• แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง

    หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน

    แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ

    ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก

    การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู

    ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น

    #Newskit
    แอร์เอเชียโบกมือลา หยุดให้บริการสนามบินซูบัง หลังจากสายการบินต้นทุนต่ำสัญชาติมาเลเซีย แอร์เอเชีย (AirAsia) กลับมาทำการบินที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิสชาห์ หรือท่าอากาศยานซูบัง (Subang หรือ SZB) ซึ่งเป็นอดีตสนามบินหลักของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ในรอบ 24 ปี ไปยังรัฐซาบาห์และรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว มาตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่าผ่านไปเพียง 7 เดือน ในที่สุดประกาศว่า จะกลับมารวมเที่ยวบินภายในประเทศที่ท่าอากาศยานกัวลาลัมเปอร์ (KUL) อาคาร 2 (KLIA2) เช่นเดิม มีผลตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย.2568 เป็นต้นไป ผู้โดยสารที่เคยจองบัตรโดยสารไว้ก่อนหน้านี้ ต้องเปลี่ยนไปขึ้นหรือลงที่ KLIA2 แทน แถลงการณ์ของแอร์เอเชียอ้างว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้โดยสารระหว่าง KLIA2 ไปยังเมืองหลัก เช่น โกตากินาบาลู (Kota Kinabalu) และกูชิง (Kucing) เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการให้บริการรวมกันที่ KLIA2 จะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางได้ดีขึ้น แม้ท่าอากาศยานซูบังจะสะดวกสบายโดยเฉพาะนักเดินทางที่มุ่งหน้าสู่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ แต่การพัฒนาสนามบินซูบังขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตต้องใช้เวลา ขณะที่ท่าอากาศยาน KLIA2 เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพการให้บริการ ฟาเรห์ มาซปุตรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์เอเชีย เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานของ KLIA2 รองรับการเชื่อมต่อขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีการเดินทางสูงสุด และอาคารผู้โดยสารยังรองรับการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับ\เพิ่มเที่ยวบิน เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเส้นทางมาเลเซียตะวันออก การยุติให้บริการของแอร์เอเชีย ทำให้ยังคงเหลือสายการบินที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานซูบัง ได้แก่ ไฟร์ฟลาย (Firefly) ไปยังสนามบินเซเลตาร์ (Seletar) หรือ XSP ในสิงคโปร์มากถึงวันละ 5 เที่ยวบิน ปีนัง (Penang) วันละ 4 เที่ยวบิน โกตาบารู (Kota Bharu) วันละ 2-4 เที่ยวบิน ยะโฮร์บาห์รู (Johor Bahru) วันละ 2 เที่ยวบิน และเมืองอื่นๆ เช่น อลอร์สตาร์ (Alor Setar) ลังกาวี (Langkawi) กัวลาตรังกานู (Kuala Terengganu) และโกตากินาบาลู ส่วนสายการบินอื่นๆ อาทิ รายาแอร์เวย์ (Raya Airways) ไปยังโกตากินาบาลู 2 เที่ยวบิน กูชิง 2 เที่ยวบิน ลาบวน (Labuan) ฮ่องกง (HKG) 1-2 เที่ยวบิน สิงคโปร์ชางงี (SIN) และจาการ์ตา (Jakarta CGK) อินโดนีเซีย, เบอร์จายาแอร์ (Berjaya Air) ให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำไปยังลังกาวีและเรดัง (Redang), ทรานส์นูซา (TransNusa) ไปยังจาการ์ตา และสกู๊ต (Scoot) ไปยังสิงคโปร์ชางงี เป็นต้น #Newskit
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 473 Views 0 Reviews
  • 22/10/67

    จีนจะครองโลก EV ทั้งรถและ scooter
    22/10/67 จีนจะครองโลก EV ทั้งรถและ scooter
    0 Comments 0 Shares 132 Views 6 0 Reviews
  • นายกฯ สิงคโปร์ บินโลว์คอสต์กลับบ้าน

    กลายเป็นเรื่องฮือฮาของชาวสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ต.ค. ด้วยสายการบินสกู๊ต (Scoot) โลว์คอสต์แอร์ไลน์ของกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ TR351 ออกจากท่าอากาศยานวัตไต เวลา 12.55 น. ถึงท่าอากาศยานชางงี เวลา 17.05 น.

