่อ่อนไหวมากมาย" . ทรัมป์ เน้นย้ำซ้ำๆว่าเขาต้องการยุติสงครามและจะพบปะพูดคุยกับปูติน เพื่อหารือในเรืองนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ไหนและเวลาใด อย่างไรก็ตามสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อช่วงต้นเดือนว่า รัสเซียได้เล็งซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เอาไว้ ในฐานะสถานที่ที่เป็นไปได้สำหรับจัดการประชุมซัมมิตระหว่างปูตินกับทรัมป์ . ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า พวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯจะพากันมุ่งหน้าไปยังยุโรป ส่วนหนึ่งในการหารือเกี่ยวกับสงคราม ในนั้นรวมถึง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ, พีต เฮกเซท รัฐมนตรีกลาโหม, รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ และ คีธ เคลล็อกก์ ทูตพิเศษด้านสงครามยูเครน . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับเอ็นบีซี วอลต์ซบ่งชี้ว่าทรัมป์อาจมีความตั้งใจใช้มาตรการคว่ำบาตรและรีดภาษีหว่านล้อมให้ปูตินเข้าสู่โต๊ะเจรจา พร้อมเผยว่าพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯและยูเครนจะหารือเกี่ยวกับกรณีอเมริกาจะเข้าถึงทรัพยากรแร่แรร์เอิร์ธของยูเครน ชดเชยเงินช่วยเหนือของวอชิงตันที่มอบให้แก่พันธฒิตรแห่งนี้ "การพูดคุยเหล่านี้จะเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้" . เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ปูติน วางกรอบเงื่อนไขอย่างเปิดเผยสำหรับการยุติสงครามในทันที นั่นคือยูเครนต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต และถอนกำลังพลออกจาก 4 แคว้นของเคียฟ ที่ปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัสเซียเป็นส่วนใหญ่และมอสโกกล่าวอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดน . รอยเตอร์รายงานเมื่อเดือนพฤศจิกายน ว่า ปูติน เปิดกว้างหารือข้อตกลงสันติภาพกับทรัมป์ แต่ปฏิเสธความเป็นไปได้ใดๆของการยอมสละดินแดนครั้งใหญ่แลกข้อตกลง และยืนยันว่าเคียฟต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต . วังเครามลิน เน้นย้ำซ้ำๆให้ระมัดระวังในการคาดเดาใดๆในเรื่องการติดต่อกับคณะทำงานของทรัมป์ เกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพที่เป็นไปได้ใดๆ . อย่างไรก็ตามสำนักข่าวอาร์ไอเอ รายงานอ้าง ลีโอนิด สลัตสกี หัวหน้าคณะกรรมาธิการกิจการต่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย ระบุในวันพฤหัสบดีที่แล้ว(6ก.พ.) ว่าเวลานี้อยู่ในขั้นการเตรียมการล่วงหน้าสำหรับการประชุมดังกล่าว และมันอาจเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ก็เดือนมีนาคม . ปูติน พูดคุยครั้งสุดท้ายกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ไม่นานก่อนที่ ปูติน ออกคำสั่งให้ทหารหลายหมื่นนายบุกเข้าไปในยูเครน . รอยเตอร์, วอชิงตันโพสต์ และ Axios เคยรายงานแยกกันว่า ทรัมป์ และ ปูติน ได้พูดคุยกันไปแล้วในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน แต่วังเครมลินปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว . เมื่อวันศุกร์(7ก.พ.) ทรัมป์บอกว่าเขาอาจพบปะกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือเกี่ยวกับการยุติสงคราม ในขณะที่ เซเลนสกี เผยกับรอยเตอร์ ว่าเขาต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธและแร่ธาตุอื่นๆแก่สหรัฐฯ แลกกับเงินสนับสนุนในการทำสงคราม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013148 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 841 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล่มสลายแห่งแดงเดือด

    เสียงปืนเงียบลงกลางสายลมหนาว ธงแดงเคยสูงกลับร่วงลงพื้นดิน อำนาจที่ก่อสร้างด้วยเหล็กและหิน วันนี้สิ้นสุดลง... ไม่มีวันหวนคืน

    เมืองมอสโกร่ำไห้ใต้เงาดวงจันทร์ เลนินกราดสะท้อนแสงไฟดับฝัน เคียฟกระซิบลมว่าเสรีนั้นสำคัญ และโลกจะเปลี่ยนไป...

    * จบแล้ว... อาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ โซเวียตล่มสลายไม่เหลืออะไร สัญญาณเริ่มจาง สายลมพัดพา จากยุคแห่งเหล็กกล้า... สู่กาลเวลาสิ้นสุดลง

    กำแพงที่ก่อสร้างด้วยโซ่ตรวนแน่นหนา สุดท้ายก็พังทลายลงมา เสียงประชาชนดังกึกก้องทั่วฟ้า ขอคืนเสรีภาพ... ให้ฟ้าสีคราม

    ** อุดมการณ์ถูกท้าทายด้วยกาลเวลา ประชาชนเลือกเส้นทางด้วยศรัทธา เมื่อพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดพา ไม่มีสิ่งใดยืนยงตลอดไป

    ซ้ำ *, **

    เพลิงที่เคยลุกโชนดับลงกลางคืนหนาว เสียงประวัติศาสตร์ยังสะท้อนเรื่องราว จากแดงเดือดสู่ความเงียบในคืนดาว และโลกยังหมุนต่อไป...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 072330 ก.พ. 2568

    #โซเวียตล่มสลาย #แดงเดือดสิ้นสุด #อำนาจที่สั่นคลอน #เสรีภาพเบ่งบาน #เปลี่ยนผ่านประวัติศาสตร์ #ยุคเหล็กสู่เสรี #สิ้นสุดอาณาจักร #เมื่อกำแพงพังทลาย #โบกมือลาอดีต #บทเรียนแห่งกาลเวลา
    ล่มสลายแห่งแดงเดือด เสียงปืนเงียบลงกลางสายลมหนาว ธงแดงเคยสูงกลับร่วงลงพื้นดิน อำนาจที่ก่อสร้างด้วยเหล็กและหิน วันนี้สิ้นสุดลง... ไม่มีวันหวนคืน เมืองมอสโกร่ำไห้ใต้เงาดวงจันทร์ เลนินกราดสะท้อนแสงไฟดับฝัน เคียฟกระซิบลมว่าเสรีนั้นสำคัญ และโลกจะเปลี่ยนไป... * จบแล้ว... อาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ โซเวียตล่มสลายไม่เหลืออะไร สัญญาณเริ่มจาง สายลมพัดพา จากยุคแห่งเหล็กกล้า... สู่กาลเวลาสิ้นสุดลง กำแพงที่ก่อสร้างด้วยโซ่ตรวนแน่นหนา สุดท้ายก็พังทลายลงมา เสียงประชาชนดังกึกก้องทั่วฟ้า ขอคืนเสรีภาพ... ให้ฟ้าสีคราม ** อุดมการณ์ถูกท้าทายด้วยกาลเวลา ประชาชนเลือกเส้นทางด้วยศรัทธา เมื่อพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงพัดพา ไม่มีสิ่งใดยืนยงตลอดไป ซ้ำ *, ** เพลิงที่เคยลุกโชนดับลงกลางคืนหนาว เสียงประวัติศาสตร์ยังสะท้อนเรื่องราว จากแดงเดือดสู่ความเงียบในคืนดาว และโลกยังหมุนต่อไป... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 072330 ก.พ. 2568 #โซเวียตล่มสลาย #แดงเดือดสิ้นสุด #อำนาจที่สั่นคลอน #เสรีภาพเบ่งบาน #เปลี่ยนผ่านประวัติศาสตร์ #ยุคเหล็กสู่เสรี #สิ้นสุดอาณาจักร #เมื่อกำแพงพังทลาย #โบกมือลาอดีต #บทเรียนแห่งกาลเวลา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 301 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • 35 ปี สัญญาณเริ่มล่มสลาย “สหภาพโซเวียต” เปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ จุดสิ้นสุดพรรคคอมมิวนิสต์

    📅 ย้อนไปเมื่อ 35 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 (1990) เป็นวันที่เปรียบเสมือน “ระฆังแห่งการเปลี่ยนแปลง” ของสหภาพโซเวียต (USSR) เมื่อคณะกรรมาธิการกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์ ประกาศยุติการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญ ที่นำไปสู่การล่มสลาย ของมหาอำนาจยุคสงครามเย็น ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี

    จากการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ เพียงพรรคเดียว มายาวนานกว่า 70 ปี สหภาพโซเวียต ต้องเผชิญกับปัญหาภายใน อย่างหนักหน่วง ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ การเมืองที่เริ่มไร้เสถียรภาพ และขบวนการชาตินิยม ในสาธารณรัฐต่างๆ ที่ต้องการแยกตัวออก ในที่สุด ระบบที่เคยแข็งแกร่ง ก็ต้องถึงกาลอวสาน

    🔴 จากการปฏิวัติ สู่มหาอำนาจโลก ต้นกำเนิดของ USSR 📌
    สหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics: USSR) ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2465 หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม (1917) ที่พรรคบอลเชวิค ภายใต้การนำของ วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) โค่นล้มระบอบกษัตริย์ และรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซีย

    USSR ประกอบด้วย 15 สาธารณรัฐย่อย ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลโดวา จอร์เจีย อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน

    👉 เมืองหลวงของสหภาพโซเวียตคือ มอสโก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

    📌 สมัยแห่งอำนาจของสหภาพโซเวียต
    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายเป็น หนึ่งในสองมหาอำนาจของโลก คู่กับสหรัฐอเมริกา นำไปสู่สงครามเย็น (Cold War) ที่กินเวลายาวนานกว่า 4 ทศวรรษ

    พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการปกครอง ควบคุมทุกด้านของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญ ในวงการอวกาศ เช่น ส่ง ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) เป็นมนุษย์คนแรก ที่ขึ้นสู่อวกาศในปี 2504

