• มีหรือแค่...โอ้อวด? 🤔 สำรวจพฤติกรรม "อวดเก่ง อวดรวย อวดสุข" ที่อาจทำให้เสียโอกาส พลาดการเติบโต

    จิตวิทยาความอยากอวดในยุคโซเชียล ทั้งอวดเก่ง อวดรวย อวดสุข มันคือความภูมิใจ หรือแค่สร้างภาพ? แล้วจะเติบโตโดยไม่ต้องโชว์ยังไง?

    จะพาสำรวจพฤติกรรมการโอ้อวด ในสังคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอวดเก่ง อวดรวย หรืออวดความสุข พร้อมแนะแนวทางการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องใช้การโชว์เป็นเครื่องมือ

    🌐 โลกยุคแชร์ได้ในพริบตา ในโลกที่โซเชียลมีเดีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เราทุกคนต่างก็มี “เวที” เป็นของตัวเอง ✨ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ใครๆ ก็สามารถโพสต์ แชร์ และบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ได้แบบเรียลไทม์

    แต่เคยสงสัยไหมว่า...
    ทำไมบางโพสต์ถึงรู้สึกเหมือนเป็น "การโชว์"?
    ทำไมบางคนดูเหมือนต้อง “ยืนยัน” ตัวเองตลอดเวลา?

    อวดว่าเก่ง
    อวดว่าได้เงิน
    อวดว่าแฮปปี้สุดๆ 🏆💰😊

    แล้วสิ่งเหล่านี้สะท้อน "ตัวตนจริง" หรือเป็นแค่ "ภาพที่สร้างขึ้น"? จะพาเจาะลึกเรื่องราวเหล่านี้ พร้อมเสนอแนวทางใหม่ ในการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องโชว์ให้ใครเห็น 💡

    🌱 ความแตกต่างระหว่าง "ความภูมิใจที่แท้จริง" กับ "การโอ้อวด" 🌟 ก่อนที่เราจะลงลึก สำคัญมากที่เราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่า...

    ความภูมิใจที่แท้จริง = ความรู้สึกดีในสิ่งที่เราสร้างขึ้น ด้วยความพยายาม

    การโอ้อวด = การแสดงออกเพื่อให้คนอื่นเห็นและยอมรับ แม้บางครั้งจะไม่ได้มาจากความจริงภายใน

    ความภูมิใจคือ การ "รู้ว่าเราทำได้"

    การอวดคือ การ "อยากให้คนอื่นรู้ว่าเราทำได้" 😌✨

    ลองถามตัวเอง...

    🔍 ฉันโพสต์สิ่งนี้ เพราะภูมิใจในตัวเอง หรือเพราะอยากให้คนอื่นชื่นชม? คำตอบนั้น จะบอกได้เลยว่า เรากำลัง “เติบโต” หรือแค่ “แสดงตัวตน”

    พฤติกรรม “อวดเก่ง” 😎 ที่ต้องบอกว่าเราเก่ง? เพราะ...

    ความต้องการการยอมรับ มนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการพื้นฐานคือ “การได้รับการยอมรับ” จากสังคม 🧠 ในยุคที่ใครๆ ก็แชร์ได้ การโพสต์ความสำเร็จ กลายเป็นเครื่องมือเรียกร้องความสนใจ ได้ง่ายที่สุด

    แต่คำถามคือ... ❓ ถ้าเราเก่งจริง เราต้องบอกทุกคนตลอดเวลาหรือเปล่า?

    อวดเก่ง = หยุดพัฒนา คนที่มัวแต่ “อวดว่าเก่ง” มักจะลืมไปว่า “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” เพราะพอได้รับคำชมแล้ว อาจทำให้รู้สึกว่า "เราดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาอีก" 😵‍💫

    สัญญาณที่ควรเช็กตัวเอง โพสต์ความสำเร็จ บ่อยกว่าความพยายามหรือเปล่า? เวลาคุยกับคนอื่น มักจะเน้นว่า “เราทำอะไรได้ดี” มากกว่าการ “เรียนรู้จากคนอื่น” หรือไม่?

    💬 หากคำตอบคือ "ใช่"... บางทีเรากำลังหลงอยู่กับภาพของตัวเอง

    พฤติกรรม “อวดรวย” 💸 ความมั่งคั่งที่แท้จริง ต้องโชว์หรือไม่?

    ความรวยที่แท้จริง "เงียบ" เสมอ จากงานวิจัยของ "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" พบว่า คนที่มีความมั่นคงทางการเงิน มักไม่รู้สึกต้องโชว์ เพราะพวกเขา “ไม่ได้ต้องการพิสูจน์อะไรให้ใครเห็น” 💼

    ✅ รวยจริง = มั่นใจ
    ❌ อวดรวย = แสวงหาการยอมรับ

    การอวดมักมาจาก “ความขาด” หลายครั้งที่การอวดเรื่องเงินทอง มาจาก "ความรู้สึกไม่เพียงพอ" ภายในใจ 🥺 คนที่เคยลำบาก อาจรู้สึกต้องโชว์ว่าตัวเอง "มีแล้ว" คนที่ยังกลัวความจน มักจะแสดงออกเพื่อปกปิดความกลัว

    พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ อวดของแบรนด์เนม แต่มีหนี้บัตรเครดิต 😬 โชว์ไลฟ์สไตล์หรู แต่ไม่มีการลงทุนในความรู้ หรือสุขภาพของตัวเอง

    พฤติกรรม “อวดสุข” 😊🌈 มีความสุขจริง หรือแค่ต้องการให้คนอื่นอิจฉา?

    ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องโชว์ คนที่มีความสุขจริง มักอยู่กับตัวเองหรือคนที่รัก ไม่รู้สึกจำเป็นต้องแชร์ทุกโมเมนต์ เพราะเขาไม่ต้องการการยืนยันจากคนอื่น 💖

    เมื่อ “อวดสุข” = “ฉันเหนือกว่า” โพสต์อาหารดี วิวสวย หรือชีวิตคู่สุดโรแมนติกตลอดเวลา... บางครั้งอาจกลายเป็นการแข่งขันทางอารมณ์ ที่หลอกตัวเองว่า “ฉันชนะแล้ว”

    🚨 นั่นคือกับดักของการเปรียบเทียบ!

    🚪 การ “อวด” ทำให้เสียโอกาส ❌ ไม่มีเวลาเรียนรู้ การมัวแต่สร้างภาพ ทำให้ไม่มีเวลา “เรียนรู้จริง” เพราะใช้พลังไปกับ การทำให้คนอื่นเชื่อว่าเราเก่ง เรารวย เรามีความสุข 😓

    ติดกับดักคำชม เมื่อเราต้องการคำชมมากเกินไป เราจะเริ่ม “ทำทุกอย่างเพื่อให้คนชอบ” แทนที่จะ “ทำในสิ่งที่เรารัก”

    เครียดจากการเปรียบเทียบ เมื่อเราอยากชนะจากการเปรียบเทียบ มันสร้างความกดดันให้เราต้อง “ดูดีกว่า” อยู่เสมอ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก 😵‍💫

    จะเติบโตได้ยังไง โดยไม่ต้องโชว์? 🌿🚀

    ✅ ฟกัสที่ “การเติบโต” ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์” ถามตัวเองบ่อยๆ ว่า... สิ่งที่ฉันทำวันนี้ มันช่วยให้ฉันดีขึ้นจริงไหม? หรือแค่ทำเพื่อให้คนอื่นเห็น?

    ✅ สื่อสารแบบ “ภูมิใจ” ไม่ใช่ “โอ้อวด” ความภูมิใจคือ การแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อ “สร้างแรงบันดาลใจ” ไม่ใช่เพื่อ “ข่มคนอื่น” 🗣️

    ✅ มีความสุขแบบไม่ต้องโชว์ ลองอยู่กับตัวเอง ใช้เวลากับสิ่งเล็กๆ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร หรือเดินเล่น โดยไม่ต้องถ่ายรูปแชร์ทุกครั้ง 🍃📚

    ✅ เปลี่ยนคำถามในใจ จาก “คนอื่นจะคิดยังไง?” 👉 เป็น “สิ่งนี้ทำให้ฉันเติบโตไหม?” หรือ “สิ่งนี้สะท้อนตัวตนของฉันจริงหรือเปล่า?”

    🧘‍♂️ ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างภาพได้ คนที่ “เงียบแต่ลึก” กลับน่าสนใจกว่า

    จงเป็นคนที่ มี มากกว่าคนที่ต้อง โชว์ว่ามี เพราะสุดท้าย... ความสุขจริง ไม่ได้อยู่ที่สายตาคนอื่น แต่มันอยู่ที่ใจของเราเอง 💖