    เที่ยวบินดังกล่าว มีคณะทัวร์ผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์กว่า 40 คน เพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวในประเทศลาว เมื่อพบเห็นนายหว่องก็ความแปลกใจและตื่นเต้น วีดีโอคลิปของผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซีเอ็นเอ (CNA) ของสิงคโปร์ เผยให้เห็นนายหว่องขึ้นไปบนเครื่องบิน ได้รับเสียงปรบมือและเสียงเชียร์ นายหว่องจึงโบกมือทักทายด้วยรอยยิ้มแล้วนั่งลงบนที่นั่ง 1C ซึ่งอยู่หน้าสุด

    เมื่อกลับถึงประเทศสิงคโปร์ นายหว่องได้โพสต์วีดีโอคลิป พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อกลับจากลาว รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อขึ้นเครื่องบิน ขอบคุณทุกคนสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น" โดยเป็นภาพที่ผู้โดยสารต่างส่งเสียงเชียร์และปรบมือบนเครื่องบิน ซึ่งผู้สนับสนุนนายหว่องต่างชื่นชมในความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนติดดิน แทนที่จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวหรือเที่ยวบินชั้นธุรกิจ

    อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปเวียงจันทน์ มีเพียงสายการบินสกู๊ต ให้บริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ถ้าจะนั่งแบบฟลูเซอร์วิสต้องไปต่อเครื่องที่กรุงเทพฯ ซึ่งนายหว่องเปิดเผยว่า จะเพิ่มเป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 โดยชาวสิงคโปร์จำนวนมากนิยมเดินทางไปยังหลวงพระบาง รวมทั้งมายังประเทศลาวเพื่อทำงานพัฒนาชุมชนและงานอาสาสมัคร

    ด้านสื่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสิงคโปร์อย่าง ดิออนไลน์ซิตีเซน (TOC) ที่ย้ายไปตั้งสำนักงานที่ไต้หวัน วิจารณ์ว่าการกลับบ้านของนายหว่องมีอะไรน่าตื่นเต้น แทนที่การหารือระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการทูต การค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สมควรได้รับความสนใจมากกว่า และกังวลว่ากรณีนี้จะถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเข้าถึงได้และเป็นกันเอง การดึงดูดความสนใจเที่ยวบินราคาประหยัด ย้ำให้เห็นถึงพลังในการกำหนดวาระทางการเมือง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพและเศรษฐกิจของประเทศ

    สำหรับลอว์เรนซ์ หว่อง วัย 51 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของสิงคโปร์ รับตำแหน่งต่อจากนายลี เซียนลุง ที่ดำรงตำแหน่งมานานถึง 20 ปี เคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ อดีตข้าราชการ และประธานกรรมการบริหารของธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (MAS) มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นประธานร่วมของคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อต่อสู้โรคระบาดโควิด-19

    #Newskit #LawrenceWong #Scoot
    นายกฯ สิงคโปร์ บินโลว์คอสต์กลับบ้าน กลายเป็นเรื่องฮือฮาของชาวสิงคโปร์ เมื่อ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เดินทางกลับจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว เมื่อวันเสาร์ที่ 12 ต.ค. ด้วยสายการบินสกู๊ต (Scoot) โลว์คอสต์แอร์ไลน์ของกลุ่มสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ TR351 ออกจากท่าอากาศยานวัตไต เวลา 12.55 น. ถึงท่าอากาศยานชางงี เวลา 17.05 น. เที่ยวบินดังกล่าว มีคณะทัวร์ผู้สูงอายุชาวสิงคโปร์กว่า 40 คน เพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวในประเทศลาว เมื่อพบเห็นนายหว่องก็ความแปลกใจและตื่นเต้น วีดีโอคลิปของผู้สื่อข่าวสำนักข่าวซีเอ็นเอ (CNA) ของสิงคโปร์ เผยให้เห็นนายหว่องขึ้นไปบนเครื่องบิน ได้รับเสียงปรบมือและเสียงเชียร์ นายหว่องจึงโบกมือทักทายด้วยรอยยิ้มแล้วนั่งลงบนที่นั่ง 1C ซึ่งอยู่หน้าสุด เมื่อกลับถึงประเทศสิงคโปร์ นายหว่องได้โพสต์วีดีโอคลิป พร้อมข้อความระบุว่า "เมื่อกลับจากลาว รู้สึกเหมือนอยู่บ้านเมื่อขึ้นเครื่องบิน ขอบคุณทุกคนสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่น" โดยเป็นภาพที่ผู้โดยสารต่างส่งเสียงเชียร์และปรบมือบนเครื่องบิน ซึ่งผู้สนับสนุนนายหว่องต่างชื่นชมในความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคนติดดิน แทนที่จะนั่งเครื่องบินส่วนตัวหรือเที่ยวบินชั้นธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เที่ยวบินจากสิงคโปร์ไปเวียงจันทน์ มีเพียงสายการบินสกู๊ต ให้บริการสัปดาห์ละ 3 เที่ยวบิน ถ้าจะนั่งแบบฟลูเซอร์วิสต้องไปต่อเครื่องที่กรุงเทพฯ ซึ่งนายหว่องเปิดเผยว่า จะเพิ่มเป็น 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2567 โดยชาวสิงคโปร์จำนวนมากนิยมเดินทางไปยังหลวงพระบาง รวมทั้งมายังประเทศลาวเพื่อทำงานพัฒนาชุมชนและงานอาสาสมัคร ด้านสื่อฝ่ายต่อต้านรัฐบาลสิงคโปร์อย่าง ดิออนไลน์ซิตีเซน (TOC) ที่ย้ายไปตั้งสำนักงานที่ไต้หวัน วิจารณ์ว่าการกลับบ้านของนายหว่องมีอะไรน่าตื่นเต้น แทนที่การหารือระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการทูต การค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สมควรได้รับความสนใจมากกว่า และกังวลว่ากรณีนี้จะถูกใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ว่าเข้าถึงได้และเป็นกันเอง การดึงดูดความสนใจเที่ยวบินราคาประหยัด ย้ำให้เห็นถึงพลังในการกำหนดวาระทางการเมือง แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาค่าครองชีพและเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับลอว์เรนซ์ หว่อง วัย 51 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของสิงคโปร์ รับตำแหน่งต่อจากนายลี เซียนลุง ที่ดำรงตำแหน่งมานานถึง 20 ปี เคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ อดีตข้าราชการ และประธานกรรมการบริหารของธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (MAS) มีผลงานโดดเด่นในด้านการเป็นประธานร่วมของคณะทำงานของรัฐบาลเพื่อต่อสู้โรคระบาดโควิด-19 #Newskit #LawrenceWong #Scoot
    Like
    Love
    Yay
    10
    0 Comments 0 Shares 913 Views 0 Reviews
  • Embraer E190
    scoot air
    Embraer E190 scoot air
    0 Comments 0 Shares 144 Views 0 Reviews
  • BMW C400GT/X

