ไทยรัฐฉบับพิมพ์อ่านไม่ฟรี ใช้ระบบ Subscription จริงจัง

ในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน สื่อมวลชนค่ายต่างๆ พยายามแสวงหารายได้ทดแทนช่องทางดั้งเดิม เช่น การลงโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่มีแนวโน้มลดลง ถูกแทนที่ด้วยสื่อโซเชียลฯ และอินฟลูเอนเซอร์ ล่าสุดเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ได้ปรับเปลี่ยนหน้าไทยรัฐฉบับพิมพ์ ซึ่งลงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในช่วงสายๆ ของวัน หลังหนังสือพิมพ์วางแผงไปแล้ว เปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดิจิทัล (Thairath E-Newspaper) เมื่อวันที่ 15 ก.ค. เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว สามารถอ่านทุกข่าว และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้ไม่จำกัด และไม่มีโฆษณา

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดิจิทัลจะอัปเดตหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลาตีห้า (05.00 น.) เป็นต้นไป และอ่านฉบับย้อนหลังได้ตลอดทั้งปี ซึ่งกลุ่มเป้าหมายแตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคสื่อทั่วไปที่อ่านข่าวฟรี แต่มุ่งไปที่นักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการที่ต้องการแหล่งอ้างอิง นักธุรกิจและผู้นำองค์กรที่ต้องการติดตามสถานการณ์สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ รวมทั้งคนที่ต้องการเสพข่าวในรูปแบบหนังสือพิมพ์ ที่สรุปข่าวของเมื่อวานนี้แบบครบประเด็น โดยไม่ต้องย้อนดูข่าวออนไลน์หลายหน้าเว็บเพจ ซึ่งจุดแข็งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือเนื้อหาข่าวย่อยให้เข้าใจง่าย

แม้ว่าไทยรัฐกรุ๊ป จะออกกลยุทธ์ Subscription ช้ากว่าค่ายอื่น เพราะให้อ่านฟรีมานาน เมื่อเทียบกับกรุงเทพธุรกิจ ที่ทำหนังสือพิมพ์รูปแบบดิจิทัล i-NewsPaper มานานแล้ว หรือสื่อหลายค่ายต่างพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งในประเทศ เช่น ปิ่นโต (pintobook.com) หรือต่างประเทศอย่าง Pressreader (pressreader.com) ก็ตาม แต่ก็เป็นการดัดแปลงจากระบบของตัวเอง จึงไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่าย ในต่างประเทศค่ายสื่อต่างก็ใช้กลยุทธ์ Subscription เพียงแต่ว่าเส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะยอดสมัครเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เมื่อสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) เผยแพร่สถิติเว็บไซต์ข่าวเดือน มิ.ย.2568 พบว่าไทยรัฐออนไลน์มีค่าเฉลี่ยการดูเว็บเพจ (Avg.PV/User) อยู่ที่ 7.3 หน้าต่อคนต่อวัน สูงกว่าค่ายอื่นอย่างผู้จัดการออนไลน์ 3.4 หน้าต่อคนต่อวัน ข่าวสดออนไลน์ 2.4 หน้าต่อคนต่อวัน คนในแวดวงสื่อจึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น บ้างก็คาดว่าเป็นเพราะกูเกิลใช้ฟีเจอร์ AI Overviews หากเป็นเช่นนั้นจริงคนทำสื่อและเว็บทั่วไปต้องปรับตัวอีกรอบ แต่เมื่อคุยกับแหล่งข่าวในค่ายไทยรัฐ ระบุว่าช่วงนี้แจกทองครบรอบ 11 ปีไทยรัฐทีวี ทำให้มีผู้เข้าชมมากเป็นพิเศษ

#Newskit
ไทยรัฐฉบับพิมพ์อ่านไม่ฟรี ใช้ระบบ Subscription จริงจัง ในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน สื่อมวลชนค่ายต่างๆ พยายามแสวงหารายได้ทดแทนช่องทางดั้งเดิม เช่น การลงโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ที่มีแนวโน้มลดลง ถูกแทนที่ด้วยสื่อโซเชียลฯ และอินฟลูเอนเซอร์ ล่าสุดเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ได้ปรับเปลี่ยนหน้าไทยรัฐฉบับพิมพ์ ซึ่งลงข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในช่วงสายๆ ของวัน หลังหนังสือพิมพ์วางแผงไปแล้ว เปลี่ยนเป็นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดิจิทัล (Thairath E-Newspaper) เมื่อวันที่ 15 ก.ค. เมื่อสมัครสมาชิกแล้ว สามารถอ่านทุกข่าว และคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้ไม่จำกัด และไม่มีโฆษณา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับดิจิทัลจะอัปเดตหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เวลาตีห้า (05.00 น.) เป็นต้นไป และอ่านฉบับย้อนหลังได้ตลอดทั้งปี ซึ่งกลุ่มเป้าหมายแตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคสื่อทั่วไปที่อ่านข่าวฟรี แต่มุ่งไปที่นักเรียน นักศึกษา และนักวิชาการที่ต้องการแหล่งอ้างอิง นักธุรกิจและผู้นำองค์กรที่ต้องการติดตามสถานการณ์สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ รวมทั้งคนที่ต้องการเสพข่าวในรูปแบบหนังสือพิมพ์ ที่สรุปข่าวของเมื่อวานนี้แบบครบประเด็น โดยไม่ต้องย้อนดูข่าวออนไลน์หลายหน้าเว็บเพจ ซึ่งจุดแข็งของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ คือเนื้อหาข่าวย่อยให้เข้าใจง่าย แม้ว่าไทยรัฐกรุ๊ป จะออกกลยุทธ์ Subscription ช้ากว่าค่ายอื่น เพราะให้อ่านฟรีมานาน เมื่อเทียบกับกรุงเทพธุรกิจ ที่ทำหนังสือพิมพ์รูปแบบดิจิทัล i-NewsPaper มานานแล้ว หรือสื่อหลายค่ายต่างพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งในประเทศ เช่น ปิ่นโต (pintobook.com) หรือต่างประเทศอย่าง Pressreader (pressreader.com) ก็ตาม แต่ก็เป็นการดัดแปลงจากระบบของตัวเอง จึงไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่าย ในต่างประเทศค่ายสื่อต่างก็ใช้กลยุทธ์ Subscription เพียงแต่ว่าเส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะยอดสมัครเพียงแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เมื่อสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) เผยแพร่สถิติเว็บไซต์ข่าวเดือน มิ.ย.2568 พบว่าไทยรัฐออนไลน์มีค่าเฉลี่ยการดูเว็บเพจ (Avg.PV/User) อยู่ที่ 7.3 หน้าต่อคนต่อวัน สูงกว่าค่ายอื่นอย่างผู้จัดการออนไลน์ 3.4 หน้าต่อคนต่อวัน ข่าวสดออนไลน์ 2.4 หน้าต่อคนต่อวัน คนในแวดวงสื่อจึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น บ้างก็คาดว่าเป็นเพราะกูเกิลใช้ฟีเจอร์ AI Overviews หากเป็นเช่นนั้นจริงคนทำสื่อและเว็บทั่วไปต้องปรับตัวอีกรอบ แต่เมื่อคุยกับแหล่งข่าวในค่ายไทยรัฐ ระบุว่าช่วงนี้แจกทองครบรอบ 11 ปีไทยรัฐทีวี ทำให้มีผู้เข้าชมมากเป็นพิเศษ #Newskit
Like
1
0 Comments 0 Shares 80 Views 0 Reviews