โยฮันน์ วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ (Johann Wolfgang von Goethe) เป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน มีเพียงเขา กับน้องสาว คอร์นีเลีย ที่มีโอกาสฉลองวันเกิดครบอายุ 7 ขวบ โรคร้ายคร่าชีวิตน้องชายของเขาคือ แฮร์มันน์ ยาค็อบ เมื่ออายุ 6 ปี , น้องสาวคาธารินา เอลิซาเบธ เมื่ออายุ 4 ปี, น้องสาวโจฮันนา มาเรีย เมื่ออายุ 2 ปี , น้องชาย เกออร์ก อดอล์ฟ เมื่ออายุ 8 เดือน, และคนที่ 5 น้องชายที่ยังไม่มีชื่อเพราะ เสียชีวิตแต่แรกเกิด ภายหลังคอร์นีเลียก็ตายด้วยโรคร้ายเมื่ออายุ 26 ปี คง เหลือโยฮันน์ วูล์ฟกังเป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวในครอบครัว


โยฮันน์ วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ มีบุตรธิดา 5 คน ทุกคนตายภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากเกิดยกเว้นเพียงลูกชายคนโต คือ ออกุสต์ เท่านั้น จากความน่าจะเป็นทั้งหมด สาเหตุเกิดจากความเข้ากันไม่ได้ของกรุ๊ปเลือดระหว่างเกอเธกับภรรยา คริสเตียน ซึ่งหลังจากที่คลอดลูกคนแรกสำเร็จแล้ว ผู้เป็นแม่ก็พัฒนา ภูมิต้านทานต่อเลือดของตัวอ่อนในครรภ์สภาวะเช่นนี้ปัจจุบันเรารู้แล้วว่าคือ โรคจากหมู่เลือดอาร์เอช (Rh) ซึ่งสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจน อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 2% แต่ในสมัยทศวรรษ 1790 อัตราการเสียชีวิต เฉลี่ยอยู่ที่ 50% ดังนั้นสำหรับบุตรทั้ง 4 คนของเกอเธโรคนี้ก็เหมือนโทษประหาร สรุปแล้วในครอบครัวของเกอเธ ซึ่งเป็นตระกูลเยอรมันที่มีฐานะดีใน ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 อัตราการรอดชีวิตของเด็กก็ยังทำได้เพียง 25% มี เด็กแค่ 3 คนจากจำนวน 12 คนที่รอดชีวิตจนโตเป็นผู้ใหญ่ สถิติสยองเช่น นี้ยังไม่ถือว่าพิเศษ ราวช่วงเวลาที่เกอเธเขียน เด็กฝึกงานของผู้วิเศษ ใน ปี 1797 ประมาณกันว่ามีเด็กเยอรมันเพียง 50% เท่านั้นมีชีวิตอยู่จนอายุ 15 ปี” ภาคส่วนอื่นของโลกก็มีสถิติเช่นเดียวกันนี้” ครั้นปี 2020 เด็กทั่วโลก ที่มีชีวิตจนเกินกว่าวันเกิด 15 ปีมีถึง 95.6% และในเยอรมนีตัวเลขนี้คือ 99.5%” ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่เช่นนี้จะไม่มีทางเป็นไปได้เลยถ้าหากไม่มี การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์จำนวนมหาศาล เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่ากรุ๊ปเลือด ในกรณีเช่นนี้ จึงพิสูจน์ได้ว่ามุมมองอันไร้เดียงสาของสารสนเทศเป็นสิ่งถูกต้อง

จากหนังสือ #Nexus
โยฮันน์ วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ (Johann Wolfgang von Goethe) เป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้องทั้งหมดเจ็ดคน มีเพียงเขา กับน้องสาว คอร์นีเลีย ที่มีโอกาสฉลองวันเกิดครบอายุ 7 ขวบ โรคร้ายคร่าชีวิตน้องชายของเขาคือ แฮร์มันน์ ยาค็อบ เมื่ออายุ 6 ปี , น้องสาวคาธารินา เอลิซาเบธ เมื่ออายุ 4 ปี, น้องสาวโจฮันนา มาเรีย เมื่ออายุ 2 ปี , น้องชาย เกออร์ก อดอล์ฟ เมื่ออายุ 8 เดือน, และคนที่ 5 น้องชายที่ยังไม่มีชื่อเพราะ เสียชีวิตแต่แรกเกิด ภายหลังคอร์นีเลียก็ตายด้วยโรคร้ายเมื่ออายุ 26 ปี คง เหลือโยฮันน์ วูล์ฟกังเป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวในครอบครัว โยฮันน์ วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ มีบุตรธิดา 5 คน ทุกคนตายภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากเกิดยกเว้นเพียงลูกชายคนโต คือ ออกุสต์ เท่านั้น จากความน่าจะเป็นทั้งหมด สาเหตุเกิดจากความเข้ากันไม่ได้ของกรุ๊ปเลือดระหว่างเกอเธกับภรรยา คริสเตียน ซึ่งหลังจากที่คลอดลูกคนแรกสำเร็จแล้ว ผู้เป็นแม่ก็พัฒนา ภูมิต้านทานต่อเลือดของตัวอ่อนในครรภ์สภาวะเช่นนี้ปัจจุบันเรารู้แล้วว่าคือ โรคจากหมู่เลือดอาร์เอช (Rh) ซึ่งสามารถรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพจน อัตราการเสียชีวิตต่ำกว่า 2% แต่ในสมัยทศวรรษ 1790 อัตราการเสียชีวิต เฉลี่ยอยู่ที่ 50% ดังนั้นสำหรับบุตรทั้ง 4 คนของเกอเธโรคนี้ก็เหมือนโทษประหาร สรุปแล้วในครอบครัวของเกอเธ ซึ่งเป็นตระกูลเยอรมันที่มีฐานะดีใน ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 อัตราการรอดชีวิตของเด็กก็ยังทำได้เพียง 25% มี เด็กแค่ 3 คนจากจำนวน 12 คนที่รอดชีวิตจนโตเป็นผู้ใหญ่ สถิติสยองเช่น นี้ยังไม่ถือว่าพิเศษ ราวช่วงเวลาที่เกอเธเขียน เด็กฝึกงานของผู้วิเศษ ใน ปี 1797 ประมาณกันว่ามีเด็กเยอรมันเพียง 50% เท่านั้นมีชีวิตอยู่จนอายุ 15 ปี” ภาคส่วนอื่นของโลกก็มีสถิติเช่นเดียวกันนี้” ครั้นปี 2020 เด็กทั่วโลก ที่มีชีวิตจนเกินกว่าวันเกิด 15 ปีมีถึง 95.6% และในเยอรมนีตัวเลขนี้คือ 99.5%” ความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่เช่นนี้จะไม่มีทางเป็นไปได้เลยถ้าหากไม่มี การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแบ่งปันข้อมูลทางการแพทย์จำนวนมหาศาล เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่ากรุ๊ปเลือด ในกรณีเช่นนี้ จึงพิสูจน์ได้ว่ามุมมองอันไร้เดียงสาของสารสนเทศเป็นสิ่งถูกต้อง จากหนังสือ #Nexus
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 22 มุมมอง 0 รีวิว