• “แป๊ะซะ” ร้องไห้ ทำใจไม่ได้ เจ็บปวดให้ของ “แตงโม” ผ่านสังฆทาน ด้าน “อะตอม” ไม่เคยเชื่อแตงโมไปฉี่ท้ายเรือ ตัด “กระติก อิจศรินทร์” ออกจากสารบบเพื่อน บอกเป็นคนที่น่ากลัว ทำได้ไงพาเพื่อนไปตาย แล้วหายกลับบ้านไป ความรู้สึกไม่ต่างจากคนไทยทั้งประเทศที่ได้ฟังนิทาน ภาวนาให้ความจริงเกิดขึ้นกับแตงโม

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017650

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “แป๊ะซะ” ร้องไห้ ทำใจไม่ได้ เจ็บปวดให้ของ “แตงโม” ผ่านสังฆทาน ด้าน “อะตอม” ไม่เคยเชื่อแตงโมไปฉี่ท้ายเรือ ตัด “กระติก อิจศรินทร์” ออกจากสารบบเพื่อน บอกเป็นคนที่น่ากลัว ทำได้ไงพาเพื่อนไปตาย แล้วหายกลับบ้านไป ความรู้สึกไม่ต่างจากคนไทยทั้งประเทศที่ได้ฟังนิทาน ภาวนาให้ความจริงเกิดขึ้นกับแตงโม อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017650 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 128 มุมมอง 0 รีวิว
  • คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 103 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตัวใหญ่เต็มวัยแล้ว พักที่บ้านเราให้สบายนะ
    ตัวใหญ่เต็มวัยแล้ว พักที่บ้านเราให้สบายนะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 53 มุมมอง 0 รีวิว
  • 54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย

    ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ

    📌 เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย

    "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า

    เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน

    📖 ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ
    👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา

    จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู

    🎓 เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า
    ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท"

    ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน"

    🏫 โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย
    🎯 จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน

    ✔️ หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง
    ✔️ วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน
    ✔️ ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ

    แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?"

    🔥 สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง
    🏴 ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์"
    รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ

    🚩 ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล"
    ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน

    ☠️ โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม
    22 กุมภาพันธ์ 2514 📍 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
    ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด

    หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย"

    🏛️ แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ
    ✔️ การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514
    ✔️ สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม
    ✔️ หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่

    🎭 ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร?
    👉 ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์?
    👉 เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น?
    👉 ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน?

    แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้...

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568

    #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    54 ปี ลอบสังหาร “ครูโกมล คีมทอง” คอมมิวนิสต์เข้าใจผิด! คิดว่าเป็น… สายลับรัฐบาลไทย ย้อนรอยโศกนาฏกรรม ครูหนุ่มผู้มุ่งมั่นเพื่อการศึกษาในชนบท แต่ต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้า ท่ามกลางความเข้าใจผิด ในยุคสมัย ที่ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ร้อนระอุ 📌 เหตุการณ์สะเทือนขวัญ ที่ยังเป็นปริศนา ย้อนไปเมื่อ 54 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 เสียงปืนดังขึ้นที่บ้านเหนือคลอง หมู่ที่ 4 ตำบลสินเจริญ กิ่งอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ครูหนุ่มวัยเพียง 24 ปี ต้องจบชีวิตลงอย่างโหดร้าย "โกมล คีมทอง ครูหนุ่มที่มีอุดมการณ์แรงกล้า มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเยาวชน ในพื้นที่ห่างไกล ผ่านระบบการศึกษา ที่เหมาะสมกับชุมชน ทว่า… ด้วยความเข้าใจผิด ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ทำให้ถูกตราหน้าว่า เป็นสายลับของรัฐบาลไทย และนำไปสู่การสังหารอันน่าเศร้า เรื่องราวของครูโกมล เต็มไปด้วยความซับซ้อน เป็นเหยื่อของสงครามอุดมการณ์ ที่ทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ ต่างก็เพ่งเล็งและไม่ไว้ใจ จนกระทั่งความเข้าใจผิดครั้งใหญ่ ได้คร่าชีวิตพร้อมเพื่อนร่วมอุดมการณ์ อีกสองคน 📖 ครูโกมล คีมทอง จากเด็กหนุ่มหัวใจนักสู้ สู่ครูผู้เสียสละ 👦🏻 "ครูโกมล คีมทอง" เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2489 ที่ จังหวัดสุโขทัย เติบโตขึ้นมาในครอบครัว ที่ให้ความสำคัญ กับการศึกษา จบชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กรุงเทพฯ และเข้าศึกษาต่อ ที่คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นครู 🎓 เส้นทางสู่อาชีพครู และอุดมการณ์ที่แรงกล้า ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โกมลเป็นนิสิตที่กระตือรือร้น เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา และค่ายพัฒนาชนบทเป็นประจำ ทำให้เห็นถึงความลำบากของเด็ก ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจแน่วแน่ว่า "ชีวิตนี้จะอุทิศให้กับการศึกษาในชนบท" ในปีสุดท้ายของการเรียน ครูโกมลได้รับโอกาสเข้าร่วม “ค่ายพัฒนากำลังคน เหมืองห้วยในเขา” ซึ่งจัดขึ้นที่เหมืองแร่แห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่นี่เอง ที่โกมลได้เห็นปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล และตัดสินใจที่จะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ "สร้างโรงเรียนชุมชน" 🏫 โรงเรียนชุมชนที่เหมืองห้วยในเขา อุดมการณ์ที่เป็นภัย 🎯 จุดมุ่งหมายของครูโกมล โรงเรียนที่ครูโกมลตั้งใจสร้าง ไม่ใช่แค่สถานศึกษาแบบทั่วไป แต่เป็นโรงเรียนที่ออกแบบมา ให้เหมาะกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ✔️ หลักสูตรพิเศษ เน้นวิชาที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เช่น การเกษตร ปศุสัตว์ และงานช่าง ✔️ วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม เช่น หนังตะลุง มโนราห์ และนิทานพื้นบ้าน ✔️ ชุมชนเป็นศูนย์กลาง โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้าน ไม่ใช่รัฐ แนวคิดเช่นนี้ ทำให้ทั้งรัฐบาล และพรรคคอมมิวนิสต์จับตามอง ด้วยความสงสัยว่า "แท้จริงแล้ว ครูโกมลทำงานให้ฝ่ายใด?" 🔥 สงครามอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของความหวาดระแวง 🏴 ฝ่ายรัฐบาลมองว่า ครูโกมลเป็น "แนวร่วมคอมมิวนิสต์" รัฐบาลไทยในขณะนั้น มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ อย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่รัฐบางคนเห็นว่า แนวคิดของครูโกมล อาจสนับสนุนอุดมการณ์ ของพรรคคอมมิวนิสต์ โรงเรียนของครูโกมล ไม่ได้ใช้หลักสูตร จากกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า อาจเป็นศูนย์กลาง ของขบวนการล้มล้างอำนาจรัฐ 🚩 ฝ่ายคอมมิวนิสต์มองว่า "สายลับรัฐบาล" ขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) กำลังทำสงครามกองโจร กับรัฐบาลไทย การที่ครูโกมล เดินทางไปพบปะชาวบ้าน ถ่ายภาพ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ทำให้พคท.เข้าใจว่ากำลังสอดแนม อีกทั้งการที่ครูโกมล ได้รับเงินสนับสนุนจาก "มูลนิธิเอเชีย" ซึ่งเป็นองค์กรต่างชาติ ยิ่งทำให้พคท.เชื่อว่า กำลังทำงานให้รัฐบาลไทย สุดท้าย... ความเข้าใจผิดนี้ นำไปสู่โศกนาฏกรรม ที่ไม่มีวันย้อนคืน ☠️ โศกนาฏกรรม คืนสังหารที่ไม่มีวันลืม 22 กุมภาพันธ์ 2514 📍 บ้านเหนือคลอง อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครูโกมล คีมทอง, รัตนา สกุลไทย บัณฑิตอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และเสรี ปรีชา หมอเร่ขายยา ถูกกลุ่มกองกำลัง พรรคคอมมิวนิสต จับตัวไป และถูกยิงเสียชีวิตในที่สุด หลังจากเหตุการณ์นี้ รัฐบาลไทยได้โปรยใบปลิวปฏิเสธว่า "ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหาร" ขณะที่ พคท. ออกมายอมรับในเวลาต่อมาว่า "เป็นผู้ลงมือสังหาร เนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่า ครูโกมลเป็นสายลับรัฐบาลไทย" 🏛️ แม้ว่า "ครูโกมล คีมทอง" จะจากไป แต่สิ่งที่ได้ทำไว้ ยังคงเป็นที่จดจำ ✔️ การเสียสละทำให้เกิด “มูลนิธิโกมล คีมทอง” ในปี พ.ศ. 2514 ✔️ สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนรุ่นหลังอุทิศตน เพื่อพัฒนาสังคม ✔️ หลักสูตรการศึกษา ที่เน้นชุมชนเป็นศูนย์กลาง ยังคงเป็นแนวคิด ที่นำมาใช้ในการศึกษายุคใหม่ 🎭 ครูโกมลถูกฆ่าโดยใคร? 👉 ฝ่ายรัฐบาล หรือ พรรคคอมมิวนิสต์? 👉 เป็นเพียงครูธรรมดา หรือมีบทบาทที่ลึกซึ้งกว่านั้น? 👉 ถ้าไม่มีการสังหารในวันนั้น ครูโกมลจะสามารถเปลี่ยนแปลงการศึกษาไทย ได้มากแค่ไหน? แม้ข้อเท็จจริง จะได้รับการเปิดเผยไปแล้ว แต่คำถามเหล่านี้ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมา จนถึงทุกวันนี้... ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221245 ก.พ. 2568 #️⃣ #ครูโกมลคีมทอง #54ปีลอบสังหาร #โกมลคีมทอง #ประวัติศาสตร์ไทย #คอมมิวนิสต์ไทย #การศึกษาชนบท #ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ #มูลนิธิโกมลคีมทอง #ครูผู้เสียสละ #ประวัติศาสตร์ต้องรู้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 93 มุมมอง 0 รีวิว
  • หมู่บ้านกิ่วบัวฮา -Virgin village
    ทางเดียวกับไร่ชาลุงเดช อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่.
    หมู่บ้านกิ่วบัวฮา -Virgin village ทางเดียวกับไร่ชาลุงเดช อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • องค์กรสื่อ องค์กรสิทธิ์ต่างๆ ทำไมเงียบเฉย
    กับกรณ๊ ตร.ไซเบอร์ยกกำลังบุกบ้านพิธีกร
    ของสื่อออนไลน์แห่งนึง ซึ่งดูไงก็เกินกว่าเหตุครับ
    หรือนี่คือการเลือกปฎิบัติ ที่ต่างกันกับบางสื่อบางคน
    จะรีบออกมาเสนอหน้าป้องทันควัน หากมีกรณีเช่นนี้
    หุหุหุหุ
    สื่อดี สังคมงาม สื่อทราม สังคมเสื่อมเสีย
    มุมิมุมิ.. จุฟๆ
    องค์กรสื่อ องค์กรสิทธิ์ต่างๆ ทำไมเงียบเฉย กับกรณ๊ ตร.ไซเบอร์ยกกำลังบุกบ้านพิธีกร ของสื่อออนไลน์แห่งนึง ซึ่งดูไงก็เกินกว่าเหตุครับ หรือนี่คือการเลือกปฎิบัติ ที่ต่างกันกับบางสื่อบางคน จะรีบออกมาเสนอหน้าป้องทันควัน หากมีกรณีเช่นนี้ หุหุหุหุ สื่อดี สังคมงาม สื่อทราม สังคมเสื่อมเสีย มุมิมุมิ.. จุฟๆ
    Yay
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วัดธาตุทอง
    #กรุงเทพมหานครฯ

    วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ

    ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง

    พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481

    ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน

    สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม

    ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​

    เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดธาตุทอง #กรุงเทพมหานครฯ วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​ เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังคา-เทหน้าเทหลัง ฮวงจุ้ยดี 100%
    .
    หลังคาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็น “ทรงปั้นหยา” มีมุมหลังคา 35 องศา เพื่อให้กระแสน้ำฝนค่อย ๆ ไหลเทระบายลงมา ให้พลังงานน้ำจากธรรมชาติไหลเวียนลงมาหน้าบ้าน แล้วก่อตัวเป็นลม พัดเข้าสู่ตัวบ้านให้มากที่สุด
    .
    หลังคาได้มุมแบบนี้ ให้ผลดีในทางฮวงจุ้ย ส่งผลต่อเรื่องทรัพย์ และยังส่งผลต่อสติปัญญาความหลักแหลมของผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย
    .
    แต่ถ้าเอาให้สมบูรณ์จริง ๆ รูปแบบหลังคานั้นจะต้องเป็นแบบ “เทหน้า-เทหลัง”
    .
    ลักษณะการเทหน้าเทหลังเราจะดูจากชายคาค่ะ ทิศทางที่น้ำฝนไหลผ่านหลังคาลงมาที่ชายคา จะต้องเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน
    เป็นม่านสายฝนที่ตกผ่านประตูหน้าบ้านโดยไม่มีรางน้ำมากั้น ถือเป็นลักษณะที่ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ยโบราณ ที่เราจะรับเอาน้ำเอาลมเข้าบ้านให้ได้มากที่สุด
    หลังคา-เทหน้าเทหลัง ฮวงจุ้ยดี 100% . หลังคาที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็น “ทรงปั้นหยา” มีมุมหลังคา 35 องศา เพื่อให้กระแสน้ำฝนค่อย ๆ ไหลเทระบายลงมา ให้พลังงานน้ำจากธรรมชาติไหลเวียนลงมาหน้าบ้าน แล้วก่อตัวเป็นลม พัดเข้าสู่ตัวบ้านให้มากที่สุด . หลังคาได้มุมแบบนี้ ให้ผลดีในทางฮวงจุ้ย ส่งผลต่อเรื่องทรัพย์ และยังส่งผลต่อสติปัญญาความหลักแหลมของผู้อยู่อาศัยในบ้านหลังนี้ด้วย . แต่ถ้าเอาให้สมบูรณ์จริง ๆ รูปแบบหลังคานั้นจะต้องเป็นแบบ “เทหน้า-เทหลัง” . ลักษณะการเทหน้าเทหลังเราจะดูจากชายคาค่ะ ทิศทางที่น้ำฝนไหลผ่านหลังคาลงมาที่ชายคา จะต้องเป็นหน้าบ้านและหลังบ้าน เป็นม่านสายฝนที่ตกผ่านประตูหน้าบ้านโดยไม่มีรางน้ำมากั้น ถือเป็นลักษณะที่ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ยโบราณ ที่เราจะรับเอาน้ำเอาลมเข้าบ้านให้ได้มากที่สุด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรมอนามัย ลงพื้นที่เชียงใหม่มอบหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย และมุ้งสู้ฝุ่น

    วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย
    แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการ
    ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และทีมงานกรมอนามัย ได้ลงพื้นที่มอบหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย
    และมุ้งสู้ฝุ่นให้แก่กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และพี่น้องประชาชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
    แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือ ที่พบว่ามีค่าสูงเกินมาตรฐานในระดับสีแดง คือ มากกว่า 75.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อเนื่องติดกันหลายวัน และคาดว่าจะยาวนานจนถึงวันที่ 27กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 1 ทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ ในปี 2567 พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ด้วยโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคอัมพาตฉับพลัน (Stroke) และโรคหืด (Asthma) ที่เกิดจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น

    ด้าน แพทย์หญิงนงนุช รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อสั่งการในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รองรับภาวะฉุกเฉินกรมอนามัย (HPEHOC) ให้เตรียมรับมือในการดูแลสุขภาพประชาชน กรมอนามัยจึงได้จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดห้องปลอดฝุ่น และมุ้งสู้ฝุ่น ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ตลอดจนส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้แก่การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม อาทิ 1) การปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่บ้านเรือน
    2) กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็นในช่วงวิกฤตฝุ่นควัน 3) หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ คือ หน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 4) งดออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง ในช่วงที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลกระทบต่อสุขภาพ 5) ลดแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยลดการเผาทุกชนิด 6) การทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ แทนการใช้ไม้กวาดที่จะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย กรมอนามัยมีความห่วงใยประชาชน จึงลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มอบ หน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย ให้กับกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ และ มอบมุ้งสู้ฝุ่นให้กับกลุ่มเปราะบางเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5
    @Say_May
    กรมอนามัย / 21 กุมภาพันธ์ 2568
    กรมอนามัย ลงพื้นที่เชียงใหม่มอบหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย และมุ้งสู้ฝุ่น วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ 2568) แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วย แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และทีมงานกรมอนามัย ได้ลงพื้นที่มอบหน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย และมุ้งสู้ฝุ่นให้แก่กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และพี่น้องประชาชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือ ที่พบว่ามีค่าสูงเกินมาตรฐานในระดับสีแดง คือ มากกว่า 75.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ต่อเนื่องติดกันหลายวัน และคาดว่าจะยาวนานจนถึงวันที่ 27กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในเขตสุขภาพที่ 1 ทั้ง 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้ ในปี 2567 พบว่า มีผู้ป่วยเข้ารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 ด้วยโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคอัมพาตฉับพลัน (Stroke) และโรคหืด (Asthma) ที่เกิดจากการได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น ด้าน แพทย์หญิงนงนุช รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อสั่งการในที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม รองรับภาวะฉุกเฉินกรมอนามัย (HPEHOC) ให้เตรียมรับมือในการดูแลสุขภาพประชาชน กรมอนามัยจึงได้จัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ โดยส่งเสริมให้เกิดห้องปลอดฝุ่น และมุ้งสู้ฝุ่น ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ตลอดจนส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้แก่การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม อาทิ 1) การปิดประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าสู่บ้านเรือน 2) กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็นในช่วงวิกฤตฝุ่นควัน 3) หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ให้สวมหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกัน PM 2.5 ได้ คือ หน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 4) งดออกกำลังกาย หรือทำงานหนักกลางแจ้ง ในช่วงที่ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีผลกระทบต่อสุขภาพ 5) ลดแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยลดการเผาทุกชนิด 6) การทำความสะอาดบ้านเพื่อลดความเข้มข้นของฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ แทนการใช้ไม้กวาดที่จะทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย กรมอนามัยมีความห่วงใยประชาชน จึงลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มอบ หน้ากาก N95 หน้ากากอนามัย ให้กับกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยง และประชาชนทั่วไปในพื้นที่ และ มอบมุ้งสู้ฝุ่นให้กับกลุ่มเปราะบางเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่น PM 2.5 @Say_May กรมอนามัย / 21 กุมภาพันธ์ 2568
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไอซ์อ้อมน้อย ไอซ์กระทุ่มแบน ไอซ์สุขชาวบ้าน ไอซ์มหาชัย พม่ากร่างจัดขนาดนี้มหาชัยไม่สงบทำไมเงียบวะ พม่าเถื่อนเกลือนมหาชัย เกลื่อนกระทุ่มแบน เกลื่อนอ้อมน้อย เกลื่อนบางบอนจริงๆ
    ไอซ์อ้อมน้อย ไอซ์กระทุ่มแบน ไอซ์สุขชาวบ้าน ไอซ์มหาชัย พม่ากร่างจัดขนาดนี้มหาชัยไม่สงบทำไมเงียบวะ พม่าเถื่อนเกลือนมหาชัย เกลื่อนกระทุ่มแบน เกลื่อนอ้อมน้อย เกลื่อนบางบอนจริงๆ
    ช่วยคิงส์เลือกหน่อย จะส่งใครไปแก้ปัญหาแรงงานเถื่อนพม่าตีกัน อีแก้วตาขออาสาทันที เพราะของขาดมานาน
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 53 มุมมอง 0 รีวิว
  • หมอวรงค์เตือนนานแล้ว ล่าสุดก็มาย้ำเตือนเรื่องนี้ เอาเข้าจริงหมอแกเป็นห่วงบ้านเมืองแหละ
    หมอวรงค์เตือนนานแล้ว ล่าสุดก็มาย้ำเตือนเรื่องนี้ เอาเข้าจริงหมอแกเป็นห่วงบ้านเมืองแหละ
    “หมอวรงค์” ชี้เหตุ ตำรวจไซเบอร์นำกำลังนับ 10 นาย บุกคุมตัวผู้ประกาศข่าวช่องยูทูปไปสอบสวน ราวกับบุกจับแก๊งคอลเซนเตอร์ติดอาวุธ คือสัญญาณระบอบทักษิณคืนชีพ คุกคามคนเห็นต่าง แต่วันนี้จะไม่สามารถปิดปากใครได้ง่ายๆ เหมือนเดิมอีกแล้ว

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017397

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจออีก! หมู่บ้านเขมรบริเวณชายแดนสระแก้ว ปลูกเป็นกระท่อมและเพิงพักเรียงรายหลายหลังใน อ.โคกสูง สารภาพลักลอบเข้ามาทำงานรับจ้างตัดมันฯ และต้นยูคาลิปตัส โดยไม่มีหนังสือเดินทางและไม่มีหนังสืออนุญาตทำงาน ซ้ำสร้างชุมชนขนาดย่อมมานานกว่า 1 ปี ผบช.ภ.2 สั่งตำรวจพื้นที่กวาดล้างทันที

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017449

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    เจออีก! หมู่บ้านเขมรบริเวณชายแดนสระแก้ว ปลูกเป็นกระท่อมและเพิงพักเรียงรายหลายหลังใน อ.โคกสูง สารภาพลักลอบเข้ามาทำงานรับจ้างตัดมันฯ และต้นยูคาลิปตัส โดยไม่มีหนังสือเดินทางและไม่มีหนังสืออนุญาตทำงาน ซ้ำสร้างชุมชนขนาดย่อมมานานกว่า 1 ปี ผบช.ภ.2 สั่งตำรวจพื้นที่กวาดล้างทันที อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000017449 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Sad
    13
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 729 มุมมอง 0 รีวิว
  • #รพรีบลบโพสคาบ้าน
    บางที นิ่งๆไว้จะดีกว่า แล้วรีบกลับมาปรับปรุงการบริการ
    ออกตัวแรง ก็ระวังแซงทางโค้ง
    รถทัวร์ไปจอดเพจรพรับกันไม่ไหว
    ลบดีกว่า อิ๊บอ๋ายเลี้ยว
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    #รพรีบลบโพสคาบ้าน บางที นิ่งๆไว้จะดีกว่า แล้วรีบกลับมาปรับปรุงการบริการ ออกตัวแรง ก็ระวังแซงทางโค้ง รถทัวร์ไปจอดเพจรพรับกันไม่ไหว ลบดีกว่า อิ๊บอ๋ายเลี้ยว #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 298 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ ชาวบ้านบอกไม่ต้องสงสารพวกกรู เพราะกรูทำการเกษตร ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ดินนิคมสร้างตนเอง ไม่ได้เอาไปทำสนามกอล์ฟ รีสอร์ท สนามแข่งรถเหมือนชาญวีรกูล
    #7ดอกจิก
    ♣ ชาวบ้านบอกไม่ต้องสงสารพวกกรู เพราะกรูทำการเกษตร ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ดินนิคมสร้างตนเอง ไม่ได้เอาไปทำสนามกอล์ฟ รีสอร์ท สนามแข่งรถเหมือนชาญวีรกูล #7ดอกจิก
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 137 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ คาถาใหม่เสี่ยหนู เกิดเรื่องต้องท่อง ชาวบ้านเดือดร้อน มีตราพระปรมาภิไทย และเศรษฐกิจเสียหาย
    #7ดอกจิก
    ♣ คาถาใหม่เสี่ยหนู เกิดเรื่องต้องท่อง ชาวบ้านเดือดร้อน มีตราพระปรมาภิไทย และเศรษฐกิจเสียหาย #7ดอกจิก
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้

    1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

    รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI)

    2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

    กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

    บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน


    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

    เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ


    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง



    3. มาตรการเชิงรุก

    โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government

    ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ

    ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์)


    การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection)

    มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต



    4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ

    ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC)

    มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International


    5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน

    โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ

    การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต

    การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ


    ผลลัพธ์และความท้าทาย

    แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ

    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย
    นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI) 2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง 3. มาตรการเชิงรุก โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต 4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International 5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ ผลลัพธ์และความท้าทาย แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 178 มุมมอง 0 รีวิว
  • นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้

    1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

    รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI)

    2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

    กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

    บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน


    สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)

    เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ


    ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

    พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง



    3. มาตรการเชิงรุก

    โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government

    ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ

    ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์)


    การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection)

    มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต



    4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ

    ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC)

    มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International


    5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน

    โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ

    การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต

    การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ


    ผลลัพธ์และความท้าทาย

    แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ

    หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย ผมสามารถค้นหาข้อมูลใหม่ให้ได้นะ

    นโยบายการปราบปรามคอร์รัปชันในประเทศไทยเป็นแนวทางสำคัญของรัฐบาลไทยในการลดปัญหาทุจริตและสร้างความโปร่งใสในภาครัฐและเอกชน โดยมีแนวทางหลักดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะยาว ซึ่งล่าสุดคือ ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2565) และขยายต่อเนื่องในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายเพิ่มดัชนีชี้วัดความโปร่งใสของไทย (Corruption Perceptions Index - CPI) 2. กฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 กำหนดอำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) บังคับให้เจ้าหน้าที่รัฐต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เน้นการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง 3. มาตรการเชิงรุก โครงการ "ไทยโปร่งใส" และ E-Government ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ส่งเสริมระบบ e-Procurement (การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส (Whistleblower Protection) มีกฎหมายคุ้มครองบุคคลที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต 4. การเข้าร่วมองค์กรสากลและมาตรการนานาชาติ ประเทศไทยเป็นภาคีของ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) มีความร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เช่น Transparency International 5. บทลงโทษและมาตรการป้องกัน โทษจำคุกและปรับสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนหรือใช้อำนาจโดยมิชอบ การริบทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริต การแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตออกจากโครงการของรัฐ ผลลัพธ์และความท้าทาย แม้ว่าจะมีมาตรการที่เข้มงวด แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหาคอร์รัปชันในหลายระดับ โดยดัชนี CPI ของไทยในช่วงปีหลังยังคงต่ำเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ล่าสุดของนโยบายปราบปรามคอร์รัปชันในไทย ผมสามารถค้นหาข้อมูลใหม่ให้ได้นะ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 180 มุมมอง 0 รีวิว
  • แน่นอน! นี่คือข้อดีและข้อเสียของคาสิโน

    ข้อดีของคาสิโน

    1. สร้างรายได้และเศรษฐกิจ – คาสิโนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการสร้างงานและดึงดูดนักท่องเที่ยว


    2. แหล่งบันเทิงและสันทนาการ – เป็นสถานที่ที่ให้ความสนุกสนานและความตื่นเต้นแก่ผู้เล่น


    3. สร้างรายได้จากภาษี – คาสิโนสามารถเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐผ่านภาษีการพนัน


    4. โอกาสชนะเงินรางวัลใหญ่ – ผู้เล่นมีโอกาสได้รับเงินจำนวนมากจากเกมบางประเภท เช่น สล็อต หรือโป๊กเกอร์


    5. ดึงดูดนักท่องเที่ยว – คาสิโนสามารถเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมธุรกิจอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และร้านค้า



    ข้อเสียของคาสิโน

    1. ปัญหาการติดการพนัน – การเล่นคาสิโนอาจทำให้บางคนติดการพนันจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน


    2. ความเสี่ยงทางการเงิน – คาสิโนออกแบบมาให้บ้าน (คาสิโน) มีความได้เปรียบในระยะยาว ทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เสียเงิน


    3. อาชญากรรมและการฟอกเงิน – คาสิโนอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้ฟอกเงินหรือทำธุรกรรมผิดกฎหมาย


    4. ผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม – การเล่นพนันมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัว หนี้สิน หรือปัญหาสังคมอื่นๆ


    5. อาจกระทบธุรกิจในท้องถิ่น – ในบางกรณี คาสิโนอาจทำให้ธุรกิจขนาดเล็กได้รับผลกระทบ เนื่องจากเงินหมุนเวียนไปที่คาสิโนแทน



    คาสิโนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับมุมมองและการบริหารจัดการของแต่ละประเทศหรือนโยบายของรัฐในเรื่องการพนัน

    แน่นอน! นี่คือข้อดีและข้อเสียของคาสิโน ข้อดีของคาสิโน 1. สร้างรายได้และเศรษฐกิจ – คาสิโนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการสร้างงานและดึงดูดนักท่องเที่ยว 2. แหล่งบันเทิงและสันทนาการ – เป็นสถานที่ที่ให้ความสนุกสนานและความตื่นเต้นแก่ผู้เล่น 3. สร้างรายได้จากภาษี – คาสิโนสามารถเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐผ่านภาษีการพนัน 4. โอกาสชนะเงินรางวัลใหญ่ – ผู้เล่นมีโอกาสได้รับเงินจำนวนมากจากเกมบางประเภท เช่น สล็อต หรือโป๊กเกอร์ 5. ดึงดูดนักท่องเที่ยว – คาสิโนสามารถเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ส่งเสริมธุรกิจอื่นๆ ในพื้นที่ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และร้านค้า ข้อเสียของคาสิโน 1. ปัญหาการติดการพนัน – การเล่นคาสิโนอาจทำให้บางคนติดการพนันจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน 2. ความเสี่ยงทางการเงิน – คาสิโนออกแบบมาให้บ้าน (คาสิโน) มีความได้เปรียบในระยะยาว ทำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เสียเงิน 3. อาชญากรรมและการฟอกเงิน – คาสิโนอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพใช้ฟอกเงินหรือทำธุรกรรมผิดกฎหมาย 4. ผลกระทบต่อครอบครัวและสังคม – การเล่นพนันมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาครอบครัว หนี้สิน หรือปัญหาสังคมอื่นๆ 5. อาจกระทบธุรกิจในท้องถิ่น – ในบางกรณี คาสิโนอาจทำให้ธุรกิจขนาดเล็กได้รับผลกระทบ เนื่องจากเงินหมุนเวียนไปที่คาสิโนแทน คาสิโนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับมุมมองและการบริหารจัดการของแต่ละประเทศหรือนโยบายของรัฐในเรื่องการพนัน
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว
  • หมายเหตุ Newskit : ไซเบอร์อรรถ ทำงานรับใช้ใคร?

    กรณีที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนายตรวจค้นบ้าน น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ก่อนควบคุมตัวไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยาน พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ถือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่ปกติ เพราะโดยปกติแล้วคดีหมิ่นประมาท ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพียงแค่ตำรวจท้องที่นำหมายเรียกไปติดที่หน้าบ้านเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ถือว่ามากพอแล้ว

    เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนำเสนอข่าวบางอย่างของสำนักข่าวแห่งนี้ และโดยหลักการแล้วการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วไปกระทบกระทั่งกับบุคคลในข่าวหรือใครก็ตาม ก็สามารถตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่การที่ตำรวจไซเบอร์ใช้ยุทธวิธี นำตำรวจนับสิบนายบุกบ้านแต่เช้าตรู่ ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ อยู่กันเพียงสามคนแม่ลูก และยังมีพ่อที่มีโรคประจำตัวพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพียงแค่มีหลักฐานทางและข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของสำนักข่าวแห่งนั้น ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบกับคนจำนวนมาก ถือเป็นวิธีการที่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่?

    ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจไซเบอร์นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ที่สื่อมวลชนอาชญากรรมตั้งฉายาว่า "ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม" กระทำการเล่นใหญ่ เพราะเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เคยนำกำลังจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ภาพตัดต่อนักการเมืองรายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควร แต่การบุกบ้านผู้ประกาศข่าวแต่เช้า ว่ากันว่าทนายความของนักการเมืองรายเดียวกันแจ้งความก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า พล.ต.ท.ไตรรงค์ ทำงานรับใช้ใคร นักการเมืองรายใดรายหนึ่งหรือไม่? ถือเป็นปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่?

    เราคงไม่คาดหวังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแสดงท่าทีใดๆ เพราะหนึ่งในคู่กรณีเป็นนักข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ และเป็นความเคยชินที่ใครไม่ใช่พวกเดียวกันมักจะไม่นับรวมเป็นสื่อมวลชน แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าวันหนึ่งตำรวจใช้วิธีการดำเนินคดีที่ไม่ปกติต่อสื่อมวลชน เฉกเช่นครั้งนี้ใช้กำลังนับสิบนายบุกไปที่บ้าน ยึดมือถือ เพียงเพื่อเรียกตัวไปเป็นพยาน คำถามที่ตามมากับสื่อมวลชนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเสียงดังมากพอก็คือ เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ?

    #Newskit
    หมายเหตุ Newskit : ไซเบอร์อรรถ ทำงานรับใช้ใคร? กรณีที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ นำกำลังนับสิบนายตรวจค้นบ้าน น.ส.ไญยิกา อธิคุปต์ธนวัฒ ผู้ประกาศข่าวสำนักข่าวเดอะครีติก (The Critics) ก่อนควบคุมตัวไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อให้การในฐานะพยาน พร้อมตรวจยึดโทรศัพท์มือถือ เหตุเกิดเมื่อเวลา 06.30 น. วันที่ 20 ก.พ. ถือเป็นการใช้วิธีการที่ไม่ปกติ เพราะโดยปกติแล้วคดีหมิ่นประมาท ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรง เพียงแค่ตำรวจท้องที่นำหมายเรียกไปติดที่หน้าบ้านเพื่อให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาก็ถือว่ามากพอแล้ว เราอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนำเสนอข่าวบางอย่างของสำนักข่าวแห่งนี้ และโดยหลักการแล้วการที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวแล้วไปกระทบกระทั่งกับบุคคลในข่าวหรือใครก็ตาม ก็สามารถตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้ตามสิทธิที่ตนเองมีอยู่ แต่การที่ตำรวจไซเบอร์ใช้ยุทธวิธี นำตำรวจนับสิบนายบุกบ้านแต่เช้าตรู่ ซึ่งอยู่ในชุมชนเล็กๆ อยู่กันเพียงสามคนแม่ลูก และยังมีพ่อที่มีโรคประจำตัวพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพียงแค่มีหลักฐานทางและข้อมูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มของสำนักข่าวแห่งนั้น ไม่ใช่คดีอาชญากรรมร้ายแรงที่กระทบกับคนจำนวนมาก ถือเป็นวิธีการที่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่? ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่ตำรวจไซเบอร์นำโดย พล.ต.ท.ไตรรงค์ ที่สื่อมวลชนอาชญากรรมตั้งฉายาว่า "ไซเบอร์อรรถ จัดเต็ม" กระทำการเล่นใหญ่ เพราะเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2568 เคยนำกำลังจับกุมแอดมินเพจเฟซบุ๊ก ที่เผยแพร่ภาพตัดต่อนักการเมืองรายหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการปฎิบัติหน้าที่ตามสมควร แต่การบุกบ้านผู้ประกาศข่าวแต่เช้า ว่ากันว่าทนายความของนักการเมืองรายเดียวกันแจ้งความก่อนหน้านั้นเพียงไม่กี่วัน จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยว่า พล.ต.ท.ไตรรงค์ ทำงานรับใช้ใคร นักการเมืองรายใดรายหนึ่งหรือไม่? ถือเป็นปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตหรือไม่? เราคงไม่คาดหวังองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแสดงท่าทีใดๆ เพราะหนึ่งในคู่กรณีเป็นนักข่าวใหญ่ที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ และเป็นความเคยชินที่ใครไม่ใช่พวกเดียวกันมักจะไม่นับรวมเป็นสื่อมวลชน แต่โดยหลักการแล้ว ถ้าวันหนึ่งตำรวจใช้วิธีการดำเนินคดีที่ไม่ปกติต่อสื่อมวลชน เฉกเช่นครั้งนี้ใช้กำลังนับสิบนายบุกไปที่บ้าน ยึดมือถือ เพียงเพื่อเรียกตัวไปเป็นพยาน คำถามที่ตามมากับสื่อมวลชนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีเสียงดังมากพอก็คือ เราจะอยู่กันอย่างนี้จริงๆ หรือ? #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปี​ แรก​ของ​ มะนาว​#บ้านสวน๑๐๙@ปราจีนบุรี​#อินทรีย์​100%
    ปี​ แรก​ของ​ มะนาว​#บ้านสวน๑๐๙@ปราจีนบุรี​#อินทรีย์​100%
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 68 มุมมอง 0 รีวิว
  • คุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่

    เป็นบ้านไม้สักสามชั้นริมน้ำปิง
    เจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ องค์ที่ ๗
    พระราชทานที่ดินให้หมอชีค
    ต่อมาได้ตกเป็นสมบัติของนายหลุยส์ โดโนแวน
    คู่หูหมอชีค หลังจากที่หมอชีคเสียชีวิต ในปี ๒๔๓๘
    ต่อมานายหลุยส์ ได้นำไปใช้หนี้
    แทนเงิน ๒๕,๖๙๖ รูปี ให้กับเจ้าดารารัศมี
    เจ้าดารารัศมี ได้ประทานบ้านหลังนี้
    ให้กับ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้เป็นพี่ชาย
    ภายหลังเจ้าแก้วนวรัฐได้รับสถาปนา
    เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙
    บ้านหลังนี้จึงกลายเป็น คุ้มหลวง
    แห่งแรกที่อยู่นอกกำแพงเมือง
    ----------------------
    ปัจจุบัน เป็น กาดหลวง และ เป็น ห้างทองอั้วจินเฮง
    คุ้มเจ้าหลวงนครเชียงใหม่ เป็นบ้านไม้สักสามชั้นริมน้ำปิง เจ้าหลวงอินทวิชยานนท์ องค์ที่ ๗ พระราชทานที่ดินให้หมอชีค ต่อมาได้ตกเป็นสมบัติของนายหลุยส์ โดโนแวน คู่หูหมอชีค หลังจากที่หมอชีคเสียชีวิต ในปี ๒๔๓๘ ต่อมานายหลุยส์ ได้นำไปใช้หนี้ แทนเงิน ๒๕,๖๙๖ รูปี ให้กับเจ้าดารารัศมี เจ้าดารารัศมี ได้ประทานบ้านหลังนี้ ให้กับ เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้เป็นพี่ชาย ภายหลังเจ้าแก้วนวรัฐได้รับสถาปนา เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙ บ้านหลังนี้จึงกลายเป็น คุ้มหลวง แห่งแรกที่อยู่นอกกำแพงเมือง ---------------------- ปัจจุบัน เป็น กาดหลวง และ เป็น ห้างทองอั้วจินเฮง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'ระบอบทักษิณ'คืนชีพ! 'หมอวรงค์' ฉะปมตร.ยกโขยงบุกบ้าน 'นักข่าวหญิง' เตือนยิ่งใช้อำนาจข่มขู่มากเท่าไร ยิ่งพังเร็วเท่านั้น
    https://www.thai-tai.tv/news/17289/
    'ระบอบทักษิณ'คืนชีพ! 'หมอวรงค์' ฉะปมตร.ยกโขยงบุกบ้าน 'นักข่าวหญิง' เตือนยิ่งใช้อำนาจข่มขู่มากเท่าไร ยิ่งพังเร็วเท่านั้น https://www.thai-tai.tv/news/17289/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 74 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ

    เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ?

    ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว...

    ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น

    พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก

    แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ

    ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน

    และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน)

    ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา

    ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง

    และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี

    ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ

    แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว

    และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/
    http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx
    http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html
    http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml
    http://www.xinfajia.net/2592.html
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009

    #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    🪭แม่สื่อสมัยโบราณ 🪭 สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับขั้นตอนการสู่ขอและ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ และมีการกล่าวถึงการใช้แม่สื่อ แต่เพื่อนเพจคงไม่ได้อรรถรสว่าจริงๆ แล้วการใช้แม่สื่อมีความสำคัญมาก ในบางยุคสมัยอย่างเช่นสมัยถังถึงกับบัญญัติเป็นกฎหมายไว้ว่าการแต่งงานต้องมีแม่สื่อ เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า มีหน่วยงานรัฐรับหน้าที่แม่สื่อ? ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ซึ่งเป็นบันทึกโบราณที่ถูกจัดทำขึ้นในสมัยฮั่นว่าด้วยพิธีการต่างๆ ของสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกมีการระบุไว้ว่า: สำนักงาน ‘เหมยซึ’ (媒氏) มีหน้าที่ดูแลการแต่งงานของประชาชน... ทำทะเบียนบันทึกวันเดือนปีเกิดของทุกคนและจัดให้บุรุษแต่งงานเมื่ออายุสามสิบปีและสตรีเมื่ออายุยี่สิบปี... จัดเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิหรือที่เรียกว่า ‘จงชุนฮุ่ย’ (仲春会) เพื่อเป็นโอกาสให้หนุ่มสาวได้พบปะดูตัว... ก่อนจะลงลึกเรื่องหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อเหมยซึนี้ เรามาคุยกันเล็กน้อยเรื่องเกณฑ์อายุสมรสที่กล่าวถึงข้างต้น พวกเราจะคุ้นเคยว่ากฎหมายกำหนดเกณฑ์อายุขั้นต่ำไว้ แต่ในสมัยโบราณมีกำหนดเกณฑ์อายุสูงสุดไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ผู้คนแต่งงานมีลูกสืบสกุล ในความเชื่อของคนโบราณคือการไม่มีบุตรสืบสกุลถือเป็นความอกตัญญูอย่างใหญ่หลวง แต่จริงๆ แล้วในมุมมองของรัฐมันมีเหตุผลด้านการพัฒนาประเทศ อย่าลืมว่าแรกเริ่มเลยเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยเกษตรกรรม เมื่อประชากรน้อยผลผลิตก็น้อยรัฐก็จน อีกทั้งในสมัยโบราณมีศึกสงครามและอายุขัยของคนไม่ยาวเหมือนสมัยนี้ ดังนั้นทางการจึงพยายามกระตุ้นให้คนแต่งงานและมีลูกหลานกัน จนถึงขั้นกำหนดเป็นกฎหมายบังคับ เพียงแต่เกณฑ์อายุตามกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย อย่างเช่นในสมัยฮั่นบุรุษต้องแต่งงานภายในอายุสามสิบปีและสตรีภายในอายุสิบห้าปี หาไม่แล้วต้องถูกปรับด้วยการจ่ายภาษีเพิ่มเป็นห้าเท่า (ในสมัยนั้นจ่ายภาษีเป็นรายหัว ไม่เกี่ยวกับรายได้) และในสมัยราชวงศ์เหนือใต้กำหนดว่าหากสตรีไม่แต่งงานภายในอายุสิบห้าปีพ่อแม่ต้องโทษจำคุก แต่ในสมัยโบราณก็มีคนที่ไม่ได้แต่งงานภายในอายุที่กฎหมายที่กำหนด บ้างยืดเวลาออกไปเพราะเหตุผลการไว้ทุกข์ให้พ่อแม่ บ้างมีเหตุผลอื่น แต่ Storyฯ ไม่ได้ไปหาข้อมูลต่อว่าแต่ละยุคสมัยเขามีวิธีหลีกเลี่ยงการแต่งงานกันอย่างไร แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า ผู้ที่ถึงเกณฑ์อายุสูงสุดแล้วยังไม่ได้แต่งงานจะมีสำนักงานแม่สื่อมาช่วยจัดการหาคู่ให้ โดยมีความพยายามหว่านล้อมให้เจ้าตัวเห็นชอบและมีตัวเลือกให้ ไม่ใช่นึกจะบังคับแต่งกับใครก็บังคับเลย ประมาณว่าเป็นการบังคับแต่งงานแบบประนีประนอม และนี่เป็นหนึ่งในหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อ ทีนี้มาเข้าเรื่องหน้าที่แม่สื่อ... สำหรับหน้าที่แม่สื่อนี้ สำนักงานเหมยซึไม่เพียงหาคู่ให้กับผู้ที่ใกล้จะเลยเกณฑ์อายุสูงสุด หากแต่ยังช่วยหาคู่ให้กับผู้ที่ไม่มีพ่อแม่หรือผู้ใหญ่จัดการเรื่องนี้ รวมถึงจัดงานเทศกาลที่บังคับให้หนุ่มสาวออกมาพบปะและดูตัวกัน นอกจากนี้ ยังเป็นธุระดูแลเรื่องพิธีการต่างๆ ให้ถูกต้องเช่นส่งคนไปช่วยสู่ขอ กำหนดวันแต่งงาน ช่วยจัดงานแต่งงาน และดูแลสินสอดให้เหมาะสม ในบางสมัยถึงกับมีหน้าที่จัดสรรเงินจากงบประมาณแผ่นดินหรือหาคณบดีท้องถิ่นมาเป็นผู้อุปถัมภ์เพื่อให้บุรุษที่ยากจนสามารถมีเงินสินสอดไปแต่งเมียได้ และอย่างในสมัยฉินมีหน้าที่จัดสรรที่ดินทำกินให้คู่บ่าวสาวไปตั้งต้นชีวิตใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ อันเกิดขึ้นในการหมั้นหมายและแต่งงาน และจากตัวอย่างที่ยกมาจากบันทึกโจวหลี่ จะเห็นว่าหน้าที่ของสำนักงานแม่สื่อมีอีกส่วนหนึ่งคืองานด้านทะเบียน โดยมีหน้าที่บันทึกว่าใครเกิดเมื่อไหร่แต่งงานแล้วหรือยัง หย่าร้างหรือไม่ รวมถึงดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน เช่นการลงโทษตามกฏหมาย (เช่น หลบหนีการแต่งงาน) ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่แม่สื่อในงานพิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานมงคลสมรสก็คือคนจากสำนักงานเหมยซึนี่เอง หรือที่เรียกว่า ‘แม่สื่อหลวง’ (官媒) แต่ผู้ที่เป็นแม่สื่อหลวงอาจไม่ใช่ขุนนางทุกคน เพราะเขาจะมีการจ้างคนนอกช่วยทำงาน กล่าวคือคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถมีฝีปากเป็นเลิศคล่องแคล่วแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไม่มีประวัติอาชญากรรม ฯลฯ มาขึ้นทะเบียนเป็นแม่สื่อหลวงที่ต้องออกไปช่วยเจรจาทาบทามสู่ขอ ช่วยทำพิธีการต่างๆ โดยคนเหล่านี้ได้รับค่าจ้างหลวงแต่ไม่ใช่ข้าราชการ และส่วนใหญ่เป็นผู้อาวุโสที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือในท้องที่นั้นๆ หรือเป็นผู้ที่ผู้อาวุโสเหล่านี้แนะนำมา ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ อย่างสมัยซ่งนั้น กิจการแม่สื่อมืออาชีพก็เฟื่องฟูตาม มีทั้งแม่สื่อฝ่ายชายและแม่สื่อฝ่ายหญิง ในสมัยซ่งถึงขนาดมีแบ่งแยกระดับของแม่สื่อ ในบันทึก ‘ตงจิงเมิ่งหัวลู่’ ที่ให้รายละเอียดวิถีชีวิตและธรรมเนียมปฏิบัติของคนสมัยซ่งเหนือได้กล่าวไว้ว่า แม่สื่อขั้นสูงสุดนั้นมีผ้าโพกศีรษะสวมเสื้อนอกสีม่วง ให้บริการเฉพาะขุนนางและครอบครัวขุนนาง และต่อมาพัฒนาขึ้นเป็น ‘แม่สื่อเอกชน’ (私媒) แบบมืออาชีพ กล่าวคือได้ค่าจ้างจากครอบครัวบ่าวสาว แต่ก็ต้องขึ้นทะเบียนกับทางการอยู่ดี ทำไมแค่ช่วยสู่ขอช่วยจัดงานแต่งยังต้องทำเป็นทางการขนาดนั้น? นั่นเป็นเพราะว่าแม่สื่อมีหน้าที่และความรับผิดได้ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า หากแม่สื่อโฆษณาคุณสมบัติของบุรุษสตรีเกินจริงจนเข้าข่ายบิดเบือนหรือหลอกลวงก็จะมีโทษ; แม่สื่อมีหน้าที่ตรวจสอบและสืบข้อมูลประวัติของทั้งสองครอบครัวเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นการแต่งงานที่เข้าข่ายต้องห้าม (เช่น ข้ามสถานะระหว่างบุคคลธรรมดากับบุคคลในทะเบียนทาส; เป็นพยานสำคัญว่าเจ้าบ่าวเจ้าสาวถูกคนหรือไม่ ตั้งแต่ข้อมูลวันเดือนปีเกิด เอกสารการหมั้นและการรับตัวเจ้าสาว หรือหากรู้เห็นเป็นใจการหนีสมรสก็มีโทษเช่นกัน; เป็นพยานสำคัญว่าสินสอดและสินเดิมเจ้าสาวถูกต้องครบถ้วนตามรายการบัญชีที่ทำ; และอาจเป็นพยานหรือเป็นผู้ช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างครอบครัวบ่าวสาวได้ ฯลฯ แม่สื่อเป็นบุรุษหรือสตรีก็ได้ เพียงแต่ในยุคที่กิจการแม่สื่อเฟื่องฟู คนที่นิยมทำหน้าที่นี้เป็นสตรีเสียส่วนใหญ่ และจวบจนสมัยชิงยังมีการกล่าวถึงแม่สื่อหลวง โดยมีตัวอย่างจากบทประพันธ์โบราณชื่อ ‘สิ่งซื่อเหิงเหยียน’ (醒世恒言 /วจีปลุกให้โลกตื่น) ซึ่งเป็นผลงานของเฝิงเมิ่งหลง นักเขียนผู้มีชีวิตอยู่ในช่วงตอนปลายหมิงต้นชิง ดังนั้น แม่สื่อหลวงและแม่สื่อเอกชนอยู่คู่กับจีนมาหลายพันปีแล้ว และแน่นอนว่า แม่สื่อเอกชนแบบที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับทางการก็มี เช่นอาจมีการเชิญผู้ใหญ่คนรู้จักไปช่วยพูดจาทาบทาม เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะนึกภาพออกเพราะบ้านเราเรียกว่า ‘เถ้าแก่’ แต่เถ้าแก่นี้ไม่ใช่แม่สื่อหลักเพราะตามกระบวนการของกฎหมายต้องมีแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วช่วยดำเนินเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแม่สื่อหลวงหรือแม่สื่อเอกชน ดังนั้นในบริบทนี้ บางครอบครัวอาจใช้เถ้าแก่มาเสริม จึงเกิดเป็นสำนวนที่ว่า ‘ซานเหมยลิ่วพิ่น’ ( 三媒六聘/สามแม่สื่อหกพิธีการแต่งงาน) กล่าวคือแม่สื่อหรือเถ้าแก่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และคนกลางซึ่งมักเป็นแม่สื่อที่ขึ้นทะเบียนแล้วนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://meihuamag.com/牵线说媒,这行当已有五千年历史/ http://sino.newdu.com/m/view.php?aid=91147 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.sss.net.cn/106001/30036.aspx http://www.heyuanxw.com/2014/wenhua_1216/15238.html http://iolaw.cssn.cn/xspl/200607/t20060726_4598436.shtml http://www.xinfajia.net/2592.html https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=795664&remap=gb#%娶妇 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_26937009 #แม่สื่อ #กวนเหมย #ซือเหมย #เหมยซึ #การแต่งงานจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 273 มุมมอง 0 รีวิว
  • เริ่ม​ วิถี​ ชาวสวน#บ้านสวน๑๐๙@ปราจีนบุร #อินทรีย์​100%ี​
    เริ่ม​ วิถี​ ชาวสวน#บ้านสวน๑๐๙@ปราจีนบุร #อินทรีย์​100%ี​
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • 86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย

    📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา

    🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย

    ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท

    ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย

    👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้

    เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา

    📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย"

    🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น

    ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
    ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ
    ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน

    ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า

    ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ?
    การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล

    ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า

    ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ
    ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่
    ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ
    ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต
    ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง

    📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ

    ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา
    1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
    ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์
    ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่
    ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม

    📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก

    - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง
    - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ
    - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ

    ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา

    🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย
    แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย

    “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง

    หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน

    🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง

    ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป

    ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา
    ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง
    ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น
    ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568

    🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    86 ปี สิ้น “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา คณะสงฆ์ลำพูนขยาดบารมี ยัดอธิกรณ์ 8 ข้อ ความขัดแย้งที่บานปลาย 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ไปสู่เรื่องราวของ “ครูบาเจ้าศรีวิชัย” เจ้าตนบุญแห่งล้านนา ผู้เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชาวเหนือ แม้กระทั่งเจ้าคณะสงฆ์ในยุคสมัยนั้น ยังต้องหวั่นเกรงในบารมี จนเกิดการตั้งอธิกรณ์ถึง 8 ข้อ นำไปสู่การควบคุมตัว และขัดแย้งกันอย่างรุนแรง ในหมู่คณะสงฆ์ล้านนา 🔎 86 ปี แห่งการมรณภาพ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย หากย้อนเวลากลับไปเมื่อ 86 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 (เมื่อก่อนนับศักราชใหม่ ในวันสงกรานต์ ถ้าเทียบปัจจุบันจะเป็นต้นปี พ.ศ. 2482) นับเป็นปีที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวง เพราะเป็นวันมรณภาพของ "ครูบาเจ้าศรีวิชัย" พระเกจิชื่อดังแห่งล้านนา ผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง และบูรณะพุทธศาสนสถาน ทั่วภาคเหนือของไทย ครูบาเจ้าศรีวิชัยละสังขาร ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน สิริอายุได้ 60 ปี ก่อนที่ศพจะถูกตั้งไว้ ที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน เป็นเวลาหลายปี กระทั่งวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489 มีการพระราชทานเพลิงศพ โดยมีประชาชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมพิธี และเหตุการณ์ที่น่าตกใจคือ มีผู้แย่งชิงอัฐิของครูบาเจ้าศรีวิชัย ตั้งแต่เปลวไฟยังไม่มอดสนิท ✨ แม้แต่ดินตรงที่ถวายพระเพลิงศพ ยังถูกขุดเอาไปบูชา แสดงให้เห็นถึงแรงศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย 👶 วัยเยาว์ ชาติกำเนิดของตนบุญ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2421 ปีขาล ขณะที่เกิด มีพายุฟ้าร้องรุนแรง จึงถูกตั้งชื่อว่า อินตาเฟือน หรืออ้ายฟ้าร้อง บิดาชื่อ นายควาย มีเชื้อสายกะเหรี่ยงแดง มารดาชื่อ นางอุสา บ้างว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้างว่าเป็นชาวเมืองลี้ เมื่ออายุได้ 18 ปี มีความคิดว่าความยากจนของตน เกิดจากกรรมในอดีต จึงตัดสินใจออกบวช เพื่อสร้างบุญกุศล และตอบแทนบุญคุณบิดามารดา 📌 ครูบาศรีวิชัยบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านปาง ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในวัย 21 ปี ที่วัดบ้านโฮ่งหลวง จังหวัดลำพูน ได้รับฉายาทางธรรมว่า "พระศรีวิชัย" 🏯 บทบาทของครูบาเจ้าศรีวิชัย ในการพัฒนาพุทธศาสนาในล้านนา ครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่ได้เป็นเพียงพระนักปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระนักพัฒนา สร้างและบูรณะวัดมากมาย รวมถึงเส้นทางคมนาคมสำคัญ เช่น ✔️ สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ✔️ บูรณะวัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี วัดสวนดอก ฯลฯ ✔️ เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน ร่วมแรงร่วมใจ ในการก่อสร้างศาสนสถาน ✨ ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยสูงส่ง ถึงขนาดที่ว่า ชาวบ้านเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ เพียงเพื่อจะได้พบหน้า ⚖️ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ? การที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับความศรัทธามาก ทำให้คณะสงฆ์ล้านนาบางกลุ่ม โดยเฉพาะเจ้าคณะจัวงหวัดลำพูน เริ่มไม่พอใจ และหวาดกลัวอิทธิพล ในที่สุด เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ได้นำการตั้งอธิกรณ์ หรือข้อกล่าวหา ต่อครูบาเจ้าศรีวิชัยถึง 8 ข้อ โดยกล่าวหาว่า ❌ ทำตัวเป็น “ผีบุญ” อวดอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติ ❌ ซ่องสุมกำลังประชาชน เสมือนเป็นผู้นำลัทธิใหม่ ❌ ขัดขืนอำนาจคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ❌ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบสงฆ์ ของสยามประเทศ ❌ จัดพิธีกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ❌ มีพฤติกรรมเสมือนเป็นผู้นำทางการเมือง 📌 ผลจากข้อกล่าวหาเหล่านี้ ทำให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกควบคุมตัวส่งไปไต่สวนที่กรุงเทพฯ ⚔️ ความขัดแย้งระหว่างครูบาเจ้าศรีวิชัย กับคณะสงฆ์ล้านนา 1️⃣ คณะสงฆ์ล้านนาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ✔️ กลุ่มที่ยอมรับอำนาจของกรุงเทพฯ สนับสนุนการปกครองสงฆ์แบบรวมศูนย์ ✔️ กลุ่มประนีประนอม ไม่ต่อต้าน แต่ก็ไม่ได้ร่วมมือเต็มที่ ✔️ กลุ่มต่อต้านกรุงเทพฯ ต้องการคงจารีตล้านนาแบบดั้งเดิม 📌 ครูบาศรีวิชัยถูกมองว่า เป็นผู้นำของกลุ่มที่สาม ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนัก - สร้างถนนขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยไม่ได้ปรึกษาคณะสงฆ์ ฝ่ายปกครอง - พระสงฆ์กว่า 50 วัด ลาออกจากการขึ้นตรง กับคณะสงฆ์กรุงเทพฯ - คณะสงฆ์ฝ่ายปกครองมองว่า เป็นการกระด้างกระเดื่องต่ออำนาจ ⚖️ สุดท้าย ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถูกส่งตัวไปกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาคดี และได้รับโทษ ก่อนถูกปล่อยตัวกลับล้านนา 🙏 เจ้าตนบุญแห่งล้านนา กับแรงศรัทธาที่ไม่มีวันเสื่อมคลาย แม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อกล่าวหา และความขัดแย้งมากมาย แต่ศรัทธาของประชาชน ที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ไม่เคยเสื่อมคลาย “ตนบุญ” หรือ “นักบุญ” มีความหมายเชิงยกย่องว่า เป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ ในดินแดนล้านนา เป็นคติความเชื่อที่ถูกนำมาใช้ตลอดในประวัติศาสตร์ล้านนา แนวคิดดังกล่าว จะถูกหยิบนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การใช้อ้างความชอบธรรม ของสถาบันกษัตริย์ล้านนา จนกระทั่งสามัญชน ที่ใช้คำว่า “ตนบุญ” เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านยามทุกข์เข็ญ เผชิญกับสภาพความสงบของบ้านเมือง หลังมรณภาพ ประชาชนยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระ วัดหลายแห่งยังคงยกย่อง และจัดงานรำลึกถึงครูบาเจ้าศรีวิชัย ตำนาน “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” ยังคงถูกกล่าวขานถึงปัจจุบัน 🛕 ปัจจุบัน รูปปั้นและอนุสรณ์สถาน ของครูบาเจ้าศรีวิชัย มีอยู่ทั่วภาคเหนือ เช่น บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ และวัดบ้านปาง ✨ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 86 ปี แต่บารมีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงยิ่งใหญ่ และจะอยู่ในหัวใจ ของชาวล้านนาตลอดไป ✅ ครูบาเจ้าศรีวิชัย เป็นพระนักพัฒนา ที่มีบารมีสูงสุดองค์หนึ่งในล้านนา ✅ ถูกตั้งอธิกรณ์ 8 ข้อ เนื่องจากความขัดแย้ง กับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครอง ✅ แม้จะถูกควบคุมตัว แต่ประชาชนยังคงศรัทธา นอย่างเหนียวแน่น ✅ ปัจจุบัน ครูบาเจ้าศรีวิชัย ยังคงเป็นสัญลักษณ์แห่งศรัทธา ของชาวล้านนา ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 211017 ก.พ. 2568 🔖 #ครูบาศรีวิชัย #เจ้าตนบุญล้านนา #ประวัติศาสตร์ล้านนา #วัดบ้านปาง #ศรัทธาพระสงฆ์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts