No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย

แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว

แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป

น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก

สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท

#Newskit
No Processing Fee แค่มุกใหม่ไทยแอร์เอเชีย แคมเปญล่าสุดของสายการบินไทยแอร์เอเชีย คือการงดเก็บค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (Processing Fee) สำหรับทุกการจองเที่ยวบิน FD ผ่านแอปพลิเคชัน AirAsia MOVE ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ถึง 15 ส.ค. 2568 ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดล่าสุดนอกจากการออกโปรโมชัน BIG SALE จ่ายเฉพาะภาษีสนามบิน (Airport Tax) แต่ก็ต้องจ่ายค่า Processing Fee ตั้งแต่ 107.00 ถึง 128.40 บาทต่อคนต่อเที่ยวบิน เท่ากับค่าโดยสารราคาโปรโมชันประมาณ 300-600 บาทต่อเที่ยวบิน ถึงกระนั้น ในช่วงนี้ยังไม่มีโปรโมชันแรงๆ อย่าง BIG SALE เกิดขึ้น มีแต่โปรโมชันปกติ ราคาเริ่มต้นที่ 900-930 บาทต่อเที่ยว ซึ่งช่วงนอกฤดูการท่องเที่ยว (Low Season) ที่นักท่องเที่ยวลดลง ราคาบัตรโดยสารไม่น่าจะเกิน 2,000 บาทต่อเที่ยว แต่ถ้าเป็นประเทศมาเลเซีย ต้นกำเนิดแอร์เอเชีย เส้นทางบินทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศ เช่น ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไม่มีค่า Processing Fee อย่างชัดเจน เพราะได้ยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. 2562 หรือเมื่อ 6 ปีก่อน หลังคณะกรรมการการบินแห่งมาเลเซีย (MAVCOM) สั่งปรับสายการบินแอร์เอเชีย และแอร์เอเชียเอ็กซ์ สายการบินละ 200,000 ริงกิต เนื่องจากคิดค่า Processing Fee แยกจากค่าโดยสารพื้นฐาน เพราะก่อนหน้านี้ MAVCOM กำหนดให้ทุกสายการบินในมาเลเซียยกเลิกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฝง หนึ่งในนั้นคือค่า Processing Fee ตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคการบินแห่งมาเลเซีย 2016 (MACPC) นับจากนั้นเป็นต้นมาการจองผ่านแอปฯ ของแอร์เอเชีย โดยเฉพาะบัตรเครดิตจะไม่ถูกเรียกเก็บค่า Processing Fee อีกต่อไป น่าเสียดายที่สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT กลับมองข้ามถึงเรื่องนี้ ทั้งที่เป็นการคุ้มครองผู้โดยสารไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอีกทางหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาโปรโมชันค่าโดยสารถูกที่สุดมีเพียงแค่การนำที่นั่งในช่วงเวลาที่ไม่มีผู้โดยสารคับคั่งออกมาลดราคา เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 20% ของจำนวนที่นั่งต่อเที่ยวบิน ผู้โดยสารจำนวนไม่น้อยนอกจากจะต้องจ่ายในราคาที่สูงแล้ว ต่อที่สองยังต้องจ่ายค่า Processing Fee ต่อคนต่อเที่ยวบินอีก ถึงกระนั้นหากมองอีกมุมหนึ่ง ถือเป็นช่องทางหารายได้ของสายการบิน ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนมาเลเซีย อีกทั้งการชำระเงินผ่านช่องทาง Direct Debit และบัตรเครดิต สายการบินยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแก่ผู้ให้บริการอีก สำหรับผลประกอบการไตรมาส 1/2568 บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV ผู้ถือหุ้นในสายการบินแอร์เอเชีย พบว่า รายได้จากการขายและบริการ 13,225 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,387 ล้านบาท #Newskit
Like
1
0 Comments 0 Shares 223 Views 0 Reviews