ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ
อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน
จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย
ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี
"วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น
วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี
วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย
วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง
คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย
ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง
เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์
กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด
เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง
ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา
หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย
แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า
"จิ้งเขียว"
"สมียันดะ"
"ยันดะ"
ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง
ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย
ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง
กลับมาเยือนเมืองไทย
6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก
ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง
จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์
บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา
เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ
หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ
สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร"
1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่
2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก
3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน
4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย
5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ
6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย
เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ
ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568
#ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน
จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย
ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี
"วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น
วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี
วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย
วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง
คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย
ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง
เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์
กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด
เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง
ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา
หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย
แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า
"จิ้งเขียว"
"สมียันดะ"
"ยันดะ"
ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง
ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย
ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง
กลับมาเยือนเมืองไทย
6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก
ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง
จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์
บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา
เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ
หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ
สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร"
1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่
2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก
3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน
4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย
5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ
6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย
เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ
ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568
#ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
ปิดตำนาน เริงสวาทสีกา คาดาดฟ้า เรือเดินสมุทร “ยันตระ” เสียชีวิตที่อเมริกา หลังปลอมพาสปอร์ต หนีคดีจนหมดอายุความ 🚢⚖️
🔵 อวสานตำนานพระชื่อดัง กับชีวิตที่กลับกลายเป็นประวัติศาสตร์สังคมไทย เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "ยันตระ อมโร" หรือนายวินัย ละอองสุวรรณ เชื่อว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยต้องรู้จัก ไม่ใช่เพียงเพราะเคยเป็น พระภิกษุชื่อดัง ผู้มีผู้ศรัทธามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศ หากแต่เพราะชีวิตของยันตระ เต็มไปด้วยเรื่องราวดราม่า ฉาวโฉ่ และคดีความที่สั่นสะเทือนวงการสงฆ์ไทย ในยุคหนึ่ง โดยเฉพาะกรณี อาบัติปาราชิก จากข้อกล่าวหาล่วงละเมิดสีกา รวมถึงภาพลักษณ์ ที่แวดล้อมไปด้วยความศรัทธา และความขัดแย้งทางความคิด ซึ่งยังคงตามหลอกหลอน จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตในต่างแดน ✨
🔵 จากลูกชาวบ้าน สู่พระนักปฏิบัติชื่อดัง นายวินัย ละอองสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครอบครัวชาวบ้านธรรมดา ก่อนอุปสมบท ได้ใช้ชีวิตเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปี ได้รับการยกย่องว่าเป็น นักปฏิบัติธรรมผู้ทรงภูมิ ทำให้มีผู้คนเลื่อมใสมากมาย
ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในธรรมยุติกนิกาย ที่วัดรัตนาราม จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตั้งนามให้ตัวเองว่า "ยันตระ อมโรภิกขุ" แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มานาน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นนักพรตฤาษี 🧘♂️
"วัดสุญญตาราม" อาณาจักรแห่งความว่าง หลังจากนั้น พระยันตระได้รับการนิมนต์ ไปเผยแผ่ธรรมในหลายประเทศ มีการจัดตั้ง "สำนักวัดสุญญตาราม" ทั้งในไทยและต่างแดนหลายแห่ง เช่น
✅ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี
✅ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน ออสเตรเลีย
✅ วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
บทสวดและคำสอน แนวกรรมฐานของพระยันตระ ถูกตีพิมพ์และเผยแพร่ไปในวงกว้าง หลายคนมองว่ายันตระเป็นพระที่มีความรู้ในพระไตรปิฎก และการปฏิบัติที่เข้มขลัง ✨
🔵 คดีอื้อฉาว ที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนของพระยันตระ ด้วยข้อกล่าวหาเรื่องเพศสัมพันธ์ และพฤติกรรมไม่เหมาะสม ในปี พ.ศ. 2537 วงการสงฆ์สะเทือน เมื่อสีกากลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อสมเด็จพระสังฆราช และอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวหาพระยันตระว่า มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ กับสีกาหลายคน โดยมีพยานหลักฐานสนับสนุนมากมาย 📂
ข้อกล่าวหาที่โด่งดัง
🚢 เหตุการณ์บนเรือเดินสมุทร กล่าวหาว่า ยันตระมีเพศสัมพันธ์กับสีกา บนดาดฟ้าเรือ ระหว่างเดินทางจากสวีเดนไปฟินแลนด์
🏡 กุฏิริมน้ำในออสเตรเลีย กล่าวหาว่า ยันตระมีพฤติกรรมจับต้องกายสตรี ด้วยความกำหนัด
🚐 เหตุการณ์ในรถตู้ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย มีหลักฐานว่า ยันตระเข้าไปหาสีกาในรถตู้ และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
📞 บทสนทนาทางโทรศัพท์ พร่ำพูดถึงความรัก และมีหลักฐานเทปเสียง
👧 ข้อกล่าวหาการมีบุตรสาว นางจันทิมา มายะรังษี นำเด็กหญิงที่อ้างว่า เป็นบุตรสาวของยันตระ มาแสดงตัว พร้อมภาพถ่ายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ ฉันท์สามีภรรยา
💳 หลักฐานบัตรเครดิต รายการใช้จ่ายในสถานบริการทางเพศ ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
🔵 มติของมหาเถรสมาคม หลังการสืบสวนสอบสวน และตรวจสอบพยานหลักฐาน มหาเถรสมาคมมีมติให้ "พระยันตระ อมโรภิกขุ" ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ โดยปริยาย ❌
แต่แทนที่จะยอมรับคำตัดสิน ยันตระกลับประกาศไม่ยอมรับมติ และอ้างว่ายังเป็นพระภิกษุอยู่ โดยเปลี่ยนจีวรเป็นสีเขียว จนได้รับฉายาใหม่จากสื่อว่า
🦎 "จิ้งเขียว"
🦹♂️ "สมียันดะ"
🧘♂️ "ยันดะ"
🔵 ปลอมพาสปอร์ต หนีคดีข้ามโลก เมื่อพ้นจากสมณเพศ ยันตระได้ทำพาสปอร์ตปลอม หลบหนีออกจากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง
📜 ตลอด 20 ปี ยันตระใช้ชีวิตที่วัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย
⏳ ระยะเวลาผ่านไป คดีต่าง ๆ หมดอายุความ ทำให้ยันตระาสามารถกลับประเทศไทยได้อีกครั้ง
🔵 กลับมาเยือนเมืองไทย
🗓️ 6 กุมภาพันธ์ 2568 ยันตระเดินทางกลับประเทศไทยอีกครั้ง ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีลูกศิษย์รอต้อนรับจำนวนมาก
🏠 ยันตระได้พบปะกับลูกศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุ หรือพระเขี้ยวแก้ว ที่ท้องสนามหลวง
📍 จากนั้นได้กลับไปยังบ้านเกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกราบอดีตพระอุปัชฌาย์
บั้นปลายที่แคลิฟอร์เนีย สุดท้ายแล้ว ยันตระกลับไปยังวัดสุญญตาราม เอสคอนดิโด้ แคลิฟอร์เนีย และเสียชีวิตในวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2568 สิริรวมอายุ 73 ปี 51 พรรษา 🕊️
🔵 เสียงสะท้อนจากสังคม และศรัทธาที่ไม่เสื่อมคลาย แม้จะมีข้อกล่าวหาฉาวโฉ่ แต่ก็ยังมีศิษยานุศิษย์ที่ศรัทธาในคำสอน และการปฏิบัติธรรม องพระยันตระ
🧎♂️ หลายคนยังคงกราบไหว้และนับถือ 👉 แต่ในโลกโซเชียลมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหมาะสมหรือไม่ที่พระรูปอื่นๆ ยังคงกราบไหว้บุคคลที่ถูกถอดจากสมณเพศ 💬
🔵 สรุปเรื่องราวชีวิต "ยันตระ อมโร"
1️⃣ จากนักพรตสู่พระภิกษุผู้ยิ่งใหญ่
2️⃣ คำสอนและแนวปฏิบัติที่มีผู้ศรัทธาทั่วโลก
3️⃣ คดีอื้อฉาวที่ทำลายชื่อเสียงและนำไปสู่การถอดถอน
4️⃣ การหลบหนีและใช้ชีวิตในฐานะผู้ลี้ภัย
5️⃣ การกลับบ้านเกิดหลังคดีหมดอายุความ
6️⃣ จบบั้นปลายชีวิตในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
🔵 ชีวิตของ "ยันตระ อมโร" เปรียบเหมือนนิยาย ที่มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและตกต่ำ ด้วยพฤติกรรมและการกระทำ ที่นำไปสู่ข้อกล่าวหาหนัก แต่ก็ยังคงมีคนศรัทธาไม่เสื่อมคลาย 💔✨
👉 เรื่องราวของยันตระ จึงเป็นบทเรียนสำหรับสังคมไทย ในเรื่องศรัทธา ปัญญา และความรับผิดชอบต่อการกระทำ
ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 101152 มี.ค. 2568
🔵 #ยันตระอมโร #ข่าวดราม่า #ประวัติพระดัง #วัดสุญญตาราม #สีกาคาดาดฟ้า #ข่าวไทยวันนี้ #เรื่องเล่าพระดัง #ข่าวพระดัง #ยันตระเสียชีวิต #ข่าวด่วนไทย
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
1624 มุมมอง
0 รีวิว