วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)
ความมีอยู่ว่า
... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ
สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)
แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)
ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า
ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/491583437_515879
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
https://www.sohu.com/a/249960097_105772
https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html
#กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
ความมีอยู่ว่า
... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ
สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)
แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)
ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า
ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/491583437_515879
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
https://www.sohu.com/a/249960097_105772
https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html
#กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)
ความมีอยู่ว่า
... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
- จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ
สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)
แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)
ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า
ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/491583437_515879
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
https://www.sohu.com/a/249960097_105772
https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html
#กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
2 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
126 มุมมอง
0 รีวิว