• อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย

    เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก

    ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา

    ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง

    สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา

    #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    Like
    Sad
    4
    0 Comments 0 Shares 991 Views 0 Reviews