• Nex Express อำลารถทัวร์โคราช

    หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น

    สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา

    อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป

    ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว

    เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร

    #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Nex Express อำลารถทัวร์โคราช หลังจากให้บริการมากว่า 3 ปี ในที่สุด บริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทาง ประกาศหยุดเส้นทางเดินรถโดยสาร สาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 เป็นต้นไป แม้บริษัทฯ จะไม่ระบุเหตุผลใดๆ แต่เป็นที่เข้าใจกันดีว่าไม่สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการเจ้าตลาดได้ อีกทั้งประสบภาวะขาดทุน จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 กระทั่งไม่สามารถให้บริการต่อไปได้ ซึ่งปัจจุบันเหลือให้บริการเพียงวันละไม่กี่เที่ยวเท่านั้น สำหรับบริษัท เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส จำกัด เป็นผู้ให้บริการเดินรถโดยสารประจำทาง ในกลุ่มบริษัท เน็กซ์ พอยท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEX ผู้ผลิตรถโดยสารรายใหญ่ ที่มีนายคณิสสร์ ศรีวชิระประภา เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เปิดเส้นทางแรกสาย 21 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2564 โดยซื้อสัมปทานจากสุรนารีแอร์ ก่อนที่จะเปิดสาย 31 กรุงเทพฯ-สุรินทร์ เป็นเส้นทางที่สอง นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะเปิดเส้นทางใหม่ให้บริการในอนาคต เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานีอีกด้วย แต่ก็ไม่ได้เป็นไปตามแผน แถมเส้นทางกรุงเทพฯ-สุรินทร์ หยุดเดินรถเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส หันมาเดินรถโดยสารประจำทางพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นรถมินิบัสขนาด 20 ที่นั่ง ประเดิมเส้นทางแรก สาย 37 (จ) กรุงเทพฯ-ศรีราชา จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2565 ตามมาด้วย สาย 39 (จ) กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2565 และเมื่อเดือน ธ.ค. 2566 เปิดเส้นทางใหม่ กรุงเทพฯ-พนัสนิคม ขณะที่เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เดิมมีแผนจะนำรถ EV มาให้บริการ 40 คัน และจะสร้างสถานีชาร์จแบตเตอรี่ไฟฟ้า แต่ก็ต้องเลื่อนออกไป ถึงกระนั้น รถทัวร์กรุงเทพฯ-โคราช นอกจากเจ้าตลาดอย่างแอร์โคราชพัฒนา เชิดชัยโคราชวีไอพี และนครชัย 21 ที่ยังแข่งขันพัฒนาบริการอย่างไม่หยุดยั้ง แม้ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้จำนวนเที่ยวรถมีน้อยลง ก็ยังมีผู้ประกอบการรถทัวร์รายใหญ่อย่างนครชัยแอร์ ที่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ ซื้อกิจการจากผู้ประกอบการเดิม แต่ยังไม่นำมาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบีทีเอส เปิดให้สำรองที่นั่งช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ไปกับรถโดยสารเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะแวะสถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2 (บขส.ใหม่) ในบางเที่ยว เมื่อการนำรถ EV มาให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชไม่เป็นไปตามแผน ประกอบกับการแข่งขันที่สูง สวนทางกับแนวโน้มผู้โดยสารนอกช่วงเทศกาลมีจำนวนลดลง ในที่สุด เน็กซ์ เอ็กซ์เพรส ก็จำต้องโบกมือลาเมืองโคราชอย่างถาวร #Newskit #NexExpress #รถทัวร์โคราช
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 266 มุมมอง 0 รีวิว
  • หรูหรามากกก
    .
    นี่คือรถใหม่ของนครชัยแอร์อ่ะ
    .
    💺 First Class 23 ที่นั่ง
    .
    🚌 รูทแรกเตรียมให้บริการ เส้นทาง กรุงเทพฯ - นครพนม
    หรูหรามากกก . นี่คือรถใหม่ของนครชัยแอร์อ่ะ . 💺 First Class 23 ที่นั่ง . 🚌 รูทแรกเตรียมให้บริการ เส้นทาง กรุงเทพฯ - นครพนม
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 0 รีวิว
  • นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่

    การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี

    นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง

    ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน

    ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565

    อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน

    ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว

    #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    นครชัยแอร์บ้านใหม่ ภายใต้กลุ่มทุนใหม่ การประกาศย้ายสำนักงานใหญ่ ออฟฟิศและอู่จอดรถ ของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารรายใหญ่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 จากบริเวณก่อนถึงแยกรัชวิภา ไปยังปั๊มน้ำมันบางจาก ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 บนพื้นที่ประมาณ 28 ไร่ นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของรถทัวร์รายใหญ่ ที่อยู่บนเส้นทางธุรกิจมานานถึง 38 ปี นครชัยแอร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 โดยมีนายจักรินทร์ วงศ์เบญจรัตน์ เป็นประธานผู้ก่อตั้ง เริ่มต้นได้เปิดให้บริการ 2 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-ขอนแก่น และ กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี โดยมีรถโดยสารปรับอากาศ 42 ที่นั่ง 20 คัน ก่อนผลักดันรถนอนพิเศษเป็นบริษัทแรก ลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือ 32 ที่นั่ง และขยายเส้นทางอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมานครชัยแอร์ย้ายสำนักงานใหญ่มาแล้ว 2 ครั้ง ได้แก่ เมื่อปี 2556 ย้ายมาจากเลขที่ 27 ซอยวิภาวดีรังสิต 19 ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานและที่พักอาศัย 5 ชั้น ไปยังเลขที่ 109 ถนนวิภาวดีรังสิต ก่อนถึงแยกรัชวิภา บนพื้นที่กว่า 16 ไร่ เพื่อรองรับการขยายกิจการ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวนครชัยแอร์ ผ่านมา 11 ปี จึงย้ายมาที่ปากซอยวิภาวดีรังสิต 60 ในปัจจุบัน ถึงกระนั้น สถานีเดินรถนครชัยแอร์ กรุงเทพฯ ยังคงตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 2 เช่นเดิม ผู้โดยสารสามารถใช้บริการได้ตามปกติ รวมทั้งสามารถเลือกขึ้นรถได้ที่ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) หรือหมอชิต 2 และนครชัยแอร์ สาขารังสิต ภายในปั๊มน้ำมันบางจาก รังสิต ถนนพหลโยธิน ตรงข้ามโรงงานบริดจสโตน เช่นเดิม เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้านี้ ตระกูลวงศ์เบญจรัตน์ได้ขายกิจการเดินรถ ไม่รวมทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน แก่กลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และระบบขนส่งมวลชน กระทั่งส่งตัวแทนซึ่งล้วนเป็นคนของกลุ่มนายคีรีเข้ามาบริหารแทน ส่วนทายาทรุ่นที่ 3 อย่างนางเครือวัลย์ วงศ์รักมิตร ได้หายไปจากพื้นที่ข่าว หลังปรากฎครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนธันวาคม 2565 อย่างไรก็ตาม กลุ่มบริษัทบีทีเอส ยังไม่ประกาศว่านครชัยแอร์เป็นหนึ่งธุรกิจในเครือ จากปัจจุบันกลุ่มธุรกิจ MOVE ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 4 สี รถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ด่านเก็บเงินมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง โครงการสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและเมืองการบิน ข้อความที่ระบุว่า "ต้นแบบการเดินทางไกล ที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ด้วยองค์กรที่มั่นคง และร่วมแรงร่วมใจ ให้บริการ" ซึ่งนายจักรินทร์ ประธานผู้ก่อตั้งได้เขียนไว้ในสำนักงาน คงเป็นตำนานอีกหน้าหนึ่งของธุรกิจรถทัวร์ในไทย เพราะอีกไม่นานที่ดินผืนงามกว่า 16 ไร่ย่านแยกรัชวิภา อาจเปลี่ยนมือไปเป็นอย่างอื่น ตามแผนการย้ายสำนักงานใหญ่และขายที่ดินที่เกิดขึ้นนานแล้ว #Newskit #นครชัยแอร์ #BTSGroup
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 751 มุมมอง 0 รีวิว