• กองทัพรัสเซียทำลายระบบยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS MLRS ของกองกำลังยูเครนโดยใช้ขีปนาวุธ Iskander-M ใกล้หมู่บ้าน Serhiivka ทิศทาง Kramatorsk–Druzhkovka
    กองทัพรัสเซียทำลายระบบยิงจรวดหลายลำกล้อง HIMARS MLRS ของกองกำลังยูเครนโดยใช้ขีปนาวุธ Iskander-M ใกล้หมู่บ้าน Serhiivka ทิศทาง Kramatorsk–Druzhkovka
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 21 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำแหน่งเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของสหรัฐที่ล้อมเยเมนอยู่ในขณะนี้

    คาดว่าตำแหน่งของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Harry S. Truman ในทะเลแดง ทำหน้าที่สะกัดขีปนาวุธที่ปล่อยออกมาจากเยเมนเพื่อโจมตีอิสราเอล
    ตำแหน่งเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำของสหรัฐที่ล้อมเยเมนอยู่ในขณะนี้ คาดว่าตำแหน่งของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Harry S. Truman ในทะเลแดง ทำหน้าที่สะกัดขีปนาวุธที่ปล่อยออกมาจากเยเมนเพื่อโจมตีอิสราเอล
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 115 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียเตือนเยอรมนีว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในสงคราม หากขีปนาวุธทอรัสโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัสเซีย

    กระทรวงต่างประเทศรัสเซียเตือนว่าการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัสเซียด้วยขีปนาวุธทอรัส (Taurus) จะถือว่าเยอรมัน "มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในสงครามกับฝ่ายเคียฟ"

    เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ฟรีดริช เมิร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศเต็มใจส่งขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus ให้กับยูเครน และมีแนวโน้มว่าสะพานไครเมียจะเป็นเป้าหมายแรกๆของขีปนาวุธนี้
    รัสเซียเตือนเยอรมนีว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในสงคราม หากขีปนาวุธทอรัสโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัสเซีย กระทรวงต่างประเทศรัสเซียเตือนว่าการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัสเซียด้วยขีปนาวุธทอรัส (Taurus) จะถือว่าเยอรมัน "มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในสงครามกับฝ่ายเคียฟ" เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ฟรีดริช เมิร์ซ ว่าที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ประกาศเต็มใจส่งขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus ให้กับยูเครน และมีแนวโน้มว่าสะพานไครเมียจะเป็นเป้าหมายแรกๆของขีปนาวุธนี้
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 120 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชมภาพการเก็บขีปนาวุธข้ามทวีปทางยุทธศาสตร์ติดหัวรบนิวเคลียร์ RS-24 Yars (ICBM) ของรัสเซีย ขณะเก็บลงไซโลใต้ดิน
    ชมภาพการเก็บขีปนาวุธข้ามทวีปทางยุทธศาสตร์ติดหัวรบนิวเคลียร์ RS-24 Yars (ICBM) ของรัสเซีย ขณะเก็บลงไซโลใต้ดิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • Israel First!!

    Maariv หนังสือพิมพ์ภาษาฮีบรูของอิสราเอล รายงานว่า สหรัฐได้เริ่มดำเนินการขนส่งอาวุธครั้งใหญ่ไปยังอิสราเอล โดยจัดส่งอาวุธแม่นยำสูงและระบบป้องกันภัยทางอากาศเพื่อเติมเสบียงฉุกเฉินและเตรียมพร้อมสำหรับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับอิหร่าน

    สิ่งที่รวมอยู่ในการจัดส่ง ได้แก่:
    ชุดอุปกรณ์ JDAM เพื่อแปลงระเบิดให้เป็นอาวุธนำวิถีแม่นยำ
    ระเบิดบังเกอร์บัสเตอร์ขนาด 1,000–1,500 กิโลกรัม
    พลุสัญญาณและมาตรการตอบโต้สำหรับการป้องกันอากาศยาน
    ขีปนาวุธเพิ่มเติมของระบบป้องกันภัยทางอากาศ THAAD
    Israel First!! Maariv หนังสือพิมพ์ภาษาฮีบรูของอิสราเอล รายงานว่า สหรัฐได้เริ่มดำเนินการขนส่งอาวุธครั้งใหญ่ไปยังอิสราเอล โดยจัดส่งอาวุธแม่นยำสูงและระบบป้องกันภัยทางอากาศเพื่อเติมเสบียงฉุกเฉินและเตรียมพร้อมสำหรับความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับอิหร่าน สิ่งที่รวมอยู่ในการจัดส่ง ได้แก่: ชุดอุปกรณ์ JDAM เพื่อแปลงระเบิดให้เป็นอาวุธนำวิถีแม่นยำ ระเบิดบังเกอร์บัสเตอร์ขนาด 1,000–1,500 กิโลกรัม พลุสัญญาณและมาตรการตอบโต้สำหรับการป้องกันอากาศยาน ขีปนาวุธเพิ่มเติมของระบบป้องกันภัยทางอากาศ THAAD
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 144 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพการโจมตีตำแหน่งยูเครนที่ยังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ระหว่างหมู่บ้าน Guevo และ Gornal ในภูมิภาค Kursk

    กองพันจู่โจมแยกที่ 95 ของกองทัพยูเครน ต้องสูญเสียผู้คนไปมากถึง 60 ราย จากการโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander-M และจรวดหลายลำกล้อง BM-27 'Uragan' 220 มม. (บางแหล่งข่าวระบุว่าเป็นจรวดหลายลำกล้อง BM-30 'Smerch' ขนาด 300 มม.)
    ภาพการโจมตีตำแหน่งยูเครนที่ยังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ระหว่างหมู่บ้าน Guevo และ Gornal ในภูมิภาค Kursk กองพันจู่โจมแยกที่ 95 ของกองทัพยูเครน ต้องสูญเสียผู้คนไปมากถึง 60 ราย จากการโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander-M และจรวดหลายลำกล้อง BM-27 'Uragan' 220 มม. (บางแหล่งข่าวระบุว่าเป็นจรวดหลายลำกล้อง BM-30 'Smerch' ขนาด 300 มม.)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 164 มุมมอง 0 รีวิว

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 400 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ

    ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว

    เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

    Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้

    ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    ผลกระทบจากการโจมตีภูมิภาคซูมีของยูเครนยังไม่จบ ล่าสุดเซเลนสกีมีคำสั่งปลดผู้ว่าการภูมิภาค Sumy ออกจากตำแหน่ง หลังพบว่าปล่อยให้มีการชุมนุมทางทหารจนเป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีตำแหน่งดังกล่าว เซเลนสกีมีคำสั่งปลด Artem Artyukh หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาค Sumy ตามคำกล่าวของ Melnychuk ตัวแทนรัฐบาลในสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรของยูเครน) โดยการตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว Artyukh ปล่อยให้มีการจัดพิธีมอบรางวัลทางทหารกลางใจเมืองซูมี (Sumy) จนทำให้รัสเซียทราบข้อมูลและโจมตีตำแหน่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 เมษายน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ราย อย่างไรก็ตาม Artyukh แก้ตัวว่าเขาไม่ใช่ผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานครั้งนี้ ในวันเกิดเหตุ มีรายงานจากนักการเมืองหลายรายยืนยันว่า Artyukh จะต้องรับผิดชอบในการปล่อยให้มีการจัดงานชุมนุมทางทหารเกิดขึ้น ซึ่ง Marianna Bezuglaya ส.ส.ฝ่ายค้าน, Igor Mosiychuk อดีตรองประธานสภา และ Artem Semenikhin นายกเทศมนตรีเมือง Konotop ระบุตรงกันว่า Artyukh เป็นผู้จัดพิธีดังกล่าวให้กับทหารจากกองพลที่ 117 ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีด้วยขีปนาวุธ "Iskander" ของรัสเซีย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 207 มุมมอง 0 รีวิว
  • จีนได้ระงับการส่งออกแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การบิน และการป้องกันประเทศ การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทในสหรัฐอเมริกา ที่อาจประสบกับการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ

    ✅ จีนระงับการส่งออกแร่หายากและแม่เหล็ก
    - การส่งออกถูกจำกัดตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2025
    - จีนกำลังร่างกรอบกฎหมายใหม่ในการออกใบอนุญาตส่งออก
    - มาตรการนี้มีผลกระทบต่อบริษัทในหลายอุตสาหกรรม

    ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ
    - แร่หายากใช้ในการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า โดรน หุ่นยนต์ และขีปนาวุธ
    - การขาดแคลนส่งผลต่ออุตสาหกรรมอเมริกัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาด้านกลาโหม

    ✅ การตอบสนองของบริษัทต่างประเทศ
    - บางบริษัทเตรียมรับมือกับปัญหานี้โดยสะสมสต็อกแร่ไว้ล่วงหน้า
    - การผลิตแร่หายากนอกประเทศจีน เช่น ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้

    ✅ จีนครองตลาดแร่หายากของโลก
    - จีนผลิตแร่หายากหนัก 99% ของปริมาณทั้งหมดในปี 2023
    - กระบวนการสกัดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง

    ⚠️ ข้อมูลเสริมที่ควรระวัง
    ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก
    - การขาดแคลนแร่หายากอาจทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น
    - บริษัทที่พึ่งพาวัสดุจากจีนต้องหาทางเลือกใหม่ เช่น หันไปใช้วัสดุทดแทน

    ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์
    - การระงับส่งออกครั้งนี้อาจเป็นยุทธศาสตร์ตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ
    - อาจเกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคแร่หายาก

    ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรมแร่หายาก
    - อาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแม่เหล็กหายากมากขึ้น
    - ประเทศอื่นอาจเร่งพัฒนากำลังการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง

    https://www.techspot.com/news/107534-china-halts-exports-rare-earth-exports-sparking-fears.html
    จีนได้ระงับการส่งออกแร่หายาก ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี การบิน และการป้องกันประเทศ การตัดสินใจนี้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก โดยเฉพาะบริษัทในสหรัฐอเมริกา ที่อาจประสบกับการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญ ✅ จีนระงับการส่งออกแร่หายากและแม่เหล็ก - การส่งออกถูกจำกัดตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน 2025 - จีนกำลังร่างกรอบกฎหมายใหม่ในการออกใบอนุญาตส่งออก - มาตรการนี้มีผลกระทบต่อบริษัทในหลายอุตสาหกรรม ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยีและการป้องกันประเทศ - แร่หายากใช้ในการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า โดรน หุ่นยนต์ และขีปนาวุธ - การขาดแคลนส่งผลต่ออุตสาหกรรมอเมริกัน โดยเฉพาะผู้รับเหมาด้านกลาโหม ✅ การตอบสนองของบริษัทต่างประเทศ - บางบริษัทเตรียมรับมือกับปัญหานี้โดยสะสมสต็อกแร่ไว้ล่วงหน้า - การผลิตแร่หายากนอกประเทศจีน เช่น ในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเยอรมนี ยังไม่สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ ✅ จีนครองตลาดแร่หายากของโลก - จีนผลิตแร่หายากหนัก 99% ของปริมาณทั้งหมดในปี 2023 - กระบวนการสกัดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสูง ⚠️ ข้อมูลเสริมที่ควรระวัง ℹ️ ผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก - การขาดแคลนแร่หายากอาจทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้น - บริษัทที่พึ่งพาวัสดุจากจีนต้องหาทางเลือกใหม่ เช่น หันไปใช้วัสดุทดแทน ℹ️ ข้อกังวลด้านภูมิรัฐศาสตร์ - การระงับส่งออกครั้งนี้อาจเป็นยุทธศาสตร์ตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ - อาจเกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคแร่หายาก ℹ️ อนาคตของอุตสาหกรรมแร่หายาก - อาจมีการพัฒนาเทคโนโลยีการรีไซเคิลแม่เหล็กหายากมากขึ้น - ประเทศอื่นอาจเร่งพัฒนากำลังการผลิตเพื่อกระจายความเสี่ยง https://www.techspot.com/news/107534-china-halts-exports-rare-earth-exports-sparking-fears.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    China halts rare earth exports, sparking fears of shortages in critical industries
    The suspension comes as Beijing drafts a new regulatory framework for issuing export licenses, a process expected to restrict access to these vital materials for specific companies,...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงกลาโหมของรัสเซียยืนยันรายงานการโจมตีเมื่อวานนี้ที่เมืองซูมี ดินแดนยูเครน ด้วยขีปนาวุธ Iskander-M จำนวน 2 ลูก โดยโจมตีเป้าหมายการประชุมของผู้นำทหารระดับสูงของยูเครน

    รายงานระบุว่าการโจมตีดังกล่าวได้เข้าเป้าตามที่ตั้งใจไว้ ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่กองทัพยูเครนกว่า 60 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่บังคับบัญชาถูกกำจัด
    กระทรวงกลาโหมของรัสเซียยืนยันรายงานการโจมตีเมื่อวานนี้ที่เมืองซูมี ดินแดนยูเครน ด้วยขีปนาวุธ Iskander-M จำนวน 2 ลูก โดยโจมตีเป้าหมายการประชุมของผู้นำทหารระดับสูงของยูเครน รายงานระบุว่าการโจมตีดังกล่าวได้เข้าเป้าตามที่ตั้งใจไว้ ส่งผลให้มีเจ้าหน้าที่กองทัพยูเครนกว่า 60 นาย รวมถึงเจ้าหน้าที่บังคับบัญชาถูกกำจัด
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 144 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ลดงบประมาณสัญญาจ้างงานกับบริษัทที่ปรึกษาและบริการที่ไม่จำเป็น เช่น Accenture, Booz Allen Hamilton และ Deloitte โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น อาวุธไฮเปอร์โซนิกและปัญญาประดิษฐ์ (AI)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Pete Hegseth ได้ประกาศลดงบประมาณสัญญาจ้างงานมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าสัญญาบางส่วน เช่น การให้คำปรึกษาด้านกระบวนการธุรกิจและบริการ IT ซ้ำซ้อนและสามารถดำเนินการโดยบุคลากรภายในได้ การตัดงบประมาณนี้ยังรวมถึงการลดสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    งบประมาณที่ประหยัดได้จากการลดสัญญาจ้างงานจะถูกนำไปใช้ในโครงการที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธ อาวุธไฮเปอร์โซนิก และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงแห่งชาติ

    ✅ การลดงบประมาณสัญญาจ้างงาน
    - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ลดงบประมาณสัญญาจ้างงานมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์
    - สัญญาที่ถูกลดรวมถึงการให้คำปรึกษาด้านกระบวนการธุรกิจและบริการ IT

    ✅ เป้าหมายของการลดงบประมาณ
    - เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรโดยใช้บุคลากรภายใน
    - มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญ เช่น AI และอาวุธไฮเปอร์โซนิก

    ✅ การจัดสรรงบประมาณใหม่
    - งบประมาณที่ประหยัดได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการด้านความมั่นคงแห่งชาติ
    - รวมถึงการพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธและโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคง

    ℹ️ ความเสี่ยงจากการลดสัญญาจ้างงาน
    - การลดสัญญาอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทที่พึ่งพาสัญญาจากรัฐบาล
    - การเปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดความล่าช้าในบางโครงการ

    ℹ️ ผลกระทบต่อบุคลากรภายใน
    - บุคลากรภายในอาจต้องรับภาระงานเพิ่มขึ้น
    - การปรับตัวของบุคลากรอาจต้องใช้เวลาและการฝึกอบรมเพิ่มเติม

    https://www.techspot.com/news/107521-pentagon-slashes-51-billion-contracts-accenture-booz-allen.html
    กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ลดงบประมาณสัญญาจ้างงานกับบริษัทที่ปรึกษาและบริการที่ไม่จำเป็น เช่น Accenture, Booz Allen Hamilton และ Deloitte โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ เช่น อาวุธไฮเปอร์โซนิกและปัญญาประดิษฐ์ (AI) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Pete Hegseth ได้ประกาศลดงบประมาณสัญญาจ้างงานมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ โดยระบุว่าสัญญาบางส่วน เช่น การให้คำปรึกษาด้านกระบวนการธุรกิจและบริการ IT ซ้ำซ้อนและสามารถดำเนินการโดยบุคลากรภายในได้ การตัดงบประมาณนี้ยังรวมถึงการลดสัญญาที่เกี่ยวข้องกับโครงการด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ งบประมาณที่ประหยัดได้จากการลดสัญญาจ้างงานจะถูกนำไปใช้ในโครงการที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธ อาวุธไฮเปอร์โซนิก และการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงแห่งชาติ ✅ การลดงบประมาณสัญญาจ้างงาน - กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ลดงบประมาณสัญญาจ้างงานมูลค่า 5.1 พันล้านดอลลาร์ - สัญญาที่ถูกลดรวมถึงการให้คำปรึกษาด้านกระบวนการธุรกิจและบริการ IT ✅ เป้าหมายของการลดงบประมาณ - เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรโดยใช้บุคลากรภายใน - มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญ เช่น AI และอาวุธไฮเปอร์โซนิก ✅ การจัดสรรงบประมาณใหม่ - งบประมาณที่ประหยัดได้จะถูกนำไปใช้ในโครงการด้านความมั่นคงแห่งชาติ - รวมถึงการพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธและโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคง ℹ️ ความเสี่ยงจากการลดสัญญาจ้างงาน - การลดสัญญาอาจส่งผลกระทบต่อบริษัทที่พึ่งพาสัญญาจากรัฐบาล - การเปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดความล่าช้าในบางโครงการ ℹ️ ผลกระทบต่อบุคลากรภายใน - บุคลากรภายในอาจต้องรับภาระงานเพิ่มขึ้น - การปรับตัวของบุคลากรอาจต้องใช้เวลาและการฝึกอบรมเพิ่มเติม https://www.techspot.com/news/107521-pentagon-slashes-51-billion-contracts-accenture-booz-allen.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    Pentagon slashes $5.1 billion in contracts with Accenture, Booz Allen, and Deloitte
    United States Defense Secretary Pete Hegseth has cut $5.1 billion in defense contracts for consulting and nonessential services. The move targets redundant agreements, with plans to shift...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • "อะไรจะเกิดมันก็ต้องแหละเนอะเยอรมัน"

