คณิตศาสตร์การเมือง สนามเลือกตั้งราชบุรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2567 นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือกำนันตุ้ย อดีตนายก อบจ.ราชบุรี ได้ 242,297 คะแนน เอาชนะ นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ หรือ หวุน ผู้สมัครจากพรรคประชาชน อดีตพรรคก้าวไกล ได้ 175,353 คะแนน ห่างกัน 66,944 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 455,400 คน คิดเป็น 67.31% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 676,526 คน มีบัตรดี 417,650 ใบ บัตรเสีย 16,500 ใบ และบัตรไม่เลือกผู้สมัครรายใด 21,250 ใบ คิดเป็น 4.67%
เมื่อพิจารณาผลคะแนนเลือกตั้งแบบรายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ พบว่านายชัยรัตน์มีคะแนนสูสีกับนายวิวัฒน์ในอำเภอเมืองราชบุรี นายชัยรัตน์ได้ 43,584 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 45,390 คะแนน ห่างกัน 1,806 คะแนน หรือ 3.98% และอำเภอสวนผึ้ง นายชัยรัตน์ได้ 7,468 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 8,027 คะแนน ห่างกัน 559 คะแนน หรือ 6.96% ส่วนอำเภอที่มีคะแนนห่างกันมากที่สุด คืออำเภอโพธาราม นายชัยรัตน์ได้ 27,833 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 46,354 คะแนน ห่างกัน 18,521 คะแนน หรือ 39.96%
ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า นายวิวัฒน์ได้ 241,952 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 345 คะแนน ส่วนนางภรมน นรการกุมพล ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้าของนายธนาธร ได้ 74,929 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 100,424 คะแนน อันดับสาม นายอรรถพงศ์ ห้องริ้ว ผู้สมัครกลุ่ม New Gen ที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน ได้ 54,153 คะแนน
เนื่องจากการเลือกตั้ง อบจ.ราชบุรีครั้งนี้ พรรคประชาชนและผู้สนับสนุนคนสำคัญลงพื้นที่ อาทิ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ สส.พรรคคนอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชนให้พื้นที่ข่าวนายชัยรัตน์ เปรียบได้กับสนามการเมืองระดับชาติ แต่นายวิวัฒน์แทบไม่มีพื้นที่ข่าวบนหน้าสื่อมวลชนเลย จึงต้องพิจารณาสนามเลือกตั้ง สส.ราชบุรี เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา
แม้เก้าอี้ สส.แบบแบ่งเขตจะเป็นของพรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่ง และพรรครวมไทยสร้างชาติ 2 ที่นั่ง แต่คะแนนบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พบว่า พรรคก้าวไกลนำเป็นอันดับหนึ่ง รวม 5 เขตได้ไป 233,608 คะแนน ส่วนอันดับ 2 เป็นของพรรคเพื่อไทย แม้จะไม่ได้ สส. แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากถึง 102,757 คะแนน ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 90,598 คะแนน และพรรคพลังประชารัฐ ได้ 10,192 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คะแนนพรรคก้าวไกลหายไป 58,255 คะแนน
นักการเมืองในพื้นที่ราชบุรีวิเคราะห์กันว่า คะแนนนิยมของนายชัยรัตน์และพรรคประชาชนช่วงแรก โดยเฉพาะหลังยุบพรรคก้าวไกลคะแนนดีมาก ทำให้ตระกูลนิติกาญจนาหวั่นไหวพอสมควร แต่ถูกโจมตีจากการปราศรัยพาดพิงโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ขณะที่หลายกลุ่มการเมืองในราชบุรีช่วยกันจับมือช่วยนายวิวัฒน์สู้กับพรรคประชาชน หลังพรรคก้าวไกลแม้ไม่ได้ สส.เขต แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์อันดับหนึ่ง จึงช่วยกันสกัดไม่ให้พรรคประชาชนแจ้งเกิดการเมืองท้องถิ่นที่นี่
#Newskit #อบจราชบุรี #เลือกตั้งราชบุรี คณิตศาสตร์การเมือง สนามเลือกตั้งราชบุรี
การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2567 นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา หรือกำนันตุ้ย อดีตนายก อบจ.ราชบุรี ได้ 242,297 คะแนน เอาชนะ นายชัยรัตน์ ศักดิ์อิสระพงศ์ หรือ หวุน ผู้สมัครจากพรรคประชาชน อดีตพรรคก้าวไกล ได้ 175,353 คะแนน ห่างกัน 66,944 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 455,400 คน คิดเป็น 67.31% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 676,526 คน มีบัตรดี 417,650 ใบ บัตรเสีย 16,500 ใบ และบัตรไม่เลือกผู้สมัครรายใด 21,250 ใบ คิดเป็น 4.67%
เมื่อพิจารณาผลคะแนนเลือกตั้งแบบรายอำเภอทั้ง 10 อำเภอ พบว่านายชัยรัตน์มีคะแนนสูสีกับนายวิวัฒน์ในอำเภอเมืองราชบุรี นายชัยรัตน์ได้ 43,584 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 45,390 คะแนน ห่างกัน 1,806 คะแนน หรือ 3.98% และอำเภอสวนผึ้ง นายชัยรัตน์ได้ 7,468 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 8,027 คะแนน ห่างกัน 559 คะแนน หรือ 6.96% ส่วนอำเภอที่มีคะแนนห่างกันมากที่สุด คืออำเภอโพธาราม นายชัยรัตน์ได้ 27,833 คะแนน นายวิวัฒน์ได้ 46,354 คะแนน ห่างกัน 18,521 คะแนน หรือ 39.96%
ถึงกระนั้น เมื่อเทียบกับผลการเลือกตั้งนายก อบจ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน พบว่า นายวิวัฒน์ได้ 241,952 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 345 คะแนน ส่วนนางภรมน นรการกุมพล ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้าของนายธนาธร ได้ 74,929 คะแนน เทียบกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพิ่มขึ้น 100,424 คะแนน อันดับสาม นายอรรถพงศ์ ห้องริ้ว ผู้สมัครกลุ่ม New Gen ที่พรรคเพื่อไทยให้การสนับสนุน ได้ 54,153 คะแนน
เนื่องจากการเลือกตั้ง อบจ.ราชบุรีครั้งนี้ พรรคประชาชนและผู้สนับสนุนคนสำคัญลงพื้นที่ อาทิ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน และ สส.พรรคคนอื่นๆ รวมทั้งสื่อมวลชนให้พื้นที่ข่าวนายชัยรัตน์ เปรียบได้กับสนามการเมืองระดับชาติ แต่นายวิวัฒน์แทบไม่มีพื้นที่ข่าวบนหน้าสื่อมวลชนเลย จึงต้องพิจารณาสนามเลือกตั้ง สส.ราชบุรี เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา
แม้เก้าอี้ สส.แบบแบ่งเขตจะเป็นของพรรคพลังประชารัฐ 3 ที่นั่ง และพรรครวมไทยสร้างชาติ 2 ที่นั่ง แต่คะแนนบัตรเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พบว่า พรรคก้าวไกลนำเป็นอันดับหนึ่ง รวม 5 เขตได้ไป 233,608 คะแนน ส่วนอันดับ 2 เป็นของพรรคเพื่อไทย แม้จะไม่ได้ สส. แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์มากถึง 102,757 คะแนน ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 90,598 คะแนน และพรรคพลังประชารัฐ ได้ 10,192 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว คะแนนพรรคก้าวไกลหายไป 58,255 คะแนน
นักการเมืองในพื้นที่ราชบุรีวิเคราะห์กันว่า คะแนนนิยมของนายชัยรัตน์และพรรคประชาชนช่วงแรก โดยเฉพาะหลังยุบพรรคก้าวไกลคะแนนดีมาก ทำให้ตระกูลนิติกาญจนาหวั่นไหวพอสมควร แต่ถูกโจมตีจากการปราศรัยพาดพิงโรงเรียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ขณะที่หลายกลุ่มการเมืองในราชบุรีช่วยกันจับมือช่วยนายวิวัฒน์สู้กับพรรคประชาชน หลังพรรคก้าวไกลแม้ไม่ได้ สส.เขต แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์อันดับหนึ่ง จึงช่วยกันสกัดไม่ให้พรรคประชาชนแจ้งเกิดการเมืองท้องถิ่นที่นี่
#Newskit #อบจราชบุรี #เลือกตั้งราชบุรี