• 📚รีเบคก้า


    ดีใจที่ห้องสมุดมี และดีใจที่ยืมมาอ่าน แม้นอรรถรสอาจจะได้ไม่เต็มที่เพราะเคยดูหนังที่ฮิตช์ค็อกสร้างมาก่อน ถึงอย่างนั้นก็ยังสัมผัสได้ถึงความเป็นสุดยอดของนิยายยอดเยี่ยมแห่งยุคเรื่องหนึ่ง ไม่สงสัยแล้วว่าเหตุใดจึงยังไม่ถูกลืม เพราะความดีงามของเรื่องนั้นสามารถข้ามผ่านกาลเวลามาใกล้ 90 ปีเต็มที

    ขนาดพอรู้เรื่องคร่าวๆแม้นจำไม่ได้มากเพราะหนังดูไว้นานหลายปีแล้ว แต่เมื่อได้จับฉบับหนังสือก็ยังอดลุ้นระทึกตามไปกับตัวละครนำไม่ได้ ต้องสรรเสริญผู้เขียนคือ ดาฟเน ดู โมริเยร์ ที่ให้กำเนิดรีเบคก้าขึ้นมาอวดโฉมสู่สายตานักอ่านในบรรณพิภพ

    หนังสือพิมพ์ในไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ฉบับที่อ่านนี้เป็นของ สนพ.สร้างสรรค์-วิชาการ เป็นพิมพ์ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ.2538 หนา 387 หน้า มีช่วงระหว่างหน้าที่ 283-298 ทำเอาใจวูบ เพราะกำลังดำเนินเรื่องถึงช่วงจุดสูงสุดที่จะเฉลยปม เลขหน้าข้าม ทีแรกก็เศร้าว่าหน้าหายเยอะขนาดนี้คงจะพลาดอะไรสำคัญไปเยอะ พลิกตรวจดูจึงรู้ว่า เป็นความผิดพลาดของการเข้าเล่ม ที่ทำให้ต้องเปิดพลิกกลับอ่านแบบญี่ปุ่นจากขวามาซ้ายประมาณ 16 หน้า จึงกลับสู่การอ่านแบบปกติได้ น่าจะเป็นทั้งล็อตในการพิมพ์หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ

    สองประการที่ลดคุณค่าของนิยายเล่มนี้ในฉบับพิมพ์ของสร้างสรรค์คือ หนึ่ง ตัวอักษรที่เลือกใช้ได้ทรมานสายตาคนอ่านอย่างมากคือทั้งเล็กและบาง เมื่อบวกกับแถวยาวเหยียดที่เบียดกันเป็นพรืด นาน ๆ จึงจะพบย่อหน้าสักครั้ง จึงต้องใช้พลังสมาธิและความพยายามอย่างยิ่งกว่าจะอ่านจบ นี่ถ้าไม่ใช่เพราะความดีงามในตัวของนิยายเองที่ทำให้อยากอ่านต่อ อาจยอมแพ้เสียก่อน และสอง กระดาษที่ใช้คุณภาพไม่ดีเลย ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อกระดาษบางมาก

    🔻

    เนื้อเรื่องโดยย่อ

    หญิงสาววัยสัก20ปี ที่เป็นผู้มีบุคลิกใสซื่อ มีความเป็นตัวของตัวเองอย่างบริสุทธิ์ตามธรรมชาตินางหนึ่ง พ่อแม่ตายไปตั้งแต่ยังเล็ก จึงจำต้องหาเลี้ยงตนเองมาแบบอัตคัด จนได้มาติดตามเป็นหญิงรับใช้ให้กับคุณนายอึ่งอ่างนางหนึ่ง(ขออภัย เธอมีชื่อแต่ลักษณะภายนอกที่ถูกบรรยายทำให้นึกไปถึงอึ่งจริง ๆ นะ) ซึ่งคุณนายคนนี้ก็มีนิสัยแย่ ชอบจิกใช้งานหญิงสาว และพูดจาเหยียบย่ำน้ำใจบ่อย อีกทั้งชอบทำตัวเจ๋อแจ้น เที่ยวปั้นหน้าไปคุยกับคนในแวดวงสังคม ไม่ใช่เพื่ออะไรมากไปกว่าตักตวงข่าวสารมาพูดนินทาต่อให้คนอื่นฟังด้วยความสนุกปากตามพื้นนิสัยเดิม ซึ่งสถานที่ที่ทำให้นางเอกและพระเอกได้พบกันครั้งแรกคือที่ โรงแรมแห่งหนึ่งในมอนติคาโล คุณนายอึ่งอ่างถือวิสาสะไปคุยด้วยกับหนุ่มใหญ่เจ้าของคฤหาสน์ มันเดอลีย์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างท่องเที่ยวเพื่อลืมเลือนเรื่องอดีตเกี่ยวกับภรรยาสาวที่เสียชีวิตไปไม่นาน ในห้องอาหารชั้นล่างซึ่งนางเอกก็จำต้องอยู่ใกล้ชิดร่วมโต๊ะแม้นไม่อยาก เพราะอับอายแทนผู้ว่าจ้างของตน ด้วยเธอเป็นคนหน้าบางและมีสมบัติผู้ดีมากกว่าคุณนายอึ่งอ่าง ทั้งที่โดนกดและดูถูกว่าเป็นพวกชั้นล่าง

    ก็การพบหน้าคราวนั้นเองคือจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราวชวนฝัน ที่ประจวบเหมาะว่าวันต่อมาเจ้านายเธอมีไข้ไม่สบาย หมอให้พักสักสองสัปดาห์ในห้อง จึงเป็นโอกาสให้นางเอกของเรื่องพอจะมีเวลาเป็นของตนเอง ได้ใช้ชีวิตอิสระในตอนลงมากินข้าวที่ห้องอาหารชั้นล่าง ซึ่งก็พอดีได้พบพระเอกเป็นครั้งที่สอง แม้จะเจียมตัวไม่กล้าไปทักหรือร่วมโต๊ะ แต่สุดท้ายเหตุการณ์ก็พาไปให้พระเอกคือมิสเตอร์ เดอวินเตอร์ ตะล่อมพูดจนเธอยอมมานั่งกินอาหารโต๊ะเดียวกับเขา และได้พูดคุยพอเป็นที่รู้เรื่องความเป็นมาของฝ่ายสาว และในโอกาสต่อมาจากวันนั้น กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่คุณนายอึ่งอ่างนอนแซ่วบนเตียง ที่ก็ไม่ได้ป่วยอะไรมาก แต่อยากหาเหตุให้คนอื่นมาเยี่ยมจะได้ชวนคุยนินทาสารพัดกับเล่นไพ่นั้น เปิดโอกาสให้นางเอกได้สานความสัมพันธ์อันดีกับพระเอกที่ยังคงมีมาดสุขุม ลึกลับ ครุ่นคิดตลอดเวลา และไม่ค่อยพูดจาหรือเปิดเผยเรื่องราวของตน จนฝ่ายหญิงเริ่มมีความรู้สึกที่ดีกับฝ่ายชายอย่างมาก ถึงขั้นที่เรียกว่ารักแรก ทุกวันพระเอกจะพบกับนางเอกที่ห้องอาหาร กินด้วยกันแล้วพาไปนั่งรถแล่นกินลมชมวิวไปตามที่ต่างๆ

    แต่แล้วเมื่ออาการของเจ้านายดีขึ้น วันหนึ่งก็สั่งนางเอกว่าให้รีบไปจองตั๋วรถไฟ เพราะลูกสาวของนางติดต่อมาว่าจะไปนิวยอร์ก และเจ้านายก็จะตามไปอยู่ด้วย แน่นอนว่าต้องเอานางเอกตามไปรับใช้ เมื่อทราบข่าวเธอถึงกับหัวใจสลาย เข่าอ่อน เหมือนความสุขที่เพิ่งปรากฏไม่นานในชีวิตกำลังจะสูญสลายไปตลอดกาล เธอพยายามจะลงไปพบเจอพระเอก แต่เขาไม่อยู่ไปทำธุระ ทำให้ในเธอรุ่มร้อนเป็นไฟ ในวันเดินทางที่ถูกใช้ให้ไปเปลี่ยนตั๋วเพื่อเลื่อนเที่ยวรถให้เร็วขึ้นจากช่วงสายเป็นช่วงเช้า เธอสิ้นหวังแล้ว แต่ไม่อาจตัดใจจากไปทั้งยังไม่ได้บอกลา จึงอาศัยช่วงที่เจ้านายสั่งให้มาติดต่อเปลี่ยนเที่ยวนั้น วิ่งหน้าตั้งไปเคาะห้องที่รู้ว่าพระเอกพักอยู่เพื่อจะบอกให้ทราบ และเมื่อพระเอกได้ฟัง จึงถามว่าทำไมเธอต้องปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามแต่เจ้านายจะบงการ เธอบอกเพราะเธอต้องใช้เงิน และการทำงานรับใช้ทั้งที่ไม่อยากก็เพื่อแลกกับค่าจ้างน้อยนิด พระเอกยื่นข้อเสนอให้เลือก ว่าเธอจะไปกับคุณนายอึ่งอ่างหรือจะไปกับเขา เธอไม่เข้าใจ เขาบอกอีกครั้งให้ชัดว่าเธอจะเลือกไปกับเขาในฐานะมิสซิส เดอวินเตอร์หรือไม่

    นั่นเอง คือการเดินทางครั้งใหม่ของนางเอก หลังเธอตกลงใจจะไปกับเขาเพราะความรัก ทั้งสองแต่งงานกันอย่างที่ไม่มีการสวมชุด เข้าโบสถ์หรือการเลี้ยงฉลอง เพราะเขาไม่ปรารถนา แล้วไปฮันนีมูนต่อที่อิตาลีอยู่หลายสัปดาห์ ก่อนที่ท้ายสุดจะตรงไปที่คฤหาสน์มันเดอลีย์อันแสนไกล งดงามตั้งตระหง่านอยู่ภายในวงล้อมของป่ารก ที่ซึ่งเธอต้องกลายจากนางสาวต็อกต๋อย ไร้ชื่อเสียง ไร้เงิน ไร้ศักดิ์ฐานะใดๆ ไปเป็นคุณนายภริยาคนใหม่ของเจ้าของคฤหาสน์หรูเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยตัวคนเดียวโดดเดี่ยว และต้องเผชิญหน้ากับการต้อนรับอันเย็นชา และน่ากลัวของหญิงสาวผู้เป็นต้นห้องคนเก่าของมิสซิส เดอวินเตอร์คนที่ตายไปแล้ว อันมีนามว่า รีเบคกา กับบริวารรับใช้ชายหญิงอีกหลายคนที่ล้วนแล้วแต่มีอะไรที่เหมือนจะให้ความรู้สึกที่ไม่น่าไว้ใจ หดหู่ เร้นลับ

    ท่ามกลางความใหญ่โตกว้างขวางของห้องหับนับไม่ถ้วน ดอกไม้ป่านานาพรรณ อีกไม้ป่ายืนต้นรกชัฏ กับชายหาดและอ่าวที่เงียบเชียบ ดูเปลี่ยวเหงาวังเวง เสียงคลื่นทะเลที่ซัดเข้าหาฝั่ง กระทบโขดหิน ความดำมืดของบรรยากาศที่ทึบทึม ผู้คนที่จะเป็นมิตรก็ไม่ใช่ จะศัตรูก็ไม่เชิง กับเงาร่างของภรรยาสาวคนเก่าที่เพิ่งตายไปไม่นานของคนรักของเธอ ที่เหมือนยังมีชีวิตและปรากฏตัวไปทั่วทุกแห่ง

    นางเอกที่ยังอายุน้อยมาก กับพระเอกในวัย42 จะฟันฝ่าอุปสรรคและนำพาชีวิตรักไปรอดหรือไม่ ในขณะที่มีพี่สาวของสามีและพี่เขย อีกทั้งผู้จัดการงานทั่วไปของสามี คล้ายจะอยู่ฝ่ายเดียวกับเธอ และเอาใจช่วยให้ชีวิตของคนทั้งคู่เดินหน้าต่อไปได้ แต่ทว่าปริศนาทั้งหลายเกี่ยวกับคุณนายคนเก่า คือรีเบคกา และอุปสรรคจากแม่บ้านที่แสดงตนชัดว่าชิงชังรังเกียจ และหาเรื่องคอยสร้างปัญหาให้ ล้วนเป็นปราการใหญ่ที่ทำให้ผู้อ่านต้องลุ้นเอาใจช่วยเธอไปอย่างตื่นเต้น

    🔶️

    เชื่อว่าคนที่ไม่เคยรู้เรื่องราว ไม่เคยดูหนังมาก่อน จะได้รับอรรถรสความสนุกเต็มที่มากสุด ส่วนผู้เคยดูหนังแล้วก็ยังคงจะได้รับความสนุกได้ ในแง่ของการได้ทบทวนเก็บเกี่ยวรายละเอียดอีกครั้ง หากใครที่มีไว้ในกองดองแต่ยังไม่ได้อ่าน น่าเสียดายอย่างมาก

