• อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action

    วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ

    ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา

    ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ

    คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน

    นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู

    คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน

    ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100%

    ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น

    นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1%

    ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20%

    ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน
    .
    .
    .
    ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้

    นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ

    และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด

    คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่

    ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย

    การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก

    (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ)

    แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ

    และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา
    .
    .
    .
    เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ

    ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง

    แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม

    คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน

    ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ

    ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ

    เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท

    ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม
    .
    .
    .
    ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ

    คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ

    จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง

    เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู

    อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย

    และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล

    คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด

    เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์

    ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ”
    .
    .
    .
    ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง

    คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย

    ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง

    หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์”

    ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary"

    "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“

    ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ

    เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“

    …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ…

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉


    นัทแนะ
    อ่านเอาเรื่อง Ep.88 : Affirmative Action วันนี้อยากจะเล่าเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ Affirmative Action ของมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเราครับ ในสมัยก่อนนู้น คือ ยุคก่อนปี 1950 นั้น มาเลเซีย (ตอนนั้นเรียก “มลายา”) เป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ครับ อังกฤษเขาเห็นว่าที่มลายานี้ยังขาดแคลลนแรงงานอยู่มาก ก็เลยเปิดรับชาวจีนให้อพยพเข้ามาเป็นแรงงานอยู่ที่มลายา ชาวจีนที่อพยพมามลายานั้น ส่วนใหญ่จะมาจากมณฑลฟูเจี้ยนและกวางตุ้ง เหตุที่อพยพมาก็เพราะหนีความอดอยากและยากจนของประเทศจีนในเวลานั้นครับ คนจีนเหล่านี้ เบื้องแรกก็มาเป็นแรงงานทำโน่นทำนี่ แต่อยู่ๆไปก็เริ่มเรียนภาษาอังกฤษและเริ่มทำธุรกิจ ชีวิตความเป็นอยู่และรายได้เริ่มดีขึ้นด้วยความขยันตามประสาคนจีน นี่คือจุดเริ่มต้นของคนจีนในคาบสมุทรมลายา คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 10% ของประชากรทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู คนอินเดียก็มีมาอยู่ที่มลายาเหมือนกัน แต่น้อยกว่าคนจีน ทีนี้พอถึงปี 1957 อังกฤษคืนเอกราชให้มลายา อำนาจการปกครองรัฐบาลนั้นเป็นของชาวมลายูเกือบ 100% ในเวลานั้น ธุรกิจสำคัญส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวจีน และสำคัญคือ 99% ของนักศึกษาที่เข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยนั้น ล้วนมีแต่ชาวจีนทั้งสิ้น นักศึกษาชาวมลายูมีแค่ 1% ในคณะที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ที่เราเรียกว่า STEM นั้น ก็เป็นแบบเดียวกันคือ มีแต่นักศึกษาชาวจีน อันทำให้ชาวจีนมีความรู้สูงกว่าและเจริญงอกงามกว่าชาวมลายูทั้งๆที่ประชากรชาวจีนนั้นมีไม่ถึง 20% ก่อให้เกิดความเกลียดชังที่คนมลายูมีต่อคนจีน . . . ในปี 1960 รัฐบาลมาเลเซียซึ่งเป็นคนมลายูทั้งหมด จึงดำริโครงการที่ชื่อว่า Affirmative Action เพื่อช่วยชาวมลายู คือ ช่วยเหลือทุกวิถีทางที่จะเพิ่มจำนวนคนมลายูให้เข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ นำไปสู่การตั้งโควต้านักศึกษา ว่าจะต้องมีคนมลายูเท่านี้และจำกัดจำนวนคนจีนที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยของรัฐ และที่ช้อคสุดคือ รัฐบาลสั่งเปลี่ยนภาษาที่สอนในมหาลัย จากเดิมที่สอนเป็นภาษาอังกฤษให้เปลี่ยนเป็นภาษามลายูทั้งหมด คือ กีดกันคนจีนกันเต็มที่ ทำให้นักศึกษาจีนที่เก่งๆหัวดีจำนวนมากถอดใจกับการเข้ามหาวิทยาลัย และย้ายไปเรียนที่อเมริกาและยุโรปแทน คนจีนที่มีความรู้สูงจำนวนมากย้ายออกจากมาเลเซีย การกีดกันเชื้อชาตินี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สิงคโปร์แยกตัวออกไปตั้งประเทศเอง และภายหลังสิงคโปร์นั้นเจริญงอกงามกว่ามาเลเซียมาก (ถ้าจะพูดให้ถูกคือ รัฐบาลมลายูขับไล่นายลี กวน ยูและสิงคโปร์ออกไปครับ) แต่กระนั้นความกดดันของรัฐบาลมลายูนี้ก็ก่อให้เกิดผลดีอยู่บ้างคือ ชาวจีนรวมตัวกันสร้างมหาวิทยาลัยเอกชนขึ้นในมาเลเซียหลายแห่ง สอนหนังสือเป็นภาษาอังกฤษเหมือนเคย เพื่อสอนให้กับชาวจีนและอินเดียที่ได้รับผลกระทบ และได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในเวลาต่อมา . . . เมื่อกาลเวลาผ่านไป 60 ปี Affirmative Action นี้ก็ยังคงอยู่ในมาเลเซียในรูปแบบของโควต้าเชื้อชาติ ผลของ Affirmative Action นี้ ทำให้คนมลายูมีอัตราการเรียนมหาวิทยาลัยสูงขึ้นจริง มีรายได้สูงขึ้นจริง แต่ว่าโครงสร้างเศรษฐกิจยังคงเหมือนเดิม คือ ธุรกิจและอุตสาหกรรมภาคเอกชนขนาดใหญ่ในมาเลเซียยังคงอยู่ในมือของคนจีน ส่วนคนมลายูนั้นส่วนใหญ่จะทำงานอยู่ในภาครัฐ ที่โดดเด่นขึ้นมาในภาคเอกชนก็มีครับ เช่น แอร์ เอเซีย ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจมลายู 2 คนครับ ในประชากรมาเลเซีย 100 คน มีชาวมลายูราวๆ 70% ชาวจีน 20% ที่เหลือเป็นอินเดีย 8% ครับ เมื่อสำรวจรายได้ของคนมาเลเซียในปี 2022 ก็ได้พบว่า หากชาวจีนมีรายได้ 100 บาท ชาวมลายูจะมีรายได้ 70 บาท และชาวอินเดีย 87 บาท ชาวมลายูยังคงรายได้ต่ำที่สุดอยู่เช่นเคย แม้จะกีดกันชาวจีนแล้วก็ตาม . . . ที่ผมยกเรื่องโครงการ Affirmative Action ขึ้นมานี้ เพราะเป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันทั่วโลกมากว่าเป็นนโยบายที่เลือกปฏิบัติ (Discrimination) ครับ คือ เลือกช่วยคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ จริงๆแล้วมาเลเซียลอกไอเดียนี้มาจากอเมริกาในปี 1960 ที่ปธน.