"อมพระมาพูด" ดรามาอันวาร์ อิบราฮิม

การมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ที่ผ่านมา กลายเป็นดรามาสนั่นโซเชียลฯ เมื่อกองสื่อสารมวลชนและกลยุทธ์ สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เผยแพร่วีดีโอคลิป "LAWATAN KERJA KE THAILAND" (เยี่ยมชมและทำงานที่ประเทศไทย) เผยแพร่ภารกิจของนายอันวาร์และคณะในไทย แล้วปรากฎว่ามีการใช้เพลง "อมพระมาพูด" ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ และ เสกสรรค์ สุขพิมาย หรือ เสก โลโซ ซึ่งเป็นเพลงฮิตเมื่อปี 2547

ด้วยเนื้อหาเพลงที่ออกแนวตอบโต้คนรักที่ไม่เชื่อใจกัน โดยเฉพาะท่อนฮุคที่ร้องว่า "อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ หน้าเนื้อใจเสืออย่างเธอ ใครเตือนไม่ฟังว่าอย่าเผลอ มีใจให้ อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ หน้าใสใจเสือเชื่อไม่ได้ ประวัติโชกโชนเชือดใจ มากี่คน เคยนับบ้างไหม" กลายเป็นที่วิจารณ์แก่ชาวเน็ตไทยว่าสื่อถึงอะไร มีนัยยะทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใดๆ หรือไม่ โดยเฉพาะกับ นายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษาประธานอาเซียน และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลูกสาวนายทักษิณ ภายหลังจึงได้ลบคลิปแล้วเปลี่ยนเพลงใหม่ไปใช้เพลงพระราชนิพนธ์ "ยามเย็น" ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ แทน

ที่ผ่านมามักจะพบเห็นเพลงไทยนำมาใช้กับสื่อประชาสัมพันธ์ของมาเลเซียนานๆ ครั้ง เช่น การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) นำเพลง "ผมรักเมืองไทย" ของ Mocca Garden มาโปรโมตขบวนรถไฟ My Sawasdee บัตเตอร์เวิร์ธ-หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. หรือย้อนกลับไปเมื่อเดือน ต.ค. 2565 เผยแพร่วิดีโอคลิป VLOG ที่ชื่อว่า "Syoknya Naik Keretapi ke Hatyai, Thailand" แนะนำการขึ้นรถไฟท่องเที่ยวที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลวันมาเลเซีย ก็ใช้เพลง "ชอบเธออะ" ของ แมน ภัทรพล ซึ่งเป็นเพลงฮิตในติ๊กต็อก ส่วนผู้ใช้ทั่วไปพบว่าบัญชี @khairulnikahthailand ที่รับจ้างชาวมุสลิมมาเลเซียมาแต่งงานที่สงขลา ประเทศไทย ก็เคยใช้เพลง "คุณไสย" (อะนันตะปัตชะเย) ซึ่งมีเนื้อหาโจ๊ะๆ สนุกสนาน

แม้ Newskit จะสอบถามแหล่งข่าวจากสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ที่ทำงานในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ กลับมาก็ตาม ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า อาจเป็นความผิดพลาดของทางการมาเลเซียเลือกเพลงตามทำนอง (Melody) โดยมองข้ามเนื้อร้อง หรือเนื้อหาเพลง ที่คนท้องถิ่นซึ่งก็คือคนไทยอาจเข้าใจไปอีกทาง มองโลกในแง่ดีอาจเป็นเพียงแค่เรื่องตลกขบขัน ไม่ถึงขั้นกลายเป็นการเล่นการเมืองแบบสองหน้า จากปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่มีทีท่าว่าสงบลง

#Newskit
"อมพระมาพูด" ดรามาอันวาร์ อิบราฮิม การมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อการเจรจาทำงาน (Working Visit) และหารือติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือไทย-มาเลเซีย ระหว่างวันที่ 17-18 เม.ย. ที่ผ่านมา กลายเป็นดรามาสนั่นโซเชียลฯ เมื่อกองสื่อสารมวลชนและกลยุทธ์ สำนักนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้เผยแพร่วีดีโอคลิป "LAWATAN KERJA KE THAILAND" (เยี่ยมชมและทำงานที่ประเทศไทย) เผยแพร่ภารกิจของนายอันวาร์และคณะในไทย แล้วปรากฎว่ามีการใช้เพลง "อมพระมาพูด" ของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ และ เสกสรรค์ สุขพิมาย หรือ เสก โลโซ ซึ่งเป็นเพลงฮิตเมื่อปี 2547 ด้วยเนื้อหาเพลงที่ออกแนวตอบโต้คนรักที่ไม่เชื่อใจกัน โดยเฉพาะท่อนฮุคที่ร้องว่า "อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ หน้าเนื้อใจเสืออย่างเธอ ใครเตือนไม่ฟังว่าอย่าเผลอ มีใจให้ อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ หน้าใสใจเสือเชื่อไม่ได้ ประวัติโชกโชนเชือดใจ มากี่คน เคยนับบ้างไหม" กลายเป็นที่วิจารณ์แก่ชาวเน็ตไทยว่าสื่อถึงอะไร มีนัยยะทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใดๆ หรือไม่ โดยเฉพาะกับ นายทักษิณ ชินวัตร ที่ปรึกษาประธานอาเซียน และ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลูกสาวนายทักษิณ ภายหลังจึงได้ลบคลิปแล้วเปลี่ยนเพลงใหม่ไปใช้เพลงพระราชนิพนธ์ "ยามเย็น" ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ แทน ที่ผ่านมามักจะพบเห็นเพลงไทยนำมาใช้กับสื่อประชาสัมพันธ์ของมาเลเซียนานๆ ครั้ง เช่น การรถไฟมาลายา (KTM Berhad) นำเพลง "ผมรักเมืองไทย" ของ Mocca Garden มาโปรโมตขบวนรถไฟ My Sawasdee บัตเตอร์เวิร์ธ-หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 1 ม.ค. หรือย้อนกลับไปเมื่อเดือน ต.ค. 2565 เผยแพร่วิดีโอคลิป VLOG ที่ชื่อว่า "Syoknya Naik Keretapi ke Hatyai, Thailand" แนะนำการขึ้นรถไฟท่องเที่ยวที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในช่วงเทศกาลวันมาเลเซีย ก็ใช้เพลง "ชอบเธออะ" ของ แมน ภัทรพล ซึ่งเป็นเพลงฮิตในติ๊กต็อก ส่วนผู้ใช้ทั่วไปพบว่าบัญชี @khairulnikahthailand ที่รับจ้างชาวมุสลิมมาเลเซียมาแต่งงานที่สงขลา ประเทศไทย ก็เคยใช้เพลง "คุณไสย" (อะนันตะปัตชะเย) ซึ่งมีเนื้อหาโจ๊ะๆ สนุกสนาน แม้ Newskit จะสอบถามแหล่งข่าวจากสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ที่ทำงานในประเทศไทย แต่ไม่ได้รับคำตอบใดๆ กลับมาก็ตาม ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่า อาจเป็นความผิดพลาดของทางการมาเลเซียเลือกเพลงตามทำนอง (Melody) โดยมองข้ามเนื้อร้อง หรือเนื้อหาเพลง ที่คนท้องถิ่นซึ่งก็คือคนไทยอาจเข้าใจไปอีกทาง มองโลกในแง่ดีอาจเป็นเพียงแค่เรื่องตลกขบขัน ไม่ถึงขั้นกลายเป็นการเล่นการเมืองแบบสองหน้า จากปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งไม่มีทีท่าว่าสงบลง #Newskit
1 Comments 0 Shares 68 Views 0 Reviews