• โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 263 มุมมอง 0 รีวิว