• แม้ว่า "ฟรีดริช เมิร์ซ" จากพรรค CDU กับ อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD จะมีความเห็นที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องการสนับสนุนยูเครนต่อไป

    โดยที่ เมิร์ซ สนับสนุนยูเครนอย่างเต็มตัว แต่สำหรับไวเดล ประกาศชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการสนับสนุนครั้งนี้ และจะหันกลับไปสร้างความสัมพันธ์กับปูติน

    ในขณะที่ ผลการสำรวจความคิดเห็นล่าสุด พรรค CDU มีคะแนนนิยมนำเป็นอันดับหนึ่งที่ 30% ส่วนพรรค AfD ตามมาเป็นอันดับที่สองอย่างมั่นคงที่ 20%

    และถ้าหากทั้งสองพรรคจับมือกันตั้งรัฐบาล มันจะเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองเยอรมนีอย่างแน่นอน ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการเมืองภายในของสหภาพยุโรปด้วย เนื่องจากพรรค CDU และ AfD ถูกจัดอยู่ในพรรคฝ่ายขวา หรืออนุรักษนิยมทั้งคู่ โดยที่พรรค CDU อยู่ในตำแหน่งขวากลาง ส่วนพรรค AfD เป็นพรรคขวาจัด



    แม้ว่า "ฟรีดริช เมิร์ซ" จากพรรค CDU กับ อลิซ ไวเดล ผู้สมัครจากพรรค AfD จะมีความเห็นที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องการสนับสนุนยูเครนต่อไป โดยที่ เมิร์ซ สนับสนุนยูเครนอย่างเต็มตัว แต่สำหรับไวเดล ประกาศชัดเจนว่าจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการสนับสนุนครั้งนี้ และจะหันกลับไปสร้างความสัมพันธ์กับปูติน ในขณะที่ ผลการสำรวจความคิดเห็นล่าสุด พรรค CDU มีคะแนนนิยมนำเป็นอันดับหนึ่งที่ 30% ส่วนพรรค AfD ตามมาเป็นอันดับที่สองอย่างมั่นคงที่ 20% และถ้าหากทั้งสองพรรคจับมือกันตั้งรัฐบาล มันจะเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการเมืองเยอรมนีอย่างแน่นอน ซึ่งอาจส่งผลไปถึงการเมืองภายในของสหภาพยุโรปด้วย เนื่องจากพรรค CDU และ AfD ถูกจัดอยู่ในพรรคฝ่ายขวา หรืออนุรักษนิยมทั้งคู่ โดยที่พรรค CDU อยู่ในตำแหน่งขวากลาง ส่วนพรรค AfD เป็นพรรคขวาจัด
    0 Comments 0 Shares 72 Views 0 Reviews
  • ปูตินเสนอให้บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง Gazprom ร่วมมือกับอีลอน มัสก์ในด้านเทคโนโลยี

    ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวกับดมิทรี ซาวเออร์ส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Gazprombank ระหว่างการเยี่ยมชมงาน Future Technologies Forum ที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ว่า “เขา [มัสก์] กำลังปฏิรูปหน่วยงานบริหารในสหรัฐ เพื่อมุ่งเน้นไปทางด้านเทคโนโลยี คุณควรเปิดโอกาสร่วมมือกับเขา”

    วลาดิมีร์ ปูตินกล่าวเสริมว่าเงื่อนไขความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับมัสก์ในภาคอวกาศนั้นวางอยู่บนโต๊ะแล้ว
    ปูตินเสนอให้บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของรัสเซียอย่าง Gazprom ร่วมมือกับอีลอน มัสก์ในด้านเทคโนโลยี ประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวกับดมิทรี ซาวเออร์ส รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Gazprombank ระหว่างการเยี่ยมชมงาน Future Technologies Forum ที่กรุงมอสโกเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ว่า “เขา [มัสก์] กำลังปฏิรูปหน่วยงานบริหารในสหรัฐ เพื่อมุ่งเน้นไปทางด้านเทคโนโลยี คุณควรเปิดโอกาสร่วมมือกับเขา” วลาดิมีร์ ปูตินกล่าวเสริมว่าเงื่อนไขความร่วมมือระหว่างรัสเซียกับมัสก์ในภาคอวกาศนั้นวางอยู่บนโต๊ะแล้ว
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 130 Views 13 0 Reviews
  • The Sun สื่ออังกฤษ รายงานว่า ทรัมป์ปฏิเสธกระแสข่าวว่าเขา 'จะเดินทางมาร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ร่วมกับปูติน และ สี จิ้นผิง

    "ไม่ ผมไม่ไป" เมื่อทรัมป์ถูกถามว่าเขาจะไปร่วมงานหรือไม่

    ก่อนหน้านี้สื่อฝรั่งเศส Le Point อ้างแหล่งข่าวจากรัสเซียว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้าร่วมงานที่รัสเซีย

    สำหรับการจัดงานที่จัตุรัสแดง จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการชัยชนะของรัสเซียที่มีต่อนาซีเยอรมนีในปี 1945 และกลายเป็นงานสำคัญสำหรับผู้นำรัสเซีย


    The Sun สื่ออังกฤษ รายงานว่า ทรัมป์ปฏิเสธกระแสข่าวว่าเขา 'จะเดินทางมาร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ร่วมกับปูติน และ สี จิ้นผิง "ไม่ ผมไม่ไป" เมื่อทรัมป์ถูกถามว่าเขาจะไปร่วมงานหรือไม่ ก่อนหน้านี้สื่อฝรั่งเศส Le Point อ้างแหล่งข่าวจากรัสเซียว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะเข้าร่วมงานที่รัสเซีย สำหรับการจัดงานที่จัตุรัสแดง จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการชัยชนะของรัสเซียที่มีต่อนาซีเยอรมนีในปี 1945 และกลายเป็นงานสำคัญสำหรับผู้นำรัสเซีย
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 130 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และ ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐ ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย เข้าร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองชัยชนะของรัสเซียเหนือนาซีเยอรมัน

    หากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด จะเป็นการพบของ 3 ผู้นำของโลกในขณะนี้ และอาจทำให้ผู้นำสหภาพยุโรปเกิดอาการคลุ้มคลั่งได้!

    นอกจากนี้ วูซิช(เซอร์เบีย) ฟิโก(สโลวาเกีย) และลูลา(บราซิล) ก็แสดงความต้องการจะเข้าร่วมงานนี้ด้วยเช่นกัน
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และ ประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐ ตอบรับคำเชิญของประธานาธิบดีปูติน แห่งรัสเซีย เข้าร่วมงาน "วันแห่งชัยชนะ" (Victory day) ในวันที่ 9 พฤษภาคมปีนี้ ที่กรุงมอสโก ซึ่งเป็นวันเฉลิมฉลองชัยชนะของรัสเซียเหนือนาซีเยอรมัน หากทุกอย่างเป็นไปตามกำหนด จะเป็นการพบของ 3 ผู้นำของโลกในขณะนี้ และอาจทำให้ผู้นำสหภาพยุโรปเกิดอาการคลุ้มคลั่งได้! นอกจากนี้ วูซิช(เซอร์เบีย) ฟิโก(สโลวาเกีย) และลูลา(บราซิล) ก็แสดงความต้องการจะเข้าร่วมงานนี้ด้วยเช่นกัน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 159 Views 0 Reviews
  • จุดจบ NATO? ทรัมป์ทิ้งยูเครน! : Sondhitalk EP281 VDO
    "ทรัมป์" ผนึก "ปูติน"
    จุดเริ่มต้นของจุดจบ NATO?
    #จุดจบNATO #ทรัมป์ทิ้งยูเครน #สหรัฐทิ้งยุโรป #NATO #ยูเครน #เซเลนสกี้ #ปูติน #รัสเซีย #โดนัลด์ทรัมป์ #สหรัฐอเมริกัน #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    จุดจบ NATO? ทรัมป์ทิ้งยูเครน! : Sondhitalk EP281 VDO "ทรัมป์" ผนึก "ปูติน" จุดเริ่มต้นของจุดจบ NATO? #จุดจบNATO #ทรัมป์ทิ้งยูเครน #สหรัฐทิ้งยุโรป #NATO #ยูเครน #เซเลนสกี้ #ปูติน #รัสเซีย #โดนัลด์ทรัมป์ #สหรัฐอเมริกัน #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    Haha
    Love
    20
    0 Comments 0 Shares 762 Views 40 3 Reviews
  • ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า

    “EUROPE'S WORST NIGHTMARE”
    “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป”

    พร้อมบทความที่นำเสนอว่า

    “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก

    ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป

    นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน

    ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ

    โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่

    “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    ปกเล่มล่าของ The Economist นิตยสารเศรษฐศาสตร์การเมืองที่โปรเสรีนิยม พาดหัวว่า “EUROPE'S WORST NIGHTMARE” “ฝันร้ายที่เลวร้ายที่สุดของยุโรป” พร้อมบทความที่นำเสนอว่า “ยุโรปกำลังเผชิญสัปดาห์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่การล่มสลายของม่านเหล็ก ประเทศยูเครนกำลังถูกเร่ขายทิ้ง รัสเซียกำลังได้รับการฟื้นฟู และภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ สหรัฐอเมริกาไม่สามารถเป็นที่พึ่งของยุโรปในช่วงสงครามได้อีกต่อไป นี่คือวิธีที่ยุโรปต้องตอบสนองต่อภัยคุกคามจากโดนัลด์ ทรัมป์และวลาดิมีร์ ปูติน ผลกระทบต่อความมั่นคงของยุโรปนั้นร้ายแรง แต่ผู้นำและประชาชนของทวีปยุโรปก็ยังไม่เข้าใจ โลกเก่าต้องการหลักสูตรเร่งรัดเกี่ยวกับวิธีการใช้พลังอำนาจที่รุนแรงในยุคที่ไร้กฎหมาย มิฉะนั้นจะตกเป็นเหยื่อของความวุ่นวายในโลกใหม่ “ภารกิจเร่งด่วนของยุโรปคือการเรียนรู้วิธีการได้มาซึ่งอำนาจอีกครั้ง ยุโรปต้องเตรียมพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับศัตรูและบางครั้งมิตร รวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย”
    0 Comments 0 Shares 205 Views 0 Reviews
  • -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568-

    วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    -รายงานข่าว 20 กุมภาพันธ์ 2568- วันนี้ครบรอบ 1 เดือน (20 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ 2568) ของการบริหารงานของนายโดนัล เจ. ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐอเมริกา นางคาโรไลน์ เลวิทท์ โฆษกทำเนียบขาว ออกมารายงานผลความคืบหน้าของทรัมป์ 2.0 ว่า มีคำสั่งอำนาจบริหารออกมารวม 73 ฉบับ มากกว่ายุคไบเดนและยุคโอบามา 2-3 เท่า...ครม.ของทรัมป์ยุคนี้ได้รับการไว้วางใจโวตยอมรับจากสภาสูงซีเนทมากถึง 18 คน มากกว่ายุคโอบามาปี 2009 และยุคไบเดนปี 2021...และนายทรัมป์จะประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมดในวันอังคารหน้าที่จะถึงนี้ โดยที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจะมาเยือนในวันจันทร์ ตามด้วยนายกรัฐมนตรีอังกฤษในวันพฤหัสบดี...ขณะรายงานข่าวทำเนียบขาวนั้นได้มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวง Homeland Security ที่ปรึกษากฏหมายฝ่ายเศรษฐกิจแห่งชาติ และที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าร่วมแถลงข่าวด้วย นายไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติหรือ National Security Advisor ตอบคำถามผู้สื่อข่าวประเด็นยุติสงครามในยูเครนว่า สงครามยูเครนต้องจบแน่นอน เพราะสหรัฐฯไม่ต้องการนำเงินภาษีของคนอเมริกันไปช่วยเหลือสงครามยูเครนอีกต่อไปแล้ว โดยสหรัฐฯจะเข้าไปเจรจากับนายปูตินผู้นำรัสเซียในเร็ววันนี้..ข่าวล่าสุดในวันนี้ เมื่อตอนบ่าย สภาสูงหรือซีเนทของคองเกรส ได้ลงมติด้วยคะแนนชนะ 51:49 ให้นายแคช ปาเทล (Kash Patel) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเอฟบีไอ หรือสำนักงานตำรวจสอบสวนกลาง ดูแลงานการสอบสวนและปราบปรามได้ทั่วประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรมของคุณ แพม บอนดิ และเอฟบีไอยังต้องรายงานข่าวโดยตรงให้กับผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติกับคุณ ทุลซี แก็บบาร์ด ให้รับทราบอีกด้วย
    0 Comments 0 Shares 209 Views 0 Reviews
  • ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์"
    ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ
    .
    ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ?
    .
    ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!”
    .
    การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว
    .
    สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ
    .
    ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM)
    .
    ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?"
    .
    จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป
    "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ
    .
    นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน
    .
    "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง
    .
    ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ
    • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ
    • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม
    • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂
    • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว
    • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน
    • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555
    • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา
    รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด
    • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด
    .
    สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    ยูเครนชนะกี่โมง? ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ฟันธงรัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ . ย้อนฟัง "ช่อ พรรณิการ์" ยอดนักวิเคราะห์ข่าวต่างประเทศสายส้ม วิเคราะห์สงครามยูเครนแบบมั่นหน้า ด้วยการฟันธงว่า รัสเซียแพ้แน่นอน แพ้ย่อยยับ ปูตินจะถูกรัฐประหารเงียบ จนชาวเน็ตผู้มาจากอนาคตเข้าไปรุมคอมเมนต์เดือด เตือนความทรงจำ ถามเมื่อไหร่รัสเซียจะแพ้-ยูเครนจะชนะ? . ในสถานการณ์ทางการเมืองโลกที่ผันผวนภายหลังการยกหูโทรศัพท์พูดคุยกันนานกว่า 90 นาทีระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เมื่อวันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 โดยในประเด็นสงครามยูเครนนั้น นายทรัมป์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังว่า “ถึงเวลาแล้วที่จะยุติสงครามไร้สาระนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยการสังหารและการทำลายล้างที่ไม่จำเป็นเลย ขอพระเจ้าอวยพรประชาชนชาวรัสเซียและยูเครน!” . การเริ่มต้นพูดคุยระหว่าง ทรัมป์และปูติน อันนำมาสู่เหตุการณ์เมื่อ วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 สหรัฐฯ และรัสเซียนำโดย นายมาร์ค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ นายเซอร์เกย์ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งดำเนินการเปิดโต๊ะการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนกันเพียง 2 ฝ่าย อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยปราศจากตัวแทนของยูเครน และชาติต่าง ๆ ในยุโรปร่วมโต๊ะเลย แม้แต่คนเดียว . สถานการณ์ดังกล่าวสร้างความเดือดดาลให้กับนายโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนและผู้นำชาติต่างๆ ในยุโรปอย่างมาก เพราะการเปิดโต๊ะเจรจาดังกล่าวเป็นสัญญาณว่า ยูเครนและยุโรปน่าจะต้องตกเป็นเบี้ยล่าง และพ่ายแพ้ถูกทิ้งไว้ท่ามกลางซากปรักหักพัง รวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เข้ารุมเร้าทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ การแย่งชิงบีบบังคับเอาทรัพยากรเพื่อชดใช้เงินช่วยเหลือในสงคราม ความวุ่นวายทางการเมืองภายใน รวมไปถึงปัญหาสังคมและผู้อพยพ ฯลฯ . ในส่วนของผู้ที่ติดตามข่าวสารเรื่องสงครามยูเครนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง ได้มีผู้ย้อนไปหยิบยกการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามยูเครนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดย น.