• แอ่วเหนือ 400 คนภาคอื่นไม่คุ้ม

    ไม่ปังอย่างที่คิด สำหรับโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่รัฐบาลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) มีเสียงวิจารณ์ว่า นอกจากไปพ้องกับโครงการคนละครึ่ง สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว ยังทำได้แย่กว่า

    จากเดิมที่นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท.คาดว่า 10,000 สิทธิ์จะหมดทันทีในวันแรก ปรากฎว่าผ่านไป 2 วัน มีผู้มาใช้สิทธิ์ส่วนลดแค่ 1,814 สิทธิ์ คงเหลือ 8,186 สิทธิ์ แต่ด้วยระยะเวลาใช้จ่ายโครงการถึง 31 ธ.ค. 2567 คาดว่าสิทธิ์จะค่อยลดลงอย่างช้าๆ ในวันธรรมดา และเพิ่มขึ้นในวันหยุดราชการ ถึงกระนั้น ในมุมมองนักท่องเที่ยวถือว่าไม่คุ้ม เพราะให้ส่วนลด 50% เพียงแค่ 400 บาท และยังต้องใช้สิทธิ์เมื่อถึงปลายทาง ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ ไม่จูงใจมากพอที่คนภาคอื่นจะมาเที่ยว

    ยิ่งเดือน พ.ย. เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงฤดูหนาว ราคาที่พักสูงกว่าช่วงอื่น นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจองห้องพักล่วงหน้าไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ อีกส่วนหนึ่งใช้สิทธิ์ส่วนลดค่าที่พักหมดแล้ว ก็ไม่ถึงมือร้านอาหาร สปา และผู้ประกอบการอื่น แถมมีโรงแรมบางแห่งจำกัดวันละ 5 สิทธิ์ต่อวัน คนมาที่หลังต้องจ่ายราคาเต็ม ซึ่งมุมมองของผู้ประกอบการ ต้องแบกรับภาระต้นทุนลูกค้าห้องละ 400 บาท หากมีลูกค้าใช้สิทธิ์ 100 ห้อง ต้องแบกภาระสูงถึง 40,000 บาท จนกว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งไม่แน่นอนหากพบการทุจริต

    ย้อนกลับมาที่โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 5 เฟส ตั้งแต่ปี 2563-2566 มอบส่วนลด 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืน ทำให้จองห้องพักหรูได้ในราคาที่ถูกลง ใช้สิทธิ์ได้ 10-15 ห้องหรือคืน และจองล่วงหน้าได้ เมื่อเช็กอินแล้วยังมีคูปอง e-voucher ค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว 600-900 บาทต่อวัน และสามารถเบิกค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ของราคาตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทสำหรับจังหวัดท่องเที่ยว และ 2,000 บาทสำหรับจังหวัดอื่นๆ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 24,016 ล้านบาท แต่เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 58,621 ล้านบาท

    #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #เราเที่ยวด้วยกัน
    แอ่วเหนือ 400 คนภาคอื่นไม่คุ้ม ไม่ปังอย่างที่คิด สำหรับโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่รัฐบาลโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือหลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) มีเสียงวิจารณ์ว่า นอกจากไปพ้องกับโครงการคนละครึ่ง สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว ยังทำได้แย่กว่า จากเดิมที่นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท.คาดว่า 10,000 สิทธิ์จะหมดทันทีในวันแรก ปรากฎว่าผ่านไป 2 วัน มีผู้มาใช้สิทธิ์ส่วนลดแค่ 1,814 สิทธิ์ คงเหลือ 8,186 สิทธิ์ แต่ด้วยระยะเวลาใช้จ่ายโครงการถึง 31 ธ.ค. 2567 คาดว่าสิทธิ์จะค่อยลดลงอย่างช้าๆ ในวันธรรมดา และเพิ่มขึ้นในวันหยุดราชการ ถึงกระนั้น ในมุมมองนักท่องเที่ยวถือว่าไม่คุ้ม เพราะให้ส่วนลด 50% เพียงแค่ 400 บาท และยังต้องใช้สิทธิ์เมื่อถึงปลายทาง ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ ไม่จูงใจมากพอที่คนภาคอื่นจะมาเที่ยว ยิ่งเดือน พ.ย. เป็นฤดูกาลท่องเที่ยวภาคเหนือช่วงฤดูหนาว ราคาที่พักสูงกว่าช่วงอื่น นักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจองห้องพักล่วงหน้าไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ อีกส่วนหนึ่งใช้สิทธิ์ส่วนลดค่าที่พักหมดแล้ว ก็ไม่ถึงมือร้านอาหาร สปา และผู้ประกอบการอื่น แถมมีโรงแรมบางแห่งจำกัดวันละ 5 สิทธิ์ต่อวัน คนมาที่หลังต้องจ่ายราคาเต็ม ซึ่งมุมมองของผู้ประกอบการ ต้องแบกรับภาระต้นทุนลูกค้าห้องละ 400 บาท หากมีลูกค้าใช้สิทธิ์ 100 ห้อง ต้องแบกภาระสูงถึง 40,000 บาท จนกว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินภายในวันที่ 15 ม.ค. 2568 ซึ่งไม่แน่นอนหากพบการทุจริต ย้อนกลับมาที่โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 5 เฟส ตั้งแต่ปี 2563-2566 มอบส่วนลด 40% สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อห้องหรือต่อคืน ทำให้จองห้องพักหรูได้ในราคาที่ถูกลง ใช้สิทธิ์ได้ 10-15 ห้องหรือคืน และจองล่วงหน้าได้ เมื่อเช็กอินแล้วยังมีคูปอง e-voucher ค่าอาหาร ค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว 600-900 บาทต่อวัน และสามารถเบิกค่าตั๋วเครื่องบิน 40% ของราคาตั๋วเครื่องบิน แต่ไม่เกิน 3,000 บาทสำหรับจังหวัดท่องเที่ยว และ 2,000 บาทสำหรับจังหวัดอื่นๆ โครงการนี้ใช้งบประมาณ 24,016 ล้านบาท แต่เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 58,621 ล้านบาท #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #เราเที่ยวด้วยกัน
    Like
    Haha
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 148 มุมมอง 0 รีวิว
  • แอ่วเหนือคนละครึ่ง อย่าให้มีนักท่องเที่ยวผี

    โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือ หลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง)

    สถานประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญมีทั้งหมด 554 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่พัก 326 แห่ง ร้านอาหาร คาเฟ่ 160 แห่ง ร้านของฝากของที่ระลึก 38 แห่ง และอื่นๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สปา 30 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ หรือไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้

    แม้รัฐบาลและ ททท.คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 44.34 ล้านบาท แต่พบว่าจำนวนสิทธิมีเพียงแค่ 10,000 สิทธิเท่านั้น ในขณะที่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นฤดูการท่องเที่ยวหรือไฮซีซันของภาคเหนือ ส่วนมากที่พักจะเต็ม คนที่จองห้องพักไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นส่วนลดค่าที่พักได้ แต่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ในโรงแรมที่ร่วมโครงการก่อน เพื่อให้นำสิทธิ์ไปใช้ในสถานประกอบการอื่นๆ ได้

    นอกจากเสียงวิจารณ์ว่าชื่อโครงการไปพ้องกับ "โครงการคนละครึ่ง" สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การทุจริต เพราะมีเพียงให้ผู้ประกอบการถ่ายภาพใบเสร็จหรือบิลเงินสด แล้วอัปโหลดลงในระบบทุกครั้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบว่านักท่องเที่ยวมาสแกนใช้สิทธิส่วนลด เป็นนักท่องเที่ยวตัวจริงหรือนักท่องเที่ยวผี อีกทั้งส่วนลดเพียงแค่ 400 บาท หากใช้กับโรงแรมที่พักราคาเกิน 800 บาทขึ้นไป ก็ไม่เหลือใช้กับร้านอาหาร ร้านของฝากแล้ว

    ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยใช้วิธีชักชวนให้จองห้องพักราคาสูง เพื่อรับเงินส่วนต่างที่รัฐบาลสนับสนุน โดยไม่ได้เข้าพักจริง หรือการนำคูปองสำหรับใช้จ่ายร้านค้า ร้านอาหารไปสแกนใช้จ่าย แต่ไม่มีการซื้อสินค้าและบริการจริง มีการจับกุมผู้ร่วมขบวนการทุจริตไปหลายราย ทำให้ภายหลังต้องออกมาตรการที่เข้มงวด เช่น ให้โรงแรมสแกนใบหน้าผู้เข้าพัก หากไม่สามารถป้องกันปัญหาทุจริตที่จะเกิดขึ้นได้ ก็จะกระทบความเชื่อมั่นกับโครงการอื่นๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในอนาคต

    #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #ททท
    แอ่วเหนือคนละครึ่ง อย่าให้มีนักท่องเที่ยวผี โครงการแอ่วเหนือคนละครึ่ง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดแคมเปญเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวภาคเหนือ หลังสถานการณ์อุทกภัย โดยใช้งบประมาณ 4 ล้านบาท มอบส่วนลด 50% รวมไม่เกิน 400 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ์แก่นักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนผ่าน QR Code จากโรงแรมที่พักที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด ก่อนใช้สิทธิ์กับสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ อาทิ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ภายใน 3 วัน (72 ชั่วโมง) สถานประกอบการที่เข้าร่วมแคมเปญมีทั้งหมด 554 แห่ง แบ่งเป็นโรงแรมที่พัก 326 แห่ง ร้านอาหาร คาเฟ่ 160 แห่ง ร้านของฝากของที่ระลึก 38 แห่ง และอื่นๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สปา 30 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป จนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ หรือไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค. 2567 ลงทะเบียนก่อนได้รับสิทธิ์ก่อน (First Come First Served) ไม่สามารถจองสิทธิ์ล่วงหน้าได้ แม้รัฐบาลและ ททท.คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้หมุนเวียนทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 44.34 ล้านบาท แต่พบว่าจำนวนสิทธิมีเพียงแค่ 10,000 สิทธิเท่านั้น ในขณะที่ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป เป็นฤดูการท่องเที่ยวหรือไฮซีซันของภาคเหนือ ส่วนมากที่พักจะเต็ม คนที่จองห้องพักไปแล้วไม่สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นส่วนลดค่าที่พักได้ แต่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ในโรงแรมที่ร่วมโครงการก่อน เพื่อให้นำสิทธิ์ไปใช้ในสถานประกอบการอื่นๆ ได้ นอกจากเสียงวิจารณ์ว่าชื่อโครงการไปพ้องกับ "โครงการคนละครึ่ง" สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาแล้ว สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การทุจริต เพราะมีเพียงให้ผู้ประกอบการถ่ายภาพใบเสร็จหรือบิลเงินสด แล้วอัปโหลดลงในระบบทุกครั้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานเท่านั้น ไม่มีการตรวจสอบว่านักท่องเที่ยวมาสแกนใช้สิทธิส่วนลด เป็นนักท่องเที่ยวตัวจริงหรือนักท่องเที่ยวผี อีกทั้งส่วนลดเพียงแค่ 400 บาท หากใช้กับโรงแรมที่พักราคาเกิน 800 บาทขึ้นไป ก็ไม่เหลือใช้กับร้านอาหาร ร้านของฝากแล้ว ที่ผ่านมาเคยมีการทุจริตโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยใช้วิธีชักชวนให้จองห้องพักราคาสูง เพื่อรับเงินส่วนต่างที่รัฐบาลสนับสนุน โดยไม่ได้เข้าพักจริง หรือการนำคูปองสำหรับใช้จ่ายร้านค้า ร้านอาหารไปสแกนใช้จ่าย แต่ไม่มีการซื้อสินค้าและบริการจริง มีการจับกุมผู้ร่วมขบวนการทุจริตไปหลายราย ทำให้ภายหลังต้องออกมาตรการที่เข้มงวด เช่น ให้โรงแรมสแกนใบหน้าผู้เข้าพัก หากไม่สามารถป้องกันปัญหาทุจริตที่จะเกิดขึ้นได้ ก็จะกระทบความเชื่อมั่นกับโครงการอื่นๆ เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในอนาคต #Newskit #แอ่วเหนือคนละครึ่ง #ททท
    Like
    Haha
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ เรียกผู้ว่าฯ ททท. หารือแผนกระตุ้นท่องเที่ยวปี 68 ย้ำเม็ดเงินต้องกระจายลงทุกพื้นที่ ด้านผู้ว่าฯ ททท. เตรียมเสนอแผนท่องเที่ยว 1-2 สัปดาห์นี้ให้นายกฯ รับทราบ หนุนหาก “สรวงศ์” รื้อโครงการเราเที่ยวด้วยกัน-คนละครึ่ง หากส่งเสริมท่องเที่ยวได้อย่างดี แต่ยังไม่มีการหารือมาตรการอื่นๆ
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000087439

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    นายกฯ เรียกผู้ว่าฯ ททท. หารือแผนกระตุ้นท่องเที่ยวปี 68 ย้ำเม็ดเงินต้องกระจายลงทุกพื้นที่ ด้านผู้ว่าฯ ททท. เตรียมเสนอแผนท่องเที่ยว 1-2 สัปดาห์นี้ให้นายกฯ รับทราบ หนุนหาก “สรวงศ์” รื้อโครงการเราเที่ยวด้วยกัน-คนละครึ่ง หากส่งเสริมท่องเที่ยวได้อย่างดี แต่ยังไม่มีการหารือมาตรการอื่นๆ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000087439 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    Love
    Sad
    Yay
    42
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 6859 มุมมอง 0 รีวิว
  • HOP INN ชิงที่พักเมืองรอง

    มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ถึง 30 พ.ย. 2567 กลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อบัดเจ็ตโฮเต็ลรายใหญ่ในประเทศไทย โรงแรมฮ็อปอินน์ (Hop Inn) ในเครือดิ เอราวัณ กรุ๊ป ประกาศว่า พร้อมให้บริการ E-Tax ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 2567 ผู้เข้าพักสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว

    โดยสาขาโรงแรมฮ็อปอินน์จังหวัดเมืองรองที่เข้าร่วมโครงการ รวม 24 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี เชียงราย ชุมพร ตาก (แม่สอด) นครพนม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง สกลนคร สระแก้ว สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี

    ทั้งนี้ ผู้เข้าพักสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ปีภาษี 2567 สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งข้อมูลจะส่งไปยังกรมสรรพากร เช่นเดียวกับมาตรการช้อปดีมีคืน และมาตรการ Easy e-Receipt ที่เคยแสดงรายการซื้อสินค้าและบริการในเว็บไซต์ MyTax Account โดยอัตโนมัติ

    ที่ผ่านมา นับตั้งแต่เปิดตัวมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ สำหรับจังหวัดเมืองรอง พบว่ามีเพียงโรงแรมขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการ และยังมีจำนวนน้อย ไม่ได้มีโรงแรมเข้าร่วมโครงการจำนวนมากตามที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง เมื่อเทียบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา เช่น โครงการชิมช้อปใช้ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน

    ขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่ พบว่ามีเครือโรงแรมเซ็นทาราเข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ โรงแรมเซ็นทารา เกาะช้าง ทรอปิคานา รีสอร์ท จ.ตราด, โรงแรมเซ็นทารา ชานทะเล รีสอร์ทและวิลลา จ.ตราด, โรงแรมเซ็นทารา อุบล จ.อุบลราชธานี, โรงแรมเซ็นทารา อุดร จ.อุดรธานี และโรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ แม่สอด จ.ตาก

    สำหรับโรงแรมฮ็อปอินน์ เฉพาะในประเทศไทย ที่ผ่านมาเปิดให้บริการแล้ว 4 สาขา ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ศรีราชา จ.ชลบุรี และสาขาล่าสุด ราชบุรี ทำให้ในปัจจุบันมีเครือข่ายโรงแรมมากถึง 55 แห่ง 4,637 ห้องพัก สาขาต่อไปจะเปิดที่นครพนม จำนวน 79 ห้อง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 61 ห้อง สงขลา จำนวน 79 ห้อง และพะเยา จำนวน 79 ห้อง

    #Newskit #HopInn #พักเมืองรองลดหย่อนภาษี
    HOP INN ชิงที่พักเมืองรอง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. ถึง 30 พ.ย. 2567 กลายเป็นที่สนใจอีกครั้ง เมื่อบัดเจ็ตโฮเต็ลรายใหญ่ในประเทศไทย โรงแรมฮ็อปอินน์ (Hop Inn) ในเครือดิ เอราวัณ กรุ๊ป ประกาศว่า พร้อมให้บริการ E-Tax ตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค. 2567 ผู้เข้าพักสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว โดยสาขาโรงแรมฮ็อปอินน์จังหวัดเมืองรองที่เข้าร่วมโครงการ รวม 24 จังหวัด ประกอบด้วย จันทบุรี เชียงราย ชุมพร ตาก (แม่สอด) นครพนม นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ น่าน บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก มหาสารคาม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ราชบุรี ลพบุรี ลำปาง สกลนคร สระแก้ว สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี ทั้งนี้ ผู้เข้าพักสามารถขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษี ปีภาษี 2567 สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรองได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งข้อมูลจะส่งไปยังกรมสรรพากร เช่นเดียวกับมาตรการช้อปดีมีคืน และมาตรการ Easy e-Receipt ที่เคยแสดงรายการซื้อสินค้าและบริการในเว็บไซต์ MyTax Account โดยอัตโนมัติ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่เปิดตัวมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ สำหรับจังหวัดเมืองรอง พบว่ามีเพียงโรงแรมขนาดเล็กที่เข้าร่วมโครงการ และยังมีจำนวนน้อย ไม่ได้มีโรงแรมเข้าร่วมโครงการจำนวนมากตามที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง เมื่อเทียบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวในช่วงที่ผ่านมา เช่น โครงการชิมช้อปใช้ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ขณะที่โรงแรมขนาดใหญ่ พบว่ามีเครือโรงแรมเซ็นทาราเข้าร่วมโครงการ 5 แห่ง ใน 4 จังหวัด ได้แก่ โรงแรมเซ็นทารา เกาะช้าง ทรอปิคานา รีสอร์ท จ.ตราด, โรงแรมเซ็นทารา ชานทะเล รีสอร์ทและวิลลา จ.ตราด, โรงแรมเซ็นทารา อุบล จ.อุบลราชธานี, โรงแรมเซ็นทารา อุดร จ.อุดรธานี และโรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ แม่สอด จ.ตาก สำหรับโรงแรมฮ็อปอินน์ เฉพาะในประเทศไทย ที่ผ่านมาเปิดให้บริการแล้ว 4 สาขา ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ศรีราชา จ.ชลบุรี และสาขาล่าสุด ราชบุรี ทำให้ในปัจจุบันมีเครือข่ายโรงแรมมากถึง 55 แห่ง 4,637 ห้องพัก สาขาต่อไปจะเปิดที่นครพนม จำนวน 79 ห้อง ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 61 ห้อง สงขลา จำนวน 79 ห้อง และพะเยา จำนวน 79 ห้อง #Newskit #HopInn #พักเมืองรองลดหย่อนภาษี
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1033 มุมมอง 0 รีวิว