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231249 เม.ย. 2568

    📲 #อวดเก่ง #อวดรวย #อวดสุข #ภูมิใจไม่อวด #เติบโตจากภายใน #ไม่ต้องโชว์ก็สุขได้ #สุขแบบเงียบๆ #ชีวิตเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง #แค่มีไม่ต้องโชว์ #จิตวิทยาโซเชียล
    มีหรือแค่...โอ้อวด? 🤔 สำรวจพฤติกรรม "อวดเก่ง อวดรวย อวดสุข" ที่อาจทำให้เสียโอกาส พลาดการเติบโต จิตวิทยาความอยากอวดในยุคโซเชียล ทั้งอวดเก่ง อวดรวย อวดสุข มันคือความภูมิใจ หรือแค่สร้างภาพ? แล้วจะเติบโตโดยไม่ต้องโชว์ยังไง? จะพาสำรวจพฤติกรรมการโอ้อวด ในสังคมยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการอวดเก่ง อวดรวย หรืออวดความสุข พร้อมแนะแนวทางการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องใช้การโชว์เป็นเครื่องมือ 🌐 โลกยุคแชร์ได้ในพริบตา ในโลกที่โซเชียลมีเดีย กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เราทุกคนต่างก็มี “เวที” เป็นของตัวเอง ✨ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram หรือ TikTok ใครๆ ก็สามารถโพสต์ แชร์ และบอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง ได้แบบเรียลไทม์ แต่เคยสงสัยไหมว่า... ทำไมบางโพสต์ถึงรู้สึกเหมือนเป็น "การโชว์"? ทำไมบางคนดูเหมือนต้อง “ยืนยัน” ตัวเองตลอดเวลา? อวดว่าเก่ง อวดว่าได้เงิน อวดว่าแฮปปี้สุดๆ 🏆💰😊 แล้วสิ่งเหล่านี้สะท้อน "ตัวตนจริง" หรือเป็นแค่ "ภาพที่สร้างขึ้น"? จะพาเจาะลึกเรื่องราวเหล่านี้ พร้อมเสนอแนวทางใหม่ ในการเติบโตอย่างมั่นคง โดยไม่ต้องโชว์ให้ใครเห็น 💡 🌱 ความแตกต่างระหว่าง "ความภูมิใจที่แท้จริง" กับ "การโอ้อวด" 🌟 ก่อนที่เราจะลงลึก สำคัญมากที่เราจะต้องแยกให้ออกก่อนว่า... ความภูมิใจที่แท้จริง = ความรู้สึกดีในสิ่งที่เราสร้างขึ้น ด้วยความพยายาม การโอ้อวด = การแสดงออกเพื่อให้คนอื่นเห็นและยอมรับ แม้บางครั้งจะไม่ได้มาจากความจริงภายใน ความภูมิใจคือ การ "รู้ว่าเราทำได้" การอวดคือ การ "อยากให้คนอื่นรู้ว่าเราทำได้" 😌✨ ลองถามตัวเอง... 🔍 ฉันโพสต์สิ่งนี้ เพราะภูมิใจในตัวเอง หรือเพราะอยากให้คนอื่นชื่นชม? คำตอบนั้น จะบอกได้เลยว่า เรากำลัง “เติบโต” หรือแค่ “แสดงตัวตน” พฤติกรรม “อวดเก่ง” 😎 ที่ต้องบอกว่าเราเก่ง? เพราะ... ความต้องการการยอมรับ มนุษย์ทุกคนล้วนมีความต้องการพื้นฐานคือ “การได้รับการยอมรับ” จากสังคม 🧠 ในยุคที่ใครๆ ก็แชร์ได้ การโพสต์ความสำเร็จ กลายเป็นเครื่องมือเรียกร้องความสนใจ ได้ง่ายที่สุด แต่คำถามคือ... ❓ ถ้าเราเก่งจริง เราต้องบอกทุกคนตลอดเวลาหรือเปล่า? อวดเก่ง = หยุดพัฒนา คนที่มัวแต่ “อวดว่าเก่ง” มักจะลืมไปว่า “การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด” เพราะพอได้รับคำชมแล้ว อาจทำให้รู้สึกว่า "เราดีอยู่แล้ว ไม่ต้องพัฒนาอีก" 😵‍💫 สัญญาณที่ควรเช็กตัวเอง โพสต์ความสำเร็จ บ่อยกว่าความพยายามหรือเปล่า? เวลาคุยกับคนอื่น มักจะเน้นว่า “เราทำอะไรได้ดี” มากกว่าการ “เรียนรู้จากคนอื่น” หรือไม่? 💬 หากคำตอบคือ "ใช่"... บางทีเรากำลังหลงอยู่กับภาพของตัวเอง พฤติกรรม “อวดรวย” 💸 ความมั่งคั่งที่แท้จริง ต้องโชว์หรือไม่? ความรวยที่แท้จริง "เงียบ" เสมอ จากงานวิจัยของ "มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด" พบว่า คนที่มีความมั่นคงทางการเงิน มักไม่รู้สึกต้องโชว์ เพราะพวกเขา “ไม่ได้ต้องการพิสูจน์อะไรให้ใครเห็น” 💼 ✅ รวยจริง = มั่นใจ ❌ อวดรวย = แสวงหาการยอมรับ การอวดมักมาจาก “ความขาด” หลายครั้งที่การอวดเรื่องเงินทอง มาจาก "ความรู้สึกไม่เพียงพอ" ภายในใจ 🥺 คนที่เคยลำบาก อาจรู้สึกต้องโชว์ว่าตัวเอง "มีแล้ว" คนที่ยังกลัวความจน มักจะแสดงออกเพื่อปกปิดความกลัว พฤติกรรมที่เห็นได้ชัดคือ อวดของแบรนด์เนม แต่มีหนี้บัตรเครดิต 😬 โชว์ไลฟ์สไตล์หรู แต่ไม่มีการลงทุนในความรู้ หรือสุขภาพของตัวเอง พฤติกรรม “อวดสุข” 😊🌈 มีความสุขจริง หรือแค่ต้องการให้คนอื่นอิจฉา? ความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องโชว์ คนที่มีความสุขจริง มักอยู่กับตัวเองหรือคนที่รัก ไม่รู้สึกจำเป็นต้องแชร์ทุกโมเมนต์ เพราะเขาไม่ต้องการการยืนยันจากคนอื่น 💖 เมื่อ “อวดสุข” = “ฉันเหนือกว่า” โพสต์อาหารดี วิวสวย หรือชีวิตคู่สุดโรแมนติกตลอดเวลา... บางครั้งอาจกลายเป็นการแข่งขันทางอารมณ์ ที่หลอกตัวเองว่า “ฉันชนะแล้ว” 🚨 นั่นคือกับดักของการเปรียบเทียบ! 🚪 การ “อวด” ทำให้เสียโอกาส ❌ ไม่มีเวลาเรียนรู้ การมัวแต่สร้างภาพ ทำให้ไม่มีเวลา “เรียนรู้จริง” เพราะใช้พลังไปกับ การทำให้คนอื่นเชื่อว่าเราเก่ง เรารวย เรามีความสุข 😓 ติดกับดักคำชม เมื่อเราต้องการคำชมมากเกินไป เราจะเริ่ม “ทำทุกอย่างเพื่อให้คนชอบ” แทนที่จะ “ทำในสิ่งที่เรารัก” เครียดจากการเปรียบเทียบ เมื่อเราอยากชนะจากการเปรียบเทียบ มันสร้างความกดดันให้เราต้อง “ดูดีกว่า” อยู่เสมอ ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตอย่างมาก 😵‍💫 จะเติบโตได้ยังไง โดยไม่ต้องโชว์? 🌿🚀 ✅ ฟกัสที่ “การเติบโต” ไม่ใช่ “ภาพลักษณ์” ถามตัวเองบ่อยๆ ว่า... สิ่งที่ฉันทำวันนี้ มันช่วยให้ฉันดีขึ้นจริงไหม? หรือแค่ทำเพื่อให้คนอื่นเห็น? ✅ สื่อสารแบบ “ภูมิใจ” ไม่ใช่ “โอ้อวด” ความภูมิใจคือ การแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อ “สร้างแรงบันดาลใจ” ไม่ใช่เพื่อ “ข่มคนอื่น” 🗣️ ✅ มีความสุขแบบไม่ต้องโชว์ ลองอยู่กับตัวเอง ใช้เวลากับสิ่งเล็กๆ เช่น อ่านหนังสือ ทำอาหาร หรือเดินเล่น โดยไม่ต้องถ่ายรูปแชร์ทุกครั้ง 🍃📚 ✅ เปลี่ยนคำถามในใจ จาก “คนอื่นจะคิดยังไง?” 👉 เป็น “สิ่งนี้ทำให้ฉันเติบโตไหม?” หรือ “สิ่งนี้สะท้อนตัวตนของฉันจริงหรือเปล่า?” 🧘‍♂️ ในยุคที่ใครๆ ก็สามารถสร้างภาพได้ คนที่ “เงียบแต่ลึก” กลับน่าสนใจกว่า จงเป็นคนที่ มี มากกว่าคนที่ต้อง โชว์ว่ามี เพราะสุดท้าย... ความสุขจริง ไม่ได้อยู่ที่สายตาคนอื่น แต่มันอยู่ที่ใจของเราเอง 💖 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231249 เม.ย. 2568 📲 #อวดเก่ง #อวดรวย #อวดสุข #ภูมิใจไม่อวด #เติบโตจากภายใน #ไม่ต้องโชว์ก็สุขได้ #สุขแบบเงียบๆ #ชีวิตเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง #แค่มีไม่ต้องโชว์ #จิตวิทยาโซเชียล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด้วยอัตราการเกิดที่ต่ำติดอันดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอัตราการเกิดสูงขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างไร?

    เมื่อเร็วๆ นี้ ผมดูคลิปหนึ่งเรื่องความถดถอยของเกาหลีใต้ ตอนหนึ่งเอ่ยถึงอัตราการเกิดที่ต่ำมาก ซึ่งถ้าปล่อยไปแบบนี้เกาหลีใต้จะ "สิ้นชาติ" ภายในปี 2100 เพราะประชากร 70% จะหายไป

    แม้ว่าเกาหลีใต้จะทุ่มเงิน 2.7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นอัตราการเกิด แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งดูท่าว่าการใช้เงินจะไม่ได้ผลในประเทศอื่นด้วย เช่น ในญี่ปุ่น และสิงคโปร์

    เช่น การให้เงินอุดหนุนคนมีลูก หรือเพิ่มวันลาคลอดทั้งชายทั้งหญิงไปจนถึงรัฐบาลช่วยจับคู่ให้ประชากร ทั้งหมดดูจะล้มเหลว

    มีการเทียบสถานการณ์นี้กับสหภาพโซเวียตซึ่งในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1960 จากอัตราการเกิดสูงถึง 24.9 คน/ประชากร 1,000 คน ในปี 1966 มาอยู่ที่ 17.4/ประชากร 1,000 คน

    ปัญหาเกิดจากอะไร? เกิดจากการพัฒนามากเกินไปแบบ "กระจุกตัว"

    จากเอกสารลับของ CIA (ตอนนี้ไม่ลับแล้ว) บอกว่า การที่อัตราการเกิดในโซเวียตต่ำเป็นเพราะการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นอุตสาหกรรม

    ช่วงหนึ่งโซเวียตทำลายภาคเกษตรอย่างย่อยยับด้วยระบบคอมมูน ซึ่งทำให้การเกษตรล้มหลว จนเกษตรกรต้องอพยพเข้ามาอยูในเมืองและเป็นแรงงานโรงงาน ชีวิตคนเมืองแบบนี้ไม่เอื้อต่อการทำลูกมากๆ ต่างจากสังคมเกษตร

    ในเวลาเดียวกัน เมื่อคนแห่เข้ามาอยู่ในเมืองมากๆ ที่อาศัยในเมืองก็ไม่พอ ทำให้ยิ่งไม่เหมาะกับการมีลูกในแฟลตเล็กๆ ที่อยู่แออัดเหมือนรังหนู

    เมื่อคนมากขึ้นในเมือง แต่ภาคเกษตรล้ม ทำให้ของยิ่งแพง เศรษฐกิจแบบนี้คนจึงไม่อยากมีลูก

    ในเวลาเดียวกัน โซเวียตปลดปล่อยสิทธิสตรี ทำให้ผู้หญิงไม่ต้องผูกมัดกับการมีลูกเพื่อมีตัวตนในสังคม อีกทั้งยังให้สิทธิในการทำแท้งเสรี เมื่อผู้หญิงทำงานเท่าผู้ชาย ก็ไม่อยากจะมีลูกอีก

    ในกรณีของโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่าอัตราการเกิดต่ำในปี 1960 ลงมาเพราะผู้หญิงออกมาทำงานและเรียนมากขึ้นถึง 90% แต่เมื่อดูจากสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า แต่แล้วก็ยังมีอัตราเกิดต่ำที่สุดในโลก บางทีเรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวกับผู้หญิงเลย

    และต่อมาอัตราเกิดของโซเวียตยิ่งต่ำกว่าสหรัฐฯ เสียอีก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามากในช่วงที่ทั้งสองประเทศทำสงครามเย็น หากแรงงานลดลง จะแข่งเรื่องการพัฒนาสร้างความก้าวหน้าไม่ได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทำสงครามจริงๆ

    อีกปัญหาก็คือ สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐและชนชาติต่างๆ มากมาย ในขณะที่ประชากรชาวรัสเซียลดลงฮวบฮาบ ประชากรชนชาติอื่นยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และในที่สุดทำนายกันว่าภายในทศวรรษ 2000 ชาวรัสเซียจะไม่ใช่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

    ถามว่ารัสเซียนจะกลืนชนชาติอื่นมาเป็นตน (Russification) ได้ไหม? ตอบว่าทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มที่เกิดมากกว่าไม่ยอมถูกลืนเป็นรัสเซียนและถืออัตลักษณ์ของตนมากกว่า

    ในประเด็นนี้ ผมเคยเสนอว่าวิธีการแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของไทย อาจแก้ด้วยการเปิดรับผู้อพยพที่มีทักษะเข้ามามากๆ แล้ว ทำให้พวกเขาเป็นไทย (Thaification) ด้วยการสร้างชาตินิยมไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ "คนนอก" รู้สึกสำนึกว่าเป็น "คนใน" เช่นที่ไทยเคยทำ Thaification กับประชากรเชื้อชาติจีนสำเร็จมาแล้ว

    แต่เมื่อเห็นปัญหาของโซเวียตผมชักไม่แน่ใจว่าการเอาคนนอกเข้ามาเป็น "คนไทยใหม่" แทน "คนไทยเดิม" ที่เกิดน้อยลงเป็นไอเดียที่จะเวิร์กหรือไม่? ส่วนหนึ่งการทำลาย "ความภูมิใจในความเป็นไทย" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยบางคนก็ไม่อยากเป็นไทย แล้วคนนอกจะยังอยากเป็นไทยหรือ?

    ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐฯ อัตราการเกิดนับตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่มากจากแม่ที่เป็นผู้อพยพ ส่วนคนท้องถิ่นมีลูกน้อยลง แต่ปัญหาผู้อพยพในสหรัฐ ตอนนี้กำลังทำให้ประเทศแตกแยกอย่างหนัก

    บางทีการแก้ปัญหาหาอาจต้องเน้นการสร้างเด็กเกิดใหม่โดยคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นหลัก หากปัญหาของการไม่มีลูกอยู่ที่การกระจุกตัวของสังคมเมือง รัฐบาลก็ต้องกระจายโอกาสให้เมืองชนบทมากขึ้น

    คนทำเกษตรควรจะมีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะพวกเขาอาจเป็นความหวังของการมีลูกมากว่าคนเมือง ดังนั้น แทนที่จะหนุนคนหนุ่มสาวในเมืองให้มีลูก รัฐควรเน้นที่นอกเมืองแทน

    กรณีของสหภาพโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่า "เพราะปัญหาเมืองใหญ่ แต่บ้านเล็ก" นั่นคือ แม้เมืองจะโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนบ้านนอกเข้ามาเยอะ แต่การมีบ้านในเมืองเป็นเรื่องยาก ในปี 1967 อัตราพื้นที่อยู่อาศัยต่อหัวของโซเวียตอยู่ที่แค่ 7 ตร.ม. เท่านั้น ขนาดคนเดียวยังไม่รอด แล้วจะไปมีลูกได้อย่างไร และในทศวรรษที่ 1950 มีการสำรวจพบว่า 14% ที่ไม่มีลูกในเมืองแล้วเลือกทำแท้ง เพราะบ้านไม่พออยู่

    นี่ขนาดโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่บ้านไม่ใช่ของแพง (แต่สร้างยาก) แล้วยังมีพื้นที่ประเทศใหญ่ที่สุดในโลก

    ดูเหมือนที่อยู่แพงและหายากและเล็กจิ๋ว จะเป็นปัญหาของคนจีน เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย เพระาคนเยอะแต่ดินแดนมีจำกัด

    แต่สหรัฐฯ ในช่วง 1970 อัตรการเกิดสูงมาก เนื่องจากเป็นยุคเศรษฐกิจบูม บ้านราคาไม่แพง และภาคเกษตรไม่ตกต่ำและยืนเคียงข้างภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดูเหมือนการพัฒนาจะไม่กระจุกในเมือง เพราะมีเขตรอบนอกเมือง และชนบทที่เข้าถึงการปัจจัยในการดำรงชีพได้พอๆ กัน

    ในกรณีของสหรัฐฯ ปี 1970 เป็นต้นมามีปัญหาหนึ่งคล้ายกับไทย คือ "ท้องนอกสมรสกันเยอะ" แต่เพราะทำแท้งยาก ลูกก็เลยเต็มเมือง แต่เมื่อลูกแบบนี้เยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเข้าถึงการศึกษาได้ถ้วนหน้า

    อัตราการเกิดของสหรัฐฯ จะคึกมาถึงทศวรรษที่ 1990 เลยด้วยซ้ำตามสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากนั้นก็ลดลงเพราะ "จักรวรรดิเศรษฐกิจเริ่มพังทลาย" และสังคมแตกแยกสูง จนตั้งแง่กับผู้อพยพอย่างหนัก

    ดังนั้นเมื่อมองมาที่ไทย ถ้ารัฐบาลอยากให้มีลูก ไม่ควรจะแจกเงินเท่านั้นเพราจะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ควรจะไปแก้ที่ปัจจัยสี่แห่งการมีลูก คือ บ้านต้องมีกันได้ง่ายๆ (บ้านไม่แพง) สาธารณสุขต้องครบครัน (มีลูกต้องไม่แพง) คนชนทบทต้องไม่หนีเข้ามาในเมือง (มีงานและโอกาสทั่วถึง) และควรให้สวัสดิการผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (เช่นวันหยุดเพิ่มเติมสำหรับคนที่ตั้งใจหรือกำลังมีลูก)

    ถ้าปัจจัยครบ รัฐบาลไม่ต้องเสียเวลาบังคับให้ใครมีลูก เดี๋ยวเขาจะมีกันเอง

    หรือถ้ามีกระตุ้นให้มีลูกกันเองไม่ได้ บางทีอาจจะต้องอาศัยการรับผู้อพบพเข้ามาแล้วทำให้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ อย่างในกรณีของสหรัฐมีผู้อพยพจากประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์สูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้ามาอยู่แล้วก็ถือเป็น "อเมริกัน" ไม่ใช่คนชาติเดิมอีก บางทีเราต้องดูตัวอย่างการกลืน (Assimilation) แบบสหรัฐฯ ด้วย

    ปัจจัยสี่แห่งการมีลูกนี้ผมนึกเอาเอง ผมคิดว่าหลายคนก็คงมีไอเดียอื่นๆ ด้วย และที่เล่ามานั้นไม่ใช่ถูกหรือผิด เพียงแค่อยากจะแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาของชาติเท่านั้น ไม่ได้อยากจะอวดดีอวดเก่งอะไร



    Kornkit Disthan
    ด้วยอัตราการเกิดที่ต่ำติดอันดับที่ 3 ของโลก ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอัตราการเกิดสูงขึ้นต่อเนื่อง จะส่งผลต่ออนาคตของประเทศไทยอย่างไร? เมื่อเร็วๆ นี้ ผมดูคลิปหนึ่งเรื่องความถดถอยของเกาหลีใต้ ตอนหนึ่งเอ่ยถึงอัตราการเกิดที่ต่ำมาก ซึ่งถ้าปล่อยไปแบบนี้เกาหลีใต้จะ "สิ้นชาติ" ภายในปี 2100 เพราะประชากร 70% จะหายไป แม้ว่าเกาหลีใต้จะทุ่มเงิน 2.7 แสนล้านดอลลาร์เพื่อกระตุ้นอัตราการเกิด แต่ก็ไม่ได้ผล ซึ่งดูท่าว่าการใช้เงินจะไม่ได้ผลในประเทศอื่นด้วย เช่น ในญี่ปุ่น และสิงคโปร์ เช่น การให้เงินอุดหนุนคนมีลูก หรือเพิ่มวันลาคลอดทั้งชายทั้งหญิงไปจนถึงรัฐบาลช่วยจับคู่ให้ประชากร ทั้งหมดดูจะล้มเหลว มีการเทียบสถานการณ์นี้กับสหภาพโซเวียตซึ่งในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1960 จากอัตราการเกิดสูงถึง 24.9 คน/ประชากร 1,000 คน ในปี 1966 มาอยู่ที่ 17.4/ประชากร 1,000 คน ปัญหาเกิดจากอะไร? เกิดจากการพัฒนามากเกินไปแบบ "กระจุกตัว" จากเอกสารลับของ CIA (ตอนนี้ไม่ลับแล้ว) บอกว่า การที่อัตราการเกิดในโซเวียตต่ำเป็นเพราะการขยายตัวของเมือง (Urbanization) และการเปลี่ยนจากสังคมเกษตรเป็นอุตสาหกรรม ช่วงหนึ่งโซเวียตทำลายภาคเกษตรอย่างย่อยยับด้วยระบบคอมมูน ซึ่งทำให้การเกษตรล้มหลว จนเกษตรกรต้องอพยพเข้ามาอยูในเมืองและเป็นแรงงานโรงงาน ชีวิตคนเมืองแบบนี้ไม่เอื้อต่อการทำลูกมากๆ ต่างจากสังคมเกษตร ในเวลาเดียวกัน เมื่อคนแห่เข้ามาอยู่ในเมืองมากๆ ที่อาศัยในเมืองก็ไม่พอ ทำให้ยิ่งไม่เหมาะกับการมีลูกในแฟลตเล็กๆ ที่อยู่แออัดเหมือนรังหนู เมื่อคนมากขึ้นในเมือง แต่ภาคเกษตรล้ม ทำให้ของยิ่งแพง เศรษฐกิจแบบนี้คนจึงไม่อยากมีลูก ในเวลาเดียวกัน โซเวียตปลดปล่อยสิทธิสตรี ทำให้ผู้หญิงไม่ต้องผูกมัดกับการมีลูกเพื่อมีตัวตนในสังคม อีกทั้งยังให้สิทธิในการทำแท้งเสรี เมื่อผู้หญิงทำงานเท่าผู้ชาย ก็ไม่อยากจะมีลูกอีก ในกรณีของโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่าอัตราการเกิดต่ำในปี 1960 ลงมาเพราะผู้หญิงออกมาทำงานและเรียนมากขึ้นถึง 90% แต่เมื่อดูจากสังคมญี่ปุ่นที่ผู้หญิงอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า แต่แล้วก็ยังมีอัตราเกิดต่ำที่สุดในโลก บางทีเรื่องนี้อาจไม่เกี่ยวกับผู้หญิงเลย และต่อมาอัตราเกิดของโซเวียตยิ่งต่ำกว่าสหรัฐฯ เสียอีก ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามากในช่วงที่ทั้งสองประเทศทำสงครามเย็น หากแรงงานลดลง จะแข่งเรื่องการพัฒนาสร้างความก้าวหน้าไม่ได้ ยิ่งไม่ต้องพูดถึงการทำสงครามจริงๆ อีกปัญหาก็คือ สหภาพโซเวียตประกอบด้วยสาธารณรัฐและชนชาติต่างๆ มากมาย ในขณะที่ประชากรชาวรัสเซียลดลงฮวบฮาบ ประชากรชนชาติอื่นยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และในที่สุดทำนายกันว่าภายในทศวรรษ 2000 ชาวรัสเซียจะไม่ใช่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ถามว่ารัสเซียนจะกลืนชนชาติอื่นมาเป็นตน (Russification) ได้ไหม? ตอบว่าทำไม่สำเร็จ เพราะกลุ่มที่เกิดมากกว่าไม่ยอมถูกลืนเป็นรัสเซียนและถืออัตลักษณ์ของตนมากกว่า ในประเด็นนี้ ผมเคยเสนอว่าวิธีการแก้ปัญหาอัตราการเกิดต่ำของไทย อาจแก้ด้วยการเปิดรับผู้อพยพที่มีทักษะเข้ามามากๆ แล้ว ทำให้พวกเขาเป็นไทย (Thaification) ด้วยการสร้างชาตินิยมไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้ "คนนอก" รู้สึกสำนึกว่าเป็น "คนใน" เช่นที่ไทยเคยทำ Thaification กับประชากรเชื้อชาติจีนสำเร็จมาแล้ว แต่เมื่อเห็นปัญหาของโซเวียตผมชักไม่แน่ใจว่าการเอาคนนอกเข้ามาเป็น "คนไทยใหม่" แทน "คนไทยเดิม" ที่เกิดน้อยลงเป็นไอเดียที่จะเวิร์กหรือไม่? ส่วนหนึ่งการทำลาย "ความภูมิใจในความเป็นไทย" ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้คนไทยบางคนก็ไม่อยากเป็นไทย แล้วคนนอกจะยังอยากเป็นไทยหรือ? ตัวอย่างเช่น ที่สหรัฐฯ อัตราการเกิดนับตั้งแต่ 1970 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่มากจากแม่ที่เป็นผู้อพยพ ส่วนคนท้องถิ่นมีลูกน้อยลง แต่ปัญหาผู้อพยพในสหรัฐ ตอนนี้กำลังทำให้ประเทศแตกแยกอย่างหนัก บางทีการแก้ปัญหาหาอาจต้องเน้นการสร้างเด็กเกิดใหม่โดยคนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็นหลัก หากปัญหาของการไม่มีลูกอยู่ที่การกระจุกตัวของสังคมเมือง รัฐบาลก็ต้องกระจายโอกาสให้เมืองชนบทมากขึ้น คนทำเกษตรควรจะมีสวัสดิภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะพวกเขาอาจเป็นความหวังของการมีลูกมากว่าคนเมือง ดังนั้น แทนที่จะหนุนคนหนุ่มสาวในเมืองให้มีลูก รัฐควรเน้นที่นอกเมืองแทน กรณีของสหภาพโซเวียต CIA วิเคราะห์ว่า "เพราะปัญหาเมืองใหญ่ แต่บ้านเล็ก" นั่นคือ แม้เมืองจะโตขึ้นเรื่อยๆ เพราะคนบ้านนอกเข้ามาเยอะ แต่การมีบ้านในเมืองเป็นเรื่องยาก ในปี 1967 อัตราพื้นที่อยู่อาศัยต่อหัวของโซเวียตอยู่ที่แค่ 7 ตร.ม. เท่านั้น ขนาดคนเดียวยังไม่รอด แล้วจะไปมีลูกได้อย่างไร และในทศวรรษที่ 1950 มีการสำรวจพบว่า 14% ที่ไม่มีลูกในเมืองแล้วเลือกทำแท้ง เพราะบ้านไม่พออยู่ นี่ขนาดโซเวียตเป็นรัฐสังคมนิยมที่บ้านไม่ใช่ของแพง (แต่สร้างยาก) แล้วยังมีพื้นที่ประเทศใหญ่ที่สุดในโลก ดูเหมือนที่อยู่แพงและหายากและเล็กจิ๋ว จะเป็นปัญหาของคนจีน เกาหลี สิงคโปร์ และญี่ปุ่นด้วย เพระาคนเยอะแต่ดินแดนมีจำกัด แต่สหรัฐฯ ในช่วง 1970 อัตรการเกิดสูงมาก เนื่องจากเป็นยุคเศรษฐกิจบูม บ้านราคาไม่แพง และภาคเกษตรไม่ตกต่ำและยืนเคียงข้างภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดูเหมือนการพัฒนาจะไม่กระจุกในเมือง เพราะมีเขตรอบนอกเมือง และชนบทที่เข้าถึงการปัจจัยในการดำรงชีพได้พอๆ กัน ในกรณีของสหรัฐฯ ปี 1970 เป็นต้นมามีปัญหาหนึ่งคล้ายกับไทย คือ "ท้องนอกสมรสกันเยอะ" แต่เพราะทำแท้งยาก ลูกก็เลยเต็มเมือง แต่เมื่อลูกแบบนี้เยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเข้าถึงการศึกษาได้ถ้วนหน้า อัตราการเกิดของสหรัฐฯ จะคึกมาถึงทศวรรษที่ 1990 เลยด้วยซ้ำตามสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากนั้นก็ลดลงเพราะ "จักรวรรดิเศรษฐกิจเริ่มพังทลาย" และสังคมแตกแยกสูง จนตั้งแง่กับผู้อพยพอย่างหนัก ดังนั้นเมื่อมองมาที่ไทย ถ้ารัฐบาลอยากให้มีลูก ไม่ควรจะแจกเงินเท่านั้นเพราจะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ควรจะไปแก้ที่ปัจจัยสี่แห่งการมีลูก คือ บ้านต้องมีกันได้ง่ายๆ (บ้านไม่แพง) สาธารณสุขต้องครบครัน (มีลูกต้องไม่แพง) คนชนทบทต้องไม่หนีเข้ามาในเมือง (มีงานและโอกาสทั่วถึง) และควรให้สวัสดิการผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (เช่นวันหยุดเพิ่มเติมสำหรับคนที่ตั้งใจหรือกำลังมีลูก) ถ้าปัจจัยครบ รัฐบาลไม่ต้องเสียเวลาบังคับให้ใครมีลูก เดี๋ยวเขาจะมีกันเอง หรือถ้ามีกระตุ้นให้มีลูกกันเองไม่ได้ บางทีอาจจะต้องอาศัยการรับผู้อพบพเข้ามาแล้วทำให้เป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ อย่างในกรณีของสหรัฐมีผู้อพยพจากประเทศที่มีอัตราการเจริญพันธุ์สูงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเข้ามาอยู่แล้วก็ถือเป็น "อเมริกัน" ไม่ใช่คนชาติเดิมอีก บางทีเราต้องดูตัวอย่างการกลืน (Assimilation) แบบสหรัฐฯ ด้วย ปัจจัยสี่แห่งการมีลูกนี้ผมนึกเอาเอง ผมคิดว่าหลายคนก็คงมีไอเดียอื่นๆ ด้วย และที่เล่ามานั้นไม่ใช่ถูกหรือผิด เพียงแค่อยากจะแบ่งปันวิธีแก้ปัญหาของชาติเท่านั้น ไม่ได้อยากจะอวดดีอวดเก่งอะไร Kornkit Disthan
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 679 มุมมอง 0 รีวิว