• หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’

    วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ

    ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง

    เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร?

    การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ:
    (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว
    (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง
    (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก
    (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต
    (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน

    ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

    การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ
    (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
    (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน
    (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น
    (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง
    (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย

    เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/716142814_116162
    https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://mychistory.com/a001-2/11-04
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3
    https://kknews.cc/car/p88yjrp.html
    https://www.sohu.com/a/459650524_121052969

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’ วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร? การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ: (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/716142814_116162 https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://mychistory.com/a001-2/11-04 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3 https://kknews.cc/car/p88yjrp.html https://www.sohu.com/a/459650524_121052969 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    GUOXUE.IFENG.COM
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 594 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数)

    สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย

    แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ

    ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์

    ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย
    (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา
    (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน
    (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ
    (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ)
    (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ
    (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน

    ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง

    นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้

    ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae
    https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://m.jiemian.com/article/1154435.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://h.bkzx.cn/knowledge/1733

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 2 ‘เยวี่ย’ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึง ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะที่สุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์พึงมี (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งในบันทึกพิธีการโจวหลี่ระบุไว้ว่าคือ 1. ห้าพิธีการ (หลี่/礼) 2. หกดนตรี (เยวี่ย/乐) 3. ห้าการยิงธนู (เซ่อ/射) 4. ห้าการขับขี่ (อวี้/御) 5. หกอักษร (ซู/书) และ 6. เก้าคำนวณ (ซู่/数) สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องทักษะแรกคือห้าพิธีการ วันนี้คุยกันต่อถึงทักษะที่สองคือ ‘เยวี่ย’ เรียกรวมกว่าหกดนตรี ซึ่ง Storyฯ มั่นใจว่าเพื่อนเพจหลายคนคงเข้าใจผิดเหมือน Storyฯ ว่ามันหมายถึงการเล่นดนตรี และภาพที่ลอยมาในหัวคือคุณชายดีดพิณหรือเป่าขลุ่ย แต่จริงๆ แล้ว ‘เยวี่ย’ ในบริบทของหกทักษะของสุภาพบุรุษนี้หมายถึงการเต้นรำ ใช่ค่ะ สุภาพบุรุษโบราณต้องเรียนรู้ที่จะเต้นรำ แต่มันไม่ใช่การเต้นรำทั่วไป หากแต่หมายถึงการเต้นรำหมู่ของบุรุษประกอบการบวงสรวงหรืองานสำคัญ ซึ่งเราไม่ค่อยเห็นในซีรีส์ ‘ลิ่วเยวี่ย’ หรือหกดนตรี คือคำเรียกย่อของระบำหกยุคสมัย ‘ลิ่วไต้เยวี่ยอู่’ (六代乐舞) ซึ่งมีมาแต่หกยุคสมัยจีนโบราณบรรพกาล ประกอบด้วย (1) ‘อวิ๋นเหมินต้าเจวี้ยน’ (云门大卷/ระบำประตูเมฆ) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘อวิ๋นเหมิน’ เป็นการงานเฉลิมฉลองร่วมกับประชาชนในสมัยของจักรพรรดิเหลือง (หวงตี้ ประมาณสองพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นการแซ่ซ้องคุณงามความดีและความเรืองรองของรัชสมัย จากรูปวาดโบราณจะเห็นว่าเป็นการเล่นเครื่องดนตรีบางชนิดไปพร้อมกับเดินเต้นไปด้วย ระบำนี้ในยุคสมัยโจวถูกใช้เป็นระบำหลักในการบวงสรวงฟ้าและเทพยดา (2) ‘เสียนฉือ’ (咸池) หรือ ‘ต้าเสียน’ (大咸) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิเหยา (ประมาณสองพันสามร้อยปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งคำว่าเสียนฉือเป็นชื่อเรียกเดิมของทิศพยัคฆ์ขาวหรือทิศตะวันตก ระบำเสียนฉือจึงถูกนำมาใช้เป็นระบำสักการะดินและเทพเจ้าแห่งผืนดิน (3) ‘ต้าสาว’ (大韶) เป็นระบำจากยุคสมัยจักรพรรดิซุ่น (ประมาณสองพันสองร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่เชิดชูความงดงามของธรรมชาติรอบกาย ผสมผสานบทกลอน ดนตรี และระบำเข้าด้วยกัน กล่าวคือมีคนอ่านกลอนเป็นท่วงทำนอง มีเสียงเครื่องดนตรีนับสิบชนิดบรรเลงประกอบโดยเน้นเสียงขลุ่ยเซียวเป็นหลัก และมีคนสวมหน้ากากแสดงเป็นเหล่าปักษาและนกเฟิ่งหวงฟ้อนรำ ถูกใช้เป็นระบำบวงสรวงสี่ทิศ (4) ‘ต้าเซี่ย’ (大夏) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์เซี่ย (ประมาณสองพันปีก่อนคริสตกาล) เป็นระบำที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต้าสู่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ถูกใช้เป็นระบำสักการะขุนเขาและสายน้ำ เป็นระบำโบราณเดียวที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันแม้ว่าจะผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่น้อย(ดูรูปประกอบ) (5) ‘ต้าฮู่’ (大濩) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณหนึ่งพันหกร้อยปีก่อนคริสตกาล) เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์เซี่ยสำเร็จ ใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษ (6) ‘ต้าอู่’ (大武) เป็นระบำยุคสมัยราชวงศ์โจว เพื่อเฉลิมฉลองการล้มราชวงศ์ซางสำเร็จ ถูกใช้เป็นระบำสักการะบรรพบุรุษเช่นกัน ทั้งนี้ ระบำสี่แบบแรกเป็นแบบที่เรียกว่า ‘เหวิน’ (หรือบุ๋น) แต่ระบำสองแบบสุดท้ายเป็นแบบที่เรียกว่า ‘อู่’ (หรือบู๊) ซึ่งเป็นการแสดงออกแนวฮึกเหิม นักแสดงถือโล่และอาวุธเช่นขวาน (แต่ไม่ได้ถอดเสื้อเหมือนใน <กำเนิดเทพเจ้า 1 อาณาจักรแห่งพายุ> นะ) ทั้งหมดนี้มีการกำหนดจัดเรียงแถวอย่างชัดเจน รวมแปดแถว แต่ละแถวแปดคน รวมหกสิบสี่คน และในงานใหญ่อาจมีการจัดการรำหลายแบบพร้อมกันบนลานกว้าง นอกจากนี้ ในงานใหญ่ยังมีการรำเสริมโดยเหล่าราชนิกุลชาย โดยกำหนดเป็นการรำอีกหกรูปแบบเรียกเป็น ‘รำเล็ก’ เพราะเป็นการรำเดี่ยวหรือกลุ่มเล็ก แต่ Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียดในชนิดของระบำ ทั้งนี้ ราชนิกุลชายในยุคราชวงศ์โจวเมื่ออายุสิบสามปีก็จะเริ่มเรียน ‘รำเล็ก’ อายุสิบห้าเรียนรำอาวุธ และเมื่ออายุได้ยี่สิบก็เรียน ‘รำใหญ่’ สำหรับพิธีบวงสรวงซึ่งก็คือหกระบำที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเอง และเมื่อสำเร็จการเรียนรู้ระบำต่างๆ เหล่านี้แล้วจึงเข้ารับราชการบรรจุเป็นขุนนางได้ ทักษะด้านการรำนี้ ถูกใช้สอนในเรื่องของความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยปรับท่าทางการเดินเหินให้สง่าผึ่งผาย รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับงานสักการะต่างๆ แน่นอนว่าสุภาพบุรุษต้องเรียนรู้การเล่นดนตรี เพียงแต่มันได้ถูกระบุเป็นหกทักษะของสุภาพบุรุษเท่านั้นเอง สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://app.xinhuanet.com/news/article.html?articleId=1e283da99d5077df8508b27c88bfaeae https://chinakongzi.org/zt/2021jikong/yange/202109/t20210922_521023.htm https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://m.jiemian.com/article/1154435.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://h.bkzx.cn/knowledge/1733 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 515 มุมมอง 0 รีวิว