พวกเราจึงขอเสนอมาตรวัดความน่าจะเป็นสากลโดยไม่ต้องพึ่ง หน่วยไมโครฟอร์ด แต่เป็นหน่วยฮอกวอตส์แทน ลองจินตนาการถึง ชั้นหนังสือในห้องสมุดที่มีแฮร์รี่ พอตเตอร์ครบทุกภาควางอยู่ จากนั้นให้คุณหยิบ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับออกมา (เพราะนี่คือหนังสือเล่มโปรดของคุณ) บนชั้นจะเหลือหนังสืออยู่ 6 เล่มซึ่งประกอบด้วย ตัวหนังสือทั้งหมดประมาณ 1,000,000 คำพอดี... ทีนี้คุณลองหยิบออกมาสักเล่มแล้วสุ่มเปิดขึ้นมาหนึ่งหน้า ทำเครื่องหมาย X สีแดงบนคำหนึ่งคำแบบไม่มองหน้ากระดาษ เมื่อเสร็จแล้วให้นำหนังสือเล่มนั้นวางกลับเข้าไป ในชั้นพร้อมกับพก แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับไปนั่งอ่านเล่นที่ร้านกาแฟสักแห่ง

คราวนี้สมมติว่ามีใครคนหนึ่งเดินเข้ามาในห้องสมุด หยิบหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์จากชั้นแล้วพลิกเปิดหน้าแบบสุ่ม ก่อนจะหลับตาแล้ว จิ้มไปที่คำหนึ่งคำบนหน้ากระดาษ โอกาสที่เขาหรือเธอจะจิ้มโดนคำที่คุณ ทำเครื่องหมาย X สีแดงเอาไว้จะเท่ากับ 1 ในล้าน

มาตรวัดแฮร์รี่ พอตเตอร์ยังนำไปปรับใช้กับความน่าจะเป็นอื่น ๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่นจากข้อมูลด้านบนที่ระบุว่าโอกาสเสียชีวิตจาก การกระโดดร่มหนึ่งครั้งเท่ากับ 7 ไมโครมอร์ต หรือราว 7 ในล้าน คราวนี้คุณต้องขอให้เพื่อนสุ่มกากบาทเพิ่มเป็น 7 คำในหนังสือ การเปรียบเทียบโดยยกตัวอย่างหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เช่นนี้อาจช่วยเพิ่มความกล้าให้เรามากขึ้น เพราะเราจะรู้สึกหวาดกลัวมากกว่าเมื่อได้ยินคำว่า “7 ในล้าน” เนื่องจากความสนใจของเราจะพุ่งไปที่คน 7คนที่เอาชีวิตไม่รอด ขณะที่มองข้าม 999,993 คนที่ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งที่ใฝ่ฝันว่าต้องทำก่อนตาย แต่ถ้าเรานึกภาพกากบาท 7 จุดจากหน้าหนังสือหลายพันหน้า จะทำให้เรามองความเสี่ยงในมุมที่น่ากลัวน้อยลง

จากหนังสือ #เล่าเลขให้เป็นเรื่อง
พวกเราจึงขอเสนอมาตรวัดความน่าจะเป็นสากลโดยไม่ต้องพึ่ง หน่วยไมโครฟอร์ด แต่เป็นหน่วยฮอกวอตส์แทน ลองจินตนาการถึง ชั้นหนังสือในห้องสมุดที่มีแฮร์รี่ พอตเตอร์ครบทุกภาควางอยู่ จากนั้นให้คุณหยิบ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับออกมา (เพราะนี่คือหนังสือเล่มโปรดของคุณ) บนชั้นจะเหลือหนังสืออยู่ 6 เล่มซึ่งประกอบด้วย ตัวหนังสือทั้งหมดประมาณ 1,000,000 คำพอดี... ทีนี้คุณลองหยิบออกมาสักเล่มแล้วสุ่มเปิดขึ้นมาหนึ่งหน้า ทำเครื่องหมาย X สีแดงบนคำหนึ่งคำแบบไม่มองหน้ากระดาษ เมื่อเสร็จแล้วให้นำหนังสือเล่มนั้นวางกลับเข้าไป ในชั้นพร้อมกับพก แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับไปนั่งอ่านเล่นที่ร้านกาแฟสักแห่ง คราวนี้สมมติว่ามีใครคนหนึ่งเดินเข้ามาในห้องสมุด หยิบหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์จากชั้นแล้วพลิกเปิดหน้าแบบสุ่ม ก่อนจะหลับตาแล้ว จิ้มไปที่คำหนึ่งคำบนหน้ากระดาษ โอกาสที่เขาหรือเธอจะจิ้มโดนคำที่คุณ ทำเครื่องหมาย X สีแดงเอาไว้จะเท่ากับ 1 ในล้าน มาตรวัดแฮร์รี่ พอตเตอร์ยังนำไปปรับใช้กับความน่าจะเป็นอื่น ๆ ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่นจากข้อมูลด้านบนที่ระบุว่าโอกาสเสียชีวิตจาก การกระโดดร่มหนึ่งครั้งเท่ากับ 7 ไมโครมอร์ต หรือราว 7 ในล้าน คราวนี้คุณต้องขอให้เพื่อนสุ่มกากบาทเพิ่มเป็น 7 คำในหนังสือ การเปรียบเทียบโดยยกตัวอย่างหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์เช่นนี้อาจช่วยเพิ่มความกล้าให้เรามากขึ้น เพราะเราจะรู้สึกหวาดกลัวมากกว่าเมื่อได้ยินคำว่า “7 ในล้าน” เนื่องจากความสนใจของเราจะพุ่งไปที่คน 7คนที่เอาชีวิตไม่รอด ขณะที่มองข้าม 999,993 คนที่ประสบความสำเร็จในการทำสิ่งที่ใฝ่ฝันว่าต้องทำก่อนตาย แต่ถ้าเรานึกภาพกากบาท 7 จุดจากหน้าหนังสือหลายพันหน้า จะทำให้เรามองความเสี่ยงในมุมที่น่ากลัวน้อยลง จากหนังสือ #เล่าเลขให้เป็นเรื่อง
0 Comments 0 Shares 10 Views 0 Reviews