• BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV

    เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป

    รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code

    สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา

    สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ

    โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน

    อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป

    ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด

    #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    Like
    4
    0 Comments 2 Shares 1079 Views 0 Reviews