• 1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี

    1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต
    1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส
    1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้

    2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป
    2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป..
    2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ
    2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป
    2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU
    2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด
    2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS)
    2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย

    2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป
    2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์
    2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง
    2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน

    2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5

    2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro

    2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี 1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต 1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส 1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้ 2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป 2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป.. 2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ 2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป 2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU 2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด 2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS) 2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย 2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป 2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์ 2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง 2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน 2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5 2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro 2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • "มาตรฐานความปลอดภัยของรถบัส และแนวทางการปฏิบัติตน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น"

    จากข่าวสลดวันนี้ น่าจะต้องถอดบทเรียน และคุมกันจริงจังมากขึ้น กับรถบัส รถเมล์ รถขนส่งสาธารณะ ที่ถ้าไม่ได้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วนตามมาตรฐาน หรือเกิดมีปัญหาในการใช้งาน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ (อย่างข่าววันนี้ ที่บอกว่าประตูฉุกเฉินเปิดไม่ได้ - ซึ่งความจริง ต้องเปิดได้ตลอดทั้งจากในรถและนอกรถ)

    เลยขอเอาบทความของ Patsornchai Tour - ภัสสรชัยทัวร์ นี้ มาสรุปให้ศึกษากันนะครับ

    - 3 สิ่งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคน ควรสังเกตนั่นก็คือ "ถังดับเพลิง" , "ประตูฉุกเฉิน" และ "ค้อนทุบกระจก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรงของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร

    1. #ประตูทางออกฉุกเฉิน

    - ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะจะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน

    - ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน

    - ถ้าเป็นประตูทางออก ที่อยู่ "ด้านท้าย" ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

    - ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง "ด้านขวากลาง" ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

    - ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ

    - ต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง

    - ต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน

    2. #ถังดับเพลิง

    - รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร

    - ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ "เบาะหน้า" ใกล้คนขับ และบริเวณ "ที่นั่งด้านหลัง" หรือ "ตรงกลาง" ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบให้งานได้ง่าย

    - เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ "ฐาน" กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ

    - ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ

    - ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

    3. #ค้อนทุบกระจก

    - รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา

    - ส่วนมาก ติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ

    - มีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ

    - สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม "กรีด" ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด

    #ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง

    1. เลือกเดินทางกลับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็คได้กับกรมขนส่งทางบก

    2. บนรถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง

    3. ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ

    4. หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้

    ภาพและข้อมูลจาก https://patsornchaitour.com/emergency-exit-on-bus/
    "มาตรฐานความปลอดภัยของรถบัส และแนวทางการปฏิบัติตน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น" จากข่าวสลดวันนี้ น่าจะต้องถอดบทเรียน และคุมกันจริงจังมากขึ้น กับรถบัส รถเมล์ รถขนส่งสาธารณะ ที่ถ้าไม่ได้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วนตามมาตรฐาน หรือเกิดมีปัญหาในการใช้งาน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ (อย่างข่าววันนี้ ที่บอกว่าประตูฉุกเฉินเปิดไม่ได้ - ซึ่งความจริง ต้องเปิดได้ตลอดทั้งจากในรถและนอกรถ) เลยขอเอาบทความของ Patsornchai Tour - ภัสสรชัยทัวร์ นี้ มาสรุปให้ศึกษากันนะครับ - 3 สิ่งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคน ควรสังเกตนั่นก็คือ "ถังดับเพลิง" , "ประตูฉุกเฉิน" และ "ค้อนทุบกระจก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรงของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร 1. #ประตูทางออกฉุกเฉิน - ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะจะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน - ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน - ถ้าเป็นประตูทางออก ที่อยู่ "ด้านท้าย" ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน - ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง "ด้านขวากลาง" ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ - ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ - ต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง - ต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน 2. #ถังดับเพลิง - รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร - ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ "เบาะหน้า" ใกล้คนขับ และบริเวณ "ที่นั่งด้านหลัง" หรือ "ตรงกลาง" ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบให้งานได้ง่าย - เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ "ฐาน" กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ - ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ - ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 3. #ค้อนทุบกระจก - รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา - ส่วนมาก ติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ - มีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ - สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม "กรีด" ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด #ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง 1. เลือกเดินทางกลับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็คได้กับกรมขนส่งทางบก 2. บนรถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง 3. ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ 4. หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ ภาพและข้อมูลจาก https://patsornchaitour.com/emergency-exit-on-bus/
    PATSORNCHAITOUR.COM
    แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีเกิดเหตุฉุกเฉินบนรถบัส ต้องทำอย่างไร? | Patsornchai Tour
    การเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน คงเป็นเรื่องที่ไม่มีใค
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 19 มุมมอง 0 รีวิว
  • BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV

    เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป

    รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code

    สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา

    สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ

    โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน

    อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป

    ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด

    #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 831 มุมมอง 0 รีวิว