• เกิงฟู คนบอกเวลา

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา

    คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน

    จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1)

    จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป

    เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว

    เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร?

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้

    เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ
    - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว
    - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด
    - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด

    เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้
    - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง
    - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว

    Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย

    ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน

    ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว?

    สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม

    การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย

    อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/打更/2113152
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910
    https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news
    https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe
    https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe

    #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    เกิงฟู คนบอกเวลา สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเกี่ยวกับนาฬิกาหยดน้ำโบราณ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกบ้านที่จะมีอุปกรณ์บอกเวลาเพราะนาฬิกาในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายหรือนาฬิกาหยดน้ำนั้น ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่มีใช้เฉพาะในวังหรือกลุ่มคนมีอันจะกิน ส่วนชาวบ้านธรรมดานั้น กลางวันมักอาศัยการสังเกตตำแหน่งของดวงอาทิตย์ และกลางคืนสามารถจุดธูปเพื่อวัดเวลา ซึ่งธูปแต่ละชนิดออกแบบมาให้เผาไหม้หมดในเวลาที่กำหนด เช่น 30 นาทีหรือ 60 นาทีเป็นต้น แต่การจุดธูปนั้นสิ้นเปลืองและไม่สามารถทำได้ตลอดคืน ดังนั้น ชาวบ้านทั่วไปจึงต้องพึ่งพาคนบอกเวลา คนบอกเวลาหรือ ‘เกิงฟู’ (更夫) หรือ ‘ต่าเกิงเหริน’ (打更人) เป็นหนึ่งในตัวละครไร้นามที่เราเห็นบ่อยในซีรีส์ยามค่ำคืนที่เดินตีฆ้องหรือตีกระบอกไม้และตะโกน “ระวังฟืนระวังไฟ” วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ก่อนอื่นคุยกันเล็กน้อยเกี่ยวกับการนับเวลาจีนโบราณ เพื่อนเพจหลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าจีนโบราณแบ่งเวลาเป็นสิบสองชั่วยาม ชั่วยามหนึ่งเทียบเท่าสองชั่วโมง แต่เชื่อว่าหลายท่านคงงงกับคำว่า ‘เกิง’ ซึ่งเป็นคำที่ใช้สำหรับช่วงเวลากลางคืน จีนโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้ายามหรือ ‘เกิง’ (更 ซึ่งในสมัยโบราณออกเสียงว่า ‘จิง’ ต่อมาปรับใช้เป็น ‘เกิง’ จวบจนปัจจุบัน) โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 1-3 ทุ่ม เรียกว่า ‘เกิงที่หนึ่ง’ หรือยามหนึ่ง ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่เตรียมตัวเข้านอนสำหรับคนทั่วไป และไปสิ้นสุดที่ตี 3-5 เรียกว่า ‘เกิงที่ห้า’ หรือยามห้า ซึ่งก็คือเวลาตื่นและเตรียมพร้อมไปทำงานนั่นเอง จึงเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ยามสามกลางดึก’ (三更半夜 / ซันเกิงป้านเยี่ย) ซึ่งยามสามก็คือช่วงเวลากึ่งกลางของกลางคืนพอดี (คือระหว่าง 5 ทุ่ม - ตี 1) จริงๆ แล้วโดยปกติคนบอกยามหรือเกิงฟูมักออกเดินเป็นคู่ ไม่ค่อยฉายเดี่ยวเหมือนที่เห็นในซีรีส์ เพื่อว่าจะได้ช่วยเหลือกันได้หากเกิดเหตุอะไร พวกเขาไม่ใช่อาสาสมัคร ได้เงินค่าจ้างจากรัฐบาล แต่ไม่ใช่ข้าราชการและมีสถานะทางสังคมเหมือนพวกที่ใช้แรงงานหยาบทั่วไป เกิงฟูมีมาแต่ยุคสมัยใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่ได้ชัดเจน บ้างว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่ไม่ว่ายุคสมัยใด เกิงฟูจริงๆ แล้วทำหลายหน้าที่มากกว่าการบอกเวลา หน้าที่สำคัญอีกหน้าที่หนึ่งคือการดูแลและเตือนภัยหรือก็คือหน้าที่ รปภ. นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการคอยสอดส่องหรือเตือนภัยเพลิงไหม้ สัตว์ป่าบุกรุก ขโมยขโจร หรือแม้แต่คนแปลกหน้าเพ่นพ่านยามวิกาล ดังนั้นในช่วงสงคราม เมืองสำคัญต่างๆ จะมีเกิงฟูมากกว่าปกติ นอกจากนี้ เกิงฟูยังเตือนเรื่องสภาพอากาศเช่น หนาวจัด จะมีฝน ลมแรง ฯลฯ ดังนั้นคำตะโกนของเกิงฟูจะผันแปรไปตามสภาพความเป็นจริง ไม่ใช่แค่ “อากาศแห้ง ระวังฟืนระวังไฟ” แบบที่เรามักได้ยินในซีรีส์อย่างเดียว เกิงฟูบอกเวลาอย่างไร? เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกเหมือน Storyฯ ว่าเขาก็คงตีฆ้องหรือกระบอกไม้เป็นจำนวนครั้งตามเวลา เช่น ยามที่หนึ่ง ตีหนึ่งครั้ง ฯลฯ แต่จริงๆ แล้วเขามีจังหวะยาวสั้นหรือใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ เพื่อว่าเวลาคนฟังจะได้ไม่หลงว่าได้ยินซ้ำของเก่าหรือไม่ Storyฯ ลองเปรียบเทียบข้อมูลดู พบว่ามีสองเวอร์ชั่นสรุปได้ดังนี้ เวอร์ชั่นแรก ใช้จังหวะยาว(ช้า)และสั้น(เร็ว)สลับกัน คือ - เกิงที่หนึ่ง ตียาวหนึ่งครั้งสั้นหนึ่งครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สอง ตีสั้นติดกันสองครั้ง ตีได้ต่อเนื่องหลายๆ ชุด ประหนึ่งว่าไล่ให้ไปนอนได้แล้ว - เกิงที่สาม ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสองครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่สี่ ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสามครั้ง รวมสามชุด - เกิงที่ห้า ตียาวหนึ่งครั้งสั้นสี่ครั้ง รวมสามชุด เวอร์ชั่นที่สอง ใช้สลับฆ้องและกระบอกไม้ ดังนี้ - เกิงที่หนึ่ง ตีฆ้องหนึ่งครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สอง ตีฆ้องสองครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สาม ตีตีฆ้องสามครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่สี่ ตีฆ้องสี่ครั้ง ตีกระบอกไม้สองครั้ง - เกิงที่ห้า ตีแต่กระบอกไม้เท่านั้น ตีได้เรื่อยๆ รัวๆ ประหนึ่งว่ากำลังปลุกให้ลุกขึ้นมาทำงานได้แล้ว Storyฯ ไม่สามารถยืนยันความถูกต้องของจังหวะการตีทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ แต่ที่เล่ามาคือเพื่อให้เพื่อนเพจเห็นภาพว่า การตีบอกเวลาจะมีจังหวะของมันอยู่ คนที่ได้ยินก็จะรู้เวลาได้โดยง่าย ในเมืองใหญ่จะมีหอนาฬิกาและ/หรือหอสังเกตการณ์ ที่หอนี้มีทหารหรือเจ้าหน้าที่คอยสังเกตการณ์สภาพแวดล้อมระวังภัยและจับตาดูนาฬิกาในหอแล้วส่งสัญญาณบอกเวลาเช่นเป่าแตรหรือตีกลอง โดยทำงานเป็นกะ เฝ้าตลอดทั้งวันทั้งคืน และด้วยการสื่อสารจากหอสังเกตการณ์เหล่านี้ บรรดาเกิงฟูก็จะออกเดินทางเพื่อบอกเวลาและรายงานสภาพแวดล้อมทันทีที่ถึงต้นโมงยาม ในเมืองเล็กก็จะมีจุดศูนย์กลางสักแห่งที่มีนาฬิกาหรือเครื่องบอกเวลาสักชนิดหนึ่ง (เช่น วัดที่มีการจุดธูปต่อเนื่อง) เพื่อให้เหล่าเกิงฟูเริ่มงานได้เช่นกัน ทีนี้คำถามต่อมาคือ เกิงฟูเดินไปเรื่อยๆ เส้นทางใกล้ไกลไม่เหมือนกัน แล้วพวกเขาจะรู้เวลาได้อย่างไรว่ากาลเวลาล่วงเข้าอีกยามหนึ่งแล้ว? สำหรับประชาชนทั่วไปนั้น การบอกเวลาเหล่านี้ไม่ต้องการความ ‘เป๊ะ’ เหมือนปัจจุบัน แต่เป็นการบอกโดยประมาณเพื่อให้กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันมีหลักเกณฑ์โดยคร่าว แต่อย่างไรก็ดี เกิงฟูมีตัวช่วยค่ะ บางคนพกธูปบอกเวลาซึ่งได้รับมาจากจุดเริ่มต้น บางคนพกป้ายที่เรียกว่า ‘เกิงผาย’ ซึ่งมีการกำหนดไว้เป็นจำนวนก้าวว่าเดินกี่ก้าวเปลี่ยนป้ายครั้งหนึ่ง เมื่อครบจำนวนครั้งก็ครบยาม การเล่าข้างต้นเป็นการเล่าโดยคร่าวเพื่อให้เห็นภาพนะคะ จริงๆ แล้วมันมีรายละเอียดกว่านี้ เช่นมีการปรับจำนวนก้าวในช่วงฤดูต่างๆ เพราะในสมัยโบราณมีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การนับเวลา เช่นหนึ่งเค่ออาจหมายถึง 13 นาทีกว่า หรือ 15 นาทีแล้วแต่ยุคสมัย อาชีพเกิงฟูนี้นับได้ว่าสำคัญมากสำหรับสังคมจีนโบราณ แต่ชีวิตของเกิงฟูลำเค็ญไม่น้อยเพราะต้องฟันฝ่าอุปสรรคทางสภาพอากาศ เงินเดือนก็น้อยนิด และยังต้องมีสมาธิในการทำงานดีมากด้วย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/602047304_120231588 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/打更/2113152 https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_8909910 https://k.sina.cn/article_7722512403_1cc4c3013001011q40.html?from=news https://www.163.com/dy/article/G08FUAJD05430TXY.html https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe https://www.toutiao.com/article/6590549906669175300/?source=seo_tt_juhe #เกิงฟู #ต่าเกิงเหริน #คนบอกเวลาจีนโบราณ #ตีฆ้องบอกเวลา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ

    สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้)

    นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ

    ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ

    นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้

    1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008)

    ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว

    2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา

    แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา

    3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี

    แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา

    Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ

    กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย

    นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน

    แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว

    จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม?

    หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735
    http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html
    https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。
    https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘
    http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    โล่วหู นาฬิกาหยดน้ำโบราณ สวัสดีค่ะ วันนี้เราอยู่กันกับซีรีส์เรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ หลายท่านคงทราบว่านาฬิกาโบราณนั้น มีนาฬิกาแดด นาฬิกาทรายและนาฬิกาหยดน้ำ ก่อนจะพัฒนามาเป็นนาฬิกากลไกที่ใช้เฟือง มีบทความเกี่ยวกับนาฬิกาโบราณไม่น้อยให้เพื่อนเพจได้ค้นหาอ่านกัน วันนี้ Storyฯ มาขยายความเรื่องนาฬิกาน้ำแบบหยดน้ำ เพราะที่เห็นในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> มันสวยเตะตาเหลือเกิน (แต่จนใจหาฉากที่เห็นรูปนาฬิกาแบบเต็มเรือนมาให้ดูไม่ได้) นาฬิกาหยดน้ำที่เห็นในซีรีส์เรื่องนี้มีองค์ประกอบและหลักการทำงานโดยสรุปดังนี้ (ดูรูปประกอบ): เป็นโถใส่น้ำอยู่ด้านบน ปล่อยให้น้ำค่อยๆ หยดลงบนถาด เมื่อน้ำปริ่มจนได้ระดับก็จะหยดลงในอ่างด้านล่าง ในอ่างด้านล่างมีไม้บรรทัดตั้งอยู่โดยเสียบผ่านถาดไม้บนอ่าง บนไม้บรรทัดมีขีดบอกเวลาสิบสองชั่วยาม เมื่อระดับน้ำในอ่างรับน้ำมีมากขึ้นไม้ก็จะค่อยๆ ลอยขึ้น ระดับความสูงของขอบถาดอยู่ตรงขีดไม้บรรทัดขีดไหนก็คือเวลานั้นๆ ดูจากหลักการทำงานตามที่กล่าวมาข้างต้น Storyฯ คิดว่านาฬิการุ่นนี้เป็นแบบขั้นบันได พูดแล้วเพื่อนเพจคงงงว่าเป็นแบบขั้นบันไดอย่างไร ก่อนอื่นมาดูรูปแบบของนาฬิกาหยดน้ำโบราณกันค่ะ นาฬิกาหยดน้ำเรียกว่า ‘โล่วหู’ (漏壶 แปลตรงตัวว่าโถที่มีรู) มีดีไซน์หลากหลาย แต่สามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็นสามกลุ่มตามหลักการที่ใช้ สรุปดังนี้ 1. แบบระบายน้ำ (泄水型 /เซี่ยสุ่ยสิง หรือ 沉箭漏 / เฉินเจี้ยนโล่ว): นี่เป็นแบบแรกเริ่มของนาฬิกาหยดน้ำในจีน โดยหลักการคือใช้โถปล่อยน้ำที่มีท่อเล็กระบายน้ำที่ส่วนล่าง ฝาโถมีรูให้เสียบก้านไม้ที่มีเส้นขีดบอกเวลาเพื่อว่าก้านไม้จะได้ไม่เอียง ด้านล่างของก้านไม้ยึดอยู่บนถาดที่ลอยอยู่ในโถ (ดูรูปประกอบ) เมื่อน้ำค่อยๆ หยดระบายออก ก้านไม้ในโถก็จะค่อยๆ ลดระดับ เมื่อมองจากด้านนอกก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ระดับใด โบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบเจอนั้นเป็นของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 202 ก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 008) ข้อเสียของนาฬิกาหยดน้ำแบบระบายน้ำนี้ก็คือ ความช้าเร็วในการหยดของน้ำจะแตกต่างกันเมื่อระดับปริมาณน้ำในโถที่ลดลง เป็นเรื่องของแรงดันน้ำอันเกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลก คือน้ำในโถปล่อยยิ่งมาก แรงดันยิ่งสูง ก็จะยิ่งหยดเร็ว 2. แบบสะสมน้ำ (受水型 /โซ่วสุ่ยสิง หรือ 浮箭漏/ฝูเจี้ยนโล่ว): ว่ากันว่านาฬิกาแบบนี้มีมาแต่สมัยฮั่นตะวันตกในช่วงปลายราชวงศ์ โดยหลักการคือเอาก้านไม้ที่บอกเวลาไปลอยไว้ในโถหรืออ่างรับน้ำที่วางอยู่ข้างล่าง เมื่อโถรับน้ำมีปริมาณน้ำสะสมมากขึ้นก็จะดันให้ก้านไม้ค่อยๆ ลอยสูงขึ้นพ้นขอบ ก็จะเห็นว่าขีดบอกเวลาอยู่ที่ขีดเวลาใด (ดูรูปประกอบเพื่อเปรียบเทียบ) เป็นหลักการที่พยายามแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของการบอกเวลา แต่... มันยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้ดี ดังนั้น จึงเกิดเป็นแบบที่สามขึ้นมา 3. แบบขั้นบันได (阶梯式 /เจี้ยทีซึ): คือมีโถปล่อยน้ำเรียงหลายขั้นลดหลั่นกันลงมา แรกเริ่มคือเป็นโถปล่อยน้ำ 2 ขั้น มีใช้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25-220 ) ต่อมาเพิ่มโถปล่อยน้ำอีกหลาย ในราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เป็นโถปล่อยน้ำ 3 ขั้น หลักการทำงานคือมีก้านไม้บอกเวลาลอยอยู่ในโถรับน้ำ (เหมือนแบบสะสมน้ำ) แต่ที่เพิ่มเติมคือมีการรักษาให้ปริมาตรของน้ำจากโถปล่อยน้ำมีความคงที่ด้วยการแบ่งเป็นหลายโถ โถขั้นกลางและล่างจะได้มีปริมาตรและแรงดันที่ค่อนข้างคงที่ ยิ่งจำนวนโถปล่อยน้ำขั้นกลางมีมากเท่าไหร่ น้ำที่หยดลงสู่อ่างรับน้ำก็จะยิ่งมีระยะห่างที่สม่ำเสมอ เป็นการสร้างเสถียรภาพในการบอกเวลาได้ดี แต่มันก็ยังไม่แม่นยำนัก ต่อมาในยุคหลังจึงเกิดนาฬิกากลไกขึ้นมา Storyฯ เล่าหลักการแบบง่ายๆ นะคะ แต่ในความเป็นจริงต้องมีการคำนวณอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างความสูงของทุกชิ้นส่วนของภาชนะ การตีเส้นบนก้านไม้ ตำแหน่งความสูงของหลอดปล่อยน้ำ ฯลฯ กลับมาที่นาฬิกาเรือนสวยลายนกเป็ดน้ำในซีรีส์ <เล่ห์รักวังคุนหนิง>... ที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นนาฬิกาหยดน้ำแบบขั้นบันไดก็เพราะว่ามีการรักษาปริมาตรของน้ำเพื่อให้น้ำหยดลงในระยะห่างที่คงที่ด้วยการใช้ถาดใบบัวมาขั้นนั่นเอง (ดูรูปประกอบ) แน่นอนว่ามันมีหน้าตาสวยงามกว่าต้นแบบที่ต้องใช้โถหลายใบวางเรียงกันแต่ก็คงแม่นยำไม่เท่าด้วย นาฬิกาหยดน้ำเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนหรือว่าได้รับอิทธิพลมาจากทางตะวันตก? เรื่องนี้คำตอบไม่แน่ชัด บ้างบอกว่าได้รับอิทธิพลมาจากฝั่งตะวันตกเพราะดูจากหลักฐานโบราณวัตถุที่ค้นพบในจีนนั้นเป็นของยุคสมัยฮั่นตะวันตก แต่นาฬิกาหยดน้ำที่ใช้ในโลกตะวันตกมีต้นแบบมาจากสมัยบาบีโลนของอียิปต์ (ประมาณพันห้าร้อยปีก่อนคริสตกาล) เป็นแบบระบายน้ำเรียกว่า clepsydra โดยของฝั่งโลกตะวันตกไม่ได้ใช้ก้านไม้ขีดเส้นลอยอยู่ในน้ำ แต่เป็นการบากเส้นขึ้นในภาชนะและจะใช้เป็นภาชนะปากกว้างเช่นอ่างเพื่อให้เห็นเส้นขีดบอกเวลาภายใน แต่มีบางบทความอ้างอิงว่าในบันทึกโจวหลี่มีการเขียนไว้ว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีตำแหน่งข้าราชการที่เรียกว่า ‘เชี่ยหูซึ’ (挈壶氏) มีหน้าที่คอยดูเวลาที่นาฬิกาหยดน้ำ บ่งบอกว่านาฬิกาหยดน้ำมีใช้ในจีนโบราณมาตั้งแต่สี่พันปีที่แล้ว จริงๆ ในซีรีส์เรื่องนี้มีนาฬิกาโบราณแบบอื่นให้เห็นด้วย มีเพื่อนเพจท่านใดจำได้บ้างไหม? หมายเหตุ: แก้ไขรูปประกอบที่ผิดพลาดเมื่อวันที่ 17/5 เวลา 16.30น. นะคะ ขออภัยที่สร้างความสับสนมาก่อนหน้านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/582597735 http://www.chinajl.com.cn/jiliangqiwu/57554.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://art.people.com.cn/n/2014/0521/c206244-25043967.html https://www.cctv.com/geography/news/20030514/7.html#:~:text=中国最早的漏壶,或“浮箭漏”。 https://zh.wikipedia.org/wiki/水鐘 http://m.cnwest.com/sxxw/a/2021/12/21/20176664.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #นาฬิกาโบราณ #นาฬิกาหยดน้ำ #โล่วหู
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว