• มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ร่างใหม่อิเซตันในไทย

    การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) บนถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 หนึ่งในแมกเนต คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์แบบญี่ปุ่น "มิตซูโคชิ เดปาจิกะ" (Mitsukoshi Depachika) แห่งแรกในไทย บนพื้นที่ 4,600 ตารางเมตร ที่ชั้น B1 โซนพาเหรด (Parade) จากสถานีรถไฟฟ้า MRT ลุมพินี ทางออก 1 ขึ้นบันไดเลื่อนแล้วเลี้ยวขวา เปิดให้บริการแบบซอฟต์โอเพนนิง ก่อนเปิดเต็มรูปแบบในปี 2568

    ช่วงแนะนำถึง 31 ธ.ค. 2567 สำหรับลูกค้าสมัครสมาชิกที่บูทกิจกรรม โดยแสกนคิวอาร์โค้ด แอดไลน์และลงทะเบียน รับโบนัสพอยท์ 400 คะแนน สามารถใช้เป็นส่วนลด 50 บาทได้ที่แคชเชียร์ ในไลน์ยังมีคูปองสมาชิก 2 ใบ (ซื้อ 500 บาท ลด 35 บาท และซื้อ 800 บาท ลด 100 บาท) ใช้ได้ถึง 31 ธ.ค. 2567 ซื้อสินค้า 1,200 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จรับฟรีกระเป๋าเก็บความเย็น ถึง 30 พ.ย. 2567 โดยสมาชิกซื้อสินค้าทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน ครบ 8 คะแนนใช้เป็นส่วนลดได้ 1 บาท

    จากการสังเกตพบว่ามีทั้งสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ต่างประเทศ กับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย อาหารสดเน้นไปที่อาหารญี่ปุ่น ผลไม้ ช็อกโกแลต อีกด้านจะรวมร้านอาหาร เครื่องดื่ม และขนมหวาน ถ้าเปรียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน เทียบได้กับ ทาคา มาร์เช่ (TAKA Marche') ของห้างสยามทาคาชิมายะ (Siam Takashimaya) ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี

    การเปิดตัว มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ถือเป็นการกลับมาของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่น อิเซตัน มิตซูโคชิ (Isetan Mitsukoshi) หลังจากยุติการดำเนินธุรกิจห้างอิเซตัน ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากหมดสัญญาเช่า หลังเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2535 สมัยที่ยังเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ยาวนานถึง 28 ปี แต่ที่ผ่านมาอิเซตันก็ปิดห้างสรรพสินค้าในหลายประเทศ

    กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ไม่ได้ทำห้างฯ เหมือนแต่ก่อน แต่นำ "เดปาจิกะ" เป็นคำประสมของคำว่า "เดปา" ซึ่งย่อมาจาก Department Store และ "จิกะ" แปลว่าชั้นใต้ดิน รวมกันเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกศูนย์รวมร้านค้าและร้านอาหารชั้นใต้ดินของห้างฯ เป็นไปได้ว่าเพราะมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่ชื่นชอบสินค้าและอาหารญี่ปุ่น สมัยห้างอิเซตัน ลูกค้าชาวไทยนิยมอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ที่เคยเปิดบนชั้น 5 เซ็นทรัลเวิลด์ ครั้งนี้จึงเน้นไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์เป็นหลัก

    นอกจากนี้ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ยังร่วมลงทุนในอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 กับกลุ่มสิริวัฒนภักดีอีกด้วย

    #Newskit #OneBangkok #MITSUKOSHIDEPACHIKA
    มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ร่างใหม่อิเซตันในไทย การเปิดตัวโครงการวันแบงค็อก (One Bangkok) บนถนนพระรามที่ 4 เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2567 หนึ่งในแมกเนต คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์แบบญี่ปุ่น "มิตซูโคชิ เดปาจิกะ" (Mitsukoshi Depachika) แห่งแรกในไทย บนพื้นที่ 4,600 ตารางเมตร ที่ชั้น B1 โซนพาเหรด (Parade) จากสถานีรถไฟฟ้า MRT ลุมพินี ทางออก 1 ขึ้นบันไดเลื่อนแล้วเลี้ยวขวา เปิดให้บริการแบบซอฟต์โอเพนนิง ก่อนเปิดเต็มรูปแบบในปี 2568 ช่วงแนะนำถึง 31 ธ.ค. 2567 สำหรับลูกค้าสมัครสมาชิกที่บูทกิจกรรม โดยแสกนคิวอาร์โค้ด แอดไลน์และลงทะเบียน รับโบนัสพอยท์ 400 คะแนน สามารถใช้เป็นส่วนลด 50 บาทได้ที่แคชเชียร์ ในไลน์ยังมีคูปองสมาชิก 2 ใบ (ซื้อ 500 บาท ลด 35 บาท และซื้อ 800 บาท ลด 100 บาท) ใช้ได้ถึง 31 ธ.ค. 2567 ซื้อสินค้า 1,200 บาทขึ้นไปต่อใบเสร็จรับฟรีกระเป๋าเก็บความเย็น ถึง 30 พ.ย. 2567 โดยสมาชิกซื้อสินค้าทุก 25 บาท รับ 1 คะแนน ครบ 8 คะแนนใช้เป็นส่วนลดได้ 1 บาท จากการสังเกตพบว่ามีทั้งสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ต่างประเทศ กับสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย อาหารสดเน้นไปที่อาหารญี่ปุ่น ผลไม้ ช็อกโกแลต อีกด้านจะรวมร้านอาหาร เครื่องดื่ม และขนมหวาน ถ้าเปรียบกับคู่แข่งในระดับเดียวกัน เทียบได้กับ ทาคา มาร์เช่ (TAKA Marche') ของห้างสยามทาคาชิมายะ (Siam Takashimaya) ในศูนย์การค้าไอคอนสยาม ที่เปิดให้บริการมาแล้ว 6 ปี การเปิดตัว มิตซูโคชิ เดปาจิกะ ถือเป็นการกลับมาของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกสัญชาติญี่ปุ่น อิเซตัน มิตซูโคชิ (Isetan Mitsukoshi) หลังจากยุติการดำเนินธุรกิจห้างอิเซตัน ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2563 หรือเมื่อ 4 ปีก่อน เนื่องจากหมดสัญญาเช่า หลังเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2535 สมัยที่ยังเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ยาวนานถึง 28 ปี แต่ที่ผ่านมาอิเซตันก็ปิดห้างสรรพสินค้าในหลายประเทศ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ไม่ได้ทำห้างฯ เหมือนแต่ก่อน แต่นำ "เดปาจิกะ" เป็นคำประสมของคำว่า "เดปา" ซึ่งย่อมาจาก Department Store และ "จิกะ" แปลว่าชั้นใต้ดิน รวมกันเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกศูนย์รวมร้านค้าและร้านอาหารชั้นใต้ดินของห้างฯ เป็นไปได้ว่าเพราะมีฐานลูกค้าจำนวนมากที่ชื่นชอบสินค้าและอาหารญี่ปุ่น สมัยห้างอิเซตัน ลูกค้าชาวไทยนิยมอาหารญี่ปุ่นแบบต้นตำรับ ที่เคยเปิดบนชั้น 5 เซ็นทรัลเวิลด์ ครั้งนี้จึงเน้นไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดฮอลล์เป็นหลัก นอกจากนี้ กลุ่มอิเซตัน มิตซูโคชิ ยังร่วมลงทุนในอาคารสำนักงาน วัน แบงค็อก ทาวเวอร์ 4 กับกลุ่มสิริวัฒนภักดีอีกด้วย #Newskit #OneBangkok #MITSUKOSHIDEPACHIKA
    Like
    Yay
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 766 มุมมอง 0 รีวิว