    ฟรีดริช เมิร์ซ (Friedrich Merz) ผู้ที่เตรียมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในเดือนหน้า ประกาศเยอรมนียินดีและเต็มใจส่งขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus ให้กับยูเครน หากได้รับความเห็นชอบร่วมกันกับพันธมิตรในยุโรป

    ขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus KEPD-350 ที่ยิงจากอากาศ มีพิสัยปฏิบัติการ 500 กม. ความเร็วสูงสุด 0.6 - 0.95 มัค และหัวรบขนาดมาตรฐาน 480 กก.

    ซีอีโอของ MBDA Deutschland (หนึ่งในผู้ผลิตขีปนาวุธ Taurus) เคยกล่าวไว้ในปี 2023 ถึงการปรับปรุงเครื่องบิน Su-24M ของยูเครนว่า อาจต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการดัดแปลงขีปนาวุธนี้ให้ติดตั้งเข้ากับเครื่องบินรุ่นดังกล่าว โดยแบ่งเป็น 2 เดือนแรกในการติดตั้งอาวุธ และอีก 4 เดือนในการฝึกฝนการใช้งานของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม เนื่องจากเป็นระบบการทำงานที่ซับซ้อน

    กระบวนการนี้อาจใช้เวลานานขึ้นไปอีกเป็น 12 ถึง 18 เดือน สำหรับเครื่องบิน F-16
    "อะไรจะเกิดมันก็ต้องแหละเนอะเยอรมัน" ฟรีดริช เมิร์ซ (Friedrich Merz) ผู้ที่เตรียมเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนีในเดือนหน้า ประกาศเยอรมนียินดีและเต็มใจส่งขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus ให้กับยูเครน หากได้รับความเห็นชอบร่วมกันกับพันธมิตรในยุโรป ขีปนาวุธร่อนพิสัยไกล Taurus KEPD-350 ที่ยิงจากอากาศ มีพิสัยปฏิบัติการ 500 กม. ความเร็วสูงสุด 0.6 - 0.95 มัค และหัวรบขนาดมาตรฐาน 480 กก. ซีอีโอของ MBDA Deutschland (หนึ่งในผู้ผลิตขีปนาวุธ Taurus) เคยกล่าวไว้ในปี 2023 ถึงการปรับปรุงเครื่องบิน Su-24M ของยูเครนว่า อาจต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการดัดแปลงขีปนาวุธนี้ให้ติดตั้งเข้ากับเครื่องบินรุ่นดังกล่าว โดยแบ่งเป็น 2 เดือนแรกในการติดตั้งอาวุธ และอีก 4 เดือนในการฝึกฝนการใช้งานของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุม เนื่องจากเป็นระบบการทำงานที่ซับซ้อน กระบวนการนี้อาจใช้เวลานานขึ้นไปอีกเป็น 12 ถึง 18 เดือน สำหรับเครื่องบิน F-16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • อันเดรย์ เยอร์มัค หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดียูเครน ออกมาตอบโต้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามบางคนที่พยายามใช้เหตุการณ์ในเมืองซูมีเพื่อสร้างความแตกแยกในยูเครน

    "บางคนพยายามใช้โศกนาฏกรรมและอาชญากรรมสงครามของรัสเซียเพื่อโปรโมตตัวเองบนโซเชียลมีเดีย" เยอร์มัค กล่าวพาดพิงไปถึง ส.ส. มารีอานา เบซูห์ลา ซึ่งกล่าวว่าการโจมตีซูมีของรัสเซียมาจากการปล่อยให้กองทหารยูเครนที่รวมตัวกันในพื้นที่ดังกล่าว

    ขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปได้เรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารภูมิภาคซูมีและผู้บัญชาการทหารของภูมิภาคลาออกทันที

    รวมถึงอดีต ส.ส. ยูเครน อิกอร์ โมซิชุก ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย โดยกล่าวว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารระดับภูมิภาค นายอาร์ตุค และ ส.ส. นายอานันเชนโก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ควรจะถูกจับกุมตัว เนื่องจากปล่อยให้มีการจัดพิธีทหารเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีของกองพลป้องกันดินแดนที่ 117

    อันเดรย์ เยอร์มัค หัวหน้าสำนักงานประธานาธิบดียูเครน ออกมาตอบโต้นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามบางคนที่พยายามใช้เหตุการณ์ในเมืองซูมีเพื่อสร้างความแตกแยกในยูเครน "บางคนพยายามใช้โศกนาฏกรรมและอาชญากรรมสงครามของรัสเซียเพื่อโปรโมตตัวเองบนโซเชียลมีเดีย" เยอร์มัค กล่าวพาดพิงไปถึง ส.ส. มารีอานา เบซูห์ลา ซึ่งกล่าวว่าการโจมตีซูมีของรัสเซียมาจากการปล่อยให้กองทหารยูเครนที่รวมตัวกันในพื้นที่ดังกล่าว ขณะเดียวกัน นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปได้เรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารภูมิภาคซูมีและผู้บัญชาการทหารของภูมิภาคลาออกทันที รวมถึงอดีต ส.ส. ยูเครน อิกอร์ โมซิชุก ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย โดยกล่าวว่าหัวหน้าฝ่ายบริหารระดับภูมิภาค นายอาร์ตุค และ ส.ส. นายอานันเชนโก ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ควรจะถูกจับกุมตัว เนื่องจากปล่อยให้มีการจัดพิธีทหารเนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปีของกองพลป้องกันดินแดนที่ 117
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    3/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 13 0 รีวิว
  • 2/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    2/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 293 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • 1/
    นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน

    บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย


    นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว


    มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา

    1/ นักการเมืองยูเครนเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน บ่งชี้ว่ามีการรวมกลุ่มของกองกำลังทหารยูเครนใจกลางเมืองซูมี เป็นเหตุให้รัสเซียโจมตีมาที่ตำแหน่งดังกล่าวจนทำให้มีพลเรือนโดนผลกระทบจากการโจมตีในครั้งนี้ไปด้วย นายกเทศมนตรีเมืองโคโนท็อปเรียกร้องให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของภูมิภาคซูมี รวมทั้งผู้บัญชาการทหารในภูมิภาคลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบในการจัดการชุมนุมของทหารยูเครน และยังเรียกร้องให้คุกเข่าขอโทษต่อหน้าประชาชนอีกด้วย! เพราะถือว่ามีส่วนร่วมทำให้ชาวยูเครนเสียชีวิตจำนวนมากจากการอนุญาตให้มีการจัดพิธีทางทหารดังกล่าว มีข้อมูลเปิดเผยออกมาอีกว่า การโจมตีด้วยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย เป็นสถานที่จัดพิธีมอบของกองกำลังจากกองพลป้องกันดินแดนที่ 117 เนื่องในโอกาสครบรอบ 7 ปี ของการก่อตั้งกองพลนี้ขึ้นมา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 224 มุมมอง 0 รีวิว
  • 2/
    มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน

    การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน

    ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่

    "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว


    ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย

    พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    2/ มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่ "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • 1/
    มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน

    การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน

    ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่

    "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว


    ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย

    พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    1/ มีรายงานขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซียโจมตำแหน่งทางทหารในภูมิภาคซูมี (Sumy) ของยูเครน การโจมตีเกิดขึ้นช่วงเช้าของวันที่ 13 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย อาร์เทม โคบซาร์ (Artem Kobzar) นายกเทศมนตรีเมืองซูมี รายงาน ทางด้าน ส.ส.ยูเครน มาริอานา เบซูกลา ซึ่งเป็นรองประธานสภา Verkhovna Rada (สภาผู้แทนราษฎรยูเครน) กล่าวถึงการโจมตีในเมืองซูมีครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของกำลังทหารที่กำลังจัดพิธีมอบรางวัล และเรียกร้องให้ซีร์สกี (Syrsky) ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพยูเครน เลิกซะทีกับการรวมตัวของกำลังทหารในเขตชุมชนที่มีพลเรือนอยู่ "ขอวิงวอนต่อซีร์สกีผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันประเทศว่า อย่าระดมกำลังทหารเพื่อเข้าร่วมพิธีมอบรางวัล โดยเฉพาะในสถานที่พลเรือน เพราะรัสเซียมีข้อมูลเกี่ยวกับการชุมนุมดังกล่าวทั้งหมดอยู่แล้ว" เบซุกลยา กล่าว ภาพความเสียหายในพื้นที่แสดงให้เห็นสัญลักษณ์ของกองกำลังของยูเครนอยู่ในพื้นที่การโจมตีจากรัสเซีย พิกัดตำแหน่งการโจมต่ 50.905332960810995, 34.7958318981476
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 231 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักข่าวบีบีซีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวทางทหารในยูเครนว่า เครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ที่ตกนั้นถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย

    แหล่งข่าวบอกกับสำนักข่าวว่า “รัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เครื่องบินทั้งหมด 3 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานนำวิถีจากระบบ S-400 ที่ติดตั้งภาคพื้นดิน หรือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ R-37”

    นอกจากนี้ แหล่งข่าวรายเดิมยังปฏิเสธแนวคิดเรื่อง "การยิงพวกเดียวกัน" อย่างเด็ดขาด โดยอ้างว่าไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนในพื้นที่ดังกล่าว


    หลังเหตุการณ์นี้ นักวิเคราะห์ต่างพากันยกย่องระบบ S-400 แม้แต่สื่อตะวันตกยังต้องยอมรับถึงประสิทธิภาพของระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย
    สำนักข่าวบีบีซีรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวทางทหารในยูเครนว่า เครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ที่ตกนั้นถูกยิงตกด้วยขีปนาวุธของรัสเซีย แหล่งข่าวบอกกับสำนักข่าวว่า “รัสเซียยิงขีปนาวุธใส่เครื่องบินทั้งหมด 3 ลูก โดยเป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานนำวิถีจากระบบ S-400 ที่ติดตั้งภาคพื้นดิน หรือขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ R-37” นอกจากนี้ แหล่งข่าวรายเดิมยังปฏิเสธแนวคิดเรื่อง "การยิงพวกเดียวกัน" อย่างเด็ดขาด โดยอ้างว่าไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนในพื้นที่ดังกล่าว หลังเหตุการณ์นี้ นักวิเคราะห์ต่างพากันยกย่องระบบ S-400 แม้แต่สื่อตะวันตกยังต้องยอมรับถึงประสิทธิภาพของระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซีย
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่าอิหร่านจะเสนอให้สหรัฐฯ สร้างตะวันออกกลางในรูปแบบที่ปลอดนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงอิสราเอลจะต้องปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน (มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าอิสราเอลอาจจะมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองมาก 90 ถึง 400 ลูก)

    นอกจากนี้ อิหร่านจะเจรจาเฉพาะเรื่องสร้างอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธพิสัยไกลที่อิหร่านมีในครอบครอง


    หากข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ผลของการเจรจาคงจบลงที่ "ความล้มเหลว"

    อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายกำลังเฝ้าติดตามผลการเจรจาอย่างใกล้ชิดว่าจะมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร



    มีรายงานว่าอิหร่านจะเสนอให้สหรัฐฯ สร้างตะวันออกกลางในรูปแบบที่ปลอดนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงอิสราเอลจะต้องปลดอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน (มีการคาดการณ์กันอย่างกว้างขวางว่าอิสราเอลอาจจะมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในครอบครองมาก 90 ถึง 400 ลูก) นอกจากนี้ อิหร่านจะเจรจาเฉพาะเรื่องสร้างอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับโครงการขีปนาวุธพิสัยไกลที่อิหร่านมีในครอบครอง หากข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ผลของการเจรจาคงจบลงที่ "ความล้มเหลว" อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายกำลังเฝ้าติดตามผลการเจรจาอย่างใกล้ชิดว่าจะมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • 4/

    ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย

    มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    4/ ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 177 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • 3/

    ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย

    มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    3/ ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • 2/

    ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย

    มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    2/ ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • 1/

    ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย

    มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    1/ ภาพการโจมตีในเมือง Dnepropetrovsk โดยขีปนาวุธ Iskander ของรัสเซีย มีรายงานว่าเป้าหมายแห่งหนึ่งคือโรงงานที่ลักลอบผลิตชิ้นส่วนประกอบของโดรนไฟเบอร์ออปติก ตามคำกล่าวของนายกเทศมนตรีอ้างว่าโรงงานดังกล่าวเป็นเพียงโรงงานผลิตเส้นใยผ้าอ้อม 😁
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 169 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • บริดเจ็ต บริงค์ (Bridget Brink) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ

    -กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยืนยันการลาออกของเธอแล้ว

    ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า การตัดสินใจของบริงค์เกิดจากปัจจัยทางการเมืองหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเรื่องการตัดลดงบประมาณของ USAID เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งเอกอัครราชทูตบริงค์ถือเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครตอย่างมาก และเป็นผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ได้รับทุนสนับสนุนหลายกลุ่มในยูเครน

    นอกจากนี้ เธอยังมีความเครียดจากการต้องทำหน้าที่อยู่ในประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงโดยไม่มีครอบครัวอยู่ด้วย ซึ่งยูเครนถูกจัดให้อยู่ในสถานะเป็นประเทศด่านหน้าสำหรับความยากลำบาก นักการทูตสหรัฐจะไม่สามารถพาครอบครัวมาอยู่ร่วมด้วยได้

    ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บริงค์ และเซเลนสกี อยู่ในช่วงที่ไม่ราบรื่นนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเซเลนสกีวิจารณ์เธออย่างรุนแรงที่ไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกมาประณามรัสเซียหลังจากขีปนาวุธของรัสเซียสังหารกองทหารต่างชาติไปกว่า 85 รายในเมือง Kryvyi Rih

    “น่าเสียดายที่การตอบสนองจากสถานทูตสหรัฐฯ นั้นน่าผิดหวังอย่างน่าประหลาดใจ – ประเทศที่เข้มแข็ง ประชาชนที่เข้มแข็ง แต่ปฏิกิริยากลับอ่อนแอ” เซเลนสกี เขียนบน X


    การลาออกของเธอได้รับการคาดหมายจากสื่อของสหรัฐมาล่วงหน้าแล้ว ตั้งแต่ทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง
    บริดเจ็ต บริงค์ (Bridget Brink) เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเครน ประกาศลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ -กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยืนยันการลาออกของเธอแล้ว ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า การตัดสินใจของบริงค์เกิดจากปัจจัยทางการเมืองหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงเรื่องการตัดลดงบประมาณของ USAID เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งเอกอัครราชทูตบริงค์ถือเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับพรรคเดโมแครตอย่างมาก และเป็นผู้สนับสนุนหลักของกลุ่มนักเคลื่อนไหวที่ได้รับทุนสนับสนุนหลายกลุ่มในยูเครน นอกจากนี้ เธอยังมีความเครียดจากการต้องทำหน้าที่อยู่ในประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงโดยไม่มีครอบครัวอยู่ด้วย ซึ่งยูเครนถูกจัดให้อยู่ในสถานะเป็นประเทศด่านหน้าสำหรับความยากลำบาก นักการทูตสหรัฐจะไม่สามารถพาครอบครัวมาอยู่ร่วมด้วยได้ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง บริงค์ และเซเลนสกี อยู่ในช่วงที่ไม่ราบรื่นนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเซเลนสกีวิจารณ์เธออย่างรุนแรงที่ไม่ยอมมีส่วนร่วมในการออกมาประณามรัสเซียหลังจากขีปนาวุธของรัสเซียสังหารกองทหารต่างชาติไปกว่า 85 รายในเมือง Kryvyi Rih “น่าเสียดายที่การตอบสนองจากสถานทูตสหรัฐฯ นั้นน่าผิดหวังอย่างน่าประหลาดใจ – ประเทศที่เข้มแข็ง ประชาชนที่เข้มแข็ง แต่ปฏิกิริยากลับอ่อนแอ” เซเลนสกี เขียนบน X การลาออกของเธอได้รับการคาดหมายจากสื่อของสหรัฐมาล่วงหน้าแล้ว ตั้งแต่ทรัมป์กลับเข้าทำเนียบขาวเป็นสมัยที่สอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 263 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts