อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ
https://www.facebook.com/surawich.verawan
การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”
กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย
แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ
อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง
เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน
และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร
ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม
แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว
มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา
ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย
และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้
วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้
แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง
อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม
วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง
วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น
ที่มา
https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan
การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”
กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย
แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ
อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง
เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน
และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร
ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม
แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว
มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา
ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย
และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้
วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้
แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง
อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม
วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง
วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น
ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483
#Thaitimes