CPF มาช้ายังดีกว่าไม่มา

การแถลงข่าวของนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ (CPF) กรณีปลาหมอคางดำ ถือเป็นการออกมาให้ข่าวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวจากนักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้รับผิดชอบกรณีการแพร่ระบาดของเอเลียนสปีชีส์ ที่ส่งผลกระทบยาวนานกว่า 14 ปี

ซีพีเอฟยอมรับว่าที่ชี้แจงล่าช้า เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว จึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นระบบ พบว่ามีการใช้ภาพและข้อมูลอันเป็นเท็จ 3 ภาพ อยู่ในระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ได้แก่ ภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นสภาพบ่อดินของฟาร์มยี่สาร จ.สมุทรสงคราม ยืนยันว่าไม่ใช่ และไม่มีการเลี้ยงปลาหมอคางดำต่อเนื่อง

ยืนยันว่าหลังยุติการวิจัยในเดือน ม.ค. 2554 ได้ทำลายลูกปลาทิ้งทั้งหมด ไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับปลานี้อีกเลย

ภาพต่อมา กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ และนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร ยืนยันว่าไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำอย่างที่กล่าวอ้าง และภาพสุดท้าย เป็นการระบุผังของฟาร์มเป็นสีต่างๆ ชี้แจงว่าบ่อหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนอีกบ่อหนึ่งเป็นบ่อปรับปรุงปลาทับทิม ปลานิล และปลาทะเล

"บริษัทฯ เห็นควรด้วยว่าเราควรมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางสังคมเพิ่มเติมในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลายบริษัทที่บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ มีกิจกรรมค้าขายปลาตัวนี้ในช่วงที่ผ่านมา ขอให้สังคมให้ความเป็นธรรม น่าจะมีการเสาะหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย" คำกล่าวของผู้บริหารซีพีเอฟต่อเรื่องดังกล่าว

กรณีปลาหมอคางดำถูกหยิบยกขึ้นเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เมื่อประมงจังหวัดสงขลาขอความร่วมมือประชาชนแจ้งเบาะแสปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่ ขณะที่กรมประมงรายงานการแพร่ระบาดพบว่ามี 13 จังหวัด กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้ซีพีเอฟรับผิดชอบเรื่องนี้ โดยอ้างถึงรายงานจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

เวลาผ่านไปกลับพบความจริงอีกด้านหนึ่ง เช่น มีผู้ลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่กลับโทษผู้ที่ขออนุญาตภาครัฐอย่างถูกต้องฝ่ายเดียว หรือการเปิดเผยบริษัทเอกชน 11 แห่ง ที่ขออนุญาตส่งออกปลาหมอคางดำ 17 ประเทศ รวมกว่า 230,000 ตัว ทั้งที่ห้ามนำเข้า แต่อธิบดีกรมประมงระบุว่าเจ้าหน้าที่ชิปปิ้งที่ส่งออกกรอกข้อมูลผิด เป็นปลาหมอเทศข้างลาย

เมื่อซีพีเอฟยืนยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย จึงต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรมทั้งสองฝ่ายว่า กรณีที่เกิดขึ้นความจริงเป็นอย่างไร เพื่อให้สังคมสิ้นข้อสงสัย แม้ภาพลักษณ์ของบริษัทใหญ่ และการชี้แจงที่ล่าช้า จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจก็ตาม

#Newskit #CPF #ปลาหมอคางดำ
CPF มาช้ายังดีกว่าไม่มา การแถลงข่าวของนางกอบบุญ ศรีชัย ผู้บริหารสูงสุด สายงานกิจการองค์กร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ (CPF) กรณีปลาหมอคางดำ ถือเป็นการออกมาให้ข่าวอย่างเป็นทางการ หลังจากที่มีการเคลื่อนไหวจากนักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้รับผิดชอบกรณีการแพร่ระบาดของเอเลียนสปีชีส์ ที่ส่งผลกระทบยาวนานกว่า 14 ปี ซีพีเอฟยอมรับว่าที่ชี้แจงล่าช้า เพราะเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อ 14 ปีที่แล้ว จึงต้องแสวงหาข้อเท็จจริงด้วยความระมัดระวังอย่างเป็นระบบ พบว่ามีการใช้ภาพและข้อมูลอันเป็นเท็จ 3 ภาพ อยู่ในระหว่างรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ได้แก่ ภาพที่กล่าวอ้างว่าเป็นสภาพบ่อดินของฟาร์มยี่สาร จ.สมุทรสงคราม ยืนยันว่าไม่ใช่ และไม่มีการเลี้ยงปลาหมอคางดำต่อเนื่อง ยืนยันว่าหลังยุติการวิจัยในเดือน ม.ค. 2554 ได้ทำลายลูกปลาทิ้งทั้งหมด ไม่มีกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับปลานี้อีกเลย ภาพต่อมา กล่าวอ้างว่าเป็นการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ผสมพันธุ์ และนำไปอนุบาลในกระชังในฟาร์มยี่สาร ยืนยันว่าไม่ใช่ฟาร์มยี่สาร และไม่ใช่กระบวนการคัดเลือกไข่ปลาหมอคางดำอย่างที่กล่าวอ้าง และภาพสุดท้าย เป็นการระบุผังของฟาร์มเป็นสีต่างๆ ชี้แจงว่าบ่อหนึ่งเป็นบ่อเลี้ยงกุ้ง ส่วนอีกบ่อหนึ่งเป็นบ่อปรับปรุงปลาทับทิม ปลานิล และปลาทะเล "บริษัทฯ เห็นควรด้วยว่าเราควรมีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงทางสังคมเพิ่มเติมในเรื่องนี้ เนื่องจากมีหลายบริษัทที่บริษัทฯ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ มีกิจกรรมค้าขายปลาตัวนี้ในช่วงที่ผ่านมา ขอให้สังคมให้ความเป็นธรรม น่าจะมีการเสาะหาสาเหตุอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย" คำกล่าวของผู้บริหารซีพีเอฟต่อเรื่องดังกล่าว กรณีปลาหมอคางดำถูกหยิบยกขึ้นเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เมื่อประมงจังหวัดสงขลาขอความร่วมมือประชาชนแจ้งเบาะแสปลาหมอคางดำระบาดในพื้นที่ ขณะที่กรมประมงรายงานการแพร่ระบาดพบว่ามี 13 จังหวัด กลายเป็นประเด็นสาธารณะที่นักเคลื่อนไหวกลุ่มหนึ่ง เรียกร้องให้ซีพีเอฟรับผิดชอบเรื่องนี้ โดยอ้างถึงรายงานจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เวลาผ่านไปกลับพบความจริงอีกด้านหนึ่ง เช่น มีผู้ลักลอบนำเข้ามาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่กลับโทษผู้ที่ขออนุญาตภาครัฐอย่างถูกต้องฝ่ายเดียว หรือการเปิดเผยบริษัทเอกชน 11 แห่ง ที่ขออนุญาตส่งออกปลาหมอคางดำ 17 ประเทศ รวมกว่า 230,000 ตัว ทั้งที่ห้ามนำเข้า แต่อธิบดีกรมประมงระบุว่าเจ้าหน้าที่ชิปปิ้งที่ส่งออกกรอกข้อมูลผิด เป็นปลาหมอเทศข้างลาย เมื่อซีพีเอฟยืนยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย จึงต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรมทั้งสองฝ่ายว่า กรณีที่เกิดขึ้นความจริงเป็นอย่างไร เพื่อให้สังคมสิ้นข้อสงสัย แม้ภาพลักษณ์ของบริษัทใหญ่ และการชี้แจงที่ล่าช้า จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจก็ตาม #Newskit #CPF #ปลาหมอคางดำ
Like
Wow
8
0 Comments 1 Shares 660 Views 0 Reviews