• ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย

    คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน

    สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน

    ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด

    แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท)

    #Newskit
    ยางคอนติเนนทอล ปิดโรงงานอลอร์สตาร์ มาเลเซีย คอนติเนนทอล (Continental) ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์อันดับ 1 จากประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายสูงสุด 1 ใน 3 ของโลก กำลังเตรียมปิดโรงงานผลิตยางรถยนต์ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเบา และจักรยานยนต์สำหรับตลาดภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในเมืองอลอร์สตาร์ (Aloe Setar) รัฐเคดะห์ (Kedah) ทางภาคเหนือของมาเลเซีย ภายในสิ้นปี 2568 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อต้องการคงความสามารถในการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเป็นผลจากการพิจารณาทบทวนธุรกิจเต็มรูปแบบ การตัดสินใจดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ปรับปรุงกลุ่มผลิตภัณฑ์ และสถานที่ตั้งโรงงาน สำหรับพนักงานทั้งหมด 950 คน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ คอนติเนนทอลได้เสนอความช่วยเหลือ เช่น การให้คำปรึกษาด้านอาชีพ และการสำรวจโอกาสในการทำงานทั้งภายในและภายนอกบริษัทฯ การปิดโรงงานดังกล่าวนับเป็นการปิดฉากโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 46 ปี ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2522 บนพื้นที่ 133,000 ตารางเมตร และกลายเป็นบริษัทในเครือคอนติเนนทอลมาตั้งแต่เดือน พ.ค. 2555 อย่างไรก็ตาม ยังเหลือโรงงานในมาเลเซียอีก 1 แห่ง ที่เมืองเปอตาลิง จายา รัฐสลังงอร์ ผลิตยางออฟโรดสำหรับขนย้ายวัสดุและใช้งานทางการเกษตร มีพนักงาน 500 คน ยางรถยนต์คอนติเนนทอลก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 นำเข้าและจำหน่ายในมาเลเซียช่วงต้นทศวรรษปี 1960-1970 กระทั่งในช่วงต้นทศวรรษปี 2000 คอนติเนนทอลเริ่มลงทุนโดยตรงมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมาเลเซีย โดยในปี 2549 เข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท ไซม์ ไทร์ อินเตอร์เนชันแนล บริษัทในเครือ ไซม์ ดาร์บี้ (Sime Darby) หนึ่งในผู้นำธุรกิจยานยนต์ในมาเลเซีย ทำให้คอนติเนนตัลมีฐานการผลิตและการเข้าถึงตลาดที่สำคัญในมาเลเซียในที่สุด แม้ว่าโรงงานที่อลอร์สตาร์จะต้องปิดตัวลง แต่คอนติเนนทอลยืนยันที่จะให้มาเลเซียเป็นตลาดสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เน้นย้ำถึงการมุ่งรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับลูกค้าและพันธมิตรในประเทศอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันคอนติเนนทอลมีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 22 แห่งใน 17 ประเทศทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชีย มีโรงงานทั้งที่มาเลเซีย เหอเฟย์ในจีน ระยองในไทย โมดิปุรัมในอินเดีย และกาลูทาราในศรีลังกา ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน ต.ค. 2567 คอนติเนนทอล ประกาศว่า กำลังขยายกำลังการผลิตยางรถยนต์ในโรงงานจังหวัดระยอง ประเทศไทย อีก 3 ล้านเส้นต่อปี สร้างงานเพิ่ม 600 อัตรา วางแผนลงทุนมากกว่า 300 ล้านยูโร (13,000 ล้านบาท) #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 224 มุมมอง 0 รีวิว
  • เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์

    ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร

    แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์

    ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย

    อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC)

    ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว

    เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

    #Newskit #AlorSetar #Kedah
    เบื่อหาดใหญ่ ไปอลอร์สตาร์ ในขณะที่ชาวมาเลเซียนิยมเข้ามาท่องเที่ยวที่หาดใหญ่ จ.สงขลาอย่างคึกคัก ในทางกลับกันยังมีคนไทยอีกส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะชาวหาดใหญ่ นิยมไปเที่ยวประเทศมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือ อลอร์สตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของรัฐเคดะห์ (Kedah) หากขับรถไปเองโดยใช้ทางด่วนเหนือ-ใต้ E1 จากด่านบูกิตกายูฮิตัม ตรงข้าม อ.สะเดา จ.สงขลา ระยะทางเพียง 50 กิโลเมตร แต่ส่วนมากนิยมเดินทางโดยรถไฟ KTM Komuter จากสถานีปาดังเบซาร์ (Padang Besar) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 45 นาที ค่าโดยสาร 5.70 ริงกิตต่อเที่ยว (ประมาณ 45 บาท) หากเดินทางแบบไปเช้าเย็นกลับ นิยมจอดรถที่ด่านปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ก่อนไปประทับตราหนังสือเดินทางที่ด่านพรมแดนปาดังเบซาร์ เปิดเวลา 05.00-21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย กับศูนย์ ICQS ปาดังเบซาร์ ชาวหาดใหญ่นิยมมาช้อปปิ้งที่ศูนย์การค้าอะมาน เซ็นทรัล (Aman Central) เนื่องจากมีร้านค้าที่ไม่มีในหาดใหญ่ เช่น ร้าน CHAGEE, ร้าน Krispy Kreme ที่มีโดนัทไซส์เล็ก, ไอศกรีม Llaollao (เหยาเหยา) นอกนั้นก็จะซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม ทั้งน้ำหอม สกินแคร์ และวิตามินต่างๆ บางรายการถูกกว่าประเทศไทย อะมาน เซ็นทรัล เป็นศูนย์การค้าขนาด 8 ชั้นของกลุ่มเบลล์วิลล์กรุ๊ป เปิดเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2558 มีร้านค้าเช่ารวม 420 ร้าน แมกเนตหลักประกอบด้วย โลตัส (Lotus's) ห้างสรรพสินค้าพาร์คสัน (Parkson) และโรงภาพยนตร์โกลเด้นสกรีนซีนีม่าส์ (GSC) ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมประกอบด้วย Menara Alor Setar หอโทรคมนาคม สูง 4 ชั้น ยาว 165.5 เมตร (543 ฟุต) อันดับสามในมาเลเซีย เปิดเมื่อปี 2540 ราคาเข้าชมจุดชมวิวเริ่มต้นที่ 8 ริงกิต, มัสยิดซาฮีร์ (Zahir Mosque) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในมาเลเซีย นอกนั้นก็จะมี Kedah State Art Gallery หอศิลป์แห่งรัฐเคดาห์ ห่างออกไปจะเป็น Kedah Paddy Museum พิพิธภัณฑ์ข้าว เคดะห์เป็นรัฐ 5 อันดับแรกในมาเลเซียที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวอย่างเกาะลังกาวี โดยในปี 2566 มีนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น 6.45 ล้านคน โดยเมืองอลอร์สตาร์มีโรงแรมให้บริการรวม 2,552 ห้อง ส่วนสนามบินอลอร์สตาร์ (AOR) มีผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 588,771 คน มีเที่ยวบินจากสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) 23 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ สนามบินซูบัง (SZB) 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินเซไน รัฐยะโฮร์ (JHB) 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ล่าสุด สายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) ประกาศเปิดเส้นทางบินใหม่ กัวลาลัมเปอร์-อลอร์สตาร์ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง 737 ตั้งแต่วันที่ 5 ธ.ค. 2567 ให้บริการ 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ #Newskit #AlorSetar #Kedah
    Like
    Love
    9
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1374 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism

    นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

    ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง

    ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน

    สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ

    นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive

    อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

    #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    ไทย-มาเลย์เจาะกลุ่ม Self Drive Tourism นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 23 ต.ค. 2567 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียมาเยือนกว่า 4 ล้านคน โดยพบว่า 49% เลือกเดินทางเข้าประเทศไทยผ่านด่านสะเดา จ.สงขลา ทำให้รัฐบาลไทยขยายเวลายกเว้นแบบฟอร์ม ตม.6 ผ่าน 4 ด่านชายแดนทางบกระหว่างไทย-มาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 16 ต.ค. 2567 ถึง 30 เม.ย. 2568 แต่สำหรับคนไทยมาเยือนประเทศมาเลเซีย ข้อมูลจากการท่องเที่ยวมาเลเซีย เดือน ส.ค. 2567 อยู่ที่ 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้น 19.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับการท่องเที่ยวมาเลเซีย ร่วมกันจัดโครงการ Malaysia & Thailand Self Drive Tourism เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในรูปแบบขับรถข้ามชายแดนไทย-มาเลเซีย โดยเปิดตัวคู่มือแผนที่เส้นทางท่องเที่ยว Self-Drive เชื่อมโยงชายแดนไทยและมาเลเซีย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเส้นทาง ททท. คาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมาเยือนไทยไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน ส่วนคนไทยเดินทางไปเยือนมาเลเซียไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน รวมแล้วไม่น้อยกว่า 7 ล้านคน ส่วนการท่องเที่ยวมาเลเซีย ตั้งเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากไทยไม่น้อยกว่า 2.3 ล้านคนในปี 2568 และกำลังจะมีแคมเปญ Visit Malaysia 2026 ในปี 2569 โดยมีเป้าหมายดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก 35.6 ล้านคน สำหรับคู่มือ Malaysia & Thailand Self-Drive ของการท่องเที่ยวมาเลเซีย นำเสนอแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวใน 4 รัฐของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเปอร์ลิส (Perlis) รัฐเคดะห์ (Kedah) รัฐปีนัง (Penang) และรัฐเปรัก (Perak) ทั้งหมด 28 แห่ง พร้อมกับคิวอาร์โค้ดเพื่อค้นหาโรงแรมที่พักจาก The Malaysia Budget & Business Hotel Association (MyBHA) ข้อมูลจุดพักรถ R&R (Rest & Relaxation) ปั๊มน้ำมันและสถานที่ชาร์จรถยนต์ EV บนทางพิเศษเหนือ-ใต้หมายเลข 1 (E1) และข้อมูลที่จำเป็นอื่นๆ นักท่องเที่ยวสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://www.malaysia.travel/explore/malaysia-thailand-self-drive อนึ่ง สำหรับรถยนต์จากไทยไปมาเลเซีย ผู้ใช้รถจะต้องเป็นเจ้าของรถโดยตรง หากเป็นรถติดไฟแนนซ์ส่วนใหญ่มักจะไม่อนุญาต โดยความเข้มของฟิล์มกรองแสงต้องไม่เกิน 40% ที่หน้าด่านสะเดาจะมีเอเจนซี่ ให้บริการรับทำเอกสารและประกันรถยนต์ ซึ่งจะได้แผ่นป้ายวงกลม (ICP) หรือสำเนาใบอนุญาตนำเข้ายานพาหนะของมาเลเซีย ประกันภัยรถยนต์มาเลเซีย และสติกเกอร์ทะเบียนรถยนต์ภาษาอังกฤษ ส่วนใบขับขี่ใช้ของประเทศไทยได้ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล #Newskit #SelfDriveTourism #ThaiMalaysia
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1360 มุมมอง 0 รีวิว