• พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 Comments 0 Shares 112 Views 0 Reviews