• ข่าวปลอมมาเลเซีย มีถ้ำใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์

    การค้นหาร่างของนางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ประสบอุบัติเหตุตกลงไปในหลุมที่ยุบตัวลงมา บริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ หลังจากประสบเหตุเมื่อเวลา 08.44 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

    สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซียรายงานว่า ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ (26 ส.ค.) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงของบริษัท อินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) ล้างเศษหินที่ห่างจากท่อระบายน้ำหน้าหอพักยากิน (Wisma Yakin) ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ตรวจสอบว่ามีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่บนเศษหินหรือไม่ นอกจากนี้ บริษัท IWK ยังได้ล้างท่อระบายน้ำทั้งหมดตามแนวท่อระบายน้ำ และตรวจสอบโรงบำบัดน้ำเสียที่ย่านพันตายดาลัม แต่ไม่พบเบาะแสใดๆ

    ด้านศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DBKL) ได้ร่วมมือกับนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประเมินสถานการณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบอีก

    นางซาลิฮา มุสตาฟา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของเขตปกครองกลางมาเลเซีย กล่าวว่า ได้พูดคุยกับนายไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชารีฟ นายกเทศมนตรีกรุงกัวลาลัมเปอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุแนวทางดำเนินการและยุทธศาสตร์ระยะยาวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

    โดยอาจเป็นไปได้ที่จะทบทวนนโยบายการวางผังเมืองในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หลุมยุบอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฝ่ายดินแดนสหพันธ์และกรุงกัวลาลัมเปอร์จะเสริมขั้นตอนปฎิบัติงาน โดยต้องส่งผลการศึกษาด้านธรณีเทคนิคจากวิศวกรในระหว่างยื่นขออนุมัติการวางผังเมือง

    พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานงานกับนายบีเอ็น เรดดี้ ข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำมาเลเซีย รายงานความคืบหน้าปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัยนักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียอย่างต่อเนื่อง โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ สิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ เหตุการณ์ล่าสุดเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาและปรับปรุงวิธีการเฝ้าระวังและตอยสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

    ด้านกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ขยายวีซ่าให้กับสมาชิกในครอบครัวของนางวิชัยลักษณี 4 คน พร้อมกันนี้ ยังมีตัวแทนของนายอาห์หมัด ซาฮิด ฮามิดิ รองนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวที่จุดเกิดเหตุ พร้อมมอบความช่วยเหลือและแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ผลจากเหตุการณ์หลุมยุบที่เกิดขึ้น บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์บทความที่อ้างว่ามาจาก ดร.ซาราห์ จามาล จากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา (UM) อ้างว่ามี “ถ้ำร้างขนาดใหญ่” อยู่ใต้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ทำให้ภาควิชาธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยมาลายา ปฎิเสธรายงานดังกล่าว โดยระบุว่าไม่มีนักธรณีวิทยาคนดังกล่าวทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย

    รศ.ดร.เมียร์ ฮาคิฟ อามีร์ ฮัสซัน หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา ยืนยันว่าไม่มีนักธรณีวิทยาชื่อซาราห์ จามาล คนใดที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการธรณีวิทยามาเลเซีย เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้อิงตามข้อเท็จจริงและเป็นเท็จ ภาควิชากำลังใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์หลุมยุบที่ถนนมัสยิดอินเดีย เนื่องจากการค้นหาผู้สูญหายและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินต่อไป

    #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    ข่าวปลอมมาเลเซีย มีถ้ำใหญ่ในกัวลาลัมเปอร์ การค้นหาร่างของนางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ประสบอุบัติเหตุตกลงไปในหลุมที่ยุบตัวลงมา บริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดำเนินการต่อเนื่องเป็นวันที่สี่ หลังจากประสบเหตุเมื่อเวลา 08.44 น. ของเช้าวันศุกร์ที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซียรายงานว่า ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ (26 ส.ค.) ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงของบริษัท อินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (IWK) ล้างเศษหินที่ห่างจากท่อระบายน้ำหน้าหอพักยากิน (Wisma Yakin) ประมาณ 4 เมตร เพื่อให้ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) ตรวจสอบว่ามีวัสดุแปลกปลอมติดอยู่บนเศษหินหรือไม่ นอกจากนี้ บริษัท IWK ยังได้ล้างท่อระบายน้ำทั้งหมดตามแนวท่อระบายน้ำ และตรวจสอบโรงบำบัดน้ำเสียที่ย่านพันตายดาลัม แต่ไม่พบเบาะแสใดๆ ด้านศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DBKL) ได้ร่วมมือกับนักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประเมินสถานการณ์และลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบอีก นางซาลิฮา มุสตาฟา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ของเขตปกครองกลางมาเลเซีย กล่าวว่า ได้พูดคุยกับนายไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชารีฟ นายกเทศมนตรีกรุงกัวลาลัมเปอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบุแนวทางดำเนินการและยุทธศาสตร์ระยะยาวในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจเป็นไปได้ที่จะทบทวนนโยบายการวางผังเมืองในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์หลุมยุบอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งฝ่ายดินแดนสหพันธ์และกรุงกัวลาลัมเปอร์จะเสริมขั้นตอนปฎิบัติงาน โดยต้องส่งผลการศึกษาด้านธรณีเทคนิคจากวิศวกรในระหว่างยื่นขออนุมัติการวางผังเมือง พร้อมกันนี้ ยังได้ประสานงานกับนายบีเอ็น เรดดี้ ข้าหลวงใหญ่อินเดียประจำมาเลเซีย รายงานความคืบหน้าปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัยนักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียอย่างต่อเนื่อง โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ สิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหานี้ เหตุการณ์ล่าสุดเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้พิจารณาและปรับปรุงวิธีการเฝ้าระวังและตอยสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ด้านกรมตรวจคนเข้าเมืองมาเลเซีย ได้ขยายวีซ่าให้กับสมาชิกในครอบครัวของนางวิชัยลักษณี 4 คน พร้อมกันนี้ ยังมีตัวแทนของนายอาห์หมัด ซาฮิด ฮามิดิ รองนายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับสมาชิกในครอบครัวดังกล่าวที่จุดเกิดเหตุ พร้อมมอบความช่วยเหลือและแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลจากเหตุการณ์หลุมยุบที่เกิดขึ้น บนโซเชียลมีเดียมีการแชร์บทความที่อ้างว่ามาจาก ดร.ซาราห์ จามาล จากภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา (UM) อ้างว่ามี “ถ้ำร้างขนาดใหญ่” อยู่ใต้กรุงกัวลาลัมเปอร์ ทำให้ภาควิชาธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยมาลายา ปฎิเสธรายงานดังกล่าว โดยระบุว่าไม่มีนักธรณีวิทยาคนดังกล่าวทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัย รศ.ดร.เมียร์ ฮาคิฟ อามีร์ ฮัสซัน หัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยมาลายา ยืนยันว่าไม่มีนักธรณีวิทยาชื่อซาราห์ จามาล คนใดที่ขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการธรณีวิทยามาเลเซีย เนื้อหาของบทความนี้ไม่ได้อิงตามข้อเท็จจริงและเป็นเท็จ ภาควิชากำลังใช้ความระมัดระวังในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์หลุมยุบที่ถนนมัสยิดอินเดีย เนื่องจากการค้นหาผู้สูญหายและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ยังคงดำเนินต่อไป #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    Haha
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 919 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง

    โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา

    ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ

    สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว

    ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด

    เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้

    ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม

    จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย

    โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang)

    ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า

    อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย

    จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว

    เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป

    ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf

    [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html

    #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    หลุมยุบกัวลาลัมเปอร์ นักท่องเที่ยวอินเดียร่วง โศกนาฎกรรมที่สร้างความตกใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุมยุบบริเวณถนนมัสยิดอินเดีย (Jalan Masjid India) เป็นเหตุทำให้นางวิชัยลักษณี (Vijayalakshmi) นักท่องเที่ยวหญิงชาวอินเดียวัย 48 ปี ตกลงไปในหลุมดังกล่าว ซึ่งมีความลึกประมาณ 8 เมตร เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 08.44 น. ตามเวลาบนกล้องวงจรปิด ของวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ทีมปฎิบัติการค้นหาและกู้ภัย (SAR) เข้าค้นหานักท่องเที่ยวชาวอินเดีย โดยเปิดท่อระบายน้ำรอบพื้นที่รวม 6 แห่ง เข้าไปค้นหาครั้งละ 2-3 คน ใช้เวลาประมาณ 20 นาที รวมทั้งโรงบำบัดน้ำเสียบริษัทอินดะห์ วอเตอร์ คอนซอร์เตียม (Indah Water Konsortium หรือ IWK) ย่านปันตาย ดาลัม ซึ่งเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องรับมือกับกระแสน้ำเชี่ยวในท่อระบายน้ำ และมีแก๊สที่อาจเป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปกว่า 3 วัน กลับไม่พบเบาะแสใดๆ สำนักข่าวเบอร์นามา รายงานว่า นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยืนยันว่าปฎิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้สูญหายจะยังคงดำเนินต่อไป พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ ศาลาว่าการกรุงกัวลาลัมเปอร์ (DKBL) ให้ไปพบกับครอบครัวของผู้สูญหายแล้ว ด้านนายฟาดิลลาห์ ยูซอฟ รองนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุว่า เกิดจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างของดิน โดยเมื่อชั้นหินปูนขัดขวางการไหลของน้ำใต้ดิน ส่งผลให้ดินไม่มั่นคงและเกิดหลุมยุบ บางครั้งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าหลุมยุบจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ใด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมาเลเซียเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีหินปูนและสภาพธรณีวิทยาเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ด้วยความรู้และเทคโนโลยีที่ถูกต้องจะทำให้เหตุการณ์เช่นนี้ลดน้อยลงและดำเนินมาตรการป้องกันเพื่อปกป้องชุมชนและบรรเทาผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้ ขณะที่นายเจฟฟรีย์ เชียง ชุง ลุยน์ ประธานสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย (IEM) เรียกร้องให้มีการสืบสวนเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างละเอียด เพราะจากการสังเกตผ่าน Google Maps พบว่าตำแหน่งหลุมยุบอยู่ห่างจากแม่น้ำแคลงประมาณ 24 เมตร และจากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอ พบว่าหลุมยุบอาจเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน แม้ว่าจะยังไม่ระบุสาเหตุที่แน่ชัดก็ตาม จากรายงานหัวข้อ "Karstic Features of Kuala Lumpur Limestone" [1] ที่กล่าวถึงลักษณะของหินปูนของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเขียนโดย นายตัน ไซมอน เสี่ยว เมง จากสถาบันวิศวกรแห่งมาเลเซีย ระบุว่า ชั้นหินปูนในกรุงกัวลาลัมเปอร์มีลักษณะไม่แน่นอน พบในบริเวณเหมืองแร่ดีบุก แต่หลังเหมืองปิดตัวลง พื้นที่เหมืองแร่ถูกปกคลุมไปด้วยเศษซากตั้งแต่โคลนถึงทราย โดยคาดว่าหินปูนมีความหนาประมาณ 1,850 เมตร ทับอยู่บนหินชนวนกราไฟต์ที่เรียกว่า ฮอร์ธอร์นเดน ชีสต์ (Hawthornden Schist) ส่วนบนสุดของลำดับชั้นคือชั้นหินเคนนี่ ฮิลล์ (Kenny Hill) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ รวมถึงพื้นที่ย่าน KLCC (Kuala Lumpur City Centre) และบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า หินปูนเกิดจากกระบวนการละลายทางเคมี ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบด้วยหลุม แอ่งชัน และช่องทางสารละลาย ส่งผลให้ชั้นหินปูนมีรูปร่างไม่แน่นอน เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากในการก่อสร้างฐานราก ซึ่งการเกิดหลุมยุบมาจากการเคลื่อนตัวของชั้นหินปูน เนื่องจากการซึมของน้ำใต้ดิน ระดับน้ำใต้ดินที่ลดลง การรับน้ำหนักเพิ่ม การสั่นสะเทือน การเจาะรูหรือเสาเข็มบนช่องว่างของหินปูนโดยตรง ซึ่งหินปูนที่ปกคลุมด้วยดินบางจะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบมากกว่า อีกด้านหนึ่ง การก่อสร้างรถไฟใต้ดินสายสุไหงบูเลาะห์-กาจัง (Sungai Buloh-Kajang) [2] บางช่วงเป็นเส้นทางใต้ดิน ยาว 9.5 กิโลเมตร มี 7 สถานีใต้ดิน หนึ่งในนั้นคือสถานีตุน ราซัค เอ็กซ์เชนจ์ (TRX) ซึ่งมีความลึกเทียบเท่าตึก 13 ชั้น พบว่ามีหินปูนในชั้นหินปูนกัวลาลัมเปอร์ บริเวณอยู่ทางทิศตะวันออกของย่านบูกิตบินตังมีลักษณะไม่แน่นอน หากไม่ค้นพบก่อนอาจเกิดอันตราย จึงต้องพัฒนาเครื่องเจาะอุโมงค์ (TBM) แบบพิเศษที่เรียกว่า แวริเอเบิล เดนซิตี้ (Variable Density) ที่พัฒนาระหว่างบริษัทเฮอร์เร็นคเน็ช เอจี (Herrenknecht AG) ผู้ผลิตเครื่องเจาะอุโมงค์จากเยอรมนี และบริษัทร่วมทุน เอ็มเอ็มซี กามูดา (MMC Gamuda) สามารถปรับความหนาแน่นและความหนืดของสารละลายได้ ป้องกันไม่ให้ไหลเข้าไปในโพรงหรือรอยแยกไปสู่พื้นผิว เหตุการณ์หลุมยุบกะทันหันใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์ครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการป้องกันภัยพิบัติ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ชั้นนำของอาเซียน ที่มีประชากรกว่า 8.8 ล้านคน อุดมไปด้วยความเจริญทางเศรษฐกิจ อาคารสูง และโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางด่วนและรถไฟฟ้าที่เพียบพร้อม นอกจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อฝนตกหนักมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป ที่มา : [1] https://nrmt.wordpress.com/wp-content/uploads/2011/04/kl-limestone-paper.pdf [2] https://thehub.mmc.com.my/2017Q3/page54.html #Newskit #KualaLumpur #JalanMasjidIndia
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1021 มุมมอง 0 รีวิว