• Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 1411 Views 0 Reviews
  • เพจดังมิตรเอิร์ธที่เคยให้ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว และเคยเขียนถึงรอยเลื่อนสะกาย ยันแผ่นดินไหวกระบี่ ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่อาจทำให้โพรงหรือถ้ำหินปูนใต้ดินทรุด แนะพี่น้องที่อาศัยอยู่ใกล้เขาหินปูน ให้ระวังหลุมยุบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035518

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เพจดังมิตรเอิร์ธที่เคยให้ความรู้เรื่องแผ่นดินไหว และเคยเขียนถึงรอยเลื่อนสะกาย ยันแผ่นดินไหวกระบี่ ไม่ทำให้เกิดสึนามิ แต่อาจทำให้โพรงหรือถ้ำหินปูนใต้ดินทรุด แนะพี่น้องที่อาศัยอยู่ใกล้เขาหินปูน ให้ระวังหลุมยุบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000035518 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 880 Views 0 Reviews
  • แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    📌แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา🔸13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร 🔸สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) 🔸เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    0 Comments 0 Shares 445 Views 0 Reviews
  • สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) คาดการณ์ว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมาวันนี้ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 10,000-100,000 ราย และจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาทั้งนี้ ดร.โรเจอร์ มัสซัน กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีต และอยู่บนขนาดและที่ตั้งของเมียนมา และความพร้อมโดยรวมในการรับมือแผ่นดินไหวดร.มัสซันกล่าวว่า การที่แผ่นดินไหวดังกล่าวมีความลึกเพียง 6.2 ไมล์ ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวไม่มีการกระจายตัวเมื่อเดินทางจากศูนย์กลางขึ้นสู่พื้นดิน ส่งผลให้อาคารต่าง ๆ ได้รับแรงกระทบอย่างเต็มที่นอกจากนี้ การที่อาคารบ้านเรือนของเมียนมาไม่ได้สร้างขึ้นมาให้รองรับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเท่ากับในวันนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวว่า มีผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันนี้อย่างน้อย 144 ราย และบาดเจ็บ 730 ราย"เราคาดว่าจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก" พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ของเมียนมาUSGS รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 แมกนิจูดใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมาในวันนี้ และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อก 6.4 แมกนิจูดเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึกเพียง 10 กิโลเมตร และใกล้กับรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง และทอดยาวผ่านตอนกลางของเมียนมานอกจากนี้ แผ่นดินไหวดังกล่าวยังรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพฯ เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีนรัฐบาลทหารของเมียนมาได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในวันนี้ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนัก และคาดว่าจะมีผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก"เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" พลตรีซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลเมียนมา กล่าวต่อผู้สื่อข่าว AFPพลตรีซอ มิน ตุนกล่าวเสริมว่า เมียนมาต้องการได้รับการบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่บาดเจ็บซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ และสะกายทั้งนี้ การเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทหารของเมียนมาแทบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่รุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตสะกาย มัณฑะเลย์ เนปืดอว์ พะโค มะเกวย์ และรัฐฉานโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ อินโฟเควสต์
    สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) คาดการณ์ว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมาวันนี้ จะทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 10,000-100,000 ราย และจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเมียนมาทั้งนี้ ดร.โรเจอร์ มัสซัน กล่าวว่า ตัวเลขคาดการณ์ดังกล่าวอิงอยู่บนข้อมูลแผ่นดินไหวในอดีต และอยู่บนขนาดและที่ตั้งของเมียนมา และความพร้อมโดยรวมในการรับมือแผ่นดินไหวดร.มัสซันกล่าวว่า การที่แผ่นดินไหวดังกล่าวมีความลึกเพียง 6.2 ไมล์ ได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เนื่องจากคลื่นแผ่นดินไหวไม่มีการกระจายตัวเมื่อเดินทางจากศูนย์กลางขึ้นสู่พื้นดิน ส่งผลให้อาคารต่าง ๆ ได้รับแรงกระทบอย่างเต็มที่นอกจากนี้ การที่อาคารบ้านเรือนของเมียนมาไม่ได้สร้างขึ้นมาให้รองรับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเท่ากับในวันนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา กล่าวว่า มีผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันนี้อย่างน้อย 144 ราย และบาดเจ็บ 730 ราย"เราคาดว่าจำนวนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก" พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ของเมียนมาUSGS รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7.7 แมกนิจูดใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ของเมียนมาในวันนี้ และตามมาด้วยอาฟเตอร์ช็อก 6.4 แมกนิจูดเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึกเพียง 10 กิโลเมตร และใกล้กับรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลัง และทอดยาวผ่านตอนกลางของเมียนมานอกจากนี้ แผ่นดินไหวดังกล่าวยังรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพฯ เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีนรัฐบาลทหารของเมียนมาได้เรียกร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในวันนี้ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนัก และคาดว่าจะมีผู้ที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก"เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" พลตรีซอ มิน ตุน โฆษกรัฐบาลเมียนมา กล่าวต่อผู้สื่อข่าว AFPพลตรีซอ มิน ตุนกล่าวเสริมว่า เมียนมาต้องการได้รับการบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่บาดเจ็บซึ่งเข้ารับการรักษาตัวในมัณฑะเลย์ เนปิดอว์ และสะกายทั้งนี้ การเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลทหารของเมียนมาแทบไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งบ่งชี้ถึงผลกระทบที่รุนแรงจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ขณะที่รัฐบาลประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตสะกาย มัณฑะเลย์ เนปืดอว์ พะโค มะเกวย์ และรัฐฉานโดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ อินโฟเควสต์
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 781 Views 0 Reviews
  • แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault)

    สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน

    รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    แผ่นดินไหวที่พม่า ปรับขึ้นจากเบื้องต้น 7.7 เป็น 8.2 ริกเตอร์ เรียกได้ว่ารุนแรงที่สุดของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) สำหรับ รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) นับเป็นหนึ่งใน รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) สำคัญอันดับต้นๆ ในแถบประเทศอาเซียน รอยเลื่อนสะกายมีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอก ของประเทศเมียนมา และพาดผ่านแทบทุกเมืองสำคัญ เริ่มจากเมืองมิตจีนา (Myitkyina) มัณฑะเลย์ (Mandalay) ตองยี (Tounggyi) เนปิดอว์ (Naypyidaw) พะโค (Bago) ย่างกุ้ง (Yangon) และยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน จึงถูกขนานให้เป็น "ยักษ์หลับกลางเมืองเมียนมา
    Like
    Sad
    2
    0 Comments 0 Shares 540 Views 0 Reviews
  • #แผ่นดินไหว รู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ตัวการแผ่นดินไหว ขนาด 8.2 เขย่าแรงสะเทือนถึงไทย
    https://www.thai-tai.tv/news/17894/
    #แผ่นดินไหว รู้จัก รอยเลื่อนสะกาย ตัวการแผ่นดินไหว ขนาด 8.2 เขย่าแรงสะเทือนถึงไทย https://www.thai-tai.tv/news/17894/
    0 Comments 0 Shares 91 Views 0 Reviews
  • รู้จัก "รอยเลื่อนสะกาย" ตัวการ แผ่นดินไหวในไทย 28/03/68 #รอยเลื่อนสะกาย #แผ่นดินไหวในไทย #หลับกลางเมียนมา
    รู้จัก "รอยเลื่อนสะกาย" ตัวการ แผ่นดินไหวในไทย 28/03/68 #รอยเลื่อนสะกาย #แผ่นดินไหวในไทย #หลับกลางเมียนมา
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 668 Views 29 0 Reviews
  • คืบหน้ารอยเลื่อนสะกายเขย่า แผ่นดินไหวในเมียนมาครั้งใหญ่..แรงสั่นสะเทือนทำคานคอนกรีตทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่กำลังก่อสร้างถึงกับถล่ม ทับรถยนต์พังเสียหายหลายคัน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029595
    คืบหน้ารอยเลื่อนสะกายเขย่า แผ่นดินไหวในเมียนมาครั้งใหญ่..แรงสั่นสะเทือนทำคานคอนกรีตทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่กำลังก่อสร้างถึงกับถล่ม ทับรถยนต์พังเสียหายหลายคัน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029595
    Like
    Sad
    4
    0 Comments 0 Shares 735 Views 0 Reviews