ส.พรรณิการ์ วานิช อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคอนาคตใหม่ และอดีตเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งโฆษกคณะก้าวหน้า ซึ่งเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 หรือเกือบ 3 ปีที่แล้ว ได้วิเคราะห์เรื่องนี้เอาไว้ในยูทูปช่อง คณะก้าวหน้า - Progressive Movement ความยาวกว่า 25 นาที ในหัวเรื่องว่า "ช่อฟันธง! รัสเซียแพ้ย่อยยับ ปูตินชักศึกเข้าบ้าน!" (ลิงก์ >> https://www.youtube.com/watch?v=ytfIw1BHnEM) . ทั้งนี้ในรายการดังกล่าว "ช่อ พรรณิการ์" แห่งคณะก้าวหน้าได้กล่าวในตอนต้นว่า "ดิฉันขอฟันธง รัสเซียเธอแพ้แน่นอน นับวันแพ้ ทำไมถึงจะแพ้ เป็นเพราะอะไรเกิดอะไรขึ้น เป็นเพราะอะไร?" . จากนั้น อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ได้กล่าววิเคราะห์ต่อว่า สาเหตุที่รัสเซียจะพ่ายแพ้ต่อยูเครนและชาติพันธมิตรยุโรปนั้นมาจาก การบีบบังคับด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ-การเงินต่อยุโรป "มาตรการหลัก ๆ ที่ตอนนี้นำโดยสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ใช้อยู่จริง ๆ คือ มาตรการการเงิน ซึ่งมากไปกว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจการค้านะ แต่เรียกว่าเป็นการทุบค่าเงินและตัดตอนทางการเงินแบบขนานใหญ่ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา นานาประเทศตัดรัสเซียออกจากระบบการโอนเงินระหว่างประเทศ S.W.I.F.T., ระบบการเงินของธนาคารต่าง ๆ, มีการฟรีซแอสเสท หรือสินทรัพย์ของรัสเซียที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประกาศไม่ให้มีการค้าขายกับรัสเซีย ..." น.ส.พรรณิการ์กล่าว และวิเคราะห์ต่อว่า นี่เองเป็นสาเหตุที่ค่าเงินรูเบิลของรัสเซียตกต่ำลงอย่างมาก จนแทบจะไม่มีค่า แทบจะกลายเป็นเศษกระดาษ . นอกจากนี้ ช่อ พรรณิการ์ ยังวิเคราะห์ต่ออย่างออกรสด้วยว่า ความเคลื่อนไหวที่สำคัญที่สุดคือ ท่าทีของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ที่เลือกจะทำตามมาตรการคว่ำบาตรของอียู คือ การอายัดทรัพย์สินของรัสเซียที่อยู่ในแบงก์สวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไม่ใช่แค่การอายัดเฉพาะทรัพย์สินของรัฐ แต่เป็นทรัพย์สินของเอกชน และมหาเศรษฐีต่าง ๆ ของรัสเซียที่เกี่ยวข้องกับนายปูตินด้วยจะเป็นปัจจัยชี้ขายให้รัสเซียและนายปูตินพ่ายแพ้อย่างแน่นอน . "ดิฉันคิดว่า เมื่อสวิตเซอร์แลนด์ทำขนาดนี้แล้ว ปูตินนับวันแพ้ได้เลยนะคะ" โฆษกคณะก้าวหน้าฟันธง . ล่วงเลยมาถึงวันนี้ เมื่อทีมงาน Sondhi X กลับไปสำรวจความเห็นของผู้ที่เข้ามาชมคลิปการวิเคราะห์สถานการณ์โลกดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ ทางยูทูปของคณะก้าวหน้าแล้วก็พบว่า มีผู้เข้าไปย้อนดูคลิปดังกล่าวและแสดงความเห็นเป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น • สวัสดีเรามาจากอนาคต 2025 ตอนนี้ทรัมป์กับปูตินเจรจากันแล้วนะเรื่องยูเครนโดยไม่มีไอ้กี้ หรือใช้คำว่าไม่เห็นหัวไอ้กี้ ก็คงไม่ผิดนัก ส่วนไอ้กี้ก็หัวซุกหัวซุนเกาะยุโรปที่เหลืออย่างแนบแน่น จริงแล้วตอนนี้ ยูเครนต้องเลือกปธน.ใหม่แล้วนะ แต่ไอ้กี้ไม่ยอม และไม่ฟังเสียงปชช.เลย โคจรหวงอำนาจเลย ยังไงรบกวนคุณช่อประท้วงแทนปชช.ชาวยูเครนด้วยนะ หรือส่งให้ว่าที่ เลขา UN ด้วยนะครับ • เมื่อไรจะแพ้ รออยู่นะคับ • ทายแค่ ซ้ายขวายังผิดยังคิดจะมาบริหารประเทศ อายมั้ยส้ม • 20-2-2025 ทายผิดจนขนลุก ยูเครนเละโดนรุมทึ้งแบ่งเค้กผลประโยชน์ของชาติ แถมไม่มีสิทธิแม้แต่เข้าร่วมเจรจาสันติภาพเลือกชะตากรรมของชาติตัวเอง 😂 • ยูเครนชนะยังครับ รอจนเมื่อยแล้ว • สรุปทำไมวิเคราะห์ผิดหมดเลย ไม่มีข้อมูลเพียงพอรอบด้าน หรือไม่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ ถ้าได้บริหารประเทศวิเคราะห์ผิดแบบนี้แย่แน่นอน • สวัสดีเรามาจากอนาคต สภาพ ผิดทุกเรื่องตรงข้ามทุกอย่าง 5555 • วิเคราะห์มาถึงขนาดนี้ ปัจจุบันคุณเห็นหรือยังใครเป็นคนทำสงคราม นาโต้ทำสงครามกับรัสเซีย ยูเครนเป็นสนามรบ ผู้สนับสนุนหลักคืออเมริกา รัสเซียบุกยูเครน ก็เพราะนาโต้ขยายอาณาเขตเข้ามาในยูเครน รัสเซียแค่ป้องกันตนเองจากกลุ่มนาโต้ มีหัวเรือเป็นสหรัฐอเมริกา ตัวตลกยูเครนคือหุ่นเชิด • ธงหักหมดแล้ว จากคนเคยเลือกและลาขาด . สำหรับคลิปการวิเคราะห์ดังกล่าวของช่อ พรรณิการ์ เรื่องสงครามยูเครน นับถึงเวลา 20.00น. ที่ผ่านมาของวันที่ 20 ก.พ. 68 มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 1.49 ล้านครั้ง
    Haha
    Like
    6
    1 Comments 0 Shares 432 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    14
    1 Comments 0 Shares 1834 Views 0 Reviews
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์

    เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง

    แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น"

    คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว

    "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social
    "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์
    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ

    "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ

    "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน"

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

    เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO

    https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์ เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น" คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 245 Views 0 Reviews
  • เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง”
    .
    เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก”
    .
    ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง
    .
    มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้
    .
    “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม”
    .
    สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง
    .
    ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี
    .
    มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา
    .
    ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป
    .
    “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ”
    .
    ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์
    .
    “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ
    .
    มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม
    .
    การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป”
    .
    “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า”
    .
    บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    .
    ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก
    .
    คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน
    .
    บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง
    .
    ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775
    ..............
    Sondhi X
    เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์แถลงว่า ยุโรปไม่ต้องการให้ชาติเอเชียต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯ และจีน ท่ามกลางกระแสการแข่งขันโลกเชี่ยวกราก ปูทางประธานาธิบดี เอ็มมานุเอล มาครง ขึ้นเวทีการประชุมแชงกรีลาไดอะล็อกฟอรัม พฤษภาคมนี้ ขณะที่สิงคโปร์เปิดอกรับเอเชียมองวอชิงตันทำตัวเหมือนเจ้าของที่กำลังเรียกเก็บค่าเช่า . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสคนใหม่ประจำสิงคโปร์ สตีเฟน มาร์กีซีโอ (Stephen Marchisio) เริ่มทำหน้าที่ตั้งแต่วันอังคาร (18) เปิดใจว่า ฝรั่งเศสเห็นแรงกดดันเพิ่มขึ้น “บางทีมาจากฝั่งสหรัฐฯ” ที่พันธมิตรในเอเชียจำเป็นต้องตัดสินใจเลือกข้าง” . เขาย้ำว่า “มันมีความสำคัญที่ต้องกล่าวว่าพวกเราสามารถพูดคุยได้กับทุกคน” และเสริมว่า “พวกเราไม่ต้องการให้ใครต้องเลือก” . ทูตแดนน้ำหอมคนใหม่ของประธานาธิบดีเอ็มมานุเอล มาครงให้สัมภาษณ์กับนักข่าวระหว่างอาหารค่ำในสิงคโปร์ที่ซึ่งมาครงจะเดินทางมาที่นี่เพื่อขึ้นกล่าวในการประชุมความมั่นคงแชงกรีลาฟอรัมในวันที่ 30 พ.ค.ที่จะถึง . มาร์กีซีโอกล่าวว่า ประธานาธิบดีมาครงจะขึ้นกล่าวยืนยันบนเวทีว่า ทุกชาติภายในภูมิภาคสามารถปกป้องผลประโยชน์ของชาติตัวเองได้ . “พวกคุณสามารถทำได้ถึงแม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับรูปแบบทางการเมืองของจีน และคุณสามารถทำได้ถึงแม้คุณจะไม่ต้องการฐานทัพจากสหรัฐฯ ในดินแดนของพวกคุณก็ตาม” . สถานทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์ได้ตอบคำถามรอยเตอร์ไปยังแถลงการณ์ของกลุ่ม G-7 ที่ลงนามในมิวนิกโดยฝรั่งเศสและสหรัฐฯ ที่กล่าวว่า สมาชิกทุกชาติมีพันธต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และมั่นคง . ตามแถลงการณ์ทูตฝรั่งเศสชี้ว่า ยุโรปต้องสามัคคี . มาร์กีซีโอยังชี้ว่า ยุโรปต้องมีความสามัคคีที่รวมไปถึงการสั่งซื้ออาวุธอเมริกัน ที่ชี้ว่าเป็นการตอบโต้คำแถลงจากรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดีเจ แวนซ์ ในมิวนิกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา . ทูตแดนน้ำหอมกล่าวว่า มีบางประเทศมองความเกี่ยวข้องในการซื้ออาวุธเป็นหนทางที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทรัมป์สมัยแรก แต่ทว่ามุมมองนี้เปลี่ยนไปแล้วโดยเฉพาะหลังจากที่รองประธานาธิบดีแวนซ์ของสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณผ่านำแถลงที่เผ็ดร้อนในการประชุมมิวนิกฟอรัมในยุโรป . “เกิดอะไรขึ้นในมิวนิก? เขาพยายามโจมตีแก่นกลางของประชาธิปไตย” และเสริมต่อว่า “ดังนั้นมันจึงทำให้เกิดไปสู่คำถามอื่นต่อ” . ดังนั้นเวลานี้ประเทศในยุโรปอาจจะไม่ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์อเมริกัน และเสริมต่อว่าเป็นเพราะไม่มีหลักประกันในการทำเช่นนั้นจะช่วยผ่อนคลายความกดดันของสหรัฐฯ ลงหรือวาทะโจมตีแสดงความเป็นปรปักษ์ . “พวกเราไม่ต้องการที่จะกล่าวว่า ..แต่พวกเราจะตอบโต้หากว่าพวกเราต้องทำ” โดยอ้างไปถึงภาษีและแรงกดดันอื่นๆ ของสหรัฐฯ . มาร์กีซีโอรายงานว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดของฝรั่งเศสคือการไม่ต้องการตอบโต้เอาคืนจากการที่ทั้งสหรัฐอเมริกาและชาติยุโรปต่างมีผลประโยชน์ร่วมกันมากมายรวมไปถึงอุตสาหกรรม . การแสดงความเห็นของทูตฝรั่งเศสคนใหม่สะท้อนความเห็นรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์ อึ้ง เอ็ง เฮง (Ng Eng Hen) ที่แถลงในการประชุมความมั่นคงยุโรปว่า “ภาพของอเมริกาที่มีต่อเอเชียได้เปลี่ยนไป” . “ภาพลักษณ์เปลี่ยนไปจากผู้ปลดปล่อยไปสู่ผู้สร้างความปั่นป่วนไปสู่เจ้าของที่ต้องการเรียกเก็บค่าเช่า” . บลูมเบิร์กรายงานวันจันทร์ (17) ว่า อึ้ง เอ็ง เฮง แถลงในการประชุมนอกรอบที่การประชุมความมั่นคงมิวนิกว่า แนวคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง . ทั้งนี้ เว็บไซต์รัฐบาลสิงคโปร์ได้โพสต์เมื่อสุดสัปดาห์ในคำแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมสิงคโปร์กล่าววิจารณ์สหรัฐฯ ในการประชุมมิวนิก . คำแถลงเกิดขึ้นหลังรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่สมัยทรัมป์มืดมัวตาบอดไม่สนใจต่อประวัติศาสตร์ที่เป็นมาของพันธมิตรนาโตเปิดฉากแผนการหารือตรงกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูตินต่ออนาคตของสงครามเครมลินในยูเครน . บลูมเบิร์กวิเคราะห์ว่า สิงคโปร์เป็นเหมือนเช่นชาติส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการแสวงหาทางสายกลางในการเพิ่มขึ้นของภาพที่ซับซ้อนทางการเมืองเชิงภูมิศาสตร์ เพื่อเสาะหาความสัมพันธ์ที่สมดุลกับสหรัฐอเมริกาในฐานะหุ้นส่วนความมั่นคงหลักและต่อจีนในฐานะแหล่งของการพัฒนาและหนึ่งในพันธมิตรทางการค้าที่ใหญ่ที่สุดของตัวเอง . ทั้งนี้สหรัฐฯ ในสมัยอดีตรัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน อเมริกาได้ทำงานเพื่อสร้างข้อผูกพันทางความมั่นคงภายในภูมิภาคต่อต้านการรุกคืบจากจีนในทะเลจีนใต้ และเป็นความวิตกทางความมั่นคงที่ยังคงเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของปักกิ่งในการนำไต้หวันกลับสู่อ้อมอกอีกครั้งในอนาคตไม่ว่าจะเป็นการใช้กำลังหรือไม่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016775 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 Comments 0 Shares 1853 Views 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีปูตินเผยว่า เขาได้รับรายงานการเจรจาที่ริยาดแล้ว:

    - รัสเซียพร้อมที่จะกลับสู่โต๊ะเจรจาเรื่องยูเครน

    - ปูตินยินดีจะพบกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่การพบกันเช่นนี้ต้องมีการเตรียมการ

    - ปูตินยังกล่าวอีกว่า การ "พบปะ" กับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งรวมถึงยูเครนด้วย

    - ปูตินเปิดทางให้ภารกิจทางสถานทูตจะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง

    - มอสโกได้เริ่มดำเนินการขั้นแรกในการร่วมมือกับสหรัฐไปแล้ว

    - รัสเซียยังพร้อมร่วมมือกับสหรัฐในด้านอวกาศต่อไป

    - รัสเซียจะไม่พูดถึงหรือคาดเดาความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐ

    - ปูตินบอกว่า เขาประหลาดใจที่เห็นทรัมป์อดกลั้นต่อพฤติกรรมหยาบคายของประเทศยุโรปที่มีต่อสหรัฐในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

    - ยูเครนได้รับข้อมูลข่าวกรองอวกาศจากตะวันตกเท่านั้น กองทัพยูเครนไม่สามารถจัดการโจมตี CPC ได้โดยอิสระ
    (CPC เป็นโครงการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศที่มีรัสเซีย คาซัคสถาน และบริษัทขุดเจาะน้ำมันชั้นนำระดับโลกเข้าร่วม เพิ่งโดนโดรนโจมตีไปเมื่อเร็วๆนี้)

    - ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียใน CPC เนื่องจากเป็นโรงงานระหว่างประเทศ รัสเซียมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยสำหรับการขนส่ง ส่วนน้ำมันทั้งหมดนี้เป็นของบริษัทในอเมริกาและยุโรป

    - ปูติน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อหนึ่งชั่วโมงที่แล้ว เขาเพิ่งได้รับแจ้งว่าทหารกองทัพรัสเซียได้ข้ามพรมแดนไปยังยูเครนจากทางภูมิภาคเคิร์สก์แล้ว!

    ประธานาธิบดีปูตินเผยว่า เขาได้รับรายงานการเจรจาที่ริยาดแล้ว: - รัสเซียพร้อมที่จะกลับสู่โต๊ะเจรจาเรื่องยูเครน - ปูตินยินดีจะพบกับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ แต่การพบกันเช่นนี้ต้องมีการเตรียมการ - ปูตินยังกล่าวอีกว่า การ "พบปะ" กับโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อน ซึ่งรวมถึงยูเครนด้วย - ปูตินเปิดทางให้ภารกิจทางสถานทูตจะกลับมาดำเนินการอีกครั้ง - มอสโกได้เริ่มดำเนินการขั้นแรกในการร่วมมือกับสหรัฐไปแล้ว - รัสเซียยังพร้อมร่วมมือกับสหรัฐในด้านอวกาศต่อไป - รัสเซียจะไม่พูดถึงหรือคาดเดาความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐ - ปูตินบอกว่า เขาประหลาดใจที่เห็นทรัมป์อดกลั้นต่อพฤติกรรมหยาบคายของประเทศยุโรปที่มีต่อสหรัฐในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง - ยูเครนได้รับข้อมูลข่าวกรองอวกาศจากตะวันตกเท่านั้น กองทัพยูเครนไม่สามารถจัดการโจมตี CPC ได้โดยอิสระ (CPC เป็นโครงการขนส่งน้ำมันระหว่างประเทศที่มีรัสเซีย คาซัคสถาน และบริษัทขุดเจาะน้ำมันชั้นนำระดับโลกเข้าร่วม เพิ่งโดนโดรนโจมตีไปเมื่อเร็วๆนี้) - ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศของรัสเซียใน CPC เนื่องจากเป็นโรงงานระหว่างประเทศ รัสเซียมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อยสำหรับการขนส่ง ส่วนน้ำมันทั้งหมดนี้เป็นของบริษัทในอเมริกาและยุโรป - ปูติน ยังกล่าวอีกว่า เมื่อหนึ่งชั่วโมงที่แล้ว เขาเพิ่งได้รับแจ้งว่าทหารกองทัพรัสเซียได้ข้ามพรมแดนไปยังยูเครนจากทางภูมิภาคเคิร์สก์แล้ว!
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 223 Views 0 Reviews
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 Comments 0 Shares 330 Views 0 Reviews
  • "การเจรจาระหว่างปูตินกับทรัมป์อาจเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ นี้"


    สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของรัสเซีย รายงาน โดยอ้างคำพูดของ ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลิน
    "การเจรจาระหว่างปูตินกับทรัมป์อาจเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ นี้" สำนักข่าวสปุตนิก (Sputnik) ของรัสเซีย รายงาน โดยอ้างคำพูดของ ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกเครมลิน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 131 Views 0 Reviews
  • ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้

    นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น:

    - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030

    - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    ทรัมป์รู้ดีว่า หากไม่เร่งให้มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครน การเจรจาสันติภาพ อาจเกิดการสะดุดจนไปต่อไม่ได้ เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่ปูตินตั้งไว้ นอกจากตำแหน่งประธานาธิบดีที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับของยูเครนที่เซเลนสกีลงนามไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเจรจา ซึ่งยูเครนต้องการ "ประธานาธิบดีตัวจริง" เพื่อยกเลิกกฎหมายเหล่านี้ เช่น: - เมื่อปี 2022 เซเลนสกี ลงนามคำสั่งห้ามการเจรจากับสหพันธรัฐรัสเซียตราบใดที่วลาดิมีร์ ปูตินยังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหพันธรัฐรัสเซีย นั่นเท่ากับว่า ยูเครนจะไม่สามารถเจรจากับปูตินได้จนกว่าจะถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2030 - นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการห้ามการเจรจากับรัสเซีย เช่น คำสั่งประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย คำสั่งตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมทั้งหมดกับรัสเซีย การประกาศใช้กฎหมายของยูเครนกับประเทศที่ไม่เป็นมิตร
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 184 Views 0 Reviews
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก
    .
    ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ
    .
    "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน"
    .
    พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่
    .
    คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50%
    .
    ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72%
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก . ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022 . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ . "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน" . พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่ . คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50% . ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72% . ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    11
    0 Comments 0 Shares 1834 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 Comments 0 Shares 1903 Views 0 Reviews
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน
    .
    บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก
    .
    พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ
    .
    พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก”
    .
    แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป”
    .
    ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี
    .
    แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม
    .
    คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา
    .
    “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น”
    .
    อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363
    ..............
    Sondhi X
    เจ้าหน้าที่ระดับสูงนาโตเชื่อว่า สหรัฐฯ จะยังไม่ลาออกจากนาโตแต่น่าจะถอนกำลังทหารออกไปบางส่วนหลังยุโรปไม่ใช่เป้าหมายหลักอีกต่อไปสำหรับวอชิงตัน . บลูมเบิร์กของสหรัฐฯ รายงานวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า วอชิงตันน่าที่จะยังคงอยู่ร่วมกับนาโตต่อไป แต่ทว่าอาจจะลดกองกำลังประจำการลงในยุโรปจากการที่สหรัฐฯ หันเห็นความจำเป็นไปอยู่ที่ภูมิภาคอินโดแปซิฟิก . พลเรือเอกจูเซปเป คาโว ดราโกเน ประธานคณะกรรมการกองทัพประจำ NATO เดือนที่แล้วได้กล่าวในการประชุมนอกรอบในการประชุมความมั่นคงมิวนิกที่ซึ่งบรรดาผู้นำยุโรปมาเพื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ รวมถึงความคาดหวังการลดลงของการปกป้องทางความมั่นคงของสหรัฐฯ . พลเรือเอกคาโว ดราโกเน กล่าวว่า “สหรัฐฯ จะไม่ถอนตัวออกไปจากนาโต” ในการให้สัมภาษณ์ในเมืองมิวนิก แต่การถอนกำลังทหารอเมริกันบางส่วนออกไปจากทั้งหมด 100,000 นายที่ประจำอยู่ในยุโรปอาจมีวาระเกิดขึ้น เป็นเพราะมีความผูกพันบางประการที่สหรัฐฯ ต้องออกห่างไปจากที่นี่ ไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก” . แต่พลเรือเอกจากอิตาลีที่ได้นั่งในตำแหน่งสำคัญนี้เปิดเผยว่า “อย่างไรก็ตามผมไม่คิดว่าจะเป็นตัวเลขมหาศาลที่จะนำอเมริกันออกไปจากยุโรป” . ความมั่นคงยุโรปมีความสำคัญอย่างสูงในการประชุมความมั่นคงมิวนิก เหนือจากทั้งหมดคือการแก้ปัญหาสงครามยูเครนที่ยาวนานยืดเยื้อร่วม 3 ปี . แต่ทว่าผู้นำชาติยุโรปและยูเครนต่างไม่ทันตั้งตัวถึงแผนทรัมป์ที่จะหารือกับประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิมีร์ ปูติน ที่ต่างวิตกกันว่ายุโรปจะไม่ได้มีส่วนร่วม . คาโว ดราโกเน เห็นพ้องกับสมาชิกนาโตหลายคนในยุโรปเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ โดยรับรู้ว่าการหันเหความสนใจของสหรัฐฯ หมายถึงยุโรปจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งขึ้นมา . “มันมีความไม่สมดุลเกิดขึ้น ดังนั้นพวกเราจำเป็นต้องทำให้มีความสมดุลกลับคืนมา” พร้อมกับเรียกแนวคิดที่ว่ายุโรปไม่สามารถปกป้องตัวเองว่า “เป็นการดูหมิ่น” . อย่างไรก็ตาม การลดลงใดๆ ของอเมริกาในยุโรปนั้นเป็นสิ่งที่ต้องยอมรับโดยนาโตด้วยทัศนคติเชิงปฏิบัติ” เขากล่าวพร้อมยืนกรานว่า กองทัพในภูมิภาคจำเป็นต้องเข้ามาแทนที่เพื่ออุดช่องโหว่ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016363 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 Comments 0 Shares 1770 Views 0 Reviews
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 Comments 0 Shares 1869 Views 0 Reviews
  • ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียด้านนโยบายต่างประเทศ พูดถึงการเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย หลังการเจรจาสิ้นสุดลง:

    🔴การเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ดำเนินไปด้วยดี
    🔴รัสเซียและสหรัฐฯ ตกลงที่จะพิจารณาผลประโยชน์ของกันและกัน
    🔴แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกำลังดีขึ้นหรือไม่ แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มหารือกันแล้ว
    🔴ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนสำหรับการประชุมระหว่างปูตินกับทรัมป์ซึ่งยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลานี้ หรือสัปดาห์หน้า
    🔴คณะผู้แทนได้มีการหารือกันอย่างจริงจังในประเด็นต่างๆ
    🔴การเจรจากับยูเครนจะเป็นการตัดสินใจโดยประธานาธิบดี
    ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซียด้านนโยบายต่างประเทศ พูดถึงการเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย หลังการเจรจาสิ้นสุดลง: 🔴การเจรจาระหว่างรัสเซียกับสหรัฐฯ ดำเนินไปด้วยดี 🔴รัสเซียและสหรัฐฯ ตกลงที่จะพิจารณาผลประโยชน์ของกันและกัน 🔴แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศกำลังดีขึ้นหรือไม่ แต่อย่างน้อยเราได้เริ่มหารือกันแล้ว 🔴ยังไม่สามารถกำหนดวันที่ชัดเจนสำหรับการประชุมระหว่างปูตินกับทรัมป์ซึ่งยังไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลานี้ หรือสัปดาห์หน้า 🔴คณะผู้แทนได้มีการหารือกันอย่างจริงจังในประเด็นต่างๆ 🔴การเจรจากับยูเครนจะเป็นการตัดสินใจโดยประธานาธิบดี
    0 Comments 0 Shares 295 Views 14 0 Reviews
  • เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวว่า ประธานาธิบดีปูตินพร้อมเจรจากับเซเลนสกี แต่ควรคำนึงถึงประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับความชอบธรรมของตำแหน่งผู้นำยูเครน ซึ่งขณะนี้ เซเลนสกีไม่มีตำแหน่งใดๆทางการเมืองที่กฎหมายยูเครนรองรับ เพราะเขาพ้นจากวาระตั้งแต่ปีที่แล้ว
    เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าวว่า ประธานาธิบดีปูตินพร้อมเจรจากับเซเลนสกี แต่ควรคำนึงถึงประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับความชอบธรรมของตำแหน่งผู้นำยูเครน ซึ่งขณะนี้ เซเลนสกีไม่มีตำแหน่งใดๆทางการเมืองที่กฎหมายยูเครนรองรับ เพราะเขาพ้นจากวาระตั้งแต่ปีที่แล้ว
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 156 Views 0 Reviews
  • คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563

    ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป

    “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว

    ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011

    เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563 ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011 เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    0 Comments 0 Shares 316 Views 15 0 Reviews
  • เซเลนสกีตอบคำถามสื่อมวลชน หลังการเดินทางมา UAE ของเขา โดยย้ำว่ายูเครนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ และจะไม่ยอมรับผลที่ตามมา การเจรจาใดๆ เกี่ยวกับยูเครนโดยไม่มียูเครนนั้นไม่มีความหมาย

    นอกจากนี้ เซเลนสกียังกล่าวถึงเรื่องแร่หายากในยูเครน โดยระบุถึงสาเหตุที่ยังไม่ยอมลงนามข้อตกลงกับสหรัฐ

    "เราสนใจข้อตกลงกับสหรัฐเกี่ยวกับแร่ธาตุ แต่เมื่อเราเจาะลึกในรายละเอียดแล้ว ไม่มีการรับประกันความปลอดภัย ซึ่งต้องเป็นลายลักษณ์อักษร สหรัฐจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการรับประกันความปลอดภัย การให้ความช่วยเหลือ การลงทุนในยูเครน และเป็นผู้ที่สามารถหยุดยั้งปูตินได้"
    เซเลนสกีตอบคำถามสื่อมวลชน หลังการเดินทางมา UAE ของเขา โดยย้ำว่ายูเครนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ และจะไม่ยอมรับผลที่ตามมา การเจรจาใดๆ เกี่ยวกับยูเครนโดยไม่มียูเครนนั้นไม่มีความหมาย นอกจากนี้ เซเลนสกียังกล่าวถึงเรื่องแร่หายากในยูเครน โดยระบุถึงสาเหตุที่ยังไม่ยอมลงนามข้อตกลงกับสหรัฐ "เราสนใจข้อตกลงกับสหรัฐเกี่ยวกับแร่ธาตุ แต่เมื่อเราเจาะลึกในรายละเอียดแล้ว ไม่มีการรับประกันความปลอดภัย ซึ่งต้องเป็นลายลักษณ์อักษร สหรัฐจะต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นการรับประกันความปลอดภัย การให้ความช่วยเหลือ การลงทุนในยูเครน และเป็นผู้ที่สามารถหยุดยั้งปูตินได้"
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 213 Views 7 0 Reviews
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป
    .
    ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014
    .
    ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด"
    .
    คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย
    .
    ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ"
    .
    เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา"
    .
    ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน"
    .
    ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน
    .
    เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป . ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว . ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014 . ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด" . คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย . ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ" . เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา" . ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน" . ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน . เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    13
    0 Comments 0 Shares 1510 Views 1 Reviews
  • เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า
    .
    การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022
    .
    คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    .
    รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่
    .
    ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก
    .
    อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้
    .
    ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ
    .
    แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น
    .
    การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ
    .
    กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน
    .
    นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972
    ..............
    Sondhi X
    เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า . การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022 . คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว . รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่ . ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก . อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้ . ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ . แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น . การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ . กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน . นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    11
    0 Comments 0 Shares 1386 Views 0 Reviews
More Results