จอห์น เอฟ เคนเนดี้ นำมาใช้เพื่อให้โอกาสคนดำและเชื้อชาติอื่นได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยบ้าง เพราะหากเอานักเรียนมาสอบแข่งขันกันจริงๆแล้ว ในเวลานั้นนักเรียนผิวขาวชนะขาดลอย เช่นเดียวกับที่นักเรียนจีนในมาเลเซียที่เก่งกว่าเด็กมลายู อเมริกาใช้โครงการนี้อยู่หลายรัฐบาล มีการใช้โควต้าเชื้อชาติด้วย จนกระทั่งศาลสูงของอเมริกาสั่งยกเลิกระบบนี้ในการคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย และปัจจุบันอเมริกาก็เอานโยบายคล้ายๆกันนี้กลับเข้ามาใช้อีกในรูปแบบของ DEI (Diversity, Equity and Inclusion) คือ ให้เอาเชื้อชาติเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงาน โดยเฉพาะในหน่วยงานรัฐบาล คือ ในหนึ่งองค์กรจะต้องมีคนจากทุกเชื้อชาติให้ได้มากที่สุด เรื่อง DEI นี้กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมา เมื่อทรัมป์ถูกพยายามลอบสังหารและมีภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจลับหญิงอ้วนที่เงอะๆงั่นๆทำอะไรไม่ถูกยืนอยู่ข้างๆทรัมป์ ชาวเน็ทอเมริกันจึงจัดทัวร์ไปลงว่า “DEI ทำให้เราไม่ได้จ้างคนจากฝีมือและความสามารถ” . . . ผมนั่งดูๆเรื่องนี้แล้ว ก็บังเกิดความเห็นใจทั้ง 2 ฝั่ง คือ ผมเห็นใจคนบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์ว่า ถ้าเขาไม่ได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษแล้ว โอกาสที่จะโงหัวขึ้นมามีชีวิตที่ดีบ้างนั้นก็แทบจะไม่มีเลย ในขณะเดียวกันผมก็เห็นใจคนหัวดีและคนเก่งกว่าว่า เขาตั้งใจเรียนและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นต้องมาแพ้ให้กับระบบโควต้าที่ช่วยคนที่ห่วยกว่าตัวเอง หนทางที่ดีที่สุดของเรื่องลักษณะนี้ ผมเห็นด้วย 100% กับท่านผู้พิพากษาศาลสูงของอเมริกาชื่อ “ซานดร้า เดย์ โอคอนเนอร์” ท่านกล่าวว่า “Race-conscious admissions policies must be limited in time. The court expects that 25 years from now, the use of racial preferences will no longer be necessary" "นโยบายการเลือกรับคนโดยดูจากเชื้อชาตินั้นควรกำหนดกรอบเวลาไว้ ศาลหวังว่าในอีก 25 ปีจากนี้ไปนั้น เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องเชื้อชาติมาร่วมพิจารณาอีกต่อไป“ ท่านบันทึกไว้ในปี 2003 ครับ เพราะผมเห็นด้วยกับที่มีคนเคยพูดว่า “กลุ่มคนที่เคยได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษหรือใช้ทางลัดมาตลอดชีวิตนั้น เมื่อถึงวันหนึ่งที่ต้องออกไปต่อสู้อย่างแฟร์ๆแล้ว คนพวกนี้ก็จะบอกว่า ”ฉันไม่ได้รับความยุติธรรม“ …ไม่ช่วยเลยก็น่าสงสาร ช่วยมากไปก็อ่อนแอ… ภาพประกอบไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องครับ ผมเห็นว่าสวยดีก็เลยโพสท์ไปด้วย 😉 นัทแนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 562 มุมมอง 0 รีวิว
  • นครบาลชี้แจงกรณีจัดอบรมนักศึกษาจีน เป็นอาสาสมัครตำรวจ ด้านผู้การ 3 สั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000000453

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นครบาลชี้แจงกรณีจัดอบรมนักศึกษาจีน เป็นอาสาสมัครตำรวจ ด้านผู้การ 3 สั่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000000453 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1625 มุมมอง 0 รีวิว
  • เธอเราใช่ใครอื่น!! นักศึกษาจีน..เรียนรู้ชุมชนจีนปักษ์ใต้!! 11/10/67 #นักศึกษาจีน #ชุมชนจีนปักษ์ใต้ #นักเรียนแลกเปลี่ยน
    เธอเราใช่ใครอื่น!! นักศึกษาจีน..เรียนรู้ชุมชนจีนปักษ์ใต้!! 11/10/67 #นักศึกษาจีน #ชุมชนจีนปักษ์ใต้ #นักเรียนแลกเปลี่ยน
    Like
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1574 มุมมอง 565 0 รีวิว