    - ทำไดนามิคอัพเกรดไม่ใช่การเปลี่ยนหน้าจอแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถในทั้งระบบ
    - หน้าจอแบบ sport เพื่อความสวยงามและดูสปอร์มเท่านั้น🤘🤣
    -
    📢📢📢👇
    ไดนามิคอัพเกรดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถทั้งระบบ (ฟังดูครอบจักรวาลแต่มันก็คือเรื่องจริงครับ😂)
    สิ่งที่ได้ในรถ Scooter 🛵จะมี👇
    ✅1. พละกำลังที่เพิ่มขึ้น
    ✅2. อัตราเร่งที่ไวขึ้นคันเร่งไม่หน่วงไม่ดีเลย
    ✅3. อัตราการส่งกำลังแบบสายพาน CVT มีความต่อเนื่องและละเอียดขึ้นไม่สะดุดไม่กระตุก ขึ้นไว
    ✅4. ระบบเบรค ABS ทำงานได้สมูทขึ้นจับเบรคได้ดีขึ้นระยะสั้นลงชัดเจน
    ✅5. ระบบ traction control ทำงานได้ละเอียดขึ้นสมูทขึ้นการตัดทำให้รถไม่เสียอาการ

    #สิ่งที่จะได้เพิ่มเติม
    ✅1. หน้าจอแบบ m sport 1+3 จอกันเลยทีเดียว
    ✅2. ไฟ Cruising light หรือไฟหรี่ไฟเลี้ยว
    ✅3. setting on go หรือการตั้งค่าขณะการขับขี่สามารถทำได้ด้ว
    ✅4. เปิดตั้งค่าการใช้งาน asc เพื่อให้สามารถปิดและเปิดได้ในรถรุ่น 2021 เป็นต้นไปซึ่งถูกปิดไว้

    ถ้าสนใจ dynamic อัพเกรดสามารถติดต่อเข้ามาได้ครับ 📱084-668-3699 มี LINE ครับ
    #DynamicUpgrade #MakelifeaRide #BMWMotorrad #C400GT #C400X #C650Sport #C650GT #CE04
    #PhadMotorrad
    BMW C400GT/X - ทำไดนามิคอัพเกรดไม่ใช่การเปลี่ยนหน้าจอแต่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถในทั้งระบบ - หน้าจอแบบ sport เพื่อความสวยงามและดูสปอร์มเท่านั้น🤘🤣 - 📢📢📢👇 ไดนามิคอัพเกรดเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพรถทั้งระบบ (ฟังดูครอบจักรวาลแต่มันก็คือเรื่องจริงครับ😂) สิ่งที่ได้ในรถ Scooter 🛵จะมี👇 ✅1. พละกำลังที่เพิ่มขึ้น ✅2. อัตราเร่งที่ไวขึ้นคันเร่งไม่หน่วงไม่ดีเลย ✅3. อัตราการส่งกำลังแบบสายพาน CVT มีความต่อเนื่องและละเอียดขึ้นไม่สะดุดไม่กระตุก ขึ้นไว ✅4. ระบบเบรค ABS ทำงานได้สมูทขึ้นจับเบรคได้ดีขึ้นระยะสั้นลงชัดเจน ✅5. ระบบ traction control ทำงานได้ละเอียดขึ้นสมูทขึ้นการตัดทำให้รถไม่เสียอาการ #สิ่งที่จะได้เพิ่มเติม ✅1. หน้าจอแบบ m sport 1+3 จอกันเลยทีเดียว ✅2. ไฟ Cruising light หรือไฟหรี่ไฟเลี้ยว ✅3. setting on go หรือการตั้งค่าขณะการขับขี่สามารถทำได้ด้ว ✅4. เปิดตั้งค่าการใช้งาน asc เพื่อให้สามารถปิดและเปิดได้ในรถรุ่น 2021 เป็นต้นไปซึ่งถูกปิดไว้ ถ้าสนใจ dynamic อัพเกรดสามารถติดต่อเข้ามาได้ครับ 📱084-668-3699 มี LINE ครับ #DynamicUpgrade #MakelifeaRide #BMWMotorrad #C400GT #C400X #C650Sport #C650GT #CE04 #PhadMotorrad
    0 Comments 0 Shares 908 Views 0 Reviews