• ก็เพราะว่าจินตนาการคือการ * จุดประกายความคิดสร้างสรรค์: จินตนาการเป็นรากฐานของความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เราคิดนอกกรอบ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ * พัฒนาการแก้ปัญหา: เมื่อเราจินตนาการถึงสถานการณ์ต่างๆ เราสามารถฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและคิดหาวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคได้และจินตนาการยังทำให้เรามีภาพยนตร์ดีๆมีซีรีส์ให้ดู มีหนังสือให้อ่าน และมีงานศิลปะให้เสพอีกเยอะแยะมากมาย #จินตนาการ #ติดเทรนด์ #ช้างเรื่องเยอะ #ลุงช้างหญ่าย
    ก็เพราะว่าจินตนาการคือการ * จุดประกายความคิดสร้างสรรค์: จินตนาการเป็นรากฐานของความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เราคิดนอกกรอบ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ และมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ * พัฒนาการแก้ปัญหา: เมื่อเราจินตนาการถึงสถานการณ์ต่างๆ เราสามารถฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและคิดหาวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคได้และจินตนาการยังทำให้เรามีภาพยนตร์ดีๆมีซีรีส์ให้ดู มีหนังสือให้อ่าน และมีงานศิลปะให้เสพอีกเยอะแยะมากมาย #จินตนาการ #ติดเทรนด์ #ช้างเรื่องเยอะ #ลุงช้างหญ่าย
    0 Comments 0 Shares 157 Views 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 721 Views 90 0 Reviews
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 590 Views 0 Reviews
  • เพลง 不染 (อ่านว่า "ปู้หรั่น")
    .
    ขับร้องโดย Zhang Bichen ในงาน All Star Night 2023
    .
    เพลงเปิด (OP) ประกอบซีรีส์จีนเรื่อง "มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "Ashes of Love"
    .
    不染 (ปู้หรั่น) แปลว่า "ไม่แปดเปื้อน" หรือ "ไม่ถูกทำให้มัวหมอง"
    .
    ความหมายของเพลง...
    .
    เพลงนี้มีเนื้อหาที่สื่อถึง ความรักที่บริสุทธิ์ และ ยืนหยัด ซึ่งแม้จะต้องผ่านความทุกข์และอุปสรรค แต่ยังคงยึดมั่นในความรักและความดีงาม เหมือนกับการไม่ถูกทำให้แปดเปื้อน แม้จะเผชิญกับความเจ็บปวดหรือเรื่องร้ายใด ๆ ก็ตาม
    .
    https://youtu.be/sQwwTUfISR0?si=KFsi-OMr-i13-C9Y
    เพลง 不染 (อ่านว่า "ปู้หรั่น") . ขับร้องโดย Zhang Bichen ในงาน All Star Night 2023 . เพลงเปิด (OP) ประกอบซีรีส์จีนเรื่อง "มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง" หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า "Ashes of Love" . 不染 (ปู้หรั่น) แปลว่า "ไม่แปดเปื้อน" หรือ "ไม่ถูกทำให้มัวหมอง" . ความหมายของเพลง... . เพลงนี้มีเนื้อหาที่สื่อถึง ความรักที่บริสุทธิ์ และ ยืนหยัด ซึ่งแม้จะต้องผ่านความทุกข์และอุปสรรค แต่ยังคงยึดมั่นในความรักและความดีงาม เหมือนกับการไม่ถูกทำให้แปดเปื้อน แม้จะเผชิญกับความเจ็บปวดหรือเรื่องร้ายใด ๆ ก็ตาม . https://youtu.be/sQwwTUfISR0?si=KFsi-OMr-i13-C9Y
    Like
    Wow
    2
    0 Comments 0 Shares 154 Views 0 Reviews
  • ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต

    บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น

    แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ

    แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด

    ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน

    ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้"

    ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น

    #Newskit #ประกาศขออภัย
    ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้" ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น #Newskit #ประกาศขออภัย
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 411 Views 0 Reviews
  • บางส่วนของคนดังฮอลลี่วูดที่ประกาศ "ย้ายประเทศ" หากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ

    - บาร์บรา สไตรแซนด์ (Barbra Streisand) จะย้ายไปอยู่อังกฤษ “อาจจะไปอังกฤษ ฉันชอบอังกฤษ” เธอกล่าวในระหว่างร่วมรายการ The Late Show with Stephen Colbert เธอ "ไม่สามารถอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ" ได้ หากทรัมป์ประสบความสำเร็จในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง นอกจากนี้บาร์บรา ยังกล่าวสนับสนุนไบเดนว่า "ฉันชอบไบเดน ฉันคิดว่าเขาทำหน้าที่ได้ดี ฉันคิดว่าเขามีเมตตา เขาฉลาด เขาสนับสนุนสิ่งที่ถูกต้อง"

    - Cher (แชร์) นักร้องและนักแสดงชื่อดัง กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ถึงความสยดสยองเมื่อนึกถึงการที่ทรัมป์จะกลับมาที่ทำเนียบขาวอีกครั้ง “ฉันต้องเป็นแผลในกระเพาะเมื่อครั้งที่แล้ว ที่เขาดำรงตำแหน่ง เพราะฉันเครียดกับการกระทำของเขา” “ถ้าเขากลับเข้ามาได้อีกครั้ง คราวนี้ฉันคงต้องออกจากประเทศนี้” - เมื่อ 8 ปีที่แล้ว แชร์เคยประกาศจะออกจากสหรัฐไปแล้วครั้งหนึ่ง หากทรัมป์ได้รับการเสนอชื่อจากรีพับลิกันให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่จนแล้งจนรอดเธอก็อาศัยอยูามาจนถึงการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองของทรัมป์ และเธอก็ประกาศอีกครั้ง!

    - ชารอน สโตน (Sharon Stone) กล่าวในช่วงที่ทรัมป์กำลังหาเสียงว่า จะย้ายไปอยู่ในอิตาลีหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง “ฉันคิดว่านี่เป็นความคิดที่ฉลาดที่สุดของฉัน” นอกจากนี้ เธอยังวิจารณ์ทรัมป์ว่า “นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของฉัน ที่ฉันเห็นคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ชูนโยบายแห่งความเกลียดชังและการกดขี่”

    - ไมลีย์ ไซรัส (Miley Cyrus) โพสต์บนอินสตาแกรมของเธอว่า จะย้ายประเทศ ถ้าทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี เธอยังยืนยันหลังจากมีนักข่าวสอบถามอีกว่า เธอจะไม่พูดอะไรในสิ่งที่ตัวเธอไม่ได้คิดอย่างนั้นจริงๆ

    - ลีน่า ดันแฮม (Lena Dunham) ดาราสาวจากซีรีส์ Girls ประกาศอย่างมุ่งมั่นว่าเธอจะย้ายไปแคนาดา!

    - วูปี้ โกลด์เบิร์ก (Whoopi Goldberg) ดาราสาวเจ้าของรางวัลออสการ์เรื่อง Ghost ให้นิยามตัวทรัมว่าเป็นบุคคลที่ "ไร้สาระ" และประกาศหลายครั้งว่าหากทรัมป์ชนะ เธอจะย้ายไปอยู่แคนาดา!
    บางส่วนของคนดังฮอลลี่วูดที่ประกาศ "ย้ายประเทศ" หากโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ - บาร์บรา สไตรแซนด์ (Barbra Streisand) จะย้ายไปอยู่อังกฤษ “อาจจะไปอังกฤษ ฉันชอบอังกฤษ” เธอกล่าวในระหว่างร่วมรายการ The Late Show with Stephen Colbert เธอ "ไม่สามารถอาศัยอยู่ในสหรัฐฯ" ได้ หากทรัมป์ประสบความสำเร็จในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง นอกจากนี้บาร์บรา ยังกล่าวสนับสนุนไบเดนว่า "ฉันชอบไบเดน ฉันคิดว่าเขาทำหน้าที่ได้ดี ฉันคิดว่าเขามีเมตตา เขาฉลาด เขาสนับสนุนสิ่งที่ถูกต้อง" - Cher (แชร์) นักร้องและนักแสดงชื่อดัง กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ The Guardian ถึงความสยดสยองเมื่อนึกถึงการที่ทรัมป์จะกลับมาที่ทำเนียบขาวอีกครั้ง “ฉันต้องเป็นแผลในกระเพาะเมื่อครั้งที่แล้ว ที่เขาดำรงตำแหน่ง เพราะฉันเครียดกับการกระทำของเขา” “ถ้าเขากลับเข้ามาได้อีกครั้ง คราวนี้ฉันคงต้องออกจากประเทศนี้” - เมื่อ 8 ปีที่แล้ว แชร์เคยประกาศจะออกจากสหรัฐไปแล้วครั้งหนึ่ง หากทรัมป์ได้รับการเสนอชื่อจากรีพับลิกันให้เป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่จนแล้งจนรอดเธอก็อาศัยอยูามาจนถึงการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่สองของทรัมป์ และเธอก็ประกาศอีกครั้ง! - ชารอน สโตน (Sharon Stone) กล่าวในช่วงที่ทรัมป์กำลังหาเสียงว่า จะย้ายไปอยู่ในอิตาลีหากทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง “ฉันคิดว่านี่เป็นความคิดที่ฉลาดที่สุดของฉัน” นอกจากนี้ เธอยังวิจารณ์ทรัมป์ว่า “นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตของฉัน ที่ฉันเห็นคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ชูนโยบายแห่งความเกลียดชังและการกดขี่” - ไมลีย์ ไซรัส (Miley Cyrus) โพสต์บนอินสตาแกรมของเธอว่า จะย้ายประเทศ ถ้าทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี เธอยังยืนยันหลังจากมีนักข่าวสอบถามอีกว่า เธอจะไม่พูดอะไรในสิ่งที่ตัวเธอไม่ได้คิดอย่างนั้นจริงๆ - ลีน่า ดันแฮม (Lena Dunham) ดาราสาวจากซีรีส์ Girls ประกาศอย่างมุ่งมั่นว่าเธอจะย้ายไปแคนาดา! - วูปี้ โกลด์เบิร์ก (Whoopi Goldberg) ดาราสาวเจ้าของรางวัลออสการ์เรื่อง Ghost ให้นิยามตัวทรัมว่าเป็นบุคคลที่ "ไร้สาระ" และประกาศหลายครั้งว่าหากทรัมป์ชนะ เธอจะย้ายไปอยู่แคนาดา!
    Like
    3
    0 Comments 1 Shares 248 Views 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ @TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ @TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    Like
    3
    0 Comments 0 Shares 554 Views 277 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 561 Views 124 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 380 Views 75 0 Reviews
  • HaHa TikTok@diiffjw #เบื้องหลังซีรีส์ฮ่า #เหนื่อยนักก็พักหน่อย #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    HaHa TikTok@diiffjw #เบื้องหลังซีรีส์ฮ่า #เหนื่อยนักก็พักหน่อย #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 293 Views 82 0 Reviews
  • ชึวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #หูอีเทียนhuyitian #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชึวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #หูอีเทียนhuyitian #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 339 Views 112 0 Reviews
  • ภาพวิดีโอใหม่แบบไม่เซ็นเซอร์
    ชายวัย 25 ปี ซึ่งเป็นแฟนบอลทีมดอดเจอร์สได้รับบาดเจ็บที่มืออย่างรุนแรง ขณะพยายามจุดพลุไฟเพื่อฉลองชัยชนะในเวิลด์ซีรีส์ของทีมดอดเจอร์สเหนือทีมแยงกี้

    ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนครลอสแองเจลิส แฟนบอลรายดังกล่าว "ได้รับบาดเจ็บที่มือย่างรุนแรง"
    .
    ลิ้งค์ข่าวเมื่อเช้า
    https://thaitimes.co/posts/86631
    ภาพวิดีโอใหม่แบบไม่เซ็นเซอร์ ชายวัย 25 ปี ซึ่งเป็นแฟนบอลทีมดอดเจอร์สได้รับบาดเจ็บที่มืออย่างรุนแรง ขณะพยายามจุดพลุไฟเพื่อฉลองชัยชนะในเวิลด์ซีรีส์ของทีมดอดเจอร์สเหนือทีมแยงกี้ ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนครลอสแองเจลิส แฟนบอลรายดังกล่าว "ได้รับบาดเจ็บที่มือย่างรุนแรง" . ลิ้งค์ข่าวเมื่อเช้า https://thaitimes.co/posts/86631
    0 Comments 0 Shares 369 Views 80 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 364 Views 74 0 Reviews
  • ชายวัย 25 ปี ซึ่งเป็นแฟนบอลทีมดอดเจอร์สได้รับบาดเจ็บที่มืออย่างรุนแรง ขณะพยายามจุดพลุไฟเพื่อฉลองชัยชนะในเวิลด์ซีรีส์ของทีมดอดเจอร์สเหนือทีมแยงกี้

    ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนครลอสแองเจลิส แฟนบอลรายดังกล่าว "ได้รับบาดเจ็บที่มือย่างรุนแรง"
    ชายวัย 25 ปี ซึ่งเป็นแฟนบอลทีมดอดเจอร์สได้รับบาดเจ็บที่มืออย่างรุนแรง ขณะพยายามจุดพลุไฟเพื่อฉลองชัยชนะในเวิลด์ซีรีส์ของทีมดอดเจอร์สเหนือทีมแยงกี้ ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงนครลอสแองเจลิส แฟนบอลรายดังกล่าว "ได้รับบาดเจ็บที่มือย่างรุนแรง"
    0 Comments 0 Shares 165 Views 60 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #หวังอันอวี่wanganyu #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #หวังอันอวี่wanganyu #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 374 Views 169 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 490 Views 251 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หวังอันอวี่wanganyu #หลี่หลานตี่lilandi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หวังอันอวี่wanganyu #หลี่หลานตี่lilandi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 516 Views 143 0 Reviews
  • เหนื่อยนัก ก็ พักหน่อย TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซ่งอีเหรินsongyiren #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    เหนื่อยนัก ก็ พักหน่อย TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซ่งอีเหรินsongyiren #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 466 Views 136 0 Reviews
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 Comments 0 Shares 322 Views 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 491 Views 152 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซุนอี๋sunyi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 582 Views 158 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 759 Views 252 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซ่งอี้เหรินsongyiren #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #ซ่งอี้เหรินsongyiren #wetv #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 783 Views 197 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #จงฉู่ซีzhongchuxi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #จางอวิ๋นหลงzhangyunlong #จงฉู่ซีzhongchuxi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 769 Views 180 0 Reviews
  • ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    ชีวิตคือสมมุติ TikTok@yuija6055 #ซีรีส์ #wetv #หูอีเทียนhuyitian #เฉินอวี้ฉีchenyuqi #ว่างว่างก็แวะมา #Thaitimes
    0 Comments 0 Shares 763 Views 175 0 Reviews
More Results