• ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย

    ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน

    รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย

    ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว

    ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น

    ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น

    #Newskit #PetronasNGV
    ก๊าซธรรมชาติ NGV ไม่ได้ไปต่อในมาเลเซีย ในที่สุดรัฐบาลมาเลเซียตัดสินใจยกเลิกการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) สำหรับยานยนต์ เมื่อนายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ประกาศว่ายานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซ NGV จะไม่อนุญาตให้จดทะเบียนและนำมาใช้บนท้องถนนตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป รวมทั้งบริษัทน้ำมันและก๊าซแห่งชาติของมาเลเซียอย่างปิโตรนาส (Petronas) จะยุติการจัดหาก๊าซธรรมชาติ NGV สำหรับค้าปลีกในตลาดมาเลเซีย ก่อนยุติกิจการอย่างสมบูรณ์ในช่วงเวลาเดียวกัน รมว.คมนาคมมาเลเซียให้เหตุผลว่า ตั้งแต่ปี 2538-2557 ยานพาหนะในมาเลเซียดัดแปลงและติดตั้งชุดอุปกรณ์ NGV ซึ่งบ่งชี้ว่าถังก๊าซหมดอายุการใช้งานแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ โดยอายุการใช้งานอย่างปลอดภัยอยู่ที่ 15 ปี ซึ่งการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่จะมีค่าใช้จ่าย 7,000 ริงกิตต่อคัน (ประมาณ 54,200 บาท) แต่อะไหล่มาตรฐานไม่มีจำหน่ายอีกต่อไป หรือหาซื้อได้ยากในตลาดมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้รถบางส่วนดัดแปลงอุปกรณ์โดยใช้ถังก๊าซหุงต้ม (LPG) ซึ่งเสี่ยงต่อการระเบิดและอุบัติเหตุอีกด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551-2557 ในมาเลเซียเคยมีอุบัติเหตุใหญ่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ NGV มาแล้ว 6 ครั้ง รวมทั้งอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาในประเทศไทยถูกเพลิงไหม้ ครูและนักเรียนเสียชีวิต 23 ราย เชื่อว่าเกิดจากถังก๊าซ NGV ที่ติดตั้งอย่างผิดกฎหมาย เกิดประกายไฟจากการเสียดสีทำให้ระเบิดและลุกไหม้ดังกล่าว ปัจจุบันมาเลเซียมีรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแต่ดัดแปลงให้ใช้ NGV มากกว่า 95% และยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกมาเลเซีย (JPJ) ระบุว่ามียานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง NGV ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 44,383 คัน ประกอบด้วย รถยนต์ส่วนบุคคล 32,137 คัน รถแท็กซี่และรถเช่า 9,509 คัน รถประจำทางและรถบรรทุก 2,150 คัน และยานพาหนะอื่นหรือเครื่องจักร 587 คัน เมื่อเทียบกับยานพาหนะที่จดทะเบียนทั้งหมดในมาเลเซีย (ไม่รวมรถจักรยานยนต์) คิดเป็น 0.2% เท่านั้น ด้านบริษัทปิโตรนาส เอ็นจีวี (PETRONAS NGV Sdn Bhd) ได้ออกมาตรการช่วยเหลือการเปลี่ยนผ่านยานพาหนะจากก๊าซ NGV เป็นน้ำมันเบนซิน ดีเซล หรือยานพาหนะอื่นๆ แบ่งเป็น 1.รถแท็กซี่จะได้รับบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ของ Setel จำนวน 3,000 ริงกิต (ประมาณ 23,100 บาท) 2.บริการถอดชุดติดตั้ง NGV ฟรีสำหรับรถยนต์แบบ Dual-fuel และ 3.รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV อย่างเดียว เมื่อยกเลิกการจดทะเบียนรถและทำลายรถยนต์ผ่านตัวแทนที่ได้รับอนุญาต จะได้รับเงินชดเชยตามราคาประเมิน โดยให้ชาวมาเลเซียยื่นคำร้องผ่านช่องทางออนไลน์ภายใน 31 ธ.ค. 2567 เท่านั้น #Newskit #PetronasNGV
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 391 มุมมอง 0 รีวิว