• ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม

    ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก”
    ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก”
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา

    ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น)

    ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女)

    สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป

    เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้

    แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้

    ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า

    พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง

    “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/489109778_100127948
    https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435
    https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb
    https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/

    #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    ‘กระดูกงดงาม’ จากวรรณกรรมโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้ Storyฯ มาเก็บตกเกร็ดหนึ่งจากนิยาย/ซีรีส์เรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยายต้นฉบับหรือดูซีรีส์น่าจะจำได้ว่า มีหลายฉากที่เกริ่นถึงว่าพระเอกในภาคอดีตคือคนที่มีกระดูกงดงาม ...“กระดูกงดงาม คือความดีงามที่ฝังถึงเนื้อใน ผู้ที่มีกระดูกจะไม่มีผิวหนัง ผู้ที่มีผิวหนังจะไม่มีกระดูก” ...“คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” - จาก <ทุกชาติภพ กระดูงดงาม> ผู้แต่ง ม่อเป่าเฟยเป่า และ ผู้แปล เสี่ยวหวา ประโยคแรกเป็นคำประพันธ์ของคุณม่อเป่าเฟยเป่า แต่ประโยคหลังยกมาจากบทประพันธ์โบราณซึ่งในนิยายกล่าวถึงว่าชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ เป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1627 มันเป็นบทประพันธ์รวบรวมเรื่องสั้นจากยุคสมัยก่อน แต่งขึ้นในลักษณะนักเขียนเล่าและชวนนักอ่านคุย (นึกภาพเหมือนฟังคนเล่านิทานในซีรีส์จีนที่พูดเองเออเองแต่เหมือนกับคุยกับคนฟังอยู่) โดยเนื้อหาของเรื่องสั้นเหล่านี้สอดแทรกคติธรรมสอนใจ และประโยคที่ว่า “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” (世人眼孔浅的多,只有皮相,没有骨相) นี้ปรากฏอยู่ในบทแรกที่มีชื่อว่า ‘สองนายอำเภอถกเรื่องการแต่งงานของสตรีกำพร้า’ (两县令竞义婚孤女) สตรีกำพร้าที่กล่าวถึงคือเยวี่ยเซียงผู้กำพร้าแม่แต่เด็ก พ่อคือสือปี้เป็นนายอำเภอ ต่อมาเกิดเหตุไฟไหม้คลังหลวง ซึ่งตามกฎหมายแล้วนายอำเภอต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องนำเงินส่วนตัวมาชดเชยค่าเสียหาย แต่สือปี้เป็นขุนนางตงฉินฐานะไม่ดี ไม่มีปัญญาหาเงินมาชดใช้ เครียดจนล้มป่วยตายไป เยวี่ยเซียงและแม่นมจึงถูกทางการขายในฐานะครอบครัวของนักโทษทางการเพื่อเอาเงินมาชดใช้แทน ยังดีที่มีพ่อค้านามว่าเจี่ยชางที่เคยได้รับการช่วยชีวิตจากสือปี้มาซื้อตัวทั้งสองคนกลับไป เขารับเยวี่ยเซียงเป็นลูกบุญธรรมและให้ทุกคนดูแลนางดียิ่ง ทำให้ภรรยาของเจี่ยชางอิจฉาและแอบกดขี่ข่มเหงเยวี่ยเซียงในเวลาที่เขาไม่อยู่บ้าน แต่ไม่ว่านางจะกลั่นแกล้งอย่างไรเยวี่ยเซียงก็ทนและไม่เคยคิดแค้นเคืองเพราะสำนึกในบุญคุณของเจี่ยชาง ต่อมาภรรยาของเจี่ยชางฉวยโอกาสที่เจี่ยชางเดินทางไปค้าขายต่างเมืองจัดการขายเยวี่ยเซียงและแม่นมไป เป็นโชคดีครั้งที่สองที่เยวี่ยเซียงถูกครอบครัวของนายอำเภอคนใหม่ซื้อไปเพื่อจะให้ไปเป็นสาวใช้ที่ติดตามบุตรีของตนตอนออกเรือน ซึ่งบ้านพักของนายอำเภอจงหลีก็คือบ้านเดิมที่เยวี่ยเซียงเคยอยู่เมื่อครั้งที่พ่อของนางเป็นนายอำเภอ และต่อมานายอำเภอจงหลีทราบเรื่องราวของนางก็เห็นใจรับนางเป็นลูกบุญธรรม เขาเขียนจดหมายไปหานายอำเภอเกาซึ่งเป็นนายอำเภอของอีกอำเภอหนึ่งว่าอยากจะชะลอเรื่องงานแต่งงานของลูกสาวตนและลูกชายคนโตของนายอำเภอเกาไว้ เพราะอยากจัดการให้เยวี่ยเซียงเป็นฝั่งเป็นฝาไปก่อน คุยไปคุยมานายอำเภอเกาจึงให้ลูกชายคนโตแต่งงานกับลูกสาวของนายอำเภอจงหลี และให้ลูกชายคนรองแต่งงานกับเยวี่ยเซียง จบแบบสุขนิยมอารมณ์คนดีตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ และเป็นที่มาของชื่อนิทานเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้วในบทนี้แบ่งเป็นนิทานสองเรื่อง โดยเรื่องของเยวี่ยเซียงนี้เป็นเรื่องที่สองและเป็นเรื่องหลัก แต่มันถูกเกริ่นนำด้วยนิทานเรื่องแรกซึ่งเป็นเรื่องของชายผู้มีนามว่าหวางเฟิ่งและลูกสาวหลานสาว และประโยค “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” ปรากฏอยู่ในนิทานเรื่องแรกนี้ ในเรื่องของหวางเฟิ่งนี้ เล่าถึงว่าพี่ชายของเขาก่อนสิ้นใจได้ฝากฝังลูกสาวคนเดียวที่กำพร้าแม่แต่เด็กให้หวางเฟิ่งช่วยดูแล พอได้อายุแต่งงานก็ให้แต่งไปตระกูลพานที่หมั้นหมายกันไว้แต่เด็ก โดยฝากเงินสินสอดทองหมั้นของลูกสาวเอาไว้ด้วย หวางเฟิ่งก็รับหลานสาวคือฉยงอิงไปเลี้ยงดูอย่างดีคู่กับลูกสาวคือฉยงเจิน อยู่มาวันหนึ่งคุณชายตระกูลพานคือพานหัวเดินทางมาเยี่ยมเยียนพร้อมกันกับเซียวหย่าซึ่งหมั้นหมายไว้แต่เด็กกับฉยงเจิน พานหัวหล่อเหลาร่ำรวย แต่เซียวหย่าฐานะยากจนและหน้าตาอัปลักษณ์ หวางเฟิ่งนั่งคิดนอนคิดก็ตัดสินใจสลับตัวเจ้าสาว ให้ฉยงเจินลูกสาวของตนแต่งไปกับพานหัว อีกทั้งยึดเอาสินสอดของฉยงอิงไปด้วย และให้ฉยงอิงแต่งงานกับเซียวหย่า พานหัวร่ำรวยแต่เละเทะไม่เอาการเอางาน ไม่ถึงสิบปีก็ผลาญทรัพย์สินของตระกูลจนหมด ไม่รู้จะเอาอะไรกินก็เลยจะพาเมียไปรับงานเป็นคนใช้ในบ้านคนอื่น หวางเฟิ่งรู้ข่าวจึงไปรับลูกสาวตนเองกลับมาและขับไล่พานหัวไป ส่วนเซียวหย่านั้น เอาการเอางาน สอบได้เป็นราชบัณฑิต ต่อมาไต่เต้าเป็นถึงเสนาบดีและฉยงอิงได้เป็นฟูเหรินขั้นที่หนึ่ง “คนบนโลกส่วนใหญ่สายตาตื้นเขิน มองเพียงรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ได้มองลึกเข้าไปถึงกระดูก” จึงเป็นการกล่าวถึงหวางเฟิ่งเพื่อเป็นคติสอนใจให้มองคนที่เนื้อใน ส่วนเรื่องของเยวี่ยเซียงเป็นการเล่ากลับมุมเพื่อเป็นคติสอนใจให้ดำรงตนเป็นคนที่ดีจากเนื้อในนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/489109778_100127948 https://www.bella.tw/articles/movies&culture/31188 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/醒世恒言/768435 https://baike.baidu.com/item/两县令竞义婚孤女/7878655 https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=66907&remap=gb https://www.toutiao.com/article/7102754854845727236/ #ทุกชาติภพ #กระดูกงดงาม #เฝิงเมิ่งหลง #วรรณกรรมจีนโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 120 มุมมอง 0 รีวิว
  • สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> ที่มีช่วงหนึ่งพระนางต้องไปสืบคดีที่เมืองกานหนานเต้าและได้พบกันพานฉือ มีฉากหนึ่งที่พานฉือนั่งดื่มสุราดับทุกข์และเหยียนซิ่งมาปลอบโดยกล่าวถึงบทความหนึ่งของพานฉือที่เคยโด่งดังในแวดวงผู้มีการศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจให้กับเหล่าบัณฑิตที่ไม่ได้มาจากตระกูลขุนนางใหญ่ Storyฯ เคยเกริ่นไว้ว่าจริงๆ แล้วบทความที่เหยียนซิ่งกล่าวถึงนี้เป็นการยกเอาวรรคเด็ดจากหลายบทกวีโบราณมายำรวมกัน วันนี้มาเล่าให้ฟังค่ะเราคุยกันวันนี้ถึงประโยคแรกที่เหยียนซิ่งกล่าว ซึ่งก็คือ “แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป เดินขึ้นสูงสู่เสินโจว” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ซึ่งวรรคแรกของประโยคนี้ยกมาจากบทกวีโบราณ ความเดิมคือ ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป ข้าพเจ้าหาใช่ชาวป่าเขา’ (仰天大笑出门去,我辈岂是蓬蒿人)/ หยางเทียนต้าเซี่ยวชูเหมินชวี่ อั่วเป้ยฉี่ซื่อเผิงฮาวเหริน) โดยคำว่า ‘ชาวป่าเขา’ ในที่นี่เป็นการอุปมาอุปมัยถึงคนที่ไม่ได้รับราชการหรือชาวบ้านธรรมดา และบทกวีนี้คือ ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ (南陵别儿童入京 แปลได้ประมาณว่า อำลาเด็กๆ จากหนานหลิงเข้าเมืองหลวง) เป็นบทประพันธ์ของหลี่ไป๋ กวีเอกสมัยถังที่ได้รับการยกย่องเป็น ‘เซียนกวี’ตอนที่หลี่ไป๋แต่งกลอนบทนี้ เขามีอายุประมาณสี่สิบสองปี (ค.ศ. 742) ชีวิตผ่านอะไรมาไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยเยาว์ การเดินทางเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปทั่ว การใช้ชีวิตในแวดวงขุนนางและบัณฑิตแต่ไม่ได้เข้ารับราชการตามที่หวัง ชีวิตตกต่ำออกเร่ร่อนและหลบไปใช้ชีวิตทำนาอยู่ตามป่าเขา แต่ตลอดเวลาเขาไม่เคยลืมอุดมการณ์ที่จะเข้ารับราชการเพราะเขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในความรู้ของตัวเอง และเชื่อว่าด้วยสติปัญญาความรู้ที่มีจะสามารถทำให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้นได้ แม้ตัวไม่อยู่ในเมืองหลวงแต่เขาไม่เคยขาดความพยายามที่จะส่งบทความให้ถึงมือของบุคคลสำคัญหลายคนโดยหวังที่จะกรุยทางให้เข้ารับราชการได้เรามักได้ยินเกี่ยวกับบทกวีของหลี่ไป๋ที่บรรยายธรรมชาติสวยงาม แต่จริงๆ แล้วหลี่ไป๋ประพันธ์บทกลอนและบทความไม่น้อยเกี่ยวกับหลักการปกครองและการบริหารบ้านเมือง โดยสอดแทรกปัญหาสังคมที่ตนได้ซึมซับมาจากการที่ได้เคยเดินทางไปหลากหลายพื้นที่และจากการได้คลุกคลีอยู่ในหลายแวดวงสังคมและหลังจากชีวิตผ่านไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ ในที่สุดหลี่ไป๋ในวัยสี่สิบสองปีก็ได้รับพระราชโองการให้เดินทางไปเมืองหลวงเข้าเฝ้าฮ่องเต้ถังเสวียนจง และเมื่อเขาได้เข้าเฝ้าก็สามารถโต้ตอบคำถามจากฮ่องเต้ได้อย่างฉะฉาน ทั้งด้วยสำนวนคมคายและความรู้จากตำราและสิ่งที่ได้พบเห็นมา จึงได้รับการบรรจุเข้าเป็นขุนนางสังกัดสำนักหลวงฮั่นหลิน ต่อมาติดสอยห้อยตามใกล้ชิดและเป็นที่โปรดปรานขององค์ฮ่องเต้ ทว่าชีวิตทางการเมืองของหลี่ไป๋ไม่ได้สวยงามตลอดรอดฝั่ง และคงจะกล่าวได้ว่า จุดนี้เป็นจุดที่รุ่งเรืองที่สุดของเขาแล้วดังนั้น บทกวี ‘หนานหลิงเปี๋ยเอ๋อร์ถงรู่จิง’ จึงสะท้อนถึงอารมณ์ดีใจและภาคภูมิใจของหลี่ไป๋ พร้อมกับความคาดหวังว่าในที่สุดตนจะได้เข้าเฝ้าองค์ฮ่องเต้ ได้เปล่งประกายความรู้ความสามารถของตนให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน ความหมายเต็มๆ ของบทกลอนนี้คือกล่าวถึงบรรยากาศรื่นเริงของร่ำสุรากินมื้อใหญ่ มีเด็กๆ วิ่งเล่นห้อมล้อม ร้องรำทำเพลงกัน จากนั้นกล่าวถึงสภาพจิตใจของหลี่ไป๋ที่นึกย้อนถึงวันเวลาที่เสียไปโดยไม่ได้มีผลงานจริงจัง พร้อมกับความหวังว่าวันนี้อำลาบ้านนอกเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่ออุดมการณ์ และประโยคสุดท้ายแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองว่า ‘ฉันก็มีดีนะ’ และวลีนี้ถูกยกย่องให้เป็นอีกหนึ่ง ‘วลีเด็ด’ จากวรรณกรรมจีนโบราณดังนั้น การที่เหยียนซิ่งยกวลี ‘แหงนมองฟ้าหัวร่อร่าก้าวออกไป’ นี้ขึ้นมาในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> โดยในซีรีส์สมมุติไว้ว่านี่เป็นประโยคที่พานฉือแต่งขึ้น จึงเป็นการเท้าความถึงตอนที่พานฉือเดินทางเข้ากรุงใหม่ๆ ยังเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์และความเชื่อมั่นอันแรงกล้า และเป็นการปลอบใจให้พานฉือรู้ว่า ตราบใดที่มีความรู้ความสามารถ ขอเพียงกล้าที่จะแสดงออกไป ย่อมมีคนเห็นคุณค่า สัปดาห์มาคุยกันต่อกับประโยคที่เหลือของเหยียนซิ่งค่ะ(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.ifensi.com/index.php?m=home&c=View&a=index&aid=4545 https://www.sohu.com/a/327753644_100030261 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://ww.gushiju.net/ju/96744https://dugushici.com/mingju/9382https://baike.baidu.com/item/李白/1043 #ทำนองรักกังวานแดนดิน #วลีจีน #หลี่ไป๋ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 274 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    สุนัขเห่ากรรโชก วลีจาก <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์ <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ว่าเหล่าขุนนางจากสำนักผู้ตรวจการได้ร้องเรียนฟ่านเสียนว่ารับเงินสินบน และฟ่านเสียนมีปฏิกิริยาตอบกลับคือ ส่งภาพอักษรสี่ตัวให้กับสำนักผู้ตรวจการ ทำให้พวกเขายิ่งโกรธแค้นกระเหี้ยนกระหือรือจะเอาผิดฟ่านเสียนให้ได้ อักษรสี่ตัวนี้คือ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ (狺狺狂吠) ในซีรีส์พากย์ไทยแปลว่า ‘สุนัขเห่าโฮ่งๆ’ วลีนี้แปลว่าสุนัขเห่า แต่เพราะมีคำว่า ‘ขวาง’ ซึ่งแปลว่าบ้าคลั่ง มันจึงไม่ใช่สุนัขเห่าธรรมดา แต่เป็นการเห่าแบบกรรโชกแบบบ้าคลั่ง แต่ที่ดูแปลกตาสำหรับ Storyฯ คืออักษร ‘อิ๋น’ จึงลองไปหาข้อมูลดูพบว่ามันเป็นคำที่แทบไม่ค่อยเห็นในปัจจุบัน ‘อิ๋น’ มีที่มาจากบทกวีจีนโบราณที่มีชื่อว่า ‘จิ่วเปี้ยน’ (九辩 แปลได้ประมาณว่า คำถก 9 หัวข้อ) ซึ่งเป็นผลงานของซ่งอวี้ (宋玉) นักประพันธ์และขุนนางจากแคว้นฉู่ในสมัยจ้านกั๋วหรือยุครณรัฐ (มีชีวิตอยู่ช่วงปี 298-222 ก่อนคริสตกาล) เป็นบทร้อยกรองยาวกว่าสองร้อยห้าสิบวรรค เขียนขึ้นเมื่อปีที่เขาถูกปลดออกจากราชการตอนอายุห้าสิบปี เป็นวัยที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน บทกวีนี้จึงสะท้อนความรู้สึกหลากหลายโดยมีหัวข้อหลักคือความโศกเศร้าในสารทฤดู ถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบและเป็นหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อนี้เพราะสามารถชวนให้ผู้อ่านจินตนาการและมีอารมณ์ร่วมได้อย่างดีเลิศ(หมายเหตุ บทกวี ‘เติงเกา’ จากตู้ฝู่ซึ่งเป็นสุดยอดกลอนเจ็ดที่เอ่ยถึงในภาคแรกเป็นอีกหนึ่งในสุดยอดบทกวีภายใต้หัวข้อเดียวกันนี้ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/973244118137214)‘จิ่วเปี้ยน’ เปิดฉากมาด้วยการบรรยายความงามของฤดูใบไม้ร่วงที่ให้ความรู้สึกโศกเศร้า สะท้อนถึงความโดดเดี่ยวของคนที่ตกยากไร้ทรัพย์สินเงินทอง จากนั้นกล่าวถึงสตรีที่รักแล้วผิดหวังถูกทอดทิ้งสลับกับฉากเศร้าๆ ของสารทฤดูที่สะท้อนถึงอารมณ์ของนาง และวลีหมาเห่ากรรโชก ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ นี้มาจากฉากที่เล่าว่าสตรีผู้นี้พยายามจะเข้าไปหาคนรักแต่ถูกหมาเห่าขัดขวางไว้ไม่สามารถก้าวข้ามผ่านประตูไปได้ แต่จริงๆ แล้วฉากข้างต้นเป็นการอุปมาอุปไมยถึงคนที่พยายามเข้าหาแต่ไม่เป็นที่ต้องการ เพราะฉากถัดมากล่าวถึงคนที่พยายามทำตัวเป็นประโยชน์ ดุจขุนนางที่ต้องการรับใช้งานราชสำนัก แต่กลับไร้ซึ่งโอกาส ถูกกีดกันจากรอบด้าน ในขณะที่อำนาจตกไปอยู่ในมือที่ไม่สะอาดจนสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมือง เป็นความโศกเศร้าของคนที่รู้สึกว่าตัวตนหายไปพร้อมกับโอกาสในชีวิตที่หายไปแล้ว ดังนั้น บทร้อยกรองนี้จึงเป็นการพัฒนาเนื้อหาอย่างต่อเนื่องจากความสดใสของธรรมชาติที่สูญหาย (lost nature) ไปสู่รักที่สูญหาย (lost love) ไปสู่ความเป็นตัวตนที่สูญหาย (lost man)ผลงานของซ่งอวี้ได้รับอิทธิพลจากกวีรุ่นก่อนคือชวีหยวน (屈原) บ้างว่าเขาเป็นศิษย์ของชวีหยวน ผลงานของพวกเขาถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของสไตล์ที่เรียกว่าจินตนิยมในวรรณกรรมจีนโบราณ กล่าวคือ ใช้การบรรยายธรรมชาติหรือวิถีชีวิตคนธรรมดาเร้าอารมณ์ และในขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงหลักความคิดหรืออุดมคติบางอย่าง แต่ ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ เดิมเป็นเพียงการบรรยายถึงอาการเห่าอย่างบ้าคลั่งของสุนัข ไม่ได้มีความหมายอื่นแอบแฝง มันถูกใช้เปรียบเปรยถึงคนในเชิงดูแคลนตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่การใช้วลีนี้ในลักษณะด่าคนนี้มีตัวอย่างให้เห็นในซีรีส์ ‘สามก๊ก’ เวอร์ชั่นปี 1994 ในตอนที่ขงเบ้งด่าหวางหลาง (อองลอง) จนกระอักเลือดตาย โดยคำด่าเต็มๆ กล่าวไว้ประมาณว่า อองลองทำตัวเป็นบ่าวสองนายไม่มีผลงานใดๆ ในชีวิต ยังจะมีหน้ามาว่ากล่าวตักเตือนคน ช่างทำตัวเป็นเสมือนสุนัขขี้เรื้อนเห่ากรรโชกได้อย่างไร้ยางอายปัจจุบัน ‘อิ๋นอิ๋นขวางเฟ่ย’ ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่โวยวายเสียงดังแต่ไร้สาระ ประหนึ่งสุนัขที่สักแต่จะเห่าไปอย่างนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่แปลกที่ในเรื่อง <หาญท้าชะตาฟ้าฯ ภาค2> นี้ คนจากสำนักผู้ตรวจการจึงโกรธฟ่านเสียนมากมาย(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://weibo.com/6356014463/OhILTDU5d Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://baike.baidu.com/item/九辩/2482251 https://baike.baidu.com/item/宋玉/72945 https://www.ruanyifeng.com/blog/2006/02/post_174.html https://chuci.5000yan.com/jiubian/ #หาญท้าชะตาฟ้า #สุนัขเห่า #ซ่งอวี้ #จิ่วเปี้ยน #ฉู่ฉือ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 379 มุมมอง 0 รีวิว