บีบหัวใจ

โศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถโดยสารบนถนนวิภาวดีรังสิต ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 1 ต.ค. 2567 ขณะนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ออกจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กำลังไปยังศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ตามโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ ประจำปีการศึกษา 2567 ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย

ความสูญเสียครั้งนี้บีบหัวใจคนไทยทั้งประเทศ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นสอบถามครูและตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ทราบว่ารถเกิดยางระเบิด แล้วเสียการควบคุมไปชนรถเบนซ์ แล้วชนแบริเออร์เกิดไฟลุกท่วมขึ้นมา สอดคล้องกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า ครูเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าสาเหตุมาจากรถเกิดยางระเบิด ทำให้เสียหลักไปชนกระแทกกับแบริเออร์ข้างทาง กระแทกถูกถังก๊าซพอดี จึงทำให้เกิดประกายไฟขึ้น

แต่ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อ พบว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุ จดทะเบียนครั้งแรก 19 ก.พ. 2513 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน ระบุว่าเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 41 ที่นั่ง ดัดแปลงจากรถอีซูซุ แล้วเอาเครืองยนต์เบนซ์มาใส่ และในประวัติรถพบว่ามีถังก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรองเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 จึงถูกตั้งคำถามว่ารถโดยสารได้มาตรฐานหรือไม่ ถึงกระนั้น นายทรงวิทย์ ชินบุตร เจ้าของชินบุตรทัวร์ ยืนยันว่า รถคันเกิดเหตุผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปีทุกครั้งก่อนต่อภาษี

อีกด้านหนึ่ง ยังมีคนในสังคมเบี่ยงประเด็น เรียกร้องให้โรงเรียนยกเลิกทัศนศึกษาไปเลย อ้างว่าไม่มีประโยชน์ ทั้งที่การทัศนศึกษา คือกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นบ่อยครั้ง สถานที่บางแห่งอนุญาตเข้าชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้น และยังเป็นโอกาสดีที่เพื่อนทั้งห้องจะได้เที่ยวด้วยกัน เพราะบางครอบครัวไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะเที่ยว ปัญหาที่แท้จริงจึงเกิดจากรถโดยสารที่ทางโรงเรียนจ้างมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย

ปัญหาก็คือ รถโดยสารที่ได้มาตรฐานนั้นมีราคาแพง บางโรงเรียนที่มีงบประมาณจำกัด จึงเลือกผู้ประกอบการถูกที่สุดหรือที่คุ้นเคย ไม่นับรวมผู้ประกอบการต่างก็บอกว่ารถตัวเองได้มาตรฐาน แต่อาจประมาทที่ไม่ได้ตรวจสอบสภาพรถ สภาพคนขับรถ หรือพูดความจริงไม่หมด จึงเป็นโจทย์ที่แต่ละโรงเรียนจะต้องพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม การคัดเลือกรถโดยสารจากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับโศกนาฎกรรมเช่นนี้อีก

#Newskit #รถบัสทัศนศึกษา
บีบหัวใจ โศกนาฎกรรมเพลิงไหม้รถโดยสารบนถนนวิภาวดีรังสิต ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เมื่อช่วงเที่ยงวันที่ 1 ต.ค. 2567 ขณะนำครูและนักเรียน โรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ออกจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กำลังไปยังศูนย์การเรียนรู้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ตามโครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ ประจำปีการศึกษา 2567 ทำให้นักเรียนและครูเสียชีวิต 23 ราย ความสูญเสียครั้งนี้บีบหัวใจคนไทยทั้งประเทศ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. กล่าวว่า เบื้องต้นสอบถามครูและตำรวจในพื้นที่เกิดเหตุ ทราบว่ารถเกิดยางระเบิด แล้วเสียการควบคุมไปชนรถเบนซ์ แล้วชนแบริเออร์เกิดไฟลุกท่วมขึ้นมา สอดคล้องกับนายชาดา ไทยเศรษฐ์ อดีต รมช.มหาดไทย เปิดเผยว่า ครูเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่าสาเหตุมาจากรถเกิดยางระเบิด ทำให้เสียหลักไปชนกระแทกกับแบริเออร์ข้างทาง กระแทกถูกถังก๊าซพอดี จึงทำให้เกิดประกายไฟขึ้น แต่ข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านสื่อ พบว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุ จดทะเบียนครั้งแรก 19 ก.พ. 2513 หรือเมื่อ 54 ปีก่อน ระบุว่าเป็นรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 41 ที่นั่ง ดัดแปลงจากรถอีซูซุ แล้วเอาเครืองยนต์เบนซ์มาใส่ และในประวัติรถพบว่ามีถังก๊าซ 3 ถัง วันหมดอายุใบรับรองเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2567 จึงถูกตั้งคำถามว่ารถโดยสารได้มาตรฐานหรือไม่ ถึงกระนั้น นายทรงวิทย์ ชินบุตร เจ้าของชินบุตรทัวร์ ยืนยันว่า รถคันเกิดเหตุผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย 2 ครั้งต่อปีทุกครั้งก่อนต่อภาษี อีกด้านหนึ่ง ยังมีคนในสังคมเบี่ยงประเด็น เรียกร้องให้โรงเรียนยกเลิกทัศนศึกษาไปเลย อ้างว่าไม่มีประโยชน์ ทั้งที่การทัศนศึกษา คือกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน ซึ่งไม่ได้จัดขึ้นบ่อยครั้ง สถานที่บางแห่งอนุญาตเข้าชมเฉพาะหมู่คณะเท่านั้น และยังเป็นโอกาสดีที่เพื่อนทั้งห้องจะได้เที่ยวด้วยกัน เพราะบางครอบครัวไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะเที่ยว ปัญหาที่แท้จริงจึงเกิดจากรถโดยสารที่ทางโรงเรียนจ้างมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีความปลอดภัย ปัญหาก็คือ รถโดยสารที่ได้มาตรฐานนั้นมีราคาแพง บางโรงเรียนที่มีงบประมาณจำกัด จึงเลือกผู้ประกอบการถูกที่สุดหรือที่คุ้นเคย ไม่นับรวมผู้ประกอบการต่างก็บอกว่ารถตัวเองได้มาตรฐาน แต่อาจประมาทที่ไม่ได้ตรวจสอบสภาพรถ สภาพคนขับรถ หรือพูดความจริงไม่หมด จึงเป็นโจทย์ที่แต่ละโรงเรียนจะต้องพิจารณารูปแบบการจัดกิจกรรม การคัดเลือกรถโดยสารจากผู้ประกอบการที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกับโศกนาฎกรรมเช่นนี้อีก #Newskit #รถบัสทัศนศึกษา
0 Comments 0 Shares 37 Views 0 Reviews