    🔥 สัญญาณแห่งการล่มสลาย ปัจจัยที่ทำให้ USSR พังทลาย
    แม้ว่าสหภาพโซเวียต จะดูแข็งแกร่งจากภายนอก แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยรอยร้าว ที่ค่อยๆ ก่อตัวจนถึงจุดแตกหัก

    📉 1. วิกฤตเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ที่ล้มเหลว
    เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต เป็นระบบวางแผนจากส่วนกลาง (Centralized Economy) ซึ่งรัฐบาลควบคุมทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการจัดสรรทรัพยากร แต่ระบบนี้ เริ่มประสบปัญหาหนักในช่วงปี 2523

    - ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ประชาชนต้องต่อแถวซื้อขนมปัง เป็นชั่วโมง
    - ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ไม่มีแรงจูงใจให้แรงงานทำงานหนัก
    - ค่าใช้จ่ายทางทหารสูงลิ่ว ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการแข่งขันอาวุธกับสหรัฐฯ

    ⚔️ 2. สงครามอัฟกานิสถาน (1979-1989) บาดแผลที่ยากจะสมาน
    การส่งทหาร เข้าไปช่วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ในอัฟกานิสถาน กลายเป็นสงครามเวียดนาม ของโซเวียต เนื่องจากถูกกองกำลังมูจาฮิดีน ต่อต้านอย่างหนัก สงครามนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้โซเวียต สูญเสียทหารจำนวนมาก แต่ยังทำลายขวัญกำลังใจ ของประชาชนอีกด้วย

    🌍 3. ขบวนการแยกตัว ของสาธารณรัฐต่างๆ
    หลายสาธารณรัฐภายใน USSR เริ่มมีความต้องการเป็นอิสระ เช่น
    - กลุ่มบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย) ประกาศเอกราชในปี 2533
    - ยูเครนและจอร์เจีย มีการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัว

    เมื่อรัฐบาลกลาง ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดการล่มสลายในที่สุด

    🛑 4. การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ กลัสนอสต์ & เปเรสตรอยคา
    เมื่อ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นเป็นผู้นำในปี 2528 เขาพยายามปฏิรูปประเทศผ่านนโยบายสำคัญ 2 ข้อ

    - กลัสนอสต์ (Glasnost) การเปิดเผยข้อมูล และให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น
    - เปเรสตรอยคา (Perestroika) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ แบบตลาดเสรี

    แม้ว่านโยบายเหล่านี้ มีเป้าหมายที่ดี แต่กลับทำให้ปัญหาภายในปะทุเร็วขึ้น ประชาชนเริ่มเรียกร้องเสรีภาพมากขึ้น และในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ ก็สูญเสียการควบคุม

    💥 วันที่พรรคคอมมิวนิสต์สูญเสียอำนาจ จุดจบของ USSR
    📆 7 กุมภาพันธ์ 2533 (1990) คณะกรรมาธิการกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียตประกาศ ยกเลิกการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ

    📆 25 ธันวาคม 2534 (1991) กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และ USSR ยุติการดำรงอยู่ โดยรัสเซียกลายเป็นรัฐเอกราช

    👉 บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) กลายเป็นผู้นำคนใหม่ของรัสเซีย และอดีตสาธารณรัฐต่างๆ ก็แยกตัวเป็นเอกราช

    🎭 บทเรียนจากการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียต
    - การรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป อาจเป็นจุดอ่อน แทนที่จะเป็นจุดแข็ง
    - เศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน
    - การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอน

    📢 35 ปี หลังจากวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง USSR สูญเสียอำนาจ โลกยังคงเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ การล่มสลายของโซเวียต ไม่ใช่แค่เรื่องของอดีต แต่มันเป็นบทเรียนสำหรับทุกประเทศ ที่ต้องการคงไว้ซึ่งเสถียรภาพ และอำนาจ 📌

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 071329 ก.พ. 2568

    #สหภาพโซเวียต #USSR #โซเวียตล่มสลาย #สงครามเย็น #คอมมิวนิสต์ #Gorbachev #เยลต์ซิน #ColdWar
    35 ปี สัญญาณเริ่มล่มสลาย “สหภาพโซเวียต” เปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ จุดสิ้นสุดพรรคคอมมิวนิสต์ 📅 ย้อนไปเมื่อ 35 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2533 (1990) เป็นวันที่เปรียบเสมือน “ระฆังแห่งการเปลี่ยนแปลง” ของสหภาพโซเวียต (USSR) เมื่อคณะกรรมาธิการกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์ ประกาศยุติการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นก้าวสำคัญ ที่นำไปสู่การล่มสลาย ของมหาอำนาจยุคสงครามเย็น ภายในเวลาเพียงไม่กี่ปี จากการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ เพียงพรรคเดียว มายาวนานกว่า 70 ปี สหภาพโซเวียต ต้องเผชิญกับปัญหาภายใน อย่างหนักหน่วง ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ การเมืองที่เริ่มไร้เสถียรภาพ และขบวนการชาตินิยม ในสาธารณรัฐต่างๆ ที่ต้องการแยกตัวออก ในที่สุด ระบบที่เคยแข็งแกร่ง ก็ต้องถึงกาลอวสาน 🔴 จากการปฏิวัติ สู่มหาอำนาจโลก ต้นกำเนิดของ USSR 📌 สหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics: USSR) ถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2465 หลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม (1917) ที่พรรคบอลเชวิค ภายใต้การนำของ วลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) โค่นล้มระบอบกษัตริย์ และรัฐบาลเฉพาะกาลของรัสเซีย USSR ประกอบด้วย 15 สาธารณรัฐย่อย ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน เบลารุส เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลโดวา จอร์เจีย อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คีร์กีซสถาน และทาจิกิสถาน 👉 เมืองหลวงของสหภาพโซเวียตคือ มอสโก ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม 📌 สมัยแห่งอำนาจของสหภาพโซเวียต หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายเป็น หนึ่งในสองมหาอำนาจของโลก คู่กับสหรัฐอเมริกา นำไปสู่สงครามเย็น (Cold War) ที่กินเวลายาวนานกว่า 4 ทศวรรษ พรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการปกครอง ควบคุมทุกด้านของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญ ในวงการอวกาศ เช่น ส่ง ยูริ กาการิน (Yuri Gagarin) เป็นมนุษย์คนแรก ที่ขึ้นสู่อวกาศในปี 2504 🔥 สัญญาณแห่งการล่มสลาย ปัจจัยที่ทำให้ USSR พังทลาย แม้ว่าสหภาพโซเวียต จะดูแข็งแกร่งจากภายนอก แต่ภายในกลับเต็มไปด้วยรอยร้าว ที่ค่อยๆ ก่อตัวจนถึงจุดแตกหัก 📉 1. วิกฤตเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ที่ล้มเหลว เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียต เป็นระบบวางแผนจากส่วนกลาง (Centralized Economy) ซึ่งรัฐบาลควบคุมทุกอย่าง ตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการจัดสรรทรัพยากร แต่ระบบนี้ เริ่มประสบปัญหาหนักในช่วงปี 2523 - ขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค ประชาชนต้องต่อแถวซื้อขนมปัง เป็นชั่วโมง - ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ไม่มีแรงจูงใจให้แรงงานทำงานหนัก - ค่าใช้จ่ายทางทหารสูงลิ่ว ต้องใช้เงินจำนวนมาก ในการแข่งขันอาวุธกับสหรัฐฯ ⚔️ 2. สงครามอัฟกานิสถาน (1979-1989) บาดแผลที่ยากจะสมาน การส่งทหาร เข้าไปช่วยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ในอัฟกานิสถาน กลายเป็นสงครามเวียดนาม ของโซเวียต เนื่องจากถูกกองกำลังมูจาฮิดีน ต่อต้านอย่างหนัก สงครามนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้โซเวียต สูญเสียทหารจำนวนมาก แต่ยังทำลายขวัญกำลังใจ ของประชาชนอีกด้วย 🌍 3. ขบวนการแยกตัว ของสาธารณรัฐต่างๆ หลายสาธารณรัฐภายใน USSR เริ่มมีความต้องการเป็นอิสระ เช่น - กลุ่มบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย) ประกาศเอกราชในปี 2533 - ยูเครนและจอร์เจีย มีการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัว เมื่อรัฐบาลกลาง ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทำให้เกิดการล่มสลายในที่สุด 🛑 4. การปฏิรูปของกอร์บาชอฟ กลัสนอสต์ & เปเรสตรอยคา เมื่อ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) ขึ้นเป็นผู้นำในปี 2528 เขาพยายามปฏิรูปประเทศผ่านนโยบายสำคัญ 2 ข้อ - กลัสนอสต์ (Glasnost) การเปิดเผยข้อมูล และให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากขึ้น - เปเรสตรอยคา (Perestroika) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ แบบตลาดเสรี แม้ว่านโยบายเหล่านี้ มีเป้าหมายที่ดี แต่กลับทำให้ปัญหาภายในปะทุเร็วขึ้น ประชาชนเริ่มเรียกร้องเสรีภาพมากขึ้น และในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์ ก็สูญเสียการควบคุม 💥 วันที่พรรคคอมมิวนิสต์สูญเสียอำนาจ จุดจบของ USSR 📆 7 กุมภาพันธ์ 2533 (1990) คณะกรรมาธิการกลาง ของพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียตประกาศ ยกเลิกการผูกขาดอำนาจทางการเมือง ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ 📆 25 ธันวาคม 2534 (1991) กอร์บาชอฟลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และ USSR ยุติการดำรงอยู่ โดยรัสเซียกลายเป็นรัฐเอกราช 👉 บอริส เยลต์ซิน (Boris Yeltsin) กลายเป็นผู้นำคนใหม่ของรัสเซีย และอดีตสาธารณรัฐต่างๆ ก็แยกตัวเป็นเอกราช 🎭 บทเรียนจากการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียต - การรวมศูนย์อำนาจมากเกินไป อาจเป็นจุดอ่อน แทนที่จะเป็นจุดแข็ง - เศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิภาพ นำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน - การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดความไม่แน่นอน 📢 35 ปี หลังจากวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง USSR สูญเสียอำนาจ โลกยังคงเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ การล่มสลายของโซเวียต ไม่ใช่แค่เรื่องของอดีต แต่มันเป็นบทเรียนสำหรับทุกประเทศ ที่ต้องการคงไว้ซึ่งเสถียรภาพ และอำนาจ 📌 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 071329 ก.พ. 2568 #สหภาพโซเวียต #USSR #โซเวียตล่มสลาย #สงครามเย็น #คอมมิวนิสต์ #Gorbachev #เยลต์ซิน #ColdWar
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 273 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปฏิวัติ AI วงการแพทย์ - เภสัชกรรม รัสเซียพลิกโฉมวงการเทคฯโลก! 📌สร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ 50 คิวบิต และ AI ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีอีกขั้นนำทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 คน รวมนักวิทยาศาสตร์ 600 คน เดินหน้าสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมควอนตัมในปี 2030 เตรียมเปิดตัว 8 กุมภาพันธ์นี้ที่มอสโก
    👉บริษัทนิวเคลียร์ Rosatom ประกาศความสำเร็จสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบไอออนและอะตอมกลางรูบิเดียมขนาด 50 คิวบิต ด้วยทีมนักวิจัยและวิศวกรกว่า 1,000 คน ตั้งเป้าสร้างอุตสาหกรรมควอนตัมในรัสเซียภายในปี 2030 พร้อมปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งด้านการแพทย์ เภสัชกรรม โลจิสติกส์ การเงิน และ AI เตรียมเปิดเผยขั้นตอนต่อไปที่มอสโกวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้

