สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment

ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย.

พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว

หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด

ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข

หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ

แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง

ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน

#Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย. พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
Like
Haha
Sad
Angry
8
1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1112 มุมมอง 0 รีวิว