• หนึ่งรำลึกกวนซาน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน

    ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่?

    จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน

    แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร

    ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก

    มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ

    ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด

    ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน
    ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://star.tom.com/202311/1572406490.html
    https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html
    https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap
    https://www.sohu.com/a/414709176_100091417
    https://www.sohu.com/a/497600136_100185418
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml
    https://www.sohu.com/a/730286086_121157391
    https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm
    https://www.gushiju.net/ju/1703370

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    หนึ่งรำลึกกวนซาน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ไม่รู้ภาษาจีนอาจไม่ทราบว่าชื่อจีนของซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> นั้นมีความหมายแตกต่างจากชื่อไทย (หรือแม้แต่ชื่อภาษาอังกฤษ) ชื่อจีนที่ว่านี้คือ ‘อี๋เนี่ยนกวนซาน’ (一念关山แปลตรงตัวว่า หนึ่งความคิด/รำลึก + เขากวนซาน) วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘กวนซาน’ กัน ภูเขาที่มีชื่อว่า ‘กวนซาน’ นี้เป็นสถานที่จริงหรือไม่? จากข้อมูลที่หาได้ กวนซานคือบริเวณที่ในสมัยโบราณเรียกว่าเขาหล่งซานบรรจบเขตพื้นที่ราบกวนจง (ไม่ไกลจากอดีตเมืองฉางอัน) (ดูแผนที่ภาพ 2) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมโบราณที่เชื่อมจีนและดินแดนทางตะวันตก และเป็นพื้นที่สมรภูมิอยู่หลายครั้งหลายคราเพราะเป็นเส้นทางผ่านเขตแดนที่เชื่อมขึ้นไปตะวันตกเฉียงเหนือก่อนจะเข้าสู่อาณาเขตเหลียวหรือชี่ตัน มันเป็นเทือกเขาสูงและชัน สูงกว่า 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ยากต่อการเดินทางและการป้องกัน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ไม่ได้เอ่ยชัดเจนถึงภูเขาหรือสถานที่ที่ชื่อว่า ‘กวนซาน’ จึงเป็นไปได้ว่าชื่อของซีรีส์นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่จริง Storyฯ เลยวางแผนที่ลงแล้วไปหยิบบทกวีโบราณมาดูกันว่าจริงแล้ว ‘กวนซาน’ หมายถึงอะไร ‘กวนซาน’ ปรากฏในบทกวีโบราณกว่าหนึ่งร้อยบท มักอยู่ในบริบทของบทกวีที่รำพันถึงความยากลำบากของชีวิต เปรียบเสมือนการเดินทางข้ามเขากวนซานที่ทั้งสูงทั้งอันตราย และเมื่อข้ามผ่านแล้วจะเดินทางกลับบ้านก็ยากยิ่งนัก มีบทกวีที่เตะตามาก ด้วยวรรคลงท้ายสองวรรคของบทกวีที่ใกล้เคียงกับชื่อซีรีส์นี้ คือวรรคที่กล่าวว่า “หนึ่งรำลึกถึงกวนซัน พันลี้พะวงถึงถ้ำรังจิ้งจอก” (一念起关山 千里顾丘窟) ซึ่งในที่นี้ ถ้ำรังจิ้งจอกเป็นการอุปมาอุปไมยถึงบ้านเกิด เพราะว่ากันว่าเวลาจิ้งจอกบาดเจ็บใกล้ตายจะพยายามกลับรัง บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘เชวี่ยตงซีเหมินสิง’ (却东西门行 แปลได้ประมาณว่า ละทิ้ง(เมือง)ตะวันออกเดินทางออกประตูตะวันตก) ของเสิ่นเยวี้ย ประพันธ์ขึ้นในสมัยราชวงศ์ใต้ บรรยายถึงการเดินทางของคนคนหนึ่งที่ขี่ม้ามุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกข้ามผ่านแนวเขา ย้อนมองเมืองหลวง (เมืองตะวันออก) แต่เมืองหลวงค่อยๆ เลือนหายไปในหมอกควัน วันเวลาที่ผันผ่านยิ่งทำให้รำลึกถึงอดีต ยามมองทิวเขานึกถึงถ้ำรังจิ้งจอกคือหวนคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน สะท้อนถึงชีวิตจริงของกวีที่ต้องจากลาเมืองหลวงเมื่อตระกูลตกต่ำ ดังนั้น ‘กวนซาน’ ในบทกวีนี้คือหมายถึงมาตุภูมิ และในอีกหลายบทกวีคำว่า ‘กวนซาน’ ก็ถูกนำมาใช้เพื่อสะท้อนถึงความหมายนี้เช่นกัน และ Storyฯ คิดว่าชื่อภาษาจีนของ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> สะท้อนได้ดีถึงการเดินเรื่องด้วยเรื่องราวความพยายามที่จะพาฮ่องเต้แคว้นอู๋กลับบ้าน และเรื่องราวความรักและความเสียสละของเหล่าตัวละครที่มีต่อแผ่นดินเกิด ... หนึ่งรำลึกคือกวนซาน ... หนึ่งรำลึกคือมาตุภูมิ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://star.tom.com/202311/1572406490.html https://topimage.design/images/5cffdf94ccb56d3ea8caeb7d.html https://collection.sina.com.cn/plfx/20141223/1032174072.shtml?from=wap https://www.sohu.com/a/414709176_100091417 https://www.sohu.com/a/497600136_100185418 https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://mt.sohu.com/20170416/n488714328.shtml https://www.sohu.com/a/730286086_121157391 https://www.cidianwang.com/lishi/diming/6/63246lp.htm https://www.gushiju.net/ju/1703370 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #กวนซาน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว