• น้ำยาล้างห้องน้ำมรณะ

    ใครจะเชื่อว่าคลิปไวรัลที่นำน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรง มาราดตามสุขภัณฑ์ ตามท่อน้ำทิ้ง แล้วพบควันพวยพุ่งออกมาน่าตื่นเต้น วันหนึ่งอาจกลายเป็นโศกนาฎกรรมคร่าชีวิตครอบครัวไปอย่างน่าเศร้า

    กรณีการเสียชีวิตของข้าราชการตำรวจหญิงรายหนึ่ง สังกัดสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี พร้อมกับลูกสาวอีก 2 คน หลังหมดสติในห้องน้ำภายในบ้านพัก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา เดิมรายงานข่าวระบุว่าเกิดจากการเทโซดาไฟลงไปในท่อน้ำทิ้ง แต่ล่าสุดได้รับการคลี่คลายปริศนาจากสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ระบุว่า ไม่ใช่โซดาไฟ

    แต่เป็น "น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง" ที่มีส่วนผสมของกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หนำซ้ำยังไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุข) และเลขที่จดแจ้งรองรับ

    พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 พร้อมกับชูน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ที่คาดว่าเป็นต้นตอที่ทำให้สามแม่ลูกเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน หาซื้อผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันมาพิสูจน์ พบว่าเป็นกรดซัลฟิวริกความเข้มข้นสูง ลักษณะเป็นของเหลวสีดำ

    เมื่อเจ้าหน้าที่ทดสอบโดยนำกระดาษใส่ในแก้วทดลอง ตามด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนลงไป เมื่อหยดน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งดังกล่าว พบว่าเกิดกลุ่มควันไอระเหยจำนวนมาก และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้นำแผ่นแท็บพิสูจน์ความเป็นกรดด่างไปรองสารระเหยที่ลอยขึ้นมา ก่อนนำไปเทียบกับแถบสี พบว่ามีความเป็นกรดสูง

    แสดงให้เห็นว่า กรดซัลฟิวริกทำปฏิกิริยากลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า มีควันพวยพุ่งขึ้นมา

    พล.ต.ท.ไตรรงค์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ หาซื้อได้ยาก ไม่มีขายในห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่จะพบในร้านขายวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. และเลขที่จดแจ้งรองรับ พร้อมเตือนประชาชนที่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีใดๆ ให้ศึกษารายละเอียดความอันตรายของสารเหล่านั้นและซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีเครื่องหมาย อย. วอส. และเลขที่จดแจ้งรองรับ

    น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ที่ พล.ต.ท.ไตรรงค์ นำมาแสดง มีชื่อว่า TURTLE หรือ เตอเติล-เคลีย ขนาด 500 ซี.ซี. ข้างขวดระบุว่า "น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง" ระบุสรรพคุณ วิธีใช้ และคำเตือนวัตถุมีพิษอันตราย มีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง อย่าให้สัมผัสผิวหนังและเข้าตา หากถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง และรีบนำตัวส่งแพทย์

    แต่ไม่พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวระบุชื่อ และที่อยู่ของผู้ผลิตว่ามาจากไหน และไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. ระบุอยู่ที่ขวดอีกด้วย เทียบกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า พบว่านอกจากจะมีเครื่องหมาย อย. วอส. แล้ว ยังระบุวิธีการใช้ คำเตือนอย่างละเอียด รวมทั้งสถานที่ผลิตอีกด้วย

    แม้ "น้ำยาตราเต่า" ที่ชาวบ้านเรียกกันจะไม่มีขายในห้างสรรพสินค้า แต่พบว่ามีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง หนำซ้ำแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ชื่อดังในไทย สามารถหาซื้อน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งยี่ห้อดังกล่าวอย่างง่ายดาย โดยราคาขายอยู่ที่ 51-75 บาทต่อขวด และยังมีน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งในลักษณะเดียวกันจำหน่ายอีกด้วย

    จึงเป็นหน้าที่ของตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการสืบหาต้นตอว่า น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง มาจากไหน พร้อมทั้งสั่งการไปยังร้านค้า และร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างหยุดจำหน่าย เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน

    เพราะน้ำยามรณะที่ว่านี้ เมื่อไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. และไม่มีสถานที่ผลิต ย่อมเป็นน้ำยาเถื่อนที่ไม่ควรมีไว้ในครัวเรือน

    #Newskit #กรดซัลฟิวริก #น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง
    น้ำยาล้างห้องน้ำมรณะ ใครจะเชื่อว่าคลิปไวรัลที่นำน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรง มาราดตามสุขภัณฑ์ ตามท่อน้ำทิ้ง แล้วพบควันพวยพุ่งออกมาน่าตื่นเต้น วันหนึ่งอาจกลายเป็นโศกนาฎกรรมคร่าชีวิตครอบครัวไปอย่างน่าเศร้า กรณีการเสียชีวิตของข้าราชการตำรวจหญิงรายหนึ่ง สังกัดสถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี พร้อมกับลูกสาวอีก 2 คน หลังหมดสติในห้องน้ำภายในบ้านพัก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา เดิมรายงานข่าวระบุว่าเกิดจากการเทโซดาไฟลงไปในท่อน้ำทิ้ง แต่ล่าสุดได้รับการคลี่คลายปริศนาจากสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ ระบุว่า ไม่ใช่โซดาไฟ แต่เป็น "น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง" ที่มีส่วนผสมของกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หนำซ้ำยังไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ทางสาธารณสุข) และเลขที่จดแจ้งรองรับ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ แถลงข่าวเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 พร้อมกับชูน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ที่คาดว่าเป็นต้นตอที่ทำให้สามแม่ลูกเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน หาซื้อผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันมาพิสูจน์ พบว่าเป็นกรดซัลฟิวริกความเข้มข้นสูง ลักษณะเป็นของเหลวสีดำ เมื่อเจ้าหน้าที่ทดสอบโดยนำกระดาษใส่ในแก้วทดลอง ตามด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างอ่อนลงไป เมื่อหยดน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งดังกล่าว พบว่าเกิดกลุ่มควันไอระเหยจำนวนมาก และเมื่อเจ้าหน้าที่ได้นำแผ่นแท็บพิสูจน์ความเป็นกรดด่างไปรองสารระเหยที่ลอยขึ้นมา ก่อนนำไปเทียบกับแถบสี พบว่ามีความเป็นกรดสูง แสดงให้เห็นว่า กรดซัลฟิวริกทำปฏิกิริยากลายเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า มีควันพวยพุ่งขึ้นมา พล.ต.ท.ไตรรงค์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ หาซื้อได้ยาก ไม่มีขายในห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่จะพบในร้านขายวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. และเลขที่จดแจ้งรองรับ พร้อมเตือนประชาชนที่จำเป็นจะต้องใช้สารเคมีใดๆ ให้ศึกษารายละเอียดความอันตรายของสารเหล่านั้นและซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีเครื่องหมาย อย. วอส. และเลขที่จดแจ้งรองรับ น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ที่ พล.ต.ท.ไตรรงค์ นำมาแสดง มีชื่อว่า TURTLE หรือ เตอเติล-เคลีย ขนาด 500 ซี.ซี. ข้างขวดระบุว่า "น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง" ระบุสรรพคุณ วิธีใช้ และคำเตือนวัตถุมีพิษอันตราย มีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง อย่าให้สัมผัสผิวหนังและเข้าตา หากถูกผิวหนังหรือเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง และรีบนำตัวส่งแพทย์ แต่ไม่พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวระบุชื่อ และที่อยู่ของผู้ผลิตว่ามาจากไหน และไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. ระบุอยู่ที่ขวดอีกด้วย เทียบกับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้า พบว่านอกจากจะมีเครื่องหมาย อย. วอส. แล้ว ยังระบุวิธีการใช้ คำเตือนอย่างละเอียด รวมทั้งสถานที่ผลิตอีกด้วย แม้ "น้ำยาตราเต่า" ที่ชาวบ้านเรียกกันจะไม่มีขายในห้างสรรพสินค้า แต่พบว่ามีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง หนำซ้ำแพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ชื่อดังในไทย สามารถหาซื้อน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งยี่ห้อดังกล่าวอย่างง่ายดาย โดยราคาขายอยู่ที่ 51-75 บาทต่อขวด และยังมีน้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้งในลักษณะเดียวกันจำหน่ายอีกด้วย จึงเป็นหน้าที่ของตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการสืบหาต้นตอว่า น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง มาจากไหน พร้อมทั้งสั่งการไปยังร้านค้า และร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้างหยุดจำหน่าย เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของประชาชน เพราะน้ำยามรณะที่ว่านี้ เมื่อไม่มีเครื่องหมาย อย. วอส. และไม่มีสถานที่ผลิต ย่อมเป็นน้ำยาเถื่อนที่ไม่ควรมีไว้ในครัวเรือน #Newskit #กรดซัลฟิวริก #น้ำยาทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 739 มุมมอง 0 รีวิว