• พระราม 4 หอมกลิ่นความเจริญ

    การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) อสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ย่านถนนพระรามที่ 4 ในวันที่ 25 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ นับเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ส่วนหนึ่งชนะประมูลที่ดินระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 30 ปี และต่อสัญญาอีก 30 ปี พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้

    วันแบงค็อก ประกอบด้วย พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด โซนเดอะสตอรี่ส์ และโซนโพสต์ไนน์ทีนทเวนตี้เอท มีแมกเนตหลักได้แก่ King Power City Boutique กับ Mitsukoshi ของกลุ่มอิเซตันมิตซูโคชิ อาคารสำนักงานหนึ่งในนั้นคือซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์ สูง 65 ชั้น 436.1 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะครองแชมป์สูงที่สุดในไทย อีกด้านกำลังจะมีโรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน แบงค็อก โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก และเฟรเซอร์ สวีทส์ เซอร์วิสอพาร์มเมนท์

    หากสำรวจตลอดแนวถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงพระโขนง พบว่ามีหลายโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่มสิริวัฒนภักดี อาทิ สามย่านมิตรทาวน์ มิกซ์ยูส 3 อาคาร บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ไร่ เปิดตัวเมื่อปี 2562 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้, สีลมเอจ (SILOM EDGE) อาคารสูง 24 ชั้น บริเวณแยกศาลาแดง เปิดตัวเมื่อปี 2566 พัฒนาโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้

    ส่วนบริเวณแยกพระรามที่ 4 ประกอบด้วย เดอะปาร์ค (THE PARQ) อาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เปิดตัวเมื่อปี 2563 พัฒนาโดย เกษมทรัพย์สิริ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ปิดปรับปรุงเมื่อปี 2562 ก่อนเปิดตัวเมื่อปี 2565 ด้วยพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร พัฒนาโดย เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์, อาคารไทยเบฟควอเตอร์ (Thaibev Quarter) สูง 18 ชั้น อดีตอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเป็นสำนักงานใหญ่ของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แล้วเสร็จเมื่อปี 2562, เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (FYI Center) อาคารสูง 12 ชั้น 2 อาคาร เปิดตัวเมื่อปี 2560 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้

    ไม่นับรวมห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า พระราม 4 อดีตห้างคาร์ฟูร์ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2543 แข่งกับห้างโลตัส พระราม 4 ปัจจุบันเป็นของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ธุรกิจค้าปลีกของตระกูลสิริวัฒนภักดี และเมื่อเข้าไปในซอยโรงพยาบาล 1 บริเวณโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท แล้วไปออกซอยรูเบีย ก็ยังมีอาคารบีเจซี เฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี อีกด้วย

    #Newskit #OneBangkok #พระราม4
    พระราม 4 หอมกลิ่นความเจริญ การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) อสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานหรือมิกซ์ยูส ย่านถนนพระรามที่ 4 ในวันที่ 25 ต.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ นับเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 120,000 ล้านบาท บนที่ดินกว่า 108 ไร่ ส่วนหนึ่งชนะประมูลที่ดินระยะยาวจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 30 ปี และต่อสัญญาอีก 30 ปี พัฒนาโดยกลุ่มบริษัทของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ได้แก่ ทีซีซี แอสเซ็ทส์ และ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ วันแบงค็อก ประกอบด้วย พื้นที่ค้าปลีกกว่า 190,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 โซน ได้แก่ โซนพาเหรด โซนเดอะสตอรี่ส์ และโซนโพสต์ไนน์ทีนทเวนตี้เอท มีแมกเนตหลักได้แก่ King Power City Boutique กับ Mitsukoshi ของกลุ่มอิเซตันมิตซูโคชิ อาคารสำนักงานหนึ่งในนั้นคือซิกเนเจอร์ ทาวเวอร์ สูง 65 ชั้น 436.1 เมตร เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะครองแชมป์สูงที่สุดในไทย อีกด้านกำลังจะมีโรงแรมเดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน แบงค็อก โรงแรมแอนดาซ วัน แบงค็อก และเฟรเซอร์ สวีทส์ เซอร์วิสอพาร์มเมนท์ หากสำรวจตลอดแนวถนนพระรามที่ 4 ตั้งแต่สถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงพระโขนง พบว่ามีหลายโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่มสิริวัฒนภักดี อาทิ สามย่านมิตรทาวน์ มิกซ์ยูส 3 อาคาร บนที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 ไร่ เปิดตัวเมื่อปี 2562 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้, สีลมเอจ (SILOM EDGE) อาคารสูง 24 ชั้น บริเวณแยกศาลาแดง เปิดตัวเมื่อปี 2566 พัฒนาโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ส่วนบริเวณแยกพระรามที่ 4 ประกอบด้วย เดอะปาร์ค (THE PARQ) อาคารสำนักงานสูง 16 ชั้น เปิดตัวเมื่อปี 2563 พัฒนาโดย เกษมทรัพย์สิริ, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (QSNCC) ปิดปรับปรุงเมื่อปี 2562 ก่อนเปิดตัวเมื่อปี 2565 ด้วยพื้นที่กว่า 300,000 ตารางเมตร พัฒนาโดย เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์, อาคารไทยเบฟควอเตอร์ (Thaibev Quarter) สูง 18 ชั้น อดีตอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเป็นสำนักงานใหญ่ของกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ แล้วเสร็จเมื่อปี 2562, เอฟวายไอเซ็นเตอร์ (FYI Center) อาคารสูง 12 ชั้น 2 อาคาร เปิดตัวเมื่อปี 2560 พัฒนาโดย แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ไม่นับรวมห้างบิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า พระราม 4 อดีตห้างคาร์ฟูร์ที่เปิดให้บริการเมื่อปี 2543 แข่งกับห้างโลตัส พระราม 4 ปัจจุบันเป็นของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ธุรกิจค้าปลีกของตระกูลสิริวัฒนภักดี และเมื่อเข้าไปในซอยโรงพยาบาล 1 บริเวณโรงพยาบาลกล้วยน้ำไท แล้วไปออกซอยรูเบีย ก็ยังมีอาคารบีเจซี เฮ้าส์ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี อีกด้วย #Newskit #OneBangkok #พระราม4
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปิดฉากบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ ไม่ต่อที่ดินกลุ่มเซ็นทรัล

    ก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) ซึ่งเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ในอดีต ล่าสุด นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ จะเปิดให้บริการ 31 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ซึ่งจะย้ายไปยังทำเลใหม่ที่ใกล้เคียง เป็นทำเลทองติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ดิน Freehold (ที่ดินกรรมสิทธิ์) ในกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2568

    นับเป็นการเปิดฉากยุติสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างชัดเจน พร้อมกับปิดตำนานห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ ที่เปิดให้บริการมานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่เปิดวันแรก 10 พ.ย. 2537 เดิมคือห้างเซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ สาขาที่สองต่อจากสาขาวงศ์สว่าง แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเปิดห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เป็นสาขาแรก เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2537 จึงต้องเปลี่ยนเป็นบิ๊กซี จากรายงานประจำปี 2556 ของบิ๊กซี พบว่าบริษัท เซ็นทรัลซูเปอร์สโตร์ จำกัด เช่าที่ดินกับบริษัท เซ็นทรัล ธนบุรี จำกัด บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 พ.ค. 2538 ถึง 30 เม.ย. 2568

    น่าสังเกตว่า ห้างบิ๊กซีบนที่ดินและสิทธิการเช่าของกลุ่มเซ็นทรัลจะอยู่หรือไป เช่น บิ๊กซี โคราช จ.นครราชสีมา เช่ากับบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 ธ.ค. 2539 ถึง 30 พ.ย. 2569 บิ๊กซี ขอนแก่น เช่ากับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 17 ก.ค. 2539 (ถึง 16 ก.ค. 2569) และยังมีบิ๊กซี วงศ์สว่าง ในมาร์เก็ตเพลสวงศ์สว่าง บิ๊กซี หัวหมาก ในหัวหมากทาวน์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี แฟชั่นไอส์แลนด์ ที่้เช่าช่วงจากสรรพสินค้าเซ็นทรัล บิ๊กซี พัทยาในเซ็นทรัลมารีน่า และบิ๊กซี ชลบุรี 3 ในเซ็นทรัล ชลบุรี (อดีตห้างคาร์ฟูร์) เป็นต้น

    ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พบว่าร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ มีจำนวน 66 แห่ง ส่วนร้านค้าขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เช่า มีจำนวน 123 แห่ง และจากการสืบค้นข้อมูลในแบบ 56-1 เมื่อปี 2558 พบว่าสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่บิ๊กซีเป็นเจ้าของที่ดินมีประมาณ 10 สาขา ได้แก่ แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าว บางปะกอก สุขสวัสดิ์ ติวานนท์ บางใหญ่ ลำลูกกา นวนคร สมุทรปราการ บางพลี เป็นต้น

    #Newskit #บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ #กลุ่มเซ็นทรัล
    ปิดฉากบิ๊กซีราษฎร์บูรณะ ไม่ต่อที่ดินกลุ่มเซ็นทรัล ก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) ซึ่งเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ในอดีต ล่าสุด นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ จะเปิดให้บริการ 31 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ซึ่งจะย้ายไปยังทำเลใหม่ที่ใกล้เคียง เป็นทำเลทองติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นที่ดิน Freehold (ที่ดินกรรมสิทธิ์) ในกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการภายในปี 2568 นับเป็นการเปิดฉากยุติสัญญาเช่าที่ดินกับกลุ่มเซ็นทรัลอย่างชัดเจน พร้อมกับปิดตำนานห้างบิ๊กซี ราษฎร์บูรณะ ที่เปิดให้บริการมานานเกือบ 30 ปี นับตั้งแต่เปิดวันแรก 10 พ.ย. 2537 เดิมคือห้างเซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ สาขาที่สองต่อจากสาขาวงศ์สว่าง แต่เมื่อกลุ่มเซ็นทรัลเปิดห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ เป็นสาขาแรก เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2537 จึงต้องเปลี่ยนเป็นบิ๊กซี จากรายงานประจำปี 2556 ของบิ๊กซี พบว่าบริษัท เซ็นทรัลซูเปอร์สโตร์ จำกัด เช่าที่ดินกับบริษัท เซ็นทรัล ธนบุรี จำกัด บริษัทในเครือเซ็นทรัลกรุ๊ป สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 พ.ค. 2538 ถึง 30 เม.ย. 2568 น่าสังเกตว่า ห้างบิ๊กซีบนที่ดินและสิทธิการเช่าของกลุ่มเซ็นทรัลจะอยู่หรือไป เช่น บิ๊กซี โคราช จ.นครราชสีมา เช่ากับบริษัท เตียง จิราธิวัฒน์ จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 1 ธ.ค. 2539 ถึง 30 พ.ย. 2569 บิ๊กซี ขอนแก่น เช่ากับ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา ขอนแก่น จำกัด สัญญา 30 ปี เริ่ม 17 ก.ค. 2539 (ถึง 16 ก.ค. 2569) และยังมีบิ๊กซี วงศ์สว่าง ในมาร์เก็ตเพลสวงศ์สว่าง บิ๊กซี หัวหมาก ในหัวหมากทาวน์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี แฟชั่นไอส์แลนด์ ที่้เช่าช่วงจากสรรพสินค้าเซ็นทรัล บิ๊กซี พัทยาในเซ็นทรัลมารีน่า และบิ๊กซี ชลบุรี 3 ในเซ็นทรัล ชลบุรี (อดีตห้างคาร์ฟูร์) เป็นต้น ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหลักทรัพย์ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) พบว่าร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ มีจำนวน 66 แห่ง ส่วนร้านค้าขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ตั้งอยู่บนที่ดินที่บริษัทฯ เช่า มีจำนวน 123 แห่ง และจากการสืบค้นข้อมูลในแบบ 56-1 เมื่อปี 2558 พบว่าสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่บิ๊กซีเป็นเจ้าของที่ดินมีประมาณ 10 สาขา ได้แก่ แจ้งวัฒนะ ลาดพร้าว บางปะกอก สุขสวัสดิ์ ติวานนท์ บางใหญ่ ลำลูกกา นวนคร สมุทรปราการ บางพลี เป็นต้น #Newskit #บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ #กลุ่มเซ็นทรัล
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 940 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย

    เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้

    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก

    ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา

    ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง

    สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา

    #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    อำลาบิ๊กซี สุขาภิบาล 3 คาร์ฟูร์สาขาแรกในไทย เดือนกันยายน 2567 ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จะปิดสาขาถาวร 2 สาขา ได้แก่ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า สุขาภิบาล 3 (แยกบ้านม้า) เปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 ก.ย. 2567 และบิ๊กซี รังสิต 2 (ตลาดสี่มุมเมือง) เปิดวันสุดท้าย 30 ก.ย. 2567 ทั้งสองสาขาอดีตเคยเป็นห้างคาร์ฟูร์ 7 สาขา ในยุคที่กลุ่มเซ็นทรัลร่วมทุนกับคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส ก่อนที่กลุ่มเซ็นทรัลจะขายหุ้นออกไปในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เพราะไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนตามที่บริษัทแม่ต้องการเพื่อขยายสาขาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2539 ห้างคาร์ฟูร์ เปิดสาขาแรกที่ถนนสุขาภิบาล 3 ก่อนขยายสาขาในช่วงปี 2539-2541 ได้แก่ ศรีนครินทร์ สุวินทวงศ์ บางใหญ่ รังสิต เชียงใหม่ (หนองป่าครั่ง) และเพชรเกษม (หนองแขม) เมื่อคาร์ฟูร์ ฝรั่งเศส เป็นเจ้าของเต็มตัว ในช่วงปี 2542-2543 จึงได้ขยายสาขารามอินทรา ตามมาด้วยแจ้งวัฒนะ รัตนาธิเบศร์ ที่ฮือฮามากที่สุดคือ สาขาพระราม 4 เปิดประจันหน้ากับห้างเทสโก้ โลตัส และต่อมายังเช่าที่ดินใจกลางเมืองระยะยาว 30 ปี เปิดห้างคาร์ฟูร์ รัชดาภิเษก ผ่านมา 13 ปี เปิดสาขาไปแล้ว 42 สาขา มาถึงปี 2553 คาร์ฟูร์ขายกิจการให้กลุ่มกาสิโนกรุ๊ป เจ้าของห้างบิ๊กซี ด้วยมูลค่า 35,500 ล้านบาท ทำให้ห้างคาร์ฟูร์กลายสภาพเป็นบิ๊กซีในรูปแบบต่างๆ เช่น บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า, บิ๊กซี จัมโบ้ กระทั่งกลุ่มกาสิโน กรุ๊ป ขายกิจการให้กับกลุ่มบีเจซี ของตระกูลสิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มและอสังหาริมทรัพย์ เมื่อปี 2559 ประกอบด้วยไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา ซูเปอร์มาร์เก็ต 55 สาขา ร้านสะดวกซื้อ 391 สาขา ปัจจุบัน บิ๊กซีกำลังจะกลับมาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้ชื่อ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ BRC จากข้อมูลเมื่อปี 2565 บิ๊กซี รีเทล มีร้านค้าขนาดใหญ่ (Big Format) บนที่ดินของบริษัทฯ 66 แห่ง เช่าที่ดิน 123 แห่ง และตลาด Open-Air ที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของที่ดิน 2 แห่ง และเช่าที่ดิน 5 แห่ง สำหรับบิ๊กซี สมัยที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นเจ้าของ บางสาขาเช่าที่ดินระยะยาวกับกลุ่มเซ็นทรัล 30 ปี กำลังจะหมดสัญญาในปี 2568-2569 ได้แก่ ราษฎร์บูรณะ โคราช และขอนแก่น ส่วนบางสาขายังคงเช่าพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ วงศ์สว่าง (เซ็นทรัล ซูเปอร์สโตร์ เดิม) หัวหมาก แฟชั่นไอส์แลนด์ ชลบุรี (เซ็นทรัล ชลบุรี) และพัทยา (เซ็นทรัลมารีน่า) จึงไม่น่าแปลกใจหากนับจากนี้จะได้พบเห็นการปิดสาขาบิ๊กซี เพราะหลังบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในยุคนั้น มีทำเลของทั้งสองห้างซ้ำซ้อนกันหลายสาขา #Newskit #บิ๊กซีสุขาภิบาล3 #คาร์ฟูร์
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 957 มุมมอง 0 รีวิว