    ที่มา imctnews รายงาน
    ปฏิวัติ AI วงการแพทย์ - เภสัชกรรม รัสเซียพลิกโฉมวงการเทคฯโลก! 📌สร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ 50 คิวบิต และ AI ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีอีกขั้นนำทีมผู้เชี่ยวชาญกว่า 1,000 คน รวมนักวิทยาศาสตร์ 600 คน เดินหน้าสู่การเป็นผู้นำอุตสาหกรรมควอนตัมในปี 2030 เตรียมเปิดตัว 8 กุมภาพันธ์นี้ที่มอสโก 👉บริษัทนิวเคลียร์ Rosatom ประกาศความสำเร็จสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมแบบไอออนและอะตอมกลางรูบิเดียมขนาด 50 คิวบิต ด้วยทีมนักวิจัยและวิศวกรกว่า 1,000 คน ตั้งเป้าสร้างอุตสาหกรรมควอนตัมในรัสเซียภายในปี 2030 พร้อมปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งด้านการแพทย์ เภสัชกรรม โลจิสติกส์ การเงิน และ AI เตรียมเปิดเผยขั้นตอนต่อไปที่มอสโกวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ ที่มา imctnews รายงาน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังจากที่เดนมาร์กอนุญาตให้ซ่อมแซมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม สหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันถึงการเริ่มซื้อก๊าซจากรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อยื่นข้อเสนอให้กับรัสเซียในการตกลงยุติสงครามกับยูเครน

    แนวคิดนี้ได้รับการรับรองจากเยอรมนีและฮังการี รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากยุโรปอีกบางประเทศ ที่มองว่าเป็นหนทางที่จะลดต้นทุนพลังงานของยุโรปได้

    ผู้สนับสนุนการซื้อก๊าซจากรัสเซียให้เหตุผลว่าจะทำให้ราคาพลังงานที่สูงในยุโรปลดลง กระตุ้นให้มอสโกเข้าร่วมโต๊ะเจรจา และให้เหตุผลแก่ทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการและรักษาการหยุดยิง

    ดูเหมือนว่าสงครามในยูเครนกำลังจะสิ้นสุดลง และการเจรจาที่จริงจังกำลังเกิดขึ้นเบื้องหลัง
    หลังจากที่เดนมาร์กอนุญาตให้ซ่อมแซมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม สหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันถึงการเริ่มซื้อก๊าซจากรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อยื่นข้อเสนอให้กับรัสเซียในการตกลงยุติสงครามกับยูเครน แนวคิดนี้ได้รับการรับรองจากเยอรมนีและฮังการี รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากยุโรปอีกบางประเทศ ที่มองว่าเป็นหนทางที่จะลดต้นทุนพลังงานของยุโรปได้ ผู้สนับสนุนการซื้อก๊าซจากรัสเซียให้เหตุผลว่าจะทำให้ราคาพลังงานที่สูงในยุโรปลดลง กระตุ้นให้มอสโกเข้าร่วมโต๊ะเจรจา และให้เหตุผลแก่ทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการและรักษาการหยุดยิง ดูเหมือนว่าสงครามในยูเครนกำลังจะสิ้นสุดลง และการเจรจาที่จริงจังกำลังเกิดขึ้นเบื้องหลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวยูเครนครึ่งหนึ่งอยากประนีประนอมยุติความขัดแย้งกับรัสเซีย ผ่านการเจรจาสันติภาพที่มีคนกลางนานาชาติเกี่ยวข้องด้วย จากผลสำรวจที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆของ Socis สำนักโพลของยูเครนเอง
    .
    รายงานจาก Ukrainskaya Pravda หนังสือพิมพ์ออนไลน์ของยูเครนเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) เกี่ยวกับผลสำรวจล่าสุด ที่จัดทำในเดือนธันวาคม 2024 สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยูเครน โดยมีจำนวนมากขึ้นที่สนับสนุนการหาทางออกทางการทูต ในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานหลายปีกับรัสเซีย และสถานการณ์ที่สิ้นหวังมากขึ้นเรื่อยๆในสมรภูมิรบ
    .
    อ้างอิงผลสำรวจ พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถาม 50.6% สนับสนุนการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับพวกผู้นำนานาชาติ เพื่อรับประกันการยุติความขัดแย้ง ตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดับ 36.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2024
    .
    ในส่วนจำนวนชาวยูเครน ที่สนับสนุนสู้รบจนกว่ายูเครนจะสามารถทวงคืนชายแดนกลับสู่แนวชายแดนช่วงปี 1991 ลดลงอย่างมาก จากระดับ 33.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 สู่ระดับ 14.7% ในเดือนธันวาคมปี 2024
    .
    ผลสำรวจยังพบด้วยว่าเสียงสนับสนุนให้พักความเป็นปรปักษ์และตรึงความขัดแย้งไว้ในแนวหน้าในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา จากระดับ 8.2% เป็น 19.5%
    .
    ขณะเดียวกันผลสำรวจของ Socis พบว่าสัดส่วนของชาวยูเครนที่สนับสนุนการคืนสถานะชายแดนกลับไปก่อนหน้าเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ยังคงค่อนข้างทรงตัว แกว่งตัวอยู่ระหว่าง 8.6% ถึง 13.2% ตลอดทั้งปี
    .
    Ukrainskaya Pravda เน้นว่าหนึ่งในความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดของกระบวนการเจรจา การรับประกันเสียงสนับสนุนจากทั้งประชาชนชาวยูเครนและกองทัพ เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้นำประเทศ
    .
    สื่อมวลชนแห่งนี้อ้างหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลในคณะทำงานของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ระบุว่าหนึ่งในลำดับความสำคัญหลักๆก็คือ "การรับประกันรูปแบบข้อตกลงหนึ่งๆที่สหรัฐฯให้คำรับประกัน ผ่านการรับรองของสภาคองเกรส" ส่วนอีกภาะสำคัญอีกอย่างคือขัดขืนข้อเรียกร้องของรัสเซีย ที่ต้องการให้ยูเครนกลายเป็นชาติที่เป็นกลาง
    .
    เซเลนสกี บอกก่อนหน้านี้ว่า "กองกำลังรักษาสันติภาพจากยุโรปอย่างน้อยๆ 200,000 นาย มีความจำเป็น เพื่อให้ข้อตกลงหยุดยิงได้รับการยึดถือ"
    .
    มอสโก ปฏิเสธความคิดมีกองกำลังรักษาสันติภาพของตะวันตกในยูเครน หลังมันถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าหาทางออกความขัดแย้งนี้อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    ทรัมป์ เรียกร้องมอสโกบรรลุข้อตกลงกับเคียฟ ไม่อย่างนั้นอาจต้องเจอกับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ แต่เน้นย้ำว่าเขาไม่ต้องการทำร้ายรัสเซีย นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานว่า ทรัมป์ ให้เวลา คีธ เคลลอกก์ ทูตพิเศษด้านยูเครนคนใหม่ 100 วัน ในการหาบทสรุปของข้อตกลง อย่างไรก็ตามทางวังเครมลินเผยว่า จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่ได้รับข้อเสนออย่างเจาะจงมาจากวอชิงตัน
    .
    การเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนพังครืนลงในฤดูใบไม้ผลิปี 2022 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างกล่าวหากันและกัน ว่านำเสนอข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย บอกว่ายูเครนต้องกลายมาเป็นชาติเป็นกลาง และละทิ้งคำกล่าวอ้างใดๆเหนืออดีตแคว้น ที่กลายมาเป็นแคว้นใหม่ของรัสเซีย เพื่อให้การเจรจาสันติภาพใดๆประสบความสำเร็จ
    .
    นับตั้งแต่นั้น มอสโก ส่งเสียงซ้ำๆว่าพร้อมกลับมาเจรจา แต่ปฏิเสธอย่างหนักแน่นเกี่ยวกับแนวคิดตรึงความขัดแย้งไว้ชั่วคราว เนื่องจากเชื่อว่ามันรังแต่จะเป็นการเปิดทางให้ยูเครนเติมเต็มคลังอาวุธ
    .
    รัสเซีย เน้นย้ำว่า ยูเครน ต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต ปลอดจากทหาร (demilitarization) ไม่เป็นนาซี (denazification) และละทิ้งแผนมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008706
    ..............
    Sondhi X
    ชาวยูเครนครึ่งหนึ่งอยากประนีประนอมยุติความขัดแย้งกับรัสเซีย ผ่านการเจรจาสันติภาพที่มีคนกลางนานาชาติเกี่ยวข้องด้วย จากผลสำรวจที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆของ Socis สำนักโพลของยูเครนเอง . รายงานจาก Ukrainskaya Pravda หนังสือพิมพ์ออนไลน์ของยูเครนเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) เกี่ยวกับผลสำรวจล่าสุด ที่จัดทำในเดือนธันวาคม 2024 สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของผู้คนในยูเครน โดยมีจำนวนมากขึ้นที่สนับสนุนการหาทางออกทางการทูต ในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมานานหลายปีกับรัสเซีย และสถานการณ์ที่สิ้นหวังมากขึ้นเรื่อยๆในสมรภูมิรบ . อ้างอิงผลสำรวจ พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถาม 50.6% สนับสนุนการเจรจาที่เกี่ยวข้องกับพวกผู้นำนานาชาติ เพื่อรับประกันการยุติความขัดแย้ง ตัวเลขดังกล่าวถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากจากระดับ 36.1% ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2024 . ในส่วนจำนวนชาวยูเครน ที่สนับสนุนสู้รบจนกว่ายูเครนจะสามารถทวงคืนชายแดนกลับสู่แนวชายแดนช่วงปี 1991 ลดลงอย่างมาก จากระดับ 33.5% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2024 สู่ระดับ 14.7% ในเดือนธันวาคมปี 2024 . ผลสำรวจยังพบด้วยว่าเสียงสนับสนุนให้พักความเป็นปรปักษ์และตรึงความขัดแย้งไว้ในแนวหน้าในปัจจุบัน ก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา จากระดับ 8.2% เป็น 19.5% . ขณะเดียวกันผลสำรวจของ Socis พบว่าสัดส่วนของชาวยูเครนที่สนับสนุนการคืนสถานะชายแดนกลับไปก่อนหน้าเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ยังคงค่อนข้างทรงตัว แกว่งตัวอยู่ระหว่าง 8.6% ถึง 13.2% ตลอดทั้งปี . Ukrainskaya Pravda เน้นว่าหนึ่งในความท้าทายใหญ่หลวงที่สุดของกระบวนการเจรจา การรับประกันเสียงสนับสนุนจากทั้งประชาชนชาวยูเครนและกองทัพ เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้นำประเทศ . สื่อมวลชนแห่งนี้อ้างหนึ่งในบุคคลทรงอิทธิพลในคณะทำงานของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ระบุว่าหนึ่งในลำดับความสำคัญหลักๆก็คือ "การรับประกันรูปแบบข้อตกลงหนึ่งๆที่สหรัฐฯให้คำรับประกัน ผ่านการรับรองของสภาคองเกรส" ส่วนอีกภาะสำคัญอีกอย่างคือขัดขืนข้อเรียกร้องของรัสเซีย ที่ต้องการให้ยูเครนกลายเป็นชาติที่เป็นกลาง . เซเลนสกี บอกก่อนหน้านี้ว่า "กองกำลังรักษาสันติภาพจากยุโรปอย่างน้อยๆ 200,000 นาย มีความจำเป็น เพื่อให้ข้อตกลงหยุดยิงได้รับการยึดถือ" . มอสโก ปฏิเสธความคิดมีกองกำลังรักษาสันติภาพของตะวันตกในยูเครน หลังมันถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ประกาศเดินหน้าหาทางออกความขัดแย้งนี้อย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . ทรัมป์ เรียกร้องมอสโกบรรลุข้อตกลงกับเคียฟ ไม่อย่างนั้นอาจต้องเจอกับมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ แต่เน้นย้ำว่าเขาไม่ต้องการทำร้ายรัสเซีย นอกจากนี้แล้วยังมีรายงานว่า ทรัมป์ ให้เวลา คีธ เคลลอกก์ ทูตพิเศษด้านยูเครนคนใหม่ 100 วัน ในการหาบทสรุปของข้อตกลง อย่างไรก็ตามทางวังเครมลินเผยว่า จนถึงตอนนี้พวกเขายังไม่ได้รับข้อเสนออย่างเจาะจงมาจากวอชิงตัน . การเจรจาระหว่างรัสเซียกับยูเครนพังครืนลงในฤดูใบไม้ผลิปี 2022 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต่างกล่าวหากันและกัน ว่านำเสนอข้อเรียกร้องที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง โดยประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย บอกว่ายูเครนต้องกลายมาเป็นชาติเป็นกลาง และละทิ้งคำกล่าวอ้างใดๆเหนืออดีตแคว้น ที่กลายมาเป็นแคว้นใหม่ของรัสเซีย เพื่อให้การเจรจาสันติภาพใดๆประสบความสำเร็จ . นับตั้งแต่นั้น มอสโก ส่งเสียงซ้ำๆว่าพร้อมกลับมาเจรจา แต่ปฏิเสธอย่างหนักแน่นเกี่ยวกับแนวคิดตรึงความขัดแย้งไว้ชั่วคราว เนื่องจากเชื่อว่ามันรังแต่จะเป็นการเปิดทางให้ยูเครนเติมเต็มคลังอาวุธ . รัสเซีย เน้นย้ำว่า ยูเครน ต้องละทิ้งความทะเยอทะยานเข้าร่วมนาโต ปลอดจากทหาร (demilitarization) ไม่เป็นนาซี (denazification) และละทิ้งแผนมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008706 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1140 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เฮือกสุดท้าย!?!"

    ตามรายงานจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีระลอกใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2025

    โดรน 121 ลำถูกยิงตก โดยที่โดรน 1 ลำ พยายามบินมุ่งหน้าไปกรุงมอสโก แต่ถูกยิงตกระหว่างทาง
    แบ่งเป็น:
    ▪️ 37 ลำ - ในภูมิภาค Bryansk
    ▪️ 20 ลำ - ในภูมิภาค Ryazan
    ▪️ 17 ลำ - ในภูมิภาคเคิร์ส
    ▪️ 17 ลำ - ในภูมิภาคซาราตอฟ
    ▪️ 7 ลำ - ในภูมิภาครอสตอฟ
    ▪️ 6 ลำ - ในภูมิภาคมอสโก
    ▪️ 6 ลำ - ในภูมิภาคเบลโกรอด
    ▪️ 3 ลำ - ในภูมิภาคโวโรเนซ
    ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคตูลา
    ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคโอริออล
    ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคลีเปตสค์
    ▪️ 1 ลำ - ในสาธารณรัฐไครเมีย
    ▪️ 1 ลำ - มุ่งหน้าเส้นทางสู่มอสโก
    "เฮือกสุดท้าย!?!" ตามรายงานจากกระทรวงกลาโหมรัสเซียรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีระลอกใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2025 โดรน 121 ลำถูกยิงตก โดยที่โดรน 1 ลำ พยายามบินมุ่งหน้าไปกรุงมอสโก แต่ถูกยิงตกระหว่างทาง แบ่งเป็น: ▪️ 37 ลำ - ในภูมิภาค Bryansk ▪️ 20 ลำ - ในภูมิภาค Ryazan ▪️ 17 ลำ - ในภูมิภาคเคิร์ส ▪️ 17 ลำ - ในภูมิภาคซาราตอฟ ▪️ 7 ลำ - ในภูมิภาครอสตอฟ ▪️ 6 ลำ - ในภูมิภาคมอสโก ▪️ 6 ลำ - ในภูมิภาคเบลโกรอด ▪️ 3 ลำ - ในภูมิภาคโวโรเนซ ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคตูลา ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคโอริออล ▪️ 2 ลำ - ในภูมิภาคลีเปตสค์ ▪️ 1 ลำ - ในสาธารณรัฐไครเมีย ▪️ 1 ลำ - มุ่งหน้าเส้นทางสู่มอสโก
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 297 มุมมอง 27 0 รีวิว
  • 3/
    เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan

    สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้

    มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน

    จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    3/ เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้ มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 373 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • 2/
    เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan

    สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้

    มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน

    จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    2/ เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้ มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 396 มุมมอง 25 0 รีวิว
  • 1/
    เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan

    สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้

    มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน

    จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    1/ เมื่อคืนที่ผ่านมา ยูเครนโจมตีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (CHPP) Novo-Ryazan และบริษัทกลั่นน้ำมัน Ryazan สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงมอสโกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 190 กม. และเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญในภูมิภาคนี้ มีรายงานว่าการโจมตีของยูเครนเกิดขึ้นมากกว่าสิบครั้งติดต่อกัน ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียไม่สามารถรับมือได้ทัน จากข้อมูลล่าสุด การโจมตีเกิดจากโดรนของยูเครน ระบบป้องกันภัยทางอากาศ Pantsir-S1 ไม่สามารถรับมือได้พร้อมกันในช่วงเวลาโจมตี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • มอสโกกำลังรอความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางของทรัมป์ในการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน

    ดมิทรี โปลีอันสกี (Dmitry Polyansky) รองเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติของรัสเซีย ออกมาตอบสนองข้อเรียกร้องของทรัมป์ในการกดดันให้รัสเซียเร่งเจรจาเพื่อยุติสงครามกับยูเครนว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ควรมีส่วนร่วมในการยุติสงครามโดย “ยุตินโยบายที่เป็นอันตราย” ของอเมริกาในยูเครนด้วย

    “เรากำลังดูว่าสิ่งที่เป็นข้อตกลงของทรัมป์จะมีความหมายเป็นไปแนวไหน”

    “ตอนนี้สหรัฐยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำในยูเครนเมื่อปี 2014 ซึ่งตั้งแต่ในตอนนั้นยูเครนเริ่มต่อต้านและเตรียมทำสงครามกับเรา ตอนนี้เขามีโอกาสที่จะยุตินโยบายที่เป็นอันตรายเหล่านั้นแล้ว”

    มอสโกกำลังรอความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางของทรัมป์ในการแก้ไขความขัดแย้งในยูเครน ดมิทรี โปลีอันสกี (Dmitry Polyansky) รองเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติของรัสเซีย ออกมาตอบสนองข้อเรียกร้องของทรัมป์ในการกดดันให้รัสเซียเร่งเจรจาเพื่อยุติสงครามกับยูเครนว่า ประธานาธิบดีทรัมป์ควรมีส่วนร่วมในการยุติสงครามโดย “ยุตินโยบายที่เป็นอันตราย” ของอเมริกาในยูเครนด้วย “เรากำลังดูว่าสิ่งที่เป็นข้อตกลงของทรัมป์จะมีความหมายเป็นไปแนวไหน” “ตอนนี้สหรัฐยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่พวกเขาเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำในยูเครนเมื่อปี 2014 ซึ่งตั้งแต่ในตอนนั้นยูเครนเริ่มต่อต้านและเตรียมทำสงครามกับเรา ตอนนี้เขามีโอกาสที่จะยุตินโยบายที่เป็นอันตรายเหล่านั้นแล้ว”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘ปูติน-สี’ วิดีโอคอลชื่นมื่นนานกว่าชั่วโมงครึ่ง ย้ำความสัมพันธ์แนบแน่น เผยพร้อมติดต่อกับคณะบริหารทรัมป์ภายใต้หลักการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน นอกจากนั้น ประมุขวังเครมลินยังเผยว่า พร้อมเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่า อเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย รวมทั้งจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาว ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ
    .
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวแน่นแฟ้นและยิ่งแนบแน่นมากขึ้นหลังจากปูตินส่งทหารบุกยูเครนในปี 2022 นอกจากนี้ จีนยังกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สั่งซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย เวลาเดียวกันก็เป็นแหล่งเทคโนโลยีสำคัญของแดนหมีขาว ขณะที่มอสโกถูกตะวันตกรุมแซงก์ชัน
    .
    ระหว่างการวิดีโอคอลกับสีคราวนี้ ที่กินเวลานานกว่าชั่วโมงครึ่งเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) หรือหนึ่งวันหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ปูตินย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ความเท่าเทียม และการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองภายในหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ
    .
    ประมุขวังเครมลินเสริมว่า รัสเซียและจีนสนับสนุนการพัฒนาระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และดำเนินการเพื่อรับประกันความมั่นคงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในอาณาบริเวณยูเรเซียและทั่วโลก ก่อนสำทับว่า ความพยายามร่วมกันระหว่างสองประเทศมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพกิจการโลก
    .
    ทางด้าน สี ยกย่องความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างกันเช่นเดียวกัน และแสดงความพร้อมในการร่วมกับปูตินยกระดับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย รวมทั้งรับมือความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภายนอก ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และปกป้องความเป็นกลางและความยุติธรรมระหว่างประเทศ
    .
    ผู้นำแดนมังกรย้ำว่า รัสเซียและจีนควรกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนกันและกันอย่างมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของสองประเทศต่อไป
    .
    แม้ไม่ได้เอ่ยถึงทรัมป์โดยตรง แต่เครมลินระบุว่า สีและปูตินพูดคุยกันเรื่องการติดต่อกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
    .
    ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ (17 ม.ค.) สี ได้คุยกับ ทรัมป์ ทางโทรศัพท์และแสดงความหวังว่า ความสัมพันธ์สองประเทศจะเป็นไปในแง่ดี
    .
    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทรัมป์ขู่เก็บภาษีศุลกากรและใช้มาตรการอื่นๆ กับจีนหากได้กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ขณะเดียวกันก็แย้มว่า สองชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่งกันอาจร่วมมือกันได้ในบางประเด็น เช่น ความขัดแย้งระดับภูมิภาค และการจำกัดการส่งออกสารที่ใช้ในการผลิตเฟนทานิล
    .
    ทางด้าน ยูริ ยูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศของปูติน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การหารือระหว่าง ปูติน กับ สี ครั้งนี้ มีการเตรียมการล่วงหน้าเอาไว้ก่อนแล้ว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า สีได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวสั้นๆ กับปูติน และผู้นำทั้งสองยังหารือกันในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการติดต่อกับคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา โดยทั้ง ปูติน และ สีต่างแสดงความพร้อมในการพัฒนาความสัมพันธ์กับวอชิงตัน บนหลักการของผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน
    .
    อนึ่ง ระหว่างการประชุมสภาความมั่นคงของรัสเซียที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ในวันจันทร์ ไม่นานก่อนที่ทรัมป์จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ปูตินได้กล่าวแสดงความยินดีและตอบรับความตั้งใจของผู้นำสหรัฐฯ ในการหารือกับมอสโก รวมทั้งบอกว่า รัสเซียเปิดกว้างในการเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่าอเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย และต้องจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาวที่อิงกับผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนและทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ
    .
    ขณะที่ทางด้านทรัมป์ ระหว่างการแถลงข่าวที่ห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์ (20) ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่งแล้ว ได้พูดถึงเรื่องสงครามยูเครนว่า ได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนว่า ต้องการทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    ทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า ปูตินจะเห็นพ้อง ก่อนสำทับว่า ประมุขวังเครมลินกำลังทำลายรัสเซียด้วยการปฏิเสธการทำข้อตกลง โดยเขาอ้างอิงถึงปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียที่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ
    .
    จากนั้นในวันอังคาร (21) ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจเพิ่มมาตรการแซงก์ชันรัสเซีย หากปูตินยังไม่ยอมเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006995
    ..............
    Sondhi X
    ‘ปูติน-สี’ วิดีโอคอลชื่นมื่นนานกว่าชั่วโมงครึ่ง ย้ำความสัมพันธ์แนบแน่น เผยพร้อมติดต่อกับคณะบริหารทรัมป์ภายใต้หลักการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน นอกจากนั้น ประมุขวังเครมลินยังเผยว่า พร้อมเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่า อเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย รวมทั้งจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาว ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ . ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวแน่นแฟ้นและยิ่งแนบแน่นมากขึ้นหลังจากปูตินส่งทหารบุกยูเครนในปี 2022 นอกจากนี้ จีนยังกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สั่งซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย เวลาเดียวกันก็เป็นแหล่งเทคโนโลยีสำคัญของแดนหมีขาว ขณะที่มอสโกถูกตะวันตกรุมแซงก์ชัน . ระหว่างการวิดีโอคอลกับสีคราวนี้ ที่กินเวลานานกว่าชั่วโมงครึ่งเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) หรือหนึ่งวันหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ปูตินย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ความเท่าเทียม และการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองภายในหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ . ประมุขวังเครมลินเสริมว่า รัสเซียและจีนสนับสนุนการพัฒนาระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และดำเนินการเพื่อรับประกันความมั่นคงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในอาณาบริเวณยูเรเซียและทั่วโลก ก่อนสำทับว่า ความพยายามร่วมกันระหว่างสองประเทศมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพกิจการโลก . ทางด้าน สี ยกย่องความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างกันเช่นเดียวกัน และแสดงความพร้อมในการร่วมกับปูตินยกระดับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย รวมทั้งรับมือความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภายนอก ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และปกป้องความเป็นกลางและความยุติธรรมระหว่างประเทศ . ผู้นำแดนมังกรย้ำว่า รัสเซียและจีนควรกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนกันและกันอย่างมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของสองประเทศต่อไป . แม้ไม่ได้เอ่ยถึงทรัมป์โดยตรง แต่เครมลินระบุว่า สีและปูตินพูดคุยกันเรื่องการติดต่อกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต . ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ (17 ม.ค.) สี ได้คุยกับ ทรัมป์ ทางโทรศัพท์และแสดงความหวังว่า ความสัมพันธ์สองประเทศจะเป็นไปในแง่ดี . อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทรัมป์ขู่เก็บภาษีศุลกากรและใช้มาตรการอื่นๆ กับจีนหากได้กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ขณะเดียวกันก็แย้มว่า สองชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่งกันอาจร่วมมือกันได้ในบางประเด็น เช่น ความขัดแย้งระดับภูมิภาค และการจำกัดการส่งออกสารที่ใช้ในการผลิตเฟนทานิล . ทางด้าน ยูริ ยูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศของปูติน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การหารือระหว่าง ปูติน กับ สี ครั้งนี้ มีการเตรียมการล่วงหน้าเอาไว้ก่อนแล้ว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า สีได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวสั้นๆ กับปูติน และผู้นำทั้งสองยังหารือกันในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการติดต่อกับคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา โดยทั้ง ปูติน และ สีต่างแสดงความพร้อมในการพัฒนาความสัมพันธ์กับวอชิงตัน บนหลักการของผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน . อนึ่ง ระหว่างการประชุมสภาความมั่นคงของรัสเซียที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ในวันจันทร์ ไม่นานก่อนที่ทรัมป์จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ปูตินได้กล่าวแสดงความยินดีและตอบรับความตั้งใจของผู้นำสหรัฐฯ ในการหารือกับมอสโก รวมทั้งบอกว่า รัสเซียเปิดกว้างในการเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่าอเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย และต้องจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาวที่อิงกับผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนและทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ . ขณะที่ทางด้านทรัมป์ ระหว่างการแถลงข่าวที่ห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์ (20) ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่งแล้ว ได้พูดถึงเรื่องสงครามยูเครนว่า ได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนว่า ต้องการทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย . ทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า ปูตินจะเห็นพ้อง ก่อนสำทับว่า ประมุขวังเครมลินกำลังทำลายรัสเซียด้วยการปฏิเสธการทำข้อตกลง โดยเขาอ้างอิงถึงปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียที่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ . จากนั้นในวันอังคาร (21) ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจเพิ่มมาตรการแซงก์ชันรัสเซีย หากปูตินยังไม่ยอมเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006995 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1464 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ขู่ว่าจะคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่ม หากมอสโกไม่เริ่มการเจรจากับยูเครน
    ทรัมป์ขู่ว่าจะคว่ำบาตรรัสเซียเพิ่ม หากมอสโกไม่เริ่มการเจรจากับยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • ปธน.ปูตินทักทาย ปธน.สี จิ้นผิงของจีน ในการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์

    ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีปูติน ได้สรุปสาระสำคัญหลังการสนทนาของผู้นำทั้งสอง:

    - เครมลินพร้อมที่จะติดต่อกับตัวแทนของทรัมป์ แต่ตัวแทนของทรัมป์ยังไม่ได้ติดต่อกับตัวแทนของรัสเซีย และยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมสำหรับการติดต่อกับทรัมป์จากสหรัฐ

    - การสนทนาระหว่างปูตินและสีจิ้นผิงในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่เป็นการตกลงกันไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา

    - สี จิ้นผิง แจ้งรายละเอียดทั่วไปให้ปูตินทราบ เกี่ยวกับเนื้อหาการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเขากับทรัมป์

    - ปูตินและสีจิ้นผิงแลกเปลี่ยนคำเชิญในการเยือนประเทศของแต่ละฝ่าย โดยที่:
    ♦️สี จิ้นผิง คาดว่าจะอยู่ที่มอสโกเพื่อร่วมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้

    ♦️ส่วนปูตินได้รับเชิญไปจีนเพื่อร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือญี่ปุ่นในวันที่ 3 กันยายน เช่นกัน

    - ผู้นำจีนกล่าวว่า จีนพร้อมยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซียขึ้นอีกขั้นในปี 2025

    - ทั้งสองผู้นำสนทนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและจีน ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของโลก

    - ปูตินกล่าวยินดีที่การทำงานร่วมกันระหว่างรัสเซียและจีนที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสถียรภาพในกิจการระหว่างประเทศของทั้งสอง
    ปธน.ปูตินทักทาย ปธน.สี จิ้นผิงของจีน ในการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของโดนัลด์ ทรัมป์ ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีปูติน ได้สรุปสาระสำคัญหลังการสนทนาของผู้นำทั้งสอง: - เครมลินพร้อมที่จะติดต่อกับตัวแทนของทรัมป์ แต่ตัวแทนของทรัมป์ยังไม่ได้ติดต่อกับตัวแทนของรัสเซีย และยังไม่มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมสำหรับการติดต่อกับทรัมป์จากสหรัฐ - การสนทนาระหว่างปูตินและสีจิ้นผิงในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่เป็นการตกลงกันไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา - สี จิ้นผิง แจ้งรายละเอียดทั่วไปให้ปูตินทราบ เกี่ยวกับเนื้อหาการสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างเขากับทรัมป์ - ปูตินและสีจิ้นผิงแลกเปลี่ยนคำเชิญในการเยือนประเทศของแต่ละฝ่าย โดยที่: ♦️สี จิ้นผิง คาดว่าจะอยู่ที่มอสโกเพื่อร่วมขบวนพาเหรดวันแห่งชัยชนะในวันที่ 9 พฤษภาคมนี้ ♦️ส่วนปูตินได้รับเชิญไปจีนเพื่อร่วมกิจกรรมเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือญี่ปุ่นในวันที่ 3 กันยายน เช่นกัน - ผู้นำจีนกล่าวว่า จีนพร้อมยกระดับความสัมพันธ์กับรัสเซียขึ้นอีกขั้นในปี 2025 - ทั้งสองผู้นำสนทนาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและจีน ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของโลก - ปูตินกล่าวยินดีที่การทำงานร่วมกันระหว่างรัสเซียและจีนที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างเสถียรภาพในกิจการระหว่างประเทศของทั้งสอง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิงวอน โดนัลด์ ทรัมป์ หลายต่อหลายครั้ง ขอเข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ถูกปฏิเสธมาอย่างต่อเนื่อง จากคำกล่าวอ้างของโดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดผู้นำเคียฟ ใช้แพลตฟอร์มเอ็กซ์ เขียนแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา
    .
    โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ เขียนบนอินสตาแกรม ก่อนพิธีสาบานตนของผู้เป็นพ่อ เย้ยหยันคำพูดของผู้นำยูเครน ที่ให้สัมภาษณ์กับ เล็กซ์ ฟรีดแมน พอดแคสต์ชาวอเมริกัน เมื่อช่วงต้นเดือน ซึ่ง เซเลนสกี บอกว่าเขาไม่ได้รับเชิญเข้าร่มพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคม
    .
    "ผมไม่สามารถมาได้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างสงคราม จนกว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเชิญผมเป็นการส่วนตัว ผมไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นเรื่องเหมาะสมไหมที่จะเดินทางมา เพราะผมรู้ว่าโดยทั่วไปแล้ว พวกผู้นำบางคนมีเหตุผลบางประการที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ" เซเลนสกี บอกกับ ฟรีดแมน
    .
    ทรัมป์ จูเนียร์ ตอบโต้ว่า "ส่วนที่ตลกที่สุดก็คือ เขาเป็นผู้ร้องขออย่างไม่เป็นทางการสำหรับคำเชิญถึง 3 รอบ และแต่ละครั้งถูกปฏิเสธ "ตอนนี้ เขาทำราวกับว่าเขาไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง" พร้อมตราหน้าเซเลนสกีว่าเป็น "คนประหลาด"
    .
    โดยปกติแล้ว ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มักไม่เชิญพวกผู้นำต่างชาติเข้าร่วมพิธีสาบานตน แต่ ทรัมป์ นั้น เปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติดั้งเดิมและส่งคำเชิญอย่างครอบคลุมถึง สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน วิคตอร์ เออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ฆาเบียร์ มิลเล ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ดาเนียล โนโบอา ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ และประธานาธิบดีซานติอาร์โก เปญา แห่งปารากวัย
    .
    ทรัมป์ ก่อความเคลือบแคลงแก่ยุทธการของสหรัฐฯ ในการช่วยเหลือยูเครน และประกาศยุติความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟอย่างรวดเร็ว พวกเจ้าหน้าที่ยูเครนเกรงว่าข้อตกลงหยุดยิงที่เสนอโดย ทรัมป์ จะทำให้ประเทศของเขาเสียเปรียบ
    .
    ทั้งนี้ เซเลนสกี พบปะกับ ทรัมป์ ในนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน จากนั้น ทรัมป์ เผยว่าผู้นำยูเครน "ต้องการให้ความขัดแย้งยุติลง และทั้ง 2 ฝ่ายต่างต้องการ "ข้อตกลงที่ยุติธรรม"
    .
    แม้ไม่ได้รับเชิญ แต่ในวันจันทร์ (20 ม.ค.) เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ ในพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง และยกย่องว่ามันเป็นโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งสันติภาพในประเทศของเขา ที่สู้รบทำสงครามต่อต้านการรุกรานของรัสเซียมาเกือบ 3 ปี
    .
    ทรัมป์ เรียกร้องซ้ำๆ เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง และสัญญาว่าจะหยุดสงครามอย่างทันทีทันใด แต่ไม่ได้บอกว่าจะด้วยวิธีการใด "ประธานาธิบดีทรัมป์เด็ดขาดเสมอ และนโยบายสันติภาพผ่านความเข้มแข็งที่เขาแถลง เปิดโอกาสสำหรับเสริมเข้มแข็งแก่ความเป็นผู้นำของอเมริกา และบรรลุเป้าหมายสันติภาพในระยะยาว ซึ่งมันมีความสำคัญลำดับสูงสุด" เซเลนสกีระบุ
    .
    ยูเครน มองการเพาะบ่มความใกล้ชิดกับว่าที่รัฐบาลใหม่ของทรัมป์ คือเป้าหมายสำคัญ และเซเลนสกี กล่าวในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่ายูเครนกำลังตั้งตาคอยบรรลุเป้าหมายแห่งความร่วมมือที่ก่อประโยชน์ร่วมกันกับรัฐบาลทรัมป์ "เมื่อร่วมมือกัน เราเข้มแข็งกว่าเดิม และเราสามารถมอบความมั่นคงและเสถียรภาพที่ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกับมอบการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้นแก่โลกและประเทศของเราทั้ง 2 ชาติ" เขากล่าว
    .
    ระหว่างการปราศรัยในช่วงค่ำ เซเลนสกี ให้คำจำกัดความ ทรัมป์ ว่าเป็น "คนที่เข้มแข็ง" ที่มอบแรงกดดันที่จำเป็นสำหรับเดินหน้าความพยายามบรรลุเป้าหมายแห่งสันติภาพ "นี่คือโอกาสที่ต้องคว้าไว้" เซเลนสกีกล่าว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006233
    .........
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิงวอน โดนัลด์ ทรัมป์ หลายต่อหลายครั้ง ขอเข้าร่วมพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่ถูกปฏิเสธมาอย่างต่อเนื่อง จากคำกล่าวอ้างของโดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของ ทรัมป์ อย่างไรก็ตาม ล่าสุดผู้นำเคียฟ ใช้แพลตฟอร์มเอ็กซ์ เขียนแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา . โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ เขียนบนอินสตาแกรม ก่อนพิธีสาบานตนของผู้เป็นพ่อ เย้ยหยันคำพูดของผู้นำยูเครน ที่ให้สัมภาษณ์กับ เล็กซ์ ฟรีดแมน พอดแคสต์ชาวอเมริกัน เมื่อช่วงต้นเดือน ซึ่ง เซเลนสกี บอกว่าเขาไม่ได้รับเชิญเข้าร่มพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคม . "ผมไม่สามารถมาได้ โดยเฉพาะในช่วงระหว่างสงคราม จนกว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเชิญผมเป็นการส่วนตัว ผมไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นเรื่องเหมาะสมไหมที่จะเดินทางมา เพราะผมรู้ว่าโดยทั่วไปแล้ว พวกผู้นำบางคนมีเหตุผลบางประการที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐฯ" เซเลนสกี บอกกับ ฟรีดแมน . ทรัมป์ จูเนียร์ ตอบโต้ว่า "ส่วนที่ตลกที่สุดก็คือ เขาเป็นผู้ร้องขออย่างไม่เป็นทางการสำหรับคำเชิญถึง 3 รอบ และแต่ละครั้งถูกปฏิเสธ "ตอนนี้ เขาทำราวกับว่าเขาไม่ได้เดินทางมาด้วยตนเอง" พร้อมตราหน้าเซเลนสกีว่าเป็น "คนประหลาด" . โดยปกติแล้ว ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มักไม่เชิญพวกผู้นำต่างชาติเข้าร่วมพิธีสาบานตน แต่ ทรัมป์ นั้น เปลี่ยนแปลงแนวทางปฏิบัติดั้งเดิมและส่งคำเชิญอย่างครอบคลุมถึง สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน วิคตอร์ เออร์บาน นายกรัฐมนตรีฮังการี ฆาเบียร์ มิลเล ประธานาธิบดีอาร์เจนตินา จอร์เจีย เมโลนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ดาเนียล โนโบอา ประธานาธิบดีเอกวาดอร์ และประธานาธิบดีซานติอาร์โก เปญา แห่งปารากวัย . ทรัมป์ ก่อความเคลือบแคลงแก่ยุทธการของสหรัฐฯ ในการช่วยเหลือยูเครน และประกาศยุติความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟอย่างรวดเร็ว พวกเจ้าหน้าที่ยูเครนเกรงว่าข้อตกลงหยุดยิงที่เสนอโดย ทรัมป์ จะทำให้ประเทศของเขาเสียเปรียบ . ทั้งนี้ เซเลนสกี พบปะกับ ทรัมป์ ในนิวยอร์ก เมื่อเดือนกันยายน จากนั้น ทรัมป์ เผยว่าผู้นำยูเครน "ต้องการให้ความขัดแย้งยุติลง และทั้ง 2 ฝ่ายต่างต้องการ "ข้อตกลงที่ยุติธรรม" . แม้ไม่ได้รับเชิญ แต่ในวันจันทร์ (20 ม.ค.) เซเลนสกี โพสต์ข้อความบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ แสดงความยินดีกับ ทรัมป์ ในพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง และยกย่องว่ามันเป็นโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งสันติภาพในประเทศของเขา ที่สู้รบทำสงครามต่อต้านการรุกรานของรัสเซียมาเกือบ 3 ปี . ทรัมป์ เรียกร้องซ้ำๆ เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง และสัญญาว่าจะหยุดสงครามอย่างทันทีทันใด แต่ไม่ได้บอกว่าจะด้วยวิธีการใด "ประธานาธิบดีทรัมป์เด็ดขาดเสมอ และนโยบายสันติภาพผ่านความเข้มแข็งที่เขาแถลง เปิดโอกาสสำหรับเสริมเข้มแข็งแก่ความเป็นผู้นำของอเมริกา และบรรลุเป้าหมายสันติภาพในระยะยาว ซึ่งมันมีความสำคัญลำดับสูงสุด" เซเลนสกีระบุ . ยูเครน มองการเพาะบ่มความใกล้ชิดกับว่าที่รัฐบาลใหม่ของทรัมป์ คือเป้าหมายสำคัญ และเซเลนสกี กล่าวในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่ายูเครนกำลังตั้งตาคอยบรรลุเป้าหมายแห่งความร่วมมือที่ก่อประโยชน์ร่วมกันกับรัฐบาลทรัมป์ "เมื่อร่วมมือกัน เราเข้มแข็งกว่าเดิม และเราสามารถมอบความมั่นคงและเสถียรภาพที่ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกับมอบการเติบโตทางเศรษฐกิจในทิศทางที่ดีขึ้นแก่โลกและประเทศของเราทั้ง 2 ชาติ" เขากล่าว . ระหว่างการปราศรัยในช่วงค่ำ เซเลนสกี ให้คำจำกัดความ ทรัมป์ ว่าเป็น "คนที่เข้มแข็ง" ที่มอบแรงกดดันที่จำเป็นสำหรับเดินหน้าความพยายามบรรลุเป้าหมายแห่งสันติภาพ "นี่คือโอกาสที่ต้องคว้าไว้" เซเลนสกีกล่าว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006233 ......... Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1383 มุมมอง 1 รีวิว
  • ไม่ชอบใครก็หาเรื่องจะเอาเค้าออกให้หมด!!!

    "ทรัมป์เล็งเปลี่ยนระบอบการปกครองในเวเนซุเอลา"

    รายงานระบุว่าทีมงานชุดใหม่ของทรัมป์ต้องการเปลี่ยนอำนาจในเวเนซุเอลา แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใด

    ที่ปรึกษารายหนึ่งซึ่งไม่ได้ยอมเปิดเผยชื่อ ระบุว่าต้องการให้นิโคลัส มาดูโร "ประสบชะตากรรมเดียวกับ" อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรีย โดยเขากล่าวว่า "เราคงไม่รังเกียจหากมาดูโรจะกลายมาเป็นเพื่อนบ้านของอัสซาดในมอสโก" ซึ่งสะท้อนถึงอเมริกาอาจกำลังวางแผนการบางอย่างเพื่อทำให้ผู้นำเวเนซุเอลาอยุ่ในสถานนะผู้ลี้ภัย โดยหลีกเลี่ยงการสร้างความรุนแรงโดยตรง

    ที่มา : Axios
    ไม่ชอบใครก็หาเรื่องจะเอาเค้าออกให้หมด!!! "ทรัมป์เล็งเปลี่ยนระบอบการปกครองในเวเนซุเอลา" รายงานระบุว่าทีมงานชุดใหม่ของทรัมป์ต้องการเปลี่ยนอำนาจในเวเนซุเอลา แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะดำเนินการด้วยวิธีใด ที่ปรึกษารายหนึ่งซึ่งไม่ได้ยอมเปิดเผยชื่อ ระบุว่าต้องการให้นิโคลัส มาดูโร "ประสบชะตากรรมเดียวกับ" อดีตประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรีย โดยเขากล่าวว่า "เราคงไม่รังเกียจหากมาดูโรจะกลายมาเป็นเพื่อนบ้านของอัสซาดในมอสโก" ซึ่งสะท้อนถึงอเมริกาอาจกำลังวางแผนการบางอย่างเพื่อทำให้ผู้นำเวเนซุเอลาอยุ่ในสถานนะผู้ลี้ภัย โดยหลีกเลี่ยงการสร้างความรุนแรงโดยตรง ที่มา : Axios
    Angry
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน เข้าพบประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ที่มอสโกเพื่อลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Russia-Iran Comprehensive Strategic Partnership Agreement)

    ตามรายงานก่อนหน้านี้ ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี

    ข้อตกลงดังกล่าว จะรวมถึงข้อตกลงการป้องกันภัยคุกคามที่ครอบคลุมร่วมกันด้วย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องปกป้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตี (ลักษณะมาตรา 5 ของนาโต้)

    นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมนี้จะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-รัสเซีย ซึ่งจะรวมถึงการลงทุน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การแบ่งปันความรู้ วิทยาการ และความร่วมมือทางทหารอย่างกว้างขวาง

    รัสเซียได้ทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับเกาหลีเหนือด้วยเช่นกันเมื่อกลางปี 2567
    ประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน เข้าพบประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย ที่มอสโกเพื่อลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Russia-Iran Comprehensive Strategic Partnership Agreement) ตามรายงานก่อนหน้านี้ ข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลายาวนานถึง 20 ปี ข้อตกลงดังกล่าว จะรวมถึงข้อตกลงการป้องกันภัยคุกคามที่ครอบคลุมร่วมกันด้วย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องปกป้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตี (ลักษณะมาตรา 5 ของนาโต้) นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมนี้จะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-รัสเซีย ซึ่งจะรวมถึงการลงทุน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การแบ่งปันความรู้ วิทยาการ และความร่วมมือทางทหารอย่างกว้างขวาง รัสเซียได้ทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับเกาหลีเหนือด้วยเช่นกันเมื่อกลางปี 2567
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 579 มุมมอง 22 0 รีวิว
  • Andrej Danko เป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย ถ่ายทำวิดีโอที่สอง เพื่อบอกให้โลกรับรู้ว่า "การคว่ำบาตร" รัสเซียมันช่างไร้ค่าจริงๆ!

    “แม้จะมีการคว่ำบาตร แต่เรายังเห็นบริษัทของตะวันตกขายอาหารจานด่วนในรัสเซีย พวกคุณดูด้วยตาคุณเองแล้วกัน!”

    รองประธานรัฐสภาสโลวาเกียบันทึกวิดีโอร้านค้าที่มีคล้ายกับแมคโดนัลด์และไก่ทอดเคเอฟซีของรัสเซียในศูนย์การค้ามอสโก

    นอกจากนี้ยังมีร้านที่คล้ายเบอร์เกอร์คิงอีกด้วย

    พลเมืองชาวรัสเซียไม่เคยอดอยาก ไม่เคยเดือดร้อนกับการคว่ำบาตร พวกเขาจะรู้ไหมว่าตะวันตกกำลังดีใจที่สามารถคว่ำบาตรรัสเซียได้ ทั้งที่มันไร้ประโยชน์สิ้นดี!
    Andrej Danko เป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย ถ่ายทำวิดีโอที่สอง เพื่อบอกให้โลกรับรู้ว่า "การคว่ำบาตร" รัสเซียมันช่างไร้ค่าจริงๆ! “แม้จะมีการคว่ำบาตร แต่เรายังเห็นบริษัทของตะวันตกขายอาหารจานด่วนในรัสเซีย พวกคุณดูด้วยตาคุณเองแล้วกัน!” รองประธานรัฐสภาสโลวาเกียบันทึกวิดีโอร้านค้าที่มีคล้ายกับแมคโดนัลด์และไก่ทอดเคเอฟซีของรัสเซียในศูนย์การค้ามอสโก นอกจากนี้ยังมีร้านที่คล้ายเบอร์เกอร์คิงอีกด้วย พลเมืองชาวรัสเซียไม่เคยอดอยาก ไม่เคยเดือดร้อนกับการคว่ำบาตร พวกเขาจะรู้ไหมว่าตะวันตกกำลังดีใจที่สามารถคว่ำบาตรรัสเซียได้ ทั้งที่มันไร้ประโยชน์สิ้นดี!
    Like
    Yay
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 366 มุมมอง 27 0 รีวิว
  • เครมลินประกาศเมื่อวันจันทร์ว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียและประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน จะพบกันที่มอสโกในวันศุกร์นี้ เพื่อลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Russia-Iran Comprehensive Strategic Partnership Agreement)

    ข้อตกลงดังกล่าว จะรวมถึงข้อตกลงการป้องกันภัยคุกคามที่ครอบคลุมร่วมกันด้วย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องปกป้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตี (ลักษณะมาตรา 5 ของนาโต้)

    นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมนี้จะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-รัสเซีย ซึ่งจะรวมถึงการลงทุน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การแบ่งปันความรู้ วิทยาการ และความร่วมมือทางทหารอย่างกว้างขวาง

    “หลังจากลงนามข้อตกลงแล้ว จะส่งเรื่องเพื่อรับการอนุมัติจากรัฐสภาอิหร่าน และหลังจากให้สัตยาบันแล้ว ข้อตกลงจะมีผลยาวนาน 20 ปี” คาเซม จาลาลี กล่าวกับ IRIB

    รัสเซียได้ทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับเกาหลีเหนือด้วยเช่นกันเมื่อกลางปี 2567
    เครมลินประกาศเมื่อวันจันทร์ว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียและประธานาธิบดีอิหร่าน มาซูด เปเซชเคียน จะพบกันที่มอสโกในวันศุกร์นี้ เพื่อลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ (Russia-Iran Comprehensive Strategic Partnership Agreement) ข้อตกลงดังกล่าว จะรวมถึงข้อตกลงการป้องกันภัยคุกคามที่ครอบคลุมร่วมกันด้วย โดยมีภาระผูกพันที่จะต้องปกป้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูกโจมตี (ลักษณะมาตรา 5 ของนาโต้) นอกจากนี้ ข้อตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมนี้จะเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างอิหร่าน-รัสเซีย ซึ่งจะรวมถึงการลงทุน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่กว้างขวาง การแบ่งปันความรู้ วิทยาการ และความร่วมมือทางทหารอย่างกว้างขวาง “หลังจากลงนามข้อตกลงแล้ว จะส่งเรื่องเพื่อรับการอนุมัติจากรัฐสภาอิหร่าน และหลังจากให้สัตยาบันแล้ว ข้อตกลงจะมีผลยาวนาน 20 ปี” คาเซม จาลาลี กล่าวกับ IRIB รัสเซียได้ทำข้อตกลงหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับเกาหลีเหนือด้วยเช่นกันเมื่อกลางปี 2567
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 411 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'รัสเซียกำลังจะตายจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก' นี่คือสิ่งที่สื่อตะวันตกพยายามป้อนข้อมูลให้คนทั้งโลก

    แต่ในความเป็นจริง เมื่อนักการเมืองชาวสโลวาเกีย Andrej Danko ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย เดินทางเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ตระหว่างการมาเยือนมอสโก เขาต้องตกตะลึงเมื่อพบกับสินค้ามากมายหลายชนิด


    "เนยฟินแลนด์ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30 ถึง 2.80 ยูโร ผมคงต้องซื้อมันแล้วล่ะ ในนี้แค่พื้นที่ประมาณ 6 เมตร แต่มีเนยมากมายกว่า 50 ประเภท" Danko กล่าวด้วยความอึ้งในการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
    'รัสเซียกำลังจะตายจากการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก' นี่คือสิ่งที่สื่อตะวันตกพยายามป้อนข้อมูลให้คนทั้งโลก แต่ในความเป็นจริง เมื่อนักการเมืองชาวสโลวาเกีย Andrej Danko ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรสโลวาเกีย เดินทางเข้าไปในซูเปอร์มาร์เก็ตระหว่างการมาเยือนมอสโก เขาต้องตกตะลึงเมื่อพบกับสินค้ามากมายหลายชนิด "เนยฟินแลนด์ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.30 ถึง 2.80 ยูโร ผมคงต้องซื้อมันแล้วล่ะ ในนี้แค่พื้นที่ประมาณ 6 เมตร แต่มีเนยมากมายกว่า 50 ประเภท" Danko กล่าวด้วยความอึ้งในการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 20 0 รีวิว
  • เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน
    .
    วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน
    .
    "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ
    .
    วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว"
    .
    ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย
    .
    สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา
    .
    ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ
    .
    เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512
    ..............
    Sondhi X
    เป็นไปไม่ได้ที่จะขับไล่รัสเซียออกจาก "ทุกตารางนิ้ว" ของดินแดนที่กล่าวอ้างโดยยูเครน ในนั้นรวมถึงแหลมไครเมีย จากความเห็นของ ไมเคิล วอล์ทซ์ ว่าที่ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ พร้อมเผยว่าบรรดาผู้สนับสนุนของเคียฟ ก็ยอมรับกับความคิดดังกล่าวเช่นกัน . วอล์ทซ์ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีนิวส์ ออกอากาศในวันอาทิตย์ (12 ม.ค.) ระบุว่า "การยอมรับความเป็นจริง จะเป็นก้าวย่างครั้งใหญ่ในการมุ่งหน้าสู่การคลี่คลายความขัดแย้งระหว่างมอสโกกับเคียฟ" พร้อมเผยว่าเวลานี้ แนวคิดนี้กำลังเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้สนับสนุนยูเครน . "ทุกๆ คนรู้ว่าความขัดแย้งนี้จำเป็นต้องจบลงด้วยการทูตไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ผมคิดว่ามันดูไม่เป็นความจริงเท่าไหร่ ที่บอกว่าจะขับไล่ทหารรัสเซียทุกๆ นายออกจากทุกตารางนิ้วในแผ่นดินยูเครน แม้กระทั่งไครเมีย ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว และผมคิดว่ามันจะเป็นก้าวย่างที่สำคัญมากๆ ที่ทั้งโลกยอมรับข้อเท็จจริงนี้" วอล์ทซ์ เน้นย้ำ . วอล์ทซ์ แนะนำว่า การยอมรับข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ยูเครนจะคืนสู่เขตชายแดนดั้งเดิมหลังยุคสภาพโซเวียตนั้นไม่อาจเป็นจริงแล้วในเวลานี้ คือการเปิดทางสำหรับการจัดการกับคำถามต่างๆ ในหนทางที่จะทำให้ความขัดแย้งนี้ไม่ยืดเยื้ออีกต่อไป "และเราไม่อาจปล่อยให้ความขัดแย้งลุกลามบานปลายในหนทางที่ฉุดลากคนทั่วโลกได้อีกต่อไปแล้ว" . ความเห็นนี้สะท้อนไปในทิศทางเดียวกับถ้อยแถลงที่ผ่านมาของบรรดาพันธมิตรใกล้ชิดคนอื่นๆ ของทรัมป์ ในนั้นรวมถึงว่าที่รองประธานาธิบดี เจ.ดี.แวนซ์ ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน โดยครั้งนั้น แวนซ์ บ่งชี้ว่าเคียฟอาจลงเอยในสถานการณ์หนึ่งที่ต้องตัดสินใจยอมสละดินแดนบางส่วนแก่รัสเซีย . สัญญาณต่างๆ ที่ส่งออกมาจากว่าที่รัฐบาลใหม่สหรัฐฯ สวนทางโดยสิ้นเชิงกับเป้าหมายของยูเครน ที่ประกาศกร้าวซ้ำๆ ว่าจะทวงคืนดินแดนทั้งหมดในยุคหลังสหภาพโซเวียต มันมาพร้อมกับท่าทีปฏิเสธอย่างชัดเจนจากเคียฟ ต่อการเจรจาที่มีความหมายใดๆ กับรัสเซีย อย่างไรก็ตาม มอสโกมอง 5 อดีตแคว้นของยูเครน ในนั้นประกอบด้วย เคียร์ซอน ซาโปริซเซีย โดเนตส์ก ลูฮันสก์ และไครเมีย เป็นดินแดนผนวกของพวกเขา . ไครเมีย แยกตัวออกจากยูเครน ตามหลังเหตุรัฐประหารไมดานปี 2014 ในเคียฟ เข้าร่วมกับรัสเซียผ่านการทำประชามติไม่นานหลังจากนั้น ส่วนแคว้นอื่นๆ อีก 4 แคว้น ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนรัสเซียในช่วงปลายปี 2022 หลังชาวบ้านท้องถิ่นโหวตสนับสนุนอย่างท่วมท้นความเคลื่อนไหวดังกล่าวผ่านการลงประชามติ . เมื่อปีที่แล้ว มอสโกเรียกร้องให้ เคียฟ ถอนทหารออกจากพื้นที่ต่างๆ ที่ยังคงควบคุมอยู่ในอดีตแคว้นเหล่านี้ เพื่อเริ่มต้นกระบวนการเจรจาที่หยุดชะงักมาช้านาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003512 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1173 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts