• BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้

    เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก

    กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter)

    นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567

    สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว)

    ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ

    โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    BRT สายแรกในลาว คาดแล้วเสร็จ ธ.ค.นี้ เมื่อวันก่อนสื่อออนไลน์ในประเทศลาว เผยแพร่ภาพความคืบหน้าการก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) เขตโพนสะอาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ตามโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (Bus Rapid Transit หรือ BRT) ภายใต้ชื่อโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมือง (Vientiane Sustainable Urban Transport Project หรือ VSUTP) ซึ่งมึความคืบหน้าไปมาก กระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ดำเนินโครงการทั้งหมด 5 สัญญา ได้แก่ ก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT ช่วงสวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และช่วงประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว พร้อมก่อสร้างที่นั่งรอรถเมล์ (Bus Shelter) นอกจากนี้ ยังก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT วางสายใยแก้ว (Fiber Optic) ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และก่อสร้างและติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อเดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยมีแผนจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2567 สำหรับรูปแบบการให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT นครหลวงเวียงจันทน์ มีทั้งหมด 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง A สถานีขนส่งสายเหนือ-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ศูนย์การค้าไอเต็ก มอลล์, เส้นทาง B ธาตุทอง-สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ท่าง่อน และเส้นทาง D สวนเจ้าฟ้างุ้ม-ตลาดเช้า-ประตูชัย-ดงโดก (มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว) ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้าความยาว 12 เมตร ขนาด 40 ที่นั่ง มีที่นั่งพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และผู้พิการ รองรับรถเข็นวีลแชร์ เปิดให้บริการตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลัก BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) และองค์กรอื่นๆ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ADB คาดการณ์ว่าประชาชนจะหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรองรับนักท่องเที่ยว สามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครหลวงเวียงจันทน์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น #Newskit #VientianeBRT #VSUTP
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 987 มุมมอง 0 รีวิว
  • BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV

    เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป

    รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code

    สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ

    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา

    สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ

    โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท

    ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน

    อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป

    ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด

    #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    BRT เก่าไปใหม่มา จาก NGV สู่รถบัส EV เช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย. 2567 รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT) สายสาทร-ราชพฤกษ์ ใช้รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า (EV) เป็นวันแรก ทดแทนรถโดยสารปรับอากาศใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2553 ยาวนานถึง 14 ปี โดยเดินรถวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ก่อนนำรถโดยสารคันเก่าจำนวน 15 คัน ไปไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมส่วนกลาง สายสะพานใหม่-คูคต เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปลดระวางต่อไป รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที BRT-EV โฉมใหม่ เป็นพื้นชานต่ำ มีที่นั่งรวม 30 ที่นั่ง ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง มีประตูขึ้น-ลงบริเวณตอนกลางของรถทั้งสองฝั่ง พร้อมทางลาดสำหรับรถเข็นผู้พิการ หรือวีลแชร์ พร้อมติดตั้งกล้องซีซีทีวี 5 ตัว ติดตั้งระบบ GPS พร้อมหน้าจอแสดงตำแหน่งแบบเรียลไทม์ภายในรถ และประตูทางออกฉุกเฉิน ส่วนระบบเก็บค่าโดยสาร ปรับมาใช้ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติบนรถ แทนการซื้อตั๋วที่สถานี รับชำระผ่านบัตรแรบบิทหรือสแกน QR Code สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร (สจส.กทม.) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี (BTSC) ให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2567 เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00-22.00 น. ทุกวัน พร้อมกันนี้ยังได้เพิ่มจุดรับ-ส่งผู้โดยสารเพิ่มเติมอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีถนนจันทน์เหนือ และสถานีถนนจันทน์ใต้ รวมจุดจอดทั้งหมด 14 สถานี สำหรับค่าโดยสาร กทม.จะเป็นผู้กำหนด เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นไปในลักษณะจ้างเอกชนเดินรถ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 ก.พ. บีทีเอสซี ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบการเดินรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ด้วยวิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ของ กทม. เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 465 ล้านบาท โดยสัญญามีอายุ 5 ปี ระหว่างปี 2567-2572 จากนั้นได้สั่งซื้อรถโดยสารจากบริษัท อรุณพลัส จำกัด บริษัทย่อยของกลุ่ม ปตท. จำนวน 23 คัน โดยให้บริษัท เชิดชัย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผลิตตัวถังรถโดยสารที่โรงงานในจังหวัดนครราชสีมา สำหรับโครงการรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษบีอาร์ที (BRT หรือ Bus Rapid Transit) กทม.เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2550 มีระยะทาง 15.9 กิโลเมตร แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีสาทร บริเวณแยกสาทร-นราธิวาสฯ ไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ถึงแยกพระรามที่ 3-นราธิวาสฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนพระรามที่ 3 ขึ้นสะพานพระราม 3 ไปตามถนนรัชดาภิเษก สิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ บริเวณแยกรัชดาฯ-ตลาดพลู โดยมีช่องทางการเดินรถแยกจากช่องทางปกติควบคู่กับระบบขนส่งอัจฉริยะ โครงการนี้เกิดขึ้นในสมัยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ได้เดินรถในสมัย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็นผู้ว่าฯ กทม. ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 2,078.47 ล้านบาท ที่ผ่านมา กทม. ว่าจ้างบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด หรือ เคที (KT) วิสาหกิจของ กทม. ให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถเป็นระยะเวลา 7 ปี โดยได้ให้สิทธิเอกชน คือ บีทีเอสซี เป็นผู้เดินรถ รายได้จากค่าโดยสารนำส่ง กทม. ทั้งหมด และ กทม. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่โครงการฯ เมื่อสิ้นสุดสัญญาจึงมอบหมายให้เคทีเป็นผู้ดำเนินการโครงการ ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. 2560 ถึง 31 ส.ค. 2566 โดยข้อมูล ณ เดือน มิ.ย. 2566 มีปริมาณผู้โดยสารรวม 258,415 เที่ยว-คน อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ที่ผ่านมาขาดทุนสะสมต่อเนื่องปีละ 200 ล้านบาท เพราะผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 25,000 คน ส่วนหนึ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับสิทธิใช้บริการฟรี และผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร ทำให้การให้บริการไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังมีรถบางคันเข้ามาวิ่งในเลนรถด่วนพิเศษ จึงใช้เวลาเดินทางไม่ต่างกับรถโดยสารธรรมดา ทำให้ครั้งหนึ่ง กทม. เคยประกาศยกเลิกโครงการเมื่อปี 2560 แต่มีเสียงคัดค้าน ต้องเลื่อนแผนการยกเลิกโครงการฯ ออกไป ถึงยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยวันละ 900-1,000 คน และสัญญาได้หมดลงในวันที่ 31 ส.ค. 2566 จึงให้เดินรถต่อไปก่อนโดยไม่คิดค่าโดยสาร และให้ สจส.กทม. เป็นผู้ดำเนินการเองแทนเคที กระทั่งจัดการประมูลด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วงเงินงบประมาณ 478,932,000 บาท สัญญาจ้าง 5 ปี มีเอกชนซื้อซองข้อเสนอจำนวน 2 ราย ได้แก่ บีทีเอสซี และบริษัท ไทยสมาล์บัส จำกัด หรือทีเอสบี กระทั่งบีทีเอสซีชนะประมูลในที่สุด #Newskit #BRTEV #รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1113 มุมมอง 0 รีวิว