• รถเมล์ด่วน BRT สายแรกในลาว คืบ 36% คาดทดลองใช้ปลายปี 68

    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว (LNR) รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (VSUTP) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พบว่ามีความคืบหน้าแล้ว 36% โดยเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คณะของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งได้เยี่ยมชมโครงการ เริ่มจากศูนย์ควบคุมรถเมล์ กม.16 บ้านโพคำ เมืองไชทานี และทดลองนั่งรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ไฟฟ้า 55 คัน ได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว

    จากนั้นได้เยี่ยมชมการก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ สถานีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก สถานีโพนสะอาด สถานีใกล้วัดธาตุฝุ่น และอีกหลายแห่ง ปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถเมล์ด่วน BRT ตั้งแต่สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงหน้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก ระยะทางรวม 12.9 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วประมาณ 36% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทดลองให้บริการรถเมล์ด่วนในปลายปี 2568 ที่ผ่านมาทางโครงการฯ ได้ติดตามผู้รับจ้างก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ 27 จุดอย่างต่อเนื่อง

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า 40 ที่นั่ง ยาว 12 เมตร ยี่ห้อ Cherry Wanda ชุดแรก 28 คัน ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาถึงสถานีด่านขนส่งสินค้ารถไฟเวียงจันทน์ใต้ โดยรถดังกล่าวผลิตจากโรงงานในเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ขนส่งผ่านทางรถไฟ เข้าสู่ประเทศลาวผ่านด่านรถไฟสากลบ่อเต็น ภายหลังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว ระบุว่า รถโดยสารทั้งหมดได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ครบทั้ง 55 คันแล้ว

    สำหรับการก่อสร้างโครงการรถเมล์ด่วน BRT นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก พร้อมก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 2567

    โดยการให้บริการจะเปิดตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลักของรถเมล์ด่วน BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการยังมีการพัฒนาการบริหารที่จอดรถ ระบบบริหารการจราจร และบริการรถสามล้อไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย อ่านรายละเอียดโครงการที่เว็บไซต์ https://utms.la

    #Newskit
    รถเมล์ด่วน BRT สายแรกในลาว คืบ 36% คาดทดลองใช้ปลายปี 68 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว (LNR) รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (VSUTP) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พบว่ามีความคืบหน้าแล้ว 36% โดยเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คณะของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งได้เยี่ยมชมโครงการ เริ่มจากศูนย์ควบคุมรถเมล์ กม.16 บ้านโพคำ เมืองไชทานี และทดลองนั่งรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ไฟฟ้า 55 คัน ได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้เยี่ยมชมการก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ สถานีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก สถานีโพนสะอาด สถานีใกล้วัดธาตุฝุ่น และอีกหลายแห่ง ปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถเมล์ด่วน BRT ตั้งแต่สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงหน้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก ระยะทางรวม 12.9 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วประมาณ 36% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทดลองให้บริการรถเมล์ด่วนในปลายปี 2568 ที่ผ่านมาทางโครงการฯ ได้ติดตามผู้รับจ้างก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ 27 จุดอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า 40 ที่นั่ง ยาว 12 เมตร ยี่ห้อ Cherry Wanda ชุดแรก 28 คัน ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาถึงสถานีด่านขนส่งสินค้ารถไฟเวียงจันทน์ใต้ โดยรถดังกล่าวผลิตจากโรงงานในเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ขนส่งผ่านทางรถไฟ เข้าสู่ประเทศลาวผ่านด่านรถไฟสากลบ่อเต็น ภายหลังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว ระบุว่า รถโดยสารทั้งหมดได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ครบทั้ง 55 คันแล้ว สำหรับการก่อสร้างโครงการรถเมล์ด่วน BRT นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก พร้อมก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 2567 โดยการให้บริการจะเปิดตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลักของรถเมล์ด่วน BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการยังมีการพัฒนาการบริหารที่จอดรถ ระบบบริหารการจราจร และบริการรถสามล้อไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย อ่านรายละเอียดโครงการที่เว็บไซต์ https://utms.la #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว
  • BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้

    เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก

    กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter)

    นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567

    สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว)

    ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ

    โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้ เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว) ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1086 มุมมอง 0 รีวิว