ปล่อยเช่าเครื่อง EDC ขโมยรูดปรื๊ดบัตรเครดิต

ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จับกุมนางวิยะดา พลเวียง อายุ 41 ปี เจ้าของเครื่องรูดบัตร (EDC) ที่ปล่อยให้คนร้ายเช่าที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ถือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ขบวนการลักขโมยวงเงินบัตรเครดิต ที่ปรากฎเป็นข่าวไปเมื่อต้นปี 2568 ซึ่งพบว่ามีกลุ่มคนไทยร่วมมือกับชาวจีนร่วมกระทำความผิด แม้นางวิยะดาอ้างว่าให้แฟนสาวของแก๊งชาวจีนเช่าเครื่องรูดบัตร ได้ค่าตอบแทน 15% รวมกว่า 130,000 บาท แต่ไม่รู้เห็นกับการกระทำความผิดก็ตาม

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ทองหล่อ จับกุม น.ส.ธัญชนก ชุ่มชื่นจิตร อายุ 22 ปี หนึ่งในผู้ร่วมก่อเหตุที่คอนโดมิเนียมย่านเอกมัย กทม. เป็นคนทำทีไปใช้บริการออนเซน แล้วแอบเก็บเอาสายรัดข้อมือ (ริสแบนด์) ที่ใช้สแกนเข้าออกและเปิดตู้ล็อกเกอร์ไปทำแถบแม่เหล็กเพิ่ม โดยให้กลุ่มเพื่อนชาวจีนอีก 4 คน ช่วยทำอันใหม่ขึ้นมา ก่อนตระเวนเปิดล็อกเกอร์ของผู้เสียหายรายต่างๆ ระหว่างแช่ออนเซน แล้วหยิบบัตรเครดิตไปรูดโดยใช้เครื่อง EDC แบบพกพา

สำหรับเครื่องรูดบัตรที่กลุ่มคนร้ายนำมาใช้เป็นแบบพกพายี่ห้อ BLUEPAD-50 v2 ของบริษัท DATECS ที่ธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งให้บริการร้านค้ารับบัตร เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