    ผู้แต่งมีอัจฉริยภาพในการเขียนบรรยายฉากอย่างแท้จริง ขอชื่นชมและสรรเสริญ โดนเฉพาะฉากที่พูดถึงนกชนิดต่าง ๆ พรรณไม้หลากหลายชนิดที่ขึ้นและปลูกไว้รายรอบคฤหาสน์ รายละเอียดของชนิดอาหาร เครื่องประกอบ เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง คือมีความรอบรู้อย่างลึกจริง ทำให้คนอ่านเห็นภาพตามชัดเจน ยิ่งใครที่รู้จักอาหารประเภทต่าง ๆ เหล่านั้น รู้จักดอกไม้มากมายหลายชนิดที่กล่าวถึง คงจะยิ่งดำดิ่งเห็นภาพชัดราวกับเห็นลอยอยู่ตรงหน้า

    การใช้รูปแบบของอุปมาโวหารเชิงเปรียบเทียบช่างเป็นภาษาที่งดงาม แม้จะโบราณแต่เข้ากันมากกับยุคสมัยและบรรยากาศตามท้องเรื่อง ยิ่งบวกกับโครงเรื่องและแก่นที่แน่นเปรี๊ยะ อีกทั้งวิธีการเล่าอันน่าทึ่ง ซึ่งไม่ใช่ใครที่เป็นนักเขียนโดยทั่วไปก็สามารถทำได้ แน่นอนว่านักเขียนทุกคนล้วนปรารถนาให้ตนสามารถสร้างสรรค์งานเขียนดีเยี่ยมชนิดเป็นมาสเตอร์พีซของตนเองได้สักเล่มในชั่วชีวิตที่ผลิตงาน แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำสำเร็จ และผมเชื่อว่า ดาฟเน ดู โมริเยร์ คือหนึ่งในนั้นได้อย่างเต็มภาคภูมิ ฉบับแปลไทยนี้ทำได้ดีทีเดียว แม้จะพบว่ามีบางคำออกจะแปลก ๆ ในความรู้สึกอยู่บ้าง เช่นใช้คำว่า กระท้อน ในความหมายที่สื่อถึงการ สะท้อน และอีก 2-3 คำ แต่พอเข้าใจได้ ไม่แน่ว่าในยุคสมัยที่ผู้แปลแปลไว้ คำไทยบางคำในเวลานั้นอาจใช้และสะกดต่างไปจากปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แต่คาดเดาเพราะผมไม่มีความรู้มากพอในด้านนี้

    เรื่องนี้ทำให้เข้าใจถึงข้อด้อยที่น่ากำจัดหรือปรับปรุงแก้ไขให้ไม่มีอยู่ในอุปนิสัยของใครคนไหนก็ตามคือ "การคิดเองเออเอง" ซึ่งจะพบเห็นได้เยอะมากในตัวตนของนางเอก แทบจะตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งเป็นจุดตายที่มีส่วนจะทำให้ชีวิตรักของนางอาจต้องถึงกาลอับปางอย่างน่าหวดเสียว และผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นกันด้วยสิ ความคิดระแวง คิดเป็นตุเป็นตะ คิดหมกมุ่นเพ้อฝันไปล่วงหน้าและมักเป็นไปในทางร้ายนั้น ได้แสดงให้เห็นอิทธิพลของมันชัดเจนยิ่งในเรื่อง ว่าส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากผู้อ่านจะนำมาสำรวจตรวจตรากับการดำเนินชีวิตตนเอง ที่จะไม่ให้มี "อิตถีภาวะ"มากเกินไปแม้ในเพศชายก็ตาม

    มีบ้างทีอ่านแล้วอาจจะรู้สึก "ลำไย" ในอุปนิสัยของนางเอก ที่เธอจะอะไรกันนักหนานะกับแทบทุกเรื่อง แต่ก็ดีที่ผู้เขียนได้สร้างเหตุแล้วให้ตัวละครของตน ได้รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเองแล้วพัฒนาเติบโตขึ้นในช่วงหลัง ที่ไม่อ่อนวัย ใจใสไร้เดียงสาดังเช่นตอนต้นเรื่อง

    เป็นความชาญฉลาดในการวางผังอย่างดี ที่ให้เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ค่อยๆเปิดเผยให้ตัวนางเอกและคนอ่านได้ค่อยๆ รู้เรื่องเกี่ยวกับรีเบคกาเพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ เต็มไปด้วยความหวาดระแวง แคลงใจ จนนำไปสู่ความน่าตื่นตะลึงในช่วงที่เฉลยความจริงให้นางเอกและผู้อ่านทราบไปพร้อมกัน ต่อจากนั้นอีกร้อยกว่าหน้า ก็เป็นช่วงที่ไม่ได้มีแผ่วลงเลยแม้แต่น้อย มีแต่เร่งเร้า เขย่าขวัญ สั่นประสาท ให้ต้องตามลุ้นระทึกเอาใจช่วยให้พระนางผ่านพ้นเรื่องร้ายแรงไปได้ด้วยดีเถิด แต่ละหน้า แต่ละบทสนทนาล้วนแต่พาเราให้ตื่นตัว ตื่นเต้นไปกับอุปสรรคต่อเนื่องที่ดาหน้าเข้าใส่ทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ราวคลื่นทะเลที่ซัดหาฝั่งลูกแล้วลูกเล่า เหมือนโดนคลื่นพาลอยขึ้นไปจนสูงแล้วบัดดลก็จับโยนลงมาสู่เบื้องต่ำ ก่อนจะถูกม้วนลอยขึ้นไปที่สูงใหม่

    ที่ชอบมากที่สุดคือวิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้ในการหาทางพาให้พระนางดิ้นรนไปตามทางที่ถูกตัวร้ายนำไป ไม่อาจเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า จำนนต่อสิ่งที่ปรากฏและจู่โจม แต่แล้วก็พาให้ตัวละครและเรื่องราวทั้งหมดดำเนินไปสู่จุดอันคลี่คลายอย่างชนิดที่ต้องร้องในใจว่า คิดได้ยังไง ไม่มีจุดตำหนิได้เลย เพราะไม่ใช่ตอนจบที่เหมือนไม่รู้จะจัดการกับปมที่สร้างมาอย่างไรแล้วก็ใส่วิธีจัดการเข้ามาแบบไม่สนใจอะไร แต่ทุกอย่างคือถูกวางมาแล้วแต่แรก อย่างมีระเบียบ และเงียบเชียบ บอกใบ้ไว้แต่ไม่กระโตกกระตาก มีความลุ่มลึก ที่ถ้าหากใครมีเวลามากพอ ควรอ่านอย่างช้า ๆ เพื่อเก็บละเอียดทุกประโยคแล้วจะได้พบกับความไม่ธรรมดาของนิยานเรื่องนี้ที่น่าอึ้ง ชวนหลงใหลตั้งแต่เปิดเรื่องมาด้วยท่อนอมตะที่ว่า

    "เมื่อคืนนี้ดิฉันฝันว่า ได้ไปที่คฤหาสน์มันเดอลีย์อีกครั้งหนึ่ง"

    สุดท้ายคือ การที่ตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ เรากลับไม่ได้รู้เลยว่าผู้เล่าเรื่องคือ ดิฉันนั้น แท้จริงชื่อเรียงเสียงไรกันแน่ เรารู้จักกับรีเบคกา ราวกับมีชีวิตทั้งที่ตายไปแล้ว กลับกันนางเอกหรือ ดิฉัน ที่ใกล้ชิดกับคนอ่านมากสุดราวกับคือตัวเราเองที่ยังไม่ตายนั้น เหมือนใกล้แต่ก็ไกล คือเป็นใครก็ได้ไม่ว่าผู้อ่านคือชายหรือหญิง เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วอดไม่ได้จะนำตนเองไปสวมเป็น ดิฉัน ไม่มากก็น้อย

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    ป.ล. (คนที่ยังไม่เคยอ่านหรือดูหนังมาเลย ควรข้าม)

    เรื่องนี้มีฉบับฝาแฝด ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จนนักเขียนนิยายไทยท่านหนึ่ง นำโครงเรื่องมาดัดแปลง กลายเป็นนิยายแปลงชื่อ คุณหญิงสีวิกา ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 สนพ.หมึกจีน เคยได้รับการนำไปสร้างเป็นละครช่อง 7 นำแสดงโดยคุณแอน อังคณา ทิมดี รับบทคุณหญิงสีวิกา และคุณจอห์นนี่ แอนโฟเน่ รับบทสามี ส่วนภรรยาสาวคนใหม่รับบทโดย คุณลูกศร ธนาภรณ์ รัตนเสน ผมยังได้รับชมเมื่อครั้งเรียนช่วงมัธยมปลายพอจำได้ ตอนนั้นก็สนุกนะ เพราะอยากทราบความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ต้องตามอ่านจากไทยรัฐทุกวัน ซึ่งในเรื่องตัวคุณหญิงสีวิกามีอาการของคนที่ศัพท์เฉพาะใช้คำว่า "ฮิสทีเรีย" สมัยนั้นถึงกับมีดราม่ากันใหญ่โตว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายที่ควรนำมาทำเป็นละครฉายทางทีวีช่วงหลังข่าวภาคค่ำจบ ยุคนั้นละครมีประมาณชั่วโมงเดียว เริ่มสักสามทุ่มไปจบสี่ทุ่ม สุดท้ายกระแสต่อต้านเยอะจนไม่แน่ใจว่าถูกตัดทอนให้ตอนสั้นลงแล้วรีบตัดจบเอาดื้อ ๆ หรือไม่ จำไม่ค่อยได้แล้ว

    #thaitimes
    #รีเบคกา
    #นิยายแปล
    #นิยาย
    #ลึกลับ
    #ความวิปริตทางเพศ
    #มอนติคาโล
    #ท่องเที่ยว
    #บ้านริมหาด
    #คฤหาสน์
    #หนังสือดี
    #หนังสือน่าอ่าน
    #วรรณกรรมคลาสสิก
    📚รีเบคก้า ดีใจที่ห้องสมุดมี และดีใจที่ยืมมาอ่าน แม้นอรรถรสอาจจะได้ไม่เต็มที่เพราะเคยดูหนังที่ฮิตช์ค็อกสร้างมาก่อน ถึงอย่างนั้นก็ยังสัมผัสได้ถึงความเป็นสุดยอดของนิยายยอดเยี่ยมแห่งยุคเรื่องหนึ่ง ไม่สงสัยแล้วว่าเหตุใดจึงยังไม่ถูกลืม เพราะความดีงามของเรื่องนั้นสามารถข้ามผ่านกาลเวลามาใกล้ 90 ปีเต็มที ขนาดพอรู้เรื่องคร่าวๆแม้นจำไม่ได้มากเพราะหนังดูไว้นานหลายปีแล้ว แต่เมื่อได้จับฉบับหนังสือก็ยังอดลุ้นระทึกตามไปกับตัวละครนำไม่ได้ ต้องสรรเสริญผู้เขียนคือ ดาฟเน ดู โมริเยร์ ที่ให้กำเนิดรีเบคก้าขึ้นมาอวดโฉมสู่สายตานักอ่านในบรรณพิภพ หนังสือพิมพ์ในไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ฉบับที่อ่านนี้เป็นของ สนพ.สร้างสรรค์-วิชาการ เป็นพิมพ์ครั้งที่ 7 เมื่อปี พ.ศ.2538 หนา 387 หน้า มีช่วงระหว่างหน้าที่ 283-298 ทำเอาใจวูบ เพราะกำลังดำเนินเรื่องถึงช่วงจุดสูงสุดที่จะเฉลยปม เลขหน้าข้าม ทีแรกก็เศร้าว่าหน้าหายเยอะขนาดนี้คงจะพลาดอะไรสำคัญไปเยอะ พลิกตรวจดูจึงรู้ว่า เป็นความผิดพลาดของการเข้าเล่ม ที่ทำให้ต้องเปิดพลิกกลับอ่านแบบญี่ปุ่นจากขวามาซ้ายประมาณ 16 หน้า จึงกลับสู่การอ่านแบบปกติได้ น่าจะเป็นทั้งล็อตในการพิมพ์หรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ สองประการที่ลดคุณค่าของนิยายเล่มนี้ในฉบับพิมพ์ของสร้างสรรค์คือ หนึ่ง ตัวอักษรที่เลือกใช้ได้ทรมานสายตาคนอ่านอย่างมากคือทั้งเล็กและบาง เมื่อบวกกับแถวยาวเหยียดที่เบียดกันเป็นพรืด นาน ๆ จึงจะพบย่อหน้าสักครั้ง จึงต้องใช้พลังสมาธิและความพยายามอย่างยิ่งกว่าจะอ่านจบ นี่ถ้าไม่ใช่เพราะความดีงามในตัวของนิยายเองที่ทำให้อยากอ่านต่อ อาจยอมแพ้เสียก่อน และสอง กระดาษที่ใช้คุณภาพไม่ดีเลย ความหนาแน่นของเนื้อเยื่อกระดาษบางมาก 🔻 เนื้อเรื่องโดยย่อ หญิงสาววัยสัก20ปี ที่เป็นผู้มีบุคลิกใสซื่อ มีความเป็นตัวของตัวเองอย่างบริสุทธิ์ตามธรรมชาตินางหนึ่ง พ่อแม่ตายไปตั้งแต่ยังเล็ก จึงจำต้องหาเลี้ยงตนเองมาแบบอัตคัด จนได้มาติดตามเป็นหญิงรับใช้ให้กับคุณนายอึ่งอ่างนางหนึ่ง(ขออภัย เธอมีชื่อแต่ลักษณะภายนอกที่ถูกบรรยายทำให้นึกไปถึงอึ่งจริง ๆ นะ) ซึ่งคุณนายคนนี้ก็มีนิสัยแย่ ชอบจิกใช้งานหญิงสาว และพูดจาเหยียบย่ำน้ำใจบ่อย อีกทั้งชอบทำตัวเจ๋อแจ้น เที่ยวปั้นหน้าไปคุยกับคนในแวดวงสังคม ไม่ใช่เพื่ออะไรมากไปกว่าตักตวงข่าวสารมาพูดนินทาต่อให้คนอื่นฟังด้วยความสนุกปากตามพื้นนิสัยเดิม ซึ่งสถานที่ที่ทำให้นางเอกและพระเอกได้พบกันครั้งแรกคือที่ โรงแรมแห่งหนึ่งในมอนติคาโล คุณนายอึ่งอ่างถือวิสาสะไปคุยด้วยกับหนุ่มใหญ่เจ้าของคฤหาสน์ มันเดอลีย์ ที่กำลังอยู่ในระหว่างท่องเที่ยวเพื่อลืมเลือนเรื่องอดีตเกี่ยวกับภรรยาสาวที่เสียชีวิตไปไม่นาน ในห้องอาหารชั้นล่างซึ่งนางเอกก็จำต้องอยู่ใกล้ชิดร่วมโต๊ะแม้นไม่อยาก เพราะอับอายแทนผู้ว่าจ้างของตน ด้วยเธอเป็นคนหน้าบางและมีสมบัติผู้ดีมากกว่าคุณนายอึ่งอ่าง ทั้งที่โดนกดและดูถูกว่าเป็นพวกชั้นล่าง ก็การพบหน้าคราวนั้นเองคือจุดเริ่มต้นแห่งเรื่องราวชวนฝัน ที่ประจวบเหมาะว่าวันต่อมาเจ้านายเธอมีไข้ไม่สบาย หมอให้พักสักสองสัปดาห์ในห้อง จึงเป็นโอกาสให้นางเอกของเรื่องพอจะมีเวลาเป็นของตนเอง ได้ใช้ชีวิตอิสระในตอนลงมากินข้าวที่ห้องอาหารชั้นล่าง ซึ่งก็พอดีได้พบพระเอกเป็นครั้งที่สอง แม้จะเจียมตัวไม่กล้าไปทักหรือร่วมโต๊ะ แต่สุดท้ายเหตุการณ์ก็พาไปให้พระเอกคือมิสเตอร์ เดอวินเตอร์ ตะล่อมพูดจนเธอยอมมานั่งกินอาหารโต๊ะเดียวกับเขา และได้พูดคุยพอเป็นที่รู้เรื่องความเป็นมาของฝ่ายสาว และในโอกาสต่อมาจากวันนั้น กลายเป็นว่าช่วงเวลาที่คุณนายอึ่งอ่างนอนแซ่วบนเตียง ที่ก็ไม่ได้ป่วยอะไรมาก แต่อยากหาเหตุให้คนอื่นมาเยี่ยมจะได้ชวนคุยนินทาสารพัดกับเล่นไพ่นั้น เปิดโอกาสให้นางเอกได้สานความสัมพันธ์อันดีกับพระเอกที่ยังคงมีมาดสุขุม ลึกลับ ครุ่นคิดตลอดเวลา และไม่ค่อยพูดจาหรือเปิดเผยเรื่องราวของตน จนฝ่ายหญิงเริ่มมีความรู้สึกที่ดีกับฝ่ายชายอย่างมาก ถึงขั้นที่เรียกว่ารักแรก ทุกวันพระเอกจะพบกับนางเอกที่ห้องอาหาร กินด้วยกันแล้วพาไปนั่งรถแล่นกินลมชมวิวไปตามที่ต่างๆ แต่แล้วเมื่ออาการของเจ้านายดีขึ้น วันหนึ่งก็สั่งนางเอกว่าให้รีบไปจองตั๋วรถไฟ เพราะลูกสาวของนางติดต่อมาว่าจะไปนิวยอร์ก และเจ้านายก็จะตามไปอยู่ด้วย แน่นอนว่าต้องเอานางเอกตามไปรับใช้ เมื่อทราบข่าวเธอถึงกับหัวใจสลาย เข่าอ่อน เหมือนความสุขที่เพิ่งปรากฏไม่นานในชีวิตกำลังจะสูญสลายไปตลอดกาล เธอพยายามจะลงไปพบเจอพระเอก แต่เขาไม่อยู่ไปทำธุระ ทำให้ในเธอรุ่มร้อนเป็นไฟ ในวันเดินทางที่ถูกใช้ให้ไปเปลี่ยนตั๋วเพื่อเลื่อนเที่ยวรถให้เร็วขึ้นจากช่วงสายเป็นช่วงเช้า เธอสิ้นหวังแล้ว แต่ไม่อาจตัดใจจากไปทั้งยังไม่ได้บอกลา จึงอาศัยช่วงที่เจ้านายสั่งให้มาติดต่อเปลี่ยนเที่ยวนั้น วิ่งหน้าตั้งไปเคาะห้องที่รู้ว่าพระเอกพักอยู่เพื่อจะบอกให้ทราบ และเมื่อพระเอกได้ฟัง จึงถามว่าทำไมเธอต้องปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามแต่เจ้านายจะบงการ เธอบอกเพราะเธอต้องใช้เงิน และการทำงานรับใช้ทั้งที่ไม่อยากก็เพื่อแลกกับค่าจ้างน้อยนิด พระเอกยื่นข้อเสนอให้เลือก ว่าเธอจะไปกับคุณนายอึ่งอ่างหรือจะไปกับเขา เธอไม่เข้าใจ เขาบอกอีกครั้งให้ชัดว่าเธอจะเลือกไปกับเขาในฐานะมิสซิส เดอวินเตอร์หรือไม่ นั่นเอง คือการเดินทางครั้งใหม่ของนางเอก หลังเธอตกลงใจจะไปกับเขาเพราะความรัก ทั้งสองแต่งงานกันอย่างที่ไม่มีการสวมชุด เข้าโบสถ์หรือการเลี้ยงฉลอง เพราะเขาไม่ปรารถนา แล้วไปฮันนีมูนต่อที่อิตาลีอยู่หลายสัปดาห์ ก่อนที่ท้ายสุดจะตรงไปที่คฤหาสน์มันเดอลีย์อันแสนไกล งดงามตั้งตระหง่านอยู่ภายในวงล้อมของป่ารก ที่ซึ่งเธอต้องกลายจากนางสาวต็อกต๋อย ไร้ชื่อเสียง ไร้เงิน ไร้ศักดิ์ฐานะใดๆ ไปเป็นคุณนายภริยาคนใหม่ของเจ้าของคฤหาสน์หรูเก่าแก่ ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ด้วยตัวคนเดียวโดดเดี่ยว และต้องเผชิญหน้ากับการต้อนรับอันเย็นชา และน่ากลัวของหญิงสาวผู้เป็นต้นห้องคนเก่าของมิสซิส เดอวินเตอร์คนที่ตายไปแล้ว อันมีนามว่า รีเบคกา กับบริวารรับใช้ชายหญิงอีกหลายคนที่ล้วนแล้วแต่มีอะไรที่เหมือนจะให้ความรู้สึกที่ไม่น่าไว้ใจ หดหู่ เร้นลับ ท่ามกลางความใหญ่โตกว้างขวางของห้องหับนับไม่ถ้วน ดอกไม้ป่านานาพรรณ อีกไม้ป่ายืนต้นรกชัฏ กับชายหาดและอ่าวที่เงียบเชียบ ดูเปลี่ยวเหงาวังเวง เสียงคลื่นทะเลที่ซัดเข้าหาฝั่ง กระทบโขดหิน ความดำมืดของบรรยากาศที่ทึบทึม ผู้คนที่จะเป็นมิตรก็ไม่ใช่ จะศัตรูก็ไม่เชิง กับเงาร่างของภรรยาสาวคนเก่าที่เพิ่งตายไปไม่นานของคนรักของเธอ ที่เหมือนยังมีชีวิตและปรากฏตัวไปทั่วทุกแห่ง นางเอกที่ยังอายุน้อยมาก กับพระเอกในวัย42 จะฟันฝ่าอุปสรรคและนำพาชีวิตรักไปรอดหรือไม่ ในขณะที่มีพี่สาวของสามีและพี่เขย อีกทั้งผู้จัดการงานทั่วไปของสามี คล้ายจะอยู่ฝ่ายเดียวกับเธอ และเอาใจช่วยให้ชีวิตของคนทั้งคู่เดินหน้าต่อไปได้ แต่ทว่าปริศนาทั้งหลายเกี่ยวกับคุณนายคนเก่า คือรีเบคกา และอุปสรรคจากแม่บ้านที่แสดงตนชัดว่าชิงชังรังเกียจ และหาเรื่องคอยสร้างปัญหาให้ ล้วนเป็นปราการใหญ่ที่ทำให้ผู้อ่านต้องลุ้นเอาใจช่วยเธอไปอย่างตื่นเต้น 🔶️ เชื่อว่าคนที่ไม่เคยรู้เรื่องราว ไม่เคยดูหนังมาก่อน จะได้รับอรรถรสความสนุกเต็มที่มากสุด ส่วนผู้เคยดูหนังแล้วก็ยังคงจะได้รับความสนุกได้ ในแง่ของการได้ทบทวนเก็บเกี่ยวรายละเอียดอีกครั้ง หากใครที่มีไว้ในกองดองแต่ยังไม่ได้อ่าน น่าเสียดายอย่างมาก ผู้แต่งมีอัจฉริยภาพในการเขียนบรรยายฉากอย่างแท้จริง ขอชื่นชมและสรรเสริญ โดนเฉพาะฉากที่พูดถึงนกชนิดต่าง ๆ พรรณไม้หลากหลายชนิดที่ขึ้นและปลูกไว้รายรอบคฤหาสน์ รายละเอียดของชนิดอาหาร เครื่องประกอบ เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่ง คือมีความรอบรู้อย่างลึกจริง ทำให้คนอ่านเห็นภาพตามชัดเจน ยิ่งใครที่รู้จักอาหารประเภทต่าง ๆ เหล่านั้น รู้จักดอกไม้มากมายหลายชนิดที่กล่าวถึง คงจะยิ่งดำดิ่งเห็นภาพชัดราวกับเห็นลอยอยู่ตรงหน้า การใช้รูปแบบของอุปมาโวหารเชิงเปรียบเทียบช่างเป็นภาษาที่งดงาม แม้จะโบราณแต่เข้ากันมากกับยุคสมัยและบรรยากาศตามท้องเรื่อง ยิ่งบวกกับโครงเรื่องและแก่นที่แน่นเปรี๊ยะ อีกทั้งวิธีการเล่าอันน่าทึ่ง ซึ่งไม่ใช่ใครที่เป็นนักเขียนโดยทั่วไปก็สามารถทำได้ แน่นอนว่านักเขียนทุกคนล้วนปรารถนาให้ตนสามารถสร้างสรรค์งานเขียนดีเยี่ยมชนิดเป็นมาสเตอร์พีซของตนเองได้สักเล่มในชั่วชีวิตที่ผลิตงาน แต่มีไม่กี่คนเท่านั้นที่ทำสำเร็จ และผมเชื่อว่า ดาฟเน ดู โมริเยร์ คือหนึ่งในนั้นได้อย่างเต็มภาคภูมิ ฉบับแปลไทยนี้ทำได้ดีทีเดียว แม้จะพบว่ามีบางคำออกจะแปลก ๆ ในความรู้สึกอยู่บ้าง เช่นใช้คำว่า กระท้อน ในความหมายที่สื่อถึงการ สะท้อน และอีก 2-3 คำ แต่พอเข้าใจได้ ไม่แน่ว่าในยุคสมัยที่ผู้แปลแปลไว้ คำไทยบางคำในเวลานั้นอาจใช้และสะกดต่างไปจากปัจจุบัน ซึ่งก็ได้แต่คาดเดาเพราะผมไม่มีความรู้มากพอในด้านนี้ เรื่องนี้ทำให้เข้าใจถึงข้อด้อยที่น่ากำจัดหรือปรับปรุงแก้ไขให้ไม่มีอยู่ในอุปนิสัยของใครคนไหนก็ตามคือ "การคิดเองเออเอง" ซึ่งจะพบเห็นได้เยอะมากในตัวตนของนางเอก แทบจะตลอดทั้งเรื่อง ซึ่งเป็นจุดตายที่มีส่วนจะทำให้ชีวิตรักของนางอาจต้องถึงกาลอับปางอย่างน่าหวดเสียว และผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นกันด้วยสิ ความคิดระแวง คิดเป็นตุเป็นตะ คิดหมกมุ่นเพ้อฝันไปล่วงหน้าและมักเป็นไปในทางร้ายนั้น ได้แสดงให้เห็นอิทธิพลของมันชัดเจนยิ่งในเรื่อง ว่าส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาตามมาอย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากผู้อ่านจะนำมาสำรวจตรวจตรากับการดำเนินชีวิตตนเอง ที่จะไม่ให้มี "อิตถีภาวะ"มากเกินไปแม้ในเพศชายก็ตาม มีบ้างทีอ่านแล้วอาจจะรู้สึก "ลำไย" ในอุปนิสัยของนางเอก ที่เธอจะอะไรกันนักหนานะกับแทบทุกเรื่อง แต่ก็ดีที่ผู้เขียนได้สร้างเหตุแล้วให้ตัวละครของตน ได้รู้จักเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเองแล้วพัฒนาเติบโตขึ้นในช่วงหลัง ที่ไม่อ่อนวัย ใจใสไร้เดียงสาดังเช่นตอนต้นเรื่อง เป็นความชาญฉลาดในการวางผังอย่างดี ที่ให้เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ค่อยๆเปิดเผยให้ตัวนางเอกและคนอ่านได้ค่อยๆ รู้เรื่องเกี่ยวกับรีเบคกาเพิ่มขึ้นทีละน้อย ๆ เต็มไปด้วยความหวาดระแวง แคลงใจ จนนำไปสู่ความน่าตื่นตะลึงในช่วงที่เฉลยความจริงให้นางเอกและผู้อ่านทราบไปพร้อมกัน ต่อจากนั้นอีกร้อยกว่าหน้า ก็เป็นช่วงที่ไม่ได้มีแผ่วลงเลยแม้แต่น้อย มีแต่เร่งเร้า เขย่าขวัญ สั่นประสาท ให้ต้องตามลุ้นระทึกเอาใจช่วยให้พระนางผ่านพ้นเรื่องร้ายแรงไปได้ด้วยดีเถิด แต่ละหน้า แต่ละบทสนทนาล้วนแต่พาเราให้ตื่นตัว ตื่นเต้นไปกับอุปสรรคต่อเนื่องที่ดาหน้าเข้าใส่ทั้งสองอย่างต่อเนื่อง ราวคลื่นทะเลที่ซัดหาฝั่งลูกแล้วลูกเล่า เหมือนโดนคลื่นพาลอยขึ้นไปจนสูงแล้วบัดดลก็จับโยนลงมาสู่เบื้องต่ำ ก่อนจะถูกม้วนลอยขึ้นไปที่สูงใหม่ ที่ชอบมากที่สุดคือวิธีที่ผู้เขียนเลือกใช้ในการหาทางพาให้พระนางดิ้นรนไปตามทางที่ถูกตัวร้ายนำไป ไม่อาจเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า จำนนต่อสิ่งที่ปรากฏและจู่โจม แต่แล้วก็พาให้ตัวละครและเรื่องราวทั้งหมดดำเนินไปสู่จุดอันคลี่คลายอย่างชนิดที่ต้องร้องในใจว่า คิดได้ยังไง ไม่มีจุดตำหนิได้เลย เพราะไม่ใช่ตอนจบที่เหมือนไม่รู้จะจัดการกับปมที่สร้างมาอย่างไรแล้วก็ใส่วิธีจัดการเข้ามาแบบไม่สนใจอะไร แต่ทุกอย่างคือถูกวางมาแล้วแต่แรก อย่างมีระเบียบ และเงียบเชียบ บอกใบ้ไว้แต่ไม่กระโตกกระตาก มีความลุ่มลึก ที่ถ้าหากใครมีเวลามากพอ ควรอ่านอย่างช้า ๆ เพื่อเก็บละเอียดทุกประโยคแล้วจะได้พบกับความไม่ธรรมดาของนิยานเรื่องนี้ที่น่าอึ้ง ชวนหลงใหลตั้งแต่เปิดเรื่องมาด้วยท่อนอมตะที่ว่า "เมื่อคืนนี้ดิฉันฝันว่า ได้ไปที่คฤหาสน์มันเดอลีย์อีกครั้งหนึ่ง" สุดท้ายคือ การที่ตลอดทั้งเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ เรากลับไม่ได้รู้เลยว่าผู้เล่าเรื่องคือ ดิฉันนั้น แท้จริงชื่อเรียงเสียงไรกันแน่ เรารู้จักกับรีเบคกา ราวกับมีชีวิตทั้งที่ตายไปแล้ว กลับกันนางเอกหรือ ดิฉัน ที่ใกล้ชิดกับคนอ่านมากสุดราวกับคือตัวเราเองที่ยังไม่ตายนั้น เหมือนใกล้แต่ก็ไกล คือเป็นใครก็ได้ไม่ว่าผู้อ่านคือชายหรือหญิง เมื่อได้อ่านเรื่องนี้แล้วอดไม่ได้จะนำตนเองไปสวมเป็น ดิฉัน ไม่มากก็น้อย . . . . . . . . . ป.ล. (คนที่ยังไม่เคยอ่านหรือดูหนังมาเลย ควรข้าม) เรื่องนี้มีฉบับฝาแฝด ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จนนักเขียนนิยายไทยท่านหนึ่ง นำโครงเรื่องมาดัดแปลง กลายเป็นนิยายแปลงชื่อ คุณหญิงสีวิกา ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 สนพ.หมึกจีน เคยได้รับการนำไปสร้างเป็นละครช่อง 7 นำแสดงโดยคุณแอน อังคณา ทิมดี รับบทคุณหญิงสีวิกา และคุณจอห์นนี่ แอนโฟเน่ รับบทสามี ส่วนภรรยาสาวคนใหม่รับบทโดย คุณลูกศร ธนาภรณ์ รัตนเสน ผมยังได้รับชมเมื่อครั้งเรียนช่วงมัธยมปลายพอจำได้ ตอนนั้นก็สนุกนะ เพราะอยากทราบความจริงที่อยู่เบื้องหลัง ต้องตามอ่านจากไทยรัฐทุกวัน ซึ่งในเรื่องตัวคุณหญิงสีวิกามีอาการของคนที่ศัพท์เฉพาะใช้คำว่า "ฮิสทีเรีย" สมัยนั้นถึงกับมีดราม่ากันใหญ่โตว่าเรื่องนี้ไม่ใช่นิยายที่ควรนำมาทำเป็นละครฉายทางทีวีช่วงหลังข่าวภาคค่ำจบ ยุคนั้นละครมีประมาณชั่วโมงเดียว เริ่มสักสามทุ่มไปจบสี่ทุ่ม สุดท้ายกระแสต่อต้านเยอะจนไม่แน่ใจว่าถูกตัดทอนให้ตอนสั้นลงแล้วรีบตัดจบเอาดื้อ ๆ หรือไม่ จำไม่ค่อยได้แล้ว #thaitimes #รีเบคกา #นิยายแปล #นิยาย #ลึกลับ #ความวิปริตทางเพศ #มอนติคาโล #ท่องเที่ยว #บ้านริมหาด #คฤหาสน์ #หนังสือดี #หนังสือน่าอ่าน #วรรณกรรมคลาสสิก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 788 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วิมานลอย

    วันนี้ขออนุญาตแนะนำหนังสือที่เคยอ่าน เป็นวรรณกรรมคลาสสิกฝั่งอเมริกา และคิดว่าอย่างน้อยผู้ที่สามารถอ่านหนังสือได้ และมีโอกาส ควรหามาอ่านให้ได้สักครั้งในชีวิต แม้ส่วนตัวจะตอบได้ไม่เต็มปากนักว่าชื่นชอบเล่มนี้ แต่ยืนยันได้ว่าคือหนังสือดีมีค่าที่คู่ควรกับการสละเวลาจริง

    เชื่อว่าคุ้นหูทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ทุกคนที่จะได้อ่าน เพราะด้วยความยาวของแถวอักษรยาวเหยียด ความหนาของจำนวนหน้า พาให้รู้สึกท้อต่อการที่จะหยิบมาอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเล่มที่ผมอ่านนั้น เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ในไทย ของ สนพ.แพรว ปี พ.ศ. 2550 หนา 1,184 หน้า แปลโดย รอย โรจนานนท์ ซึ่งทำสวยงามเลอค่าน่าสะสมมาก ปกแข็งมีปกนอกหุ้ม เย็บกี่ ซึ่งเรื่องนี้ยืมจากห้องสมุดประชาชนมาอ่าน เพราะต้องใช้วิธีนี้เท่านั้น จึงจะกระตุ้นตัวเองให้มีความเพียรพอที่จะตั้งใจอ่านจนจบเรื่องได้ ไม่อย่างนั้นคงซื้อมาแล้วก็วางไว้ก่อน แต่ต้องใช้เวลาในการอ่านและยืมต่ออยู่หลายครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ 3-4 หนต่อเนื่อง

    และขอยืนยันว่าฉบับพิมพ์นี้ไม่เหมาะกับการถืออ่านขณะนอนหงาย เพราะอาจหน้าแหก ดั้งยุบ หรือสลบเหมือดคาที่ได้ ขนาดนั่งอ่านยังต้องวางหนังสือกับโต๊ะ ยกอ่านได้ไม่นานเกิดอาการล้ามาก

    เรื่องที่กล่าวถึงนี้คือ Gone With The Wind หรือชื่อไทย วิมานลอย โดยผู้เขียนนาม มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ รู้สึกชอบชื่อเรื่องมากทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่ให้ความหมายชัดเจนดีมาก ยิ่งอ่านจบแล้วยิ่งย้ำยืนยันว่าเป็นชื่อเรื่องที่เหมาะสมที่สุด ความจริงได้ยินเสียงล่ำลือถึงเรื่องนี้มานานมากตั้งแต่เด็ก แต่ได้สัมผัสครั้งแรกจากภาพยนตร์ก่อน เมื่อช่วงเรียนจบใหม่ๆ พอได้ชมแล้วชอบจึงเริ่มอยากอ่านฉบับหนังสือว่าจะแตกต่างอย่างไรบ้าง นั่นคือจุดเริ่มต้น

    เนื้อหาของเรื่องนี้ ถูกวางฉากหลังไว้ในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา ในยุคที่มีการใช้แรงงานทาสผิวดำ การทำกสิกรรมปลูกไร่ฝ้าย ไปจนถึงความขัดแย้งของคนชาติเดียวกัน แต่ต่างที่มา ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ต่อเนื่องยาวไปจนถึงเริ่มสงคราม และสงครามสิ้นสุด รวมถึงพิษภัยจากไฟสงครามที่ลามเลียต่อเนื่อง ผลกระทบทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ของฝ่ายผู้ชนะที่กระทำต่อผู้แพ้ ที่แม้คือชาติเดียวกันอย่างโหดร้าย แล้งน้ำใจ การเลิกทาส ความชุลมุน จราจลทั่วทุกหย่อมหญ้า ผ่านความคิด มุมมองและการเลือกกระทำของตัวเอกที่เป็นตัวดำเนินเรื่องหลักอย่างนางเอก คือ สการ์เลตต์ โอฮารา และตัวเดินเรื่องเสริมคือพระเอก หรือ เรตต์ บัตเลอร์

    ความจริงผมไม่ชอบสการ์เลตต์ และยิ่งไม่ชอบเรตต์ บัตเลอร์เลยจากใจจริง ออกจะเหม็นเบื่อ หมั่นไส้ และรู้สึกทุเรศทุรังกับอุปนิสัยของตัวละครทั้งสอง โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มได้ทำความรู้จักกันผ่านหน้าหนังสือ ด้วยเหตุที่นางเอกนั้น ช่วงต้นเป็นหญิงที่ใช้ชีวิตอย่างลูกคุณหนู สมองกลวงไปวันๆ ไม่คิดทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน คำนึงถึงแต่เรื่องผู้ชาย การได้แต่งงานกับลูกชายบ้านโน้นบ้านนี้ การแวดล้อมไปด้วยเพื่อนสาวที่มีค่านิยม แนวคิด ฝักใฝ่ความหรูหรา ติดสบาย ต้องมีคนคอยรับใช้ เกียรติยศ ความหลงใหลยึดติดกับศักดินา ข้าทาส บริวาร ชื่อเสียงตระกูล ความฟุ่มเฟือย สารพัดที่ผู้หญิงใฝ่สุขนิยมมักเป็นกัน

    ส่วนฝ่ายชายนั้นเล่าก็แบดบอย ยโสโอหัง กวนบาทา พูดจายียวน ชอบยั่วโมโห หน้าเลือด นิสัยพ่อค้าที่ทำอย่างไรตนจึงจะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าได้เยอะสุดในภาวะสงคราม ที่คนจำนวนมากเดือดร้อนอดอยาก อายุมากกว่านางเอกหลายปี อยู่ในวัยหนุ่มใหญ่ผู้มีสายตาและประสบการณ์ที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชน

    เริ่มต้นนางเอกนั้นเกลียดขี้หน้าพระเอก และก็รู้สึกอย่างนั้นในแทบทุกครั้งที่ได้พบเจอ แต่ก็แปลกที่ในยามวิกฤตกลับนึกถึงเขา เพราะใจลึกๆนั้นรู้ดีว่าชายคนนี้เชื่อถือได้ว่าสามารถนำพาเธอให้พ้นจากสถานการณ์ร้ายต่างๆอย่างแน่นอน

    ส่วนใหญ่เวลาเจอหน้ากัน มักจะเป็นการสนทนาวิวาทะ ประคารมอย่างถึงพริกถึงขิง แม้นภายในใจจะรู้สึกต่างชอบกันอยู่บ้าง แต่โชคชะตานำพาให้พลาดกันไปพลาดกันมา กว่าจะได้มาเป็นคู่ชีวิตกัน นางเอกต้องผ่านการแต่งงานมาแล้วถึง 2ครั้ง

    ผู้อ่านจะได้เห็นถึงความเติบโตของสการ์เลตต์ผ่านประสบการณ์ชีวิตซึ่ง การศึกสงครามจากด่านหน้าที่สู้รบกันของฝ่ายสมาพันธรัฐชาวใต้ที่หยิ่งผยองในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และต้องการความเป็นอิสระในการถือครองทาส กับฝ่ายเหนือที่เป็นสหภาพซี่งยึดรัฐธรรมนูญเหนืออื่นใด ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อแนวหลังที่รอคอยด้วยใจกระวนกระวายอยู่กับบ้าน ผลการแพ้ชนะแต่ละครั้ง ได้สร้างรอยแผลไว้ในใจอย่างฝังลึกยากถอดถอน

    จนถึงวันที่รู้ว่าฝ่ายของตน ดินแดนอันเป็นที่รัก เชิดชูและศรัทธา ได้แพ้พ่ายอย่างราบคาบ คนรักและรู้จัก พลเมืองจำนวนมากต่างตายไปในสงคราม ที่เหลือรอดกลับมาก็สภาพน่าอเนจอนาถ รวมถึงผลพวงหลังจากรัฐบาลกลางเข้ามากุมอำนาจ มีบทบาทตั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นการขูดรีด เอาเปรียบ เหยียบย่ำ ฉีกทึ้ง เกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นคน การฉ้อฉลคดโกง ใช้อำนาจโดยมิชอบ รีดนาทาเล้น ปล้นฆ่า โกงสมบัติชาติเป็นของตน ของผู้มีอำนาจที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางมาปกครองดูแลชาวใต้ สมาพันธรัฐล่มสลาย ประชาชนเดือดร้อน อดอยาก แร้นแค้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริม และเปลี่ยนแปลงให้นางเอกต้องกลายสภาพจากคุณหนูผู้ไร้เดียงสา ไปเป็นผู้ทำทุกทางเพื่อจะอยู่รอดให้ได้ในยามวิกฤต เพื่อประคับประคองข้าทาสผิวดำที่ซื่อสัตย์ เพื่อรักษาบ้านและที่ดินของพ่อเอาไว้ เพราะเธอต้องขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนหลังสูญเสียพ่อไป

    ยอมกระทั่งให้คนใต้ด้วยกันหยามเหยียด รังเกียจเดียดฉันท์ เพราะเธอตัดสินใจเลือกคบค้าสมาคม ทำธุรกิจกับพวกพ่อค้า ผู้มีอำนาจ ที่มาปกครองบ้านเมืองของตน ซึ่งครั้งหนึ่งเธอรังเกียจและเจ็บแค้น เพื่อจะดำรงสถานะของครอบครัวให้ไปต่อได้

    การเติบโตทางอารมณ์ และความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องชั่งใจเลือก ในสิ่งซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ ความศรัทธา ภาคภูมิที่ตนเชื่อมั่นมาตลอด กับความจริงตรงหน้าที่บีบคั้นให้กระทำสวนทางก็ตาม

    สการ์เลตต์ โอฮารา รวมถึง เรตต์ บัตเลอร์ จึงเป็นตัวละครที่มีความเรียลริสติก มีบุคลิกที่ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์ปุถุชน ที่มีทั้งดีชั่วปะปน และดิ้นรนเพื่อหาทางเอาชีวิตรอดไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่ตัวละครที่พาฝัน ภาพลักษณ์สวยงาม เป็นคนดีพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ ที่มักพบได้ในตัวพระนางทั่วไป หากกล่าวอย่างตรงๆแล้ว ทั้งสองออกจะมีด้านที่เป็นสีเทาดำ มากกว่าสีขาวด้วยซ้ำ แต่นี่อาจเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เรื่องนี้ยังคงอยู่ในใจของนักอ่านทั่วโลกมาอย่างยาวนานจนปัจจุบัน ถึงกับได้รับการยกย่องมากมายจากหลายสถาบัน ให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นเยี่ยม

    ทว่าสำหรับส่วนตัวแล้ว ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้นเลย ยังคงยืนยันเช่นเดิมว่าไม่ชอบนางเอก และพระเอก รวมถึงไม่อาจบอกได้ว่านี่คือเรื่องที่รักชอบหลังอ่านจบ แต่สิ่งหนึ่งที่กล้ายืนยันอย่างมั่นใจอีกครั้งคือ

    นี่คือหนังสือที่ดี มีค่าเพียงพอต่อเวลาที่ต้องสละไปในการอ่าน

    ใครอ่านเรื่องนี้จบเกินกว่า 1 รอบ ขอยอมรับนับถือเลย
    สุดท้ายที่จะบอกคือ นี่เป็นหนังสือที่ดูดพลังอย่างมาก เหนื่อยที่สุดในชีวิตการเป็นนักอ่าน แม้นอ่านนิยายไทยยาวๆอย่างเพชรพระอุมา หรือนิยายจีนกำลังภายในที่ยาว 20-30 เล่ม ก็ยังไม่เคยเหนื่อยเท่า

    ป.ล. เนื่องจากไม่มีหนังสือเป็นของตน จึงขอใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบครับ

    #นิยายแปล
    #วรรณกรรมคลาสสิก
    #วิมานลอย
    #gonewiththewind
    #หนังสือน่าอ่าน
    #สงครามกลางเมือง
    #สหรัฐอเมริกา
    #ชนชั้น
    #แรงงาน
    #บริวาร
    #ทาส
    #คนผิวดำ
    #thaitimes
    #นิยาย
    #หนังสือ
    #วิมานลอย วันนี้ขออนุญาตแนะนำหนังสือที่เคยอ่าน เป็นวรรณกรรมคลาสสิกฝั่งอเมริกา และคิดว่าอย่างน้อยผู้ที่สามารถอ่านหนังสือได้ และมีโอกาส ควรหามาอ่านให้ได้สักครั้งในชีวิต แม้ส่วนตัวจะตอบได้ไม่เต็มปากนักว่าชื่นชอบเล่มนี้ แต่ยืนยันได้ว่าคือหนังสือดีมีค่าที่คู่ควรกับการสละเวลาจริง เชื่อว่าคุ้นหูทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ทุกคนที่จะได้อ่าน เพราะด้วยความยาวของแถวอักษรยาวเหยียด ความหนาของจำนวนหน้า พาให้รู้สึกท้อต่อการที่จะหยิบมาอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเล่มที่ผมอ่านนั้น เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ในไทย ของ สนพ.แพรว ปี พ.ศ. 2550 หนา 1,184 หน้า แปลโดย รอย โรจนานนท์ ซึ่งทำสวยงามเลอค่าน่าสะสมมาก ปกแข็งมีปกนอกหุ้ม เย็บกี่ ซึ่งเรื่องนี้ยืมจากห้องสมุดประชาชนมาอ่าน เพราะต้องใช้วิธีนี้เท่านั้น จึงจะกระตุ้นตัวเองให้มีความเพียรพอที่จะตั้งใจอ่านจนจบเรื่องได้ ไม่อย่างนั้นคงซื้อมาแล้วก็วางไว้ก่อน แต่ต้องใช้เวลาในการอ่านและยืมต่ออยู่หลายครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ 3-4 หนต่อเนื่อง และขอยืนยันว่าฉบับพิมพ์นี้ไม่เหมาะกับการถืออ่านขณะนอนหงาย เพราะอาจหน้าแหก ดั้งยุบ หรือสลบเหมือดคาที่ได้ ขนาดนั่งอ่านยังต้องวางหนังสือกับโต๊ะ ยกอ่านได้ไม่นานเกิดอาการล้ามาก เรื่องที่กล่าวถึงนี้คือ Gone With The Wind หรือชื่อไทย วิมานลอย โดยผู้เขียนนาม มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ รู้สึกชอบชื่อเรื่องมากทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่ให้ความหมายชัดเจนดีมาก ยิ่งอ่านจบแล้วยิ่งย้ำยืนยันว่าเป็นชื่อเรื่องที่เหมาะสมที่สุด ความจริงได้ยินเสียงล่ำลือถึงเรื่องนี้มานานมากตั้งแต่เด็ก แต่ได้สัมผัสครั้งแรกจากภาพยนตร์ก่อน เมื่อช่วงเรียนจบใหม่ๆ พอได้ชมแล้วชอบจึงเริ่มอยากอ่านฉบับหนังสือว่าจะแตกต่างอย่างไรบ้าง นั่นคือจุดเริ่มต้น เนื้อหาของเรื่องนี้ ถูกวางฉากหลังไว้ในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา ในยุคที่มีการใช้แรงงานทาสผิวดำ การทำกสิกรรมปลูกไร่ฝ้าย ไปจนถึงความขัดแย้งของคนชาติเดียวกัน แต่ต่างที่มา ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ต่อเนื่องยาวไปจนถึงเริ่มสงคราม และสงครามสิ้นสุด รวมถึงพิษภัยจากไฟสงครามที่ลามเลียต่อเนื่อง ผลกระทบทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ของฝ่ายผู้ชนะที่กระทำต่อผู้แพ้ ที่แม้คือชาติเดียวกันอย่างโหดร้าย แล้งน้ำใจ การเลิกทาส ความชุลมุน จราจลทั่วทุกหย่อมหญ้า ผ่านความคิด มุมมองและการเลือกกระทำของตัวเอกที่เป็นตัวดำเนินเรื่องหลักอย่างนางเอก คือ สการ์เลตต์ โอฮารา และตัวเดินเรื่องเสริมคือพระเอก หรือ เรตต์ บัตเลอร์ ความจริงผมไม่ชอบสการ์เลตต์ และยิ่งไม่ชอบเรตต์ บัตเลอร์เลยจากใจจริง ออกจะเหม็นเบื่อ หมั่นไส้ และรู้สึกทุเรศทุรังกับอุปนิสัยของตัวละครทั้งสอง โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มได้ทำความรู้จักกันผ่านหน้าหนังสือ ด้วยเหตุที่นางเอกนั้น ช่วงต้นเป็นหญิงที่ใช้ชีวิตอย่างลูกคุณหนู สมองกลวงไปวันๆ ไม่คิดทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน คำนึงถึงแต่เรื่องผู้ชาย การได้แต่งงานกับลูกชายบ้านโน้นบ้านนี้ การแวดล้อมไปด้วยเพื่อนสาวที่มีค่านิยม แนวคิด ฝักใฝ่ความหรูหรา ติดสบาย ต้องมีคนคอยรับใช้ เกียรติยศ ความหลงใหลยึดติดกับศักดินา ข้าทาส บริวาร ชื่อเสียงตระกูล ความฟุ่มเฟือย สารพัดที่ผู้หญิงใฝ่สุขนิยมมักเป็นกัน ส่วนฝ่ายชายนั้นเล่าก็แบดบอย ยโสโอหัง กวนบาทา พูดจายียวน ชอบยั่วโมโห หน้าเลือด นิสัยพ่อค้าที่ทำอย่างไรตนจึงจะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าได้เยอะสุดในภาวะสงคราม ที่คนจำนวนมากเดือดร้อนอดอยาก อายุมากกว่านางเอกหลายปี อยู่ในวัยหนุ่มใหญ่ผู้มีสายตาและประสบการณ์ที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชน เริ่มต้นนางเอกนั้นเกลียดขี้หน้าพระเอก และก็รู้สึกอย่างนั้นในแทบทุกครั้งที่ได้พบเจอ แต่ก็แปลกที่ในยามวิกฤตกลับนึกถึงเขา เพราะใจลึกๆนั้นรู้ดีว่าชายคนนี้เชื่อถือได้ว่าสามารถนำพาเธอให้พ้นจากสถานการณ์ร้ายต่างๆอย่างแน่นอน ส่วนใหญ่เวลาเจอหน้ากัน มักจะเป็นการสนทนาวิวาทะ ประคารมอย่างถึงพริกถึงขิง แม้นภายในใจจะรู้สึกต่างชอบกันอยู่บ้าง แต่โชคชะตานำพาให้พลาดกันไปพลาดกันมา กว่าจะได้มาเป็นคู่ชีวิตกัน นางเอกต้องผ่านการแต่งงานมาแล้วถึง 2ครั้ง ผู้อ่านจะได้เห็นถึงความเติบโตของสการ์เลตต์ผ่านประสบการณ์ชีวิตซึ่ง การศึกสงครามจากด่านหน้าที่สู้รบกันของฝ่ายสมาพันธรัฐชาวใต้ที่หยิ่งผยองในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และต้องการความเป็นอิสระในการถือครองทาส กับฝ่ายเหนือที่เป็นสหภาพซี่งยึดรัฐธรรมนูญเหนืออื่นใด ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อแนวหลังที่รอคอยด้วยใจกระวนกระวายอยู่กับบ้าน ผลการแพ้ชนะแต่ละครั้ง ได้สร้างรอยแผลไว้ในใจอย่างฝังลึกยากถอดถอน จนถึงวันที่รู้ว่าฝ่ายของตน ดินแดนอันเป็นที่รัก เชิดชูและศรัทธา ได้แพ้พ่ายอย่างราบคาบ คนรักและรู้จัก พลเมืองจำนวนมากต่างตายไปในสงคราม ที่เหลือรอดกลับมาก็สภาพน่าอเนจอนาถ รวมถึงผลพวงหลังจากรัฐบาลกลางเข้ามากุมอำนาจ มีบทบาทตั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นการขูดรีด เอาเปรียบ เหยียบย่ำ ฉีกทึ้ง เกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นคน การฉ้อฉลคดโกง ใช้อำนาจโดยมิชอบ รีดนาทาเล้น ปล้นฆ่า โกงสมบัติชาติเป็นของตน ของผู้มีอำนาจที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางมาปกครองดูแลชาวใต้ สมาพันธรัฐล่มสลาย ประชาชนเดือดร้อน อดอยาก แร้นแค้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริม และเปลี่ยนแปลงให้นางเอกต้องกลายสภาพจากคุณหนูผู้ไร้เดียงสา ไปเป็นผู้ทำทุกทางเพื่อจะอยู่รอดให้ได้ในยามวิกฤต เพื่อประคับประคองข้าทาสผิวดำที่ซื่อสัตย์ เพื่อรักษาบ้านและที่ดินของพ่อเอาไว้ เพราะเธอต้องขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนหลังสูญเสียพ่อไป ยอมกระทั่งให้คนใต้ด้วยกันหยามเหยียด รังเกียจเดียดฉันท์ เพราะเธอตัดสินใจเลือกคบค้าสมาคม ทำธุรกิจกับพวกพ่อค้า ผู้มีอำนาจ ที่มาปกครองบ้านเมืองของตน ซึ่งครั้งหนึ่งเธอรังเกียจและเจ็บแค้น เพื่อจะดำรงสถานะของครอบครัวให้ไปต่อได้ การเติบโตทางอารมณ์ และความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องชั่งใจเลือก ในสิ่งซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ ความศรัทธา ภาคภูมิที่ตนเชื่อมั่นมาตลอด กับความจริงตรงหน้าที่บีบคั้นให้กระทำสวนทางก็ตาม สการ์เลตต์ โอฮารา รวมถึง เรตต์ บัตเลอร์ จึงเป็นตัวละครที่มีความเรียลริสติก มีบุคลิกที่ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์ปุถุชน ที่มีทั้งดีชั่วปะปน และดิ้นรนเพื่อหาทางเอาชีวิตรอดไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่ตัวละครที่พาฝัน ภาพลักษณ์สวยงาม เป็นคนดีพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ ที่มักพบได้ในตัวพระนางทั่วไป หากกล่าวอย่างตรงๆแล้ว ทั้งสองออกจะมีด้านที่เป็นสีเทาดำ มากกว่าสีขาวด้วยซ้ำ แต่นี่อาจเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เรื่องนี้ยังคงอยู่ในใจของนักอ่านทั่วโลกมาอย่างยาวนานจนปัจจุบัน ถึงกับได้รับการยกย่องมากมายจากหลายสถาบัน ให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นเยี่ยม ทว่าสำหรับส่วนตัวแล้ว ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้นเลย ยังคงยืนยันเช่นเดิมว่าไม่ชอบนางเอก และพระเอก รวมถึงไม่อาจบอกได้ว่านี่คือเรื่องที่รักชอบหลังอ่านจบ แต่สิ่งหนึ่งที่กล้ายืนยันอย่างมั่นใจอีกครั้งคือ นี่คือหนังสือที่ดี มีค่าเพียงพอต่อเวลาที่ต้องสละไปในการอ่าน ใครอ่านเรื่องนี้จบเกินกว่า 1 รอบ ขอยอมรับนับถือเลย สุดท้ายที่จะบอกคือ นี่เป็นหนังสือที่ดูดพลังอย่างมาก เหนื่อยที่สุดในชีวิตการเป็นนักอ่าน แม้นอ่านนิยายไทยยาวๆอย่างเพชรพระอุมา หรือนิยายจีนกำลังภายในที่ยาว 20-30 เล่ม ก็ยังไม่เคยเหนื่อยเท่า ป.ล. เนื่องจากไม่มีหนังสือเป็นของตน จึงขอใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบครับ #นิยายแปล #วรรณกรรมคลาสสิก #วิมานลอย #gonewiththewind #หนังสือน่าอ่าน #สงครามกลางเมือง #สหรัฐอเมริกา #ชนชั้น #แรงงาน #บริวาร #ทาส #คนผิวดำ #thaitimes #นิยาย #หนังสือ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1517 มุมมอง 0 รีวิว
  • #นิยายไทย
    #คู่กรรม2
    #ทมยันตี
    #หนังสือน่าอ่าน
    #thaitimes
    #14ตุลา



    อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม

    เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว

    เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน

    พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง

    จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

    ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน

    เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง

    ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์

    ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม

    ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้

    แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้

    วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน

    นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ

    โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน

    ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ

    ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ

    ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ

    ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต

    สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ

    🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ

    มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง

    มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต

    หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม

    แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร?

    คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต

    นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ

    ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ

    และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง

    นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน

    หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น

    อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด

    ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    #นิยายไทย #คู่กรรม2 #ทมยันตี #หนังสือน่าอ่าน #thaitimes #14ตุลา อ่านจบเดือนครึ่งเกือบสองเดือนแล้วสำหรับคู่กรรม2 ของทมยันตี สองเล่ม 702 หน้า สนพ. ณ บ้านวรรณกรรม พิมพ์ที่อ่านนี้เป็นครั้งที่ 9 ปี 2552 (ยืมจากห้องสมุด) ในอดีตเคยอ่านแค่ตอนเดียวสมัยเรื่องนี้พิมพ์ลงในนิตยสาร โลกวลี ช่วงสมัยอยู่มัธยม เมื่อดูจากปกในที่ระบุว่ามีการรวมเล่มครั้งแรกปี 2534 เท่ากับว่าเรื่องนี้ปรากฏโฉมสู่สายตานักอ่านมาถึงปัจจุบันรวมเวลา 33 ปีล่วงแล้ว เคยชมภาพยนตร์ที่นำแสดงโดย คุณพล ตัณฑเสถียร และคุณศิริลักษณ์ ผ่องโชค เมื่อปี 2539 รู้สึกตอนจบรันทดหดหู่เนื่องจากลูกชายของอังศุมาลินตายเพราะช่วยลูกศิษย์ เลยไม่อยากอ่านหนังสือ แต่เพิ่งจะรู้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้เองว่าบทสรุปในหนังสือนั้นต่างไปจากที่ถูกสร้างเป็นหนัง ดังนั้นจึงเกิดแรงใจในการหามาอ่านให้จบสมบูรณ์ หลังจากที่เคยอ่านภาคแรกจบตั้งแต่สามสิบกว่าปีก่อน พบคำผิดประปรายในการพิมพ์ครั้งที่ 9 บางคำก็ได้ความรู้เพิ่มเติมว่าสามารถเขียนได้สองแบบ เช่นคำว่า กระแหนะกระแหน ซึ่งเขียนว่า กระแนะกระแหน ก็ได้ ที่ผ่านมาตัวเองคุ้นชินกับการเขียนแบบมี ห นำหน้ามาตลอด พอเห็นว่าในหนังสือใช้เป็นแบบไม่มี ห นำ ยังคิดว่าน่าจะพิมพ์ผิด เมื่อลองค้นจึงค่อยทราบว่าไม่ผิด ซึ่งในเล่มช่วงแรก ก็ไม่มี ห แต่พอช่วงหลังมี ห โผล่มาซะงั้น อดคิดไม่ได้ว่าตกลงจะเลือกใช้แบบไหนก็น่าจะเอาสักทาง ให้เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง จากนี้ไปจะยาวมากครับ คงมีคนอ่านไม่มาก ถ้าใครอ่านต่อจนจบได้ขอโปรดรับคำขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย ในส่วนเนื้อเรื่องของภาคนี้ ดำเนินต่อจากความตายของโกโบริ คืออังศุมาลินท้องแก่และคลอดลูกชาย ให้ชื่อว่ากลินท์ที่หมายถึงพระอาทิตย์ ชื่อญี่ปุ่น โยอิจิ โยหมายถึงดวงอาทิตย์ อิจิคือลูกคนแรก พ่อของอังศุมาลินยังคงห่วงใยคนรักเก่าและลูกสาวที่บ้านสวน จึงมาบอกข่าวว่าอีกไม่นานญี่ปุ่นคงจะแพ้สงคราม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาสู่แม่อร อังศุมาลินและลูกโดยตรง จึงอยากจะช่วยเหลือ แต่แม่อรปฏิเสธ ไม่ใช่แค่คนเป็นพ่อที่ห่วงใย แม้ตาผลตาบัวสองคู่หูคู่หอย ก็หมั่นนำข่าวมาบอกว่าอีกไม่นานพลพรรคจะนัดกันลุกฮือต่อสู้ญี่ปุ่น รวมถึงวนัสที่ได้รับอิสระจากความช่วยเหลือของโกโบริก่อนตาย จึงกลับมาหาอังศุมาลินเพื่อบอกข่าวและถามเธอว่าจะยอมแต่งงานกับเขาไหม เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาที่กำลังจะเกิด แต่อังศุมาลินปฏิเสธ เธอยินดีที่จะอยู่ดูแลลูกต่อไปในบ้านสวน ไม่ย้ายหนีไปไหนทั้งนั้น แล้วคุณยายแม่ของแม่อร และยายของอังศุมาลิน ก็จากไปเป็นคนแรกของภาคนี้ แต่เป็นการจากอย่างสงบ เตรียมตัวตายอย่างดี ไปถือศีลอยู่วัดไม่ต้องลำบากลูกหลาน เวลาผ่านไป ในที่สุดญี่ปุ่นแพ้สงครามพ่อของอังศุมาลินมาบอกทุกคนที่บ้านสวนว่าจะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ช่วงบั้นปลายชีวิต ทุกคนร่วมอนุโมทนา หลังบวชท่านต่างจากพระอื่นในวัด ไปอยู่กุฏิเล็กโทรมเพียงรูปเดียว ฉันวันละมื้อ และปฏิบัติเคร่งครัดจนชาวบ้านพากันโจษจันไปทั่วคุ้งน้ำ ด้านเด็กชายกลินท์เจริญวัยขึ้น ได้รับความเอาใจใส่จากแม่ และปู่คือตาผลตาบัวที่อุปโลกน์ตนเอง โดยเล่าเรื่องราวต่างๆของแม่และโกโบริให้กับเด็กชายฟัง ก่อนที่ทั้งคู่จะทยอยตายจากไปเช่นกัน จึงเหลือเพียงแม่อร ที่มักไปอยู่วัดบ่อยเหมือนเช่นทวดของกลินท์ นาน ๆ ครั้งกลินท์จึงได้ติดตามยายกับแม่ไปกราบท่าน กาลล่วงเลยจนเด็กชายเติบใหญ่เป็นหนุ่มวัย 27 ปี ดีกรีอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นที่ชื่นชอบในบรรดาเหล่าลูกศิษย์โดยเฉพาะนักศึกษาหญิง ขณะที่เมืองไทยเข้าสู่ช่วงปีที่ในกรุงเทพกำลังเกิดกระแสตื่นตัวต่อต้านสินค้าและอื่นใดที่มาจากญี่ปุ่น ซึ่งสร้างชาติอย่างรวดเร็วภายหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง โดยเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้โยอิจิที่มีปมเป็นลูกที่มีเลือดญี่ปุ่นครึ่งหนึ่ง นึกรังเกียจไม่พอใจชาติกำเนิดตนเอง ต่อต้านพ่อที่ตายไปแล้ว และไม่เข้าใจแม่ จึงกลายเป็นคนที่ให้คำแนะนำแก่บรรดาศิษย์หัวรุนแรง ก้าวหน้า ฝักใฝ่ปลดแอกประชาชนจากการเป็นทาสทุนนิยมบริโภคและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น โดยไม่มีใครรู้ความจริงของพ่ออาจารย์ ทางบ้านสวน แม้โยอิจิจะรักแม่มาก แต่ขณะเดียวกันใจก็ยังไม่ยอมรับพ่อ กลายเป็นเหมือนเด็กน้อยที่เอาแต่ใจ รั้น และดื้อเงียบ แต่เขาเข้ากันได้อย่างดีกับลุงวนัสที่สนิทสนมมาแต่เด็ก เข้าออกบ้านลุงบ่อย ตั้งแต่กำนันพ่อของวนัสยังมีชีวิตอยู่จนตายไปในเวลาต่อมา วนัสทำธุรกิจหลายอย่าง รวมถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเรือนไทยของตนให้เป็นที่ทำงานด้วย วนัสไม่ยอมแต่งงานสักทีตั้งแต่อกหักจากอังศุมาลิน แม้โยอิจิจะรู้ว่าวนัสมีการคบหาทำธุรกิจกับพวกคนญี่ปุ่น เขาไม่เห็นด้วยแต่ก็ยังรักชอบในฐานะลุงเช่นเดิม ส่วนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเขาเป็นอาจารย์สอนอยู่นั้น เขาคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับผู้นำหลายคนที่เรียกร้องรัฐบาลให้บอยคอตคนญี่ปุ่นรวมถึงธุรกิจ สินค้าทุกชนิด โดยที่ไม่มีใครรู้ความจริงว่าเขามีพ่อเป็นใคร ขณะที่มีอาจารย์สาวคนหนึ่งชื่อ ชิตาภา หน้าตาดี ครอบครัวเป็นชาวจีนมีอันจะกินที่มาตั้งรกรากสร้างตัวจนกลายเป็นมีกิจการค้ารุ่งเรือง มักชอบเข้าหามาชวนเขาสนทนาอยู่บ่อยครั้ง ดูเหมือนเธอจะพึงใจในตัวโยอิจิอยู่บ้าง และน่าจะมีอะไรที่มากกว่านั้น แต่เขาไม่สนใจ มักคุยด้วยไม่นาน และสร้างขอบเขตส่วนตัวที่กันคนอื่นออกไปอยู่วงนอกเสมอ ไม่ยอมให้ใครเข้าถึงความในใจตนได้ แล้ววันหนึ่งนักศึกษาสาวปีสามรัฐศาสตร์นามว่า ศราวณี ผู้เป็นแกนนำหัวรุนแรงที่ต่อต้านคนญี่ปุ่นและสินค้าญี่ปุ่น รวมถึงต่อต้านรัฐบาลทหารในช่วงนั้น ซึ่งรู้ความจริงเรื่องของพ่อโยอิจิ และมีความคับแค้นจากปมในครอบครัวตนซึ่งแม่ตายตั้งแต่เด็ก ถูกเลี้ยงดูมาจากยายและป้าที่เป็นพี่สาวของแม่ และเข้าใจผิดฝังหัวมาตลอดเกี่ยวกับครอบครัวบ้านสวนของอังศุมาลิน ที่มาแย่งชิงความรักไปจากคุณตาของเธอ เพราะทั้งยายและป้ามักเล่าความหลังโดยบิดความจริงแล้วใส่สีตีไข่ บริภาษแม่อรว่าคือผู้เป็นเมียน้อยที่แย่งความรักไป ทำให้ครอบครัวฝั่งยายลำบาก และโดนแย่งสมบัติไปหมด แม่และป้าจึงโตมาอย่างยากแค้นจนแม่ตายไปและป้าต้องรับเลี้ยงศราวณีต่อมาอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทำให้ป้ามักอารมณ์เสียใส่เธอเสมอตั้งแต่เด็กจนโต เพาะเป็นความเกลียดชังต่อครอบครัวฝั่งบ้านสวน ทั้งที่ตัวเองไม่เคยพบหน้าอีกฝ่าย จนเมื่อเข้ามาเป็นนักศึกษาและพบว่าโยอิจิสอนหนังสืออยู่ที่ธรรมศาสตร์ จึงพุ่งความโกรธเกลียดที่ตนเคยได้รับจากป้ามารวมอยู่ที่อาจารย์ทั้งหมด จนกระทั่งบอกความลับเรื่องพ่อของโยอิจิออกไปให้พวกเพื่อนกลุ่มหัวรุนแรงด้วยกันรับรู้ วันที่พวกเธอและเพื่อนตามตัวให้โยอิจิมาที่ห้องซึ่งเป็นที่รวมพลเพื่อพูดคุยเรื่องจะทำอะไรต่อไป แล้วใครคนหนึ่งได้กล่าวเปิดโปงเรื่องโกโบริ และพูดจาดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติของพ่อ วินาทีนั้นเองโยอิจิกลับเพิ่งเข้าใจหัวใจตนเองเป็นครั้งแรกในชีวิต 27 ปีที่ผ่านมา ว่าแท้จริงเขารักพ่อและเทิดทูนในเกียรติยศของทหารหาญมากแค่ไหน เขายอมรับอย่างตรงไปตรงมาด้วยท่าทีแสดงออกถึงความภูมิใจในสายเลือดแห่งตนด้วยน้ำเสียงที่เปี่ยมพลัง ที่สามารถสยบเสียงโห่ฮาขับไล่ของเหล่านักศึกษาให้สงบลงได้ นั่นคือครั้งแรกเช่นกันที่สร้างความประหลาดใจแกมรู้สึกผิดอยู่เบื้องลึกให้เกิดขึ้นในหัวใจของศราวณี ที่ไม่นึกฝันว่าโยอิจิจะกล้ายอมรับอย่างไม่สะทกสะท้าน นับตั้งแต่วันนั้น โยอิจิเหมือนได้รับการปลดล็อกออกจากห้องขังที่ตนเองสร้างขึ้นเพื่อหนีความจริงสุดลึกที่เก็บกดไว้ เขาเข้าใจถึงความรักของแม่อันเป็นที่รักที่มีต่อพ่อชาวญี่ปุ่นอย่างท่วมท้นหัวใจแล้ว พ่อไม่เคยทำสิ่งไม่ดี มีแต่ทำตามหน้าที่ของชายชาติทหารที่ได้รับมอบหมาย ไม่ได้ทำไปด้วยความจงเกลียดจงชัง โยอิจิกลับไปที่บ้านสวนในเย็นวันนั้นอย่างคนที่บาดเจ็บสาหัส ไม่ใช่ทางกาย แต่ได้รับความกระทบกระเทือนทางใจอย่างรุนแรง อังศุมาลินรับรู้ได้ด้วยสายตาและหัวใจของคนเป็นแม่ แม้ไม่รู้ว่าลูกชายพบเจอเรื่องใดมาทำได้แค่ยกสองมือขึ้นโอบกอดถ่ายเทความรักความอบอุ่นที่มีให้กับลูกชายด้วยความเข้าใจอย่างสงบ โยอิจิไม่รู้ความจริงว่าศราวณีคือน้องสาวที่เป็นลูกพี่ลูกน้อง เกิดจากน้องสาวต่างมารดาของอังศุมาลิน มีเพียงอาจารย์ชิตาภาที่ทราบ เพราะเธอเป็นญาติที่มีศักดิ์เป็นคุณน้าของศราวณี แต่ยังไม่อาจเล่าให้เขาฟัง โยอิจิยังคงสงสัยและเคลือบแคลงว่าชิตาภาประสงค์สิ่งใดแน่จึงมักหาเหตุมาใกล้ชิดชวนสนทนากับตน ด้วยความรู้สึกผิดเกาะกินจากภายใน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ รุมเร้า แม้ใจจะต่อต้านพี่ชายอย่างอาจารย์กลินท์ แต่เบื้องลึกเธอกลับมีความรู้สึกที่ดี รักเคารพในชายคนนี้อย่างไม่รู้ตัว วันหนึ่งโยอิจิพบเธอนั่งซึมอยู่ที่ท่าเรือ เหมือนรอคอยจะพบเขาและตามลงเรือมาที่บ้านสวนด้วย ศราวณีจึงได้พบกับสรวงสวรรค์บ้านเรือนไทยหลังเดียวในย่านนั้นที่ยังคงสภาพเหมือนเดิมกับช่วงเกิดสงคราม ในขณะที่บ้านหลังอื่นเปลี่ยนแปลงไปสร้างตามอย่างต่างชาติหมด เธอพบบรรยากาศที่ร่มรื่นชื่นเย็น สงบสุขอย่างไม่เคยได้รับยามเมื่อกลับถึงบ้านที่อยู่กับป้า ยิ่งเมื่อได้พบเจออังศุมาลิน ภาพที่เคยคิดไว้กลับตรงข้ามกับสิ่งที่เห็นและได้ยินทุกอย่างต่างจากที่ยายและป้าได้พูดใส่หูเธอมาตลอด เธอรู้สึกได้รับความสุข สงบ สบายใจและผ่อนคลายอย่างที่ไม่เคยเกิด และเริ่มเปลี่ยนความคิดที่มีต่อครอบครัวของโยอิจิ ทางด้านหลวงพ่อ หลังจากบวชเพื่อปฏิบัติอย่างเอาจริงอยู่จนล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ที่สุดก็มรณภาพอย่างสงบในท่านั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ทำให้ชาวบ้านโจษจันต่างศรัทธานับถือ จนเจ้าอาวาสและทางกรรมการวัดเห็นเป็นโอกาสในการสร้างเรื่องเรียกคนเข้ามาทำบุญเพิ่ม ด้วยการยกให้หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันที ทั้งที่ตอนมีชีวิต ไม่ใคร่สนใจ ที่บ้านสวนส่วนใหญ่อังศุมาลินอยู่บ้านคนเดียว ทำงานบ้านดูแลอาหารการกินเตรียมไว้ให้ลูกชาย ทว่าเริ่มมีอาการป่วยที่ค่อย ๆ รุนแรงมากขึ้นจนต้องแอบไปที่ศิริราช โดยมีเจ้าโก๊ะเด็กชายตัวน้อย ลูกของคนจรจัดหญิงชายที่มาขออาศัยอยู่ในสวนด้านหลังบ้านตามไปเป็นเพื่อน พ่อแม่ของโก๊ะนั้นเป็นประเภทไม่ชอบทำมาหากิน ขี้เหล้าเมายา เล่นพนันไปตามเรื่อง อังศุมาลินเคยหวังดีเอ่ยปากแนะนำให้ตั้งตัวขยันทำกินหลายครั้ง แต่ทั้งสองไม่สนใจ เอาแต่เก็บผักผลไม้จากในสวนของแม่อรและอังศุมาลิน มากินและขายด้วยถือวิสาสะว่าเหมือนของตน และมักใช้ให้โก๊ะมาขอเงินจากอังศุมาลินบ่อย ๆ ส่วนเหตุการณ์ทางด้านการบ้านการเมืองกลับทวีความรุนแรง คุกรุ่นขึ้นเรื่อย ๆ บรรดานักศึกษาต่างรวมตัวกันในสถาบันหลายแห่ง รวมถึงขึ้นเวทีพูดปลุกระดมให้ชาวบ้านฟังและเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายตนมากขึ้น ขณะที่ยื่นคำขาดต่อรัฐบาลให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องที่ร่างขึ้น เหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ. 2516 เริ่มขมวดปมความขัดแย้งระหว่างฝ่ายผู้บริหารกับฝ่ายนักศึกษา ผ่านสายตาของโยอิจิและชิตาภาที่คอยเฝ้ามองอย่างห่าง ๆ ด้วยความเป็นห่วงในตัวศิษย์ แม้เคยกล่าวเตือนในหลายครั้งให้ศราวณีระมัดระวัง อย่าทำอะไรที่ผลีผลาม หุนหันพลันแล่น แต่อย่างไรเด็กก็คือเด็ก เมื่อเขามีความเชื่อฝังหัวไปทางด้านหนึ่ง ก็ขาดความใคร่ครวญพิจารณาอย่างรอบถ้วน และมองไม่เห็นถึงภัยร้ายที่จะบังเกิดขึ้นในเมื่อทุกสิ่งถูกปลุกเร้าเข้าสู่ห้วงวิกฤต สุดท้ายถึงวันแตกหักอันเป็นเหตุการณ์วิปโยคของคนไทยทุกคน จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับโยอิจิ ชิตาภา และศราวณี ในขณะที่อังศุมาลินนั้นก็มีอาการเจ็บป่วยที่มักเหนื่อยง่าย หน้าซีดจะเป็นลมบ่อย แต่ปิดไว้ไม่ให้ลูกชายรู้ ดูเหมือนเวลาชีวิตของเธอจะเหลืออีกไม่มากก่อนจะได้ตามไปอยู่กับโกโบริ สรุปสุดท้ายของนิยายจะลงเอยอย่างไรไปอ่านต่อได้ในคู่กรรม 2 ครับ 🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ มีทั้งส่วนที่ชอบและไม่ชอบ ภาคนี้ต่างไปจากภาคแรกอย่างชนิดเหมือนเป็นนิยายคนละเรื่อง คนละแนวทาง คือภาคแรกมีความเป็นนิยายรักระหว่างรบ ที่มีทั้งปมความรัก ความขัดแย้งในตัวตนกับคนที่คิดว่าคือศัตรูเป็นแกนหลัก เน้นไปทางอารมณ์ความรู้สึกของอังศุมาลินและโกโบริ โดยมีเหตุการณ์น้อยใหญ่ที่เข้ามาสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างกันของทั้งสองเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนถึงขั้นรัก แต่ไม่อาจเปิดใจเพราะติดที่กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นจากทั้งอังศุมาลินเอง และสังคมสร้างให้กลายเป็นขื่อคาที่ตรึงรั้งใจไว้ให้มิอาจแสดงออกถึงความรักได้ดังเช่นคู่สามีภรรยาปกติ จนนำไปสู่บทสรุปอันเจ็บปวดและขมขื่นในตอนท้ายเรื่องที่สร้างความจดจำและสะเทือนใจให้กับคนอ่านอย่างยิ่ง กลายเป็นอมตะนิยายรักแห่งโศกนาฏกรรมที่คนไทยรู้จักมากที่สุดเรื่องหนึ่ง มาในภาคนี้ เนื้อหาโครงสร้างหลักกลับเน้นไปที่ความมองโลกของคนเป็นแม่อย่างคนที่ผ่านประสบการณ์การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตมาแล้ว และจะเลือกเดินหน้าต่อไปอย่างไรในสถานการณ์ที่คนไทยส่วนใหญ่เกลียดชังญี่ปุ่น ในขณะที่เธอคือภรรยาหม้ายและมีลูกชายสายเลือดที่เกิดจากทหารญี่ปุ่น ตลอดทั้งเล่มนี้ในความรู้สึกส่วนตัว ผมมองว่านี่คือนิยายธรรมะเล่มหนึ่งทีเดียว เพียงแต่ไม่ใช่ธรรมะที่เป็นคำบรรยายเทศน์ของพระผู้เป็นองค์ธรรมกถึก หากแต่เป็นหนังสือธรรมะที่นำพล็อตของนิยายมาสวม จึงพบได้ในหลายย่อหน้า แทบทุกตอนที่ผู้เขียนสอดแทรกแนวคิดหลักธรรมทางพุทธตามแนวที่ท่านเชื่อเป็นทางที่ถูกตรงลอยอบอวลอยู่ในการบรรยาย เหมือนตัวละครและฉากเหล่านั้นคือตัวแทนหรือเครื่องมือที่ต้องการสื่อสอนธรรมะไปสู่ผู้อ่านอยู่ตลอด โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องราวของความตาย ดังจะเห็นได้จากมีการจากไปของตัวละครเดิมที่มีบทบาทจากภาคแรก คนแล้วคนเล่า เริ่มตั้งแต่คุณยาย ตาผลตาบัว หลวงพ่อ และกำลังใกล้ตายอย่างอังศุมาลิน ทำนองแสดงสัจธรรมชีวิต หลายช่วงตอนที่มีการหยิบยกบทกลอนร้อยกรองจากในวรรณคดีไทย หรือที่ผู้เขียนแต่งขึ้น รวมถึงวลี ประโยคภาษาอังกฤษจากบทเพลง บทกวีต่าง ๆ ของทางตะวันตกมาใช้เพื่อสื่อแสดงถึงความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการสะท้อนผ่านเรื่องราวของเหตุการณ์แวดล้อมรอบตัวโยอิจิ และตัวละครสำคัญ จนบางทีก็ดูมากไป อ่านไปเรื่อย ๆ อดที่จะคิดไม่ได้ว่าเล่มนี้ มีความคล้ายกันกับอีกเล่มของทมยันตีที่มีชื่อว่า จดหมายถึงลูก(ผู้)ชาย ที่เน้นสอนลูกของผู้เขียนเองและคนเป็นลูกชายทุกคน ด้วยการแทรกแนวคิดคำสุภาษิตไว้ในเนื้อหาตลอดเล่ม แล้วการเขียนลักษณะนี้ดีหรือไม่อย่างไร? คงขึ้นกับความชื่นชอบส่วนบุคคลของผู้อ่านที่มีรสนิยมแตกต่าง ส่วนผมเองนั้นไม่ถึงกับเรียกได้ว่าชอบทว่าก็ไม่ขัดใจมากมาย แต่ยอมรับว่าทมยันตีเป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีความไม่ธรรมดาในด้านศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งหาตัวจับยาก แล้วนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนได้เก่งมากคนหนึ่งในเหล่านักเขียนรุ่นเก่า หากจะติบ้างก็คงเป็นความเข้าใจในทางหลักธรรมที่นำมาสอดแทรกไว้ในคู่กรรม2 นั้น ยังเป็นความเข้าใจที่เหมือนเช่นคนปฏิบัติธรรมทั่วไปในไทยเข้าใจกันว่าถูกต้อง คือเน้นการนั่งสมาธิเดินจงกรมว่าคือวิธีที่จะนำไปสู่การลดละกิเลสจนนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ ดังที่ตัวละครหลวงพ่อในเรื่องได้ปฏิบัติและพูดคุยสอนธรรมกับโยอิจิ หรือแม่อร อังศุมาลิน ซึ่งโดยแท้จริงการปฏิบัติควรเน้นไปที่การมีสติอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกที่จะจับอาการกิเลสแล้วกำจัดทิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน หรืออิริยาบถย่อยอื่น ไม่ใช่เพียงแค่ตอนนั่งสมาธิเดินจงกรมเพียงเท่านั้น เพราะในชีวิตจริงมนุษย์ไม่อาจจะบังคับตนให้อยู่เพียงแค่ท่านั่งสมาธิต่อเนื่องยาวนานไปจนชั่วชีวิต นอกจากประเด็นที่กล่าวถึงนี้แล้วที่มีความเห็นไม่ตรงกับผู้เขียน ทางด้านอื่นถือว่าผมชอบนิยายเรื่องนี้ไม่น้อยทีเดียว โดยเฉพาะการมองโลกที่มองทะลุถึงความเป็นจริงของสังคมไทย ลักษณะนิสัย ที่เจาะลึกให้เห็นว่าแม้นในอดีตสมัยสงครามคนไทยเป็นอย่างไร ปัจจุบันในยุคนี้ก็ยังคงพบเห็นได้ว่าไม่แตกต่างกันนัก จึงถือว่านิยายเล่มนี้ไม่ล้าสมัย โดยเฉพาะด้านการบ้านการเมืองที่ผู้มีอำนาจในฝ่ายรัฐ มักเลือกใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการสยบปัญหาอยู่เสมอ โดยมีมือที่สามที่คอยฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ยั่วยุ ปลุกปั่น และล่อลวงให้คู่กรณีระหว่างรัฐกับนักศึกษาและประชาชนปะทะแตกหัก จนเกิดความสูญเสีย อันมีแต่หายนะต่อประเทศชาติ ศราวณี คือตัวแทนที่เปรียบให้เห็นเด่นชัด ไม่ว่ายุคใด เหล่าเด็กหนุ่มสาวอนาคตชาติ มักถูกกระตุ้น ให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน และปลุกเร้าจุดไฟติดได้โดยง่าย ด้วยพวกเขามีพลังงานล้นเหลือ เมื่อเลือกเชื่อไปทางใดทางหนึ่งแล้ว บางทีก็พุ่งไปข้างหน้าอย่างสุดกำลังโดยไม่ทันได้ใคร่ครวญ ยั้งคิด หรือพิจารณาทัศนียภาพรอบข้างระหว่างทางที่มุ่งไปให้ถี่ถ้วนรอบคอบ จึงมักตกเป็นฝ่ายที่ถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือให้ไปตายแทนคนบงการแท้จริงเบื้องหลังเสมอ และเมื่อเกิดความสูญเสียแล้วก็เป็นเช่นดังอะไหล่เลวที่โดนใช้แล้วทิ้งโดยไร้ความเสียดาย หรือจำเป็นต้องดูแลอย่างใดต่อไป กว่าพวกเขาจะรู้ตัว ความผิดพลาดพลั้งเผลอก็เกิดขึ้นและไปไกลเกินกว่าตนเองจะหยุดยั้ง ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์ได้เสียแล้ว ดังจุดจบของตัวละครในเรื่องนี้หลังเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความเก่งกล้า ไม่ยอมใคร ไม่ฟังอาจารย์ ความร้อนเร่าเอาแต่ใจ รั้นจะทำในสิ่งที่ตนคิดให้จงได้ ทว่าสุดท้ายกลับกลายพาเพื่อน คนที่ไม่รู้อะไรแต่ก็ตามกันไป ไปพบกับการบาดเจ็บล้มตายต่อหน้าต่อตา ถึงกับกรีดร้องอย่างบ้าคลั่ง หลบหนีตายจ้าละหวั่น กระทบกระเทือนถึงสภาพจิตใจอย่างรุนแรงจนแทบจะกลายเป็นบ้าไป เธอจึงได้รับบาดแผลลึกที่เสียใจก็ไม่ทันแล้ว กับไฟที่ตอนแรกเพียงแค่เหมือนไฟจากปลายก้านไม้ขีดในมือที่ขยับนิดเดียวก็ดับ สุดท้ายมันกลับกลายเป็นไฟกองใหญ่ที่โหมไหม้รวดเร็ว ลามเลียทำลายทุกสิ่งอย่างไม่อาจดับได้ด้วยแค่กำลังตนเอง นอกจากนี้ที่ชอบก็มีในส่วนของการใช้ภาพตัวละครในเรื่องอย่างครอบครัวของเจ้าโก๊ะ ที่สะท้อนภาพตัวแทนของชนชั้นล่างได้ชัดเจน ความเหลื่อมล้ำที่เหล่านักศึกษามักนำมาเป็นคำขวัญ ชูประเด็นเพื่อเรียกร้อง และรังเกียจเคียดแค้นเหล่าชนชั้นศักดินา ดังเช่นอาจารย์ชิตาภาที่ครอบครัวเป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่มาไทยอย่างเสื่อผืนหมอนใบ แต่ขยันขันแข็งและสร้างตัวจนมีทรัพย์ ร่ำรวยมีอันจะกินและสร้างธุรกิจด้วยการค้าขายขยับขยายฐานะ จนเลื่อนจากชนชั้นแรงงานต่างด้าวมาเป็นพ่อค้าวาณิชย์ที่มีกิจการมากมายและถูกแปะป้ายให้กลายเป็นศักดินาไป จนถูกมองว่าเป็นความผิดความเลวที่เข้ามากอบโกยนั้น หรือแม้แต่วนัสที่เป็นคนไทยแต่มีหัวในทางธุรกิจการค้า จึงติดต่อซื้อขายกับคนต่างชาติอย่างญี่ปุ่นหรือชาวตะวันตกจนมีฐานะเข้าขั้นเศรษฐี ทั้งที่ครั้งหนึ่งเขาเคยเป็นพวกเสรีไทย แต่ในภาคนี้เรียกได้ว่าแปะป้ายศักดินาตามความหมายของเหล่านักศึกษาได้เช่นกัน หากมองความจริงในอีกแง่มุม ย่อมเห็นได้ว่าคนไทยเองที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพจำนวนมากนั้นมีสันดานเป็นอย่างพ่อและแม่ของเจ้าโก๊ะ ที่เอาแต่ชื่นชอบอยู่อย่างสบายไม่ต้องทำการทำงาน วันทั้งวันเอาแต่เมาหัวราน้ำ แม้นมีคนหยิบยื่นความช่วยเหลือหวังให้สร้างตัวเพื่อตั้งตนได้ แต่ก็ไม่กระตือรือร้นสนใจ หนักไม่เอาเบาไม่สู้ อยากแต่จะขอเขากินไปเรื่อย ๆ อาศัยความเมตตาและมีน้ำใจของครอบครัวแม่อรและอังศุมาลินเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างคนขี้เกียจ รักสบายได้ต่อไป มีเงินก็หมดไปกับเหล้ายาและการพนัน เงินหมดก็ใช้ให้โก๊ะไปไถขอเอาใหม่ ด้วยรู้จุดว่าถ้าให้เด็กมาขออย่างไรก็ได้ นี่ไม่อาจยอมรับว่าไม่ว่าจะในนิยายซึ่งอยู่ในยุคหลังสงคราม หรือปัจจุบันที่ล่วงเลยมาอีกหลายสิบปี ก็ยังมีคนไทยที่เป็นเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก แล้วจะไปโทษว่าแต่ความเหลื่อมล้ำเพราะชนชั้นได้เช่นไร ในเมื่อตนเองยินดีทำตนให้เป็นไปเช่นนั้น อังศุมาลินและโยอิชิคือตัวแทนของชนชั้นกลางที่น่าสนใจ ทั้งสองมีความรู้ตามทันยุคสมัยของความเปลี่ยนแปลง แต่ไม่หลงใหลปล่อยให้กระแสเชี่ยวแห่งคลื่นทุนนิยมเข้าครอบงำ ยังคงดำเนินชีวิตทั้งรูปแบบ และวิถีตามอย่างวัฒนธรรมอันดีงามในอดีตที่บรรพบุรุษสร้างไว้ ไม่ว่าจะเรือนพักอาศัยที่ไม่รื้อทิ้งหลังเก่าแล้วสร้างใหม่ และพยายามสงวนที่ดินสวนหลังบ้านไว้ปลูกผักปลูกไม้ผลให้พอเก็บกินไม่เดือดร้อน ในขณะครอบครัวอื่นขายที่ให้นายทุน และสร้างบ้านปูนกันไปเกือบหมด ภาพความขัดแย้งที่เห็นได้ชัดเจนนี้เองที่เป็นความงดงาม แม้นลำคลองจะไม่เหมือนเดิม คนไทยทิ้งขยะสิ่งปฏิกูลลงน้ำ ทำลายต้นกำเนิดรากเหง้าสายธารแห่งชีวิตของตนเอง ทำให้ปลา กุ้ง หอย สัตว์น้ำที่เคยมีลดน้อยจนกระทั่งหายไปไม่เหมือนก่อน เมื่อมาถึงยุคสมัยที่เรามีชีวิตอยู่นี้ เราจึงต้องแบกรับผลพวงที่ตามมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เราไม่ชอบ เราบ่นหรืออาจถึงขั้นก่นด่าคนรุ่นก่อน แต่เราเองก็ละเลยไม่ได้มองกลับเข้ามาในตน ว่าในแต่ละวันได้ทำอะไรที่เป็นไปในทางที่ทำร้าย ทำลายวิถีไทย สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและประเพณีอันดีมากน้อยขนาดไหนอย่างไรบ้าง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1216 มุมมอง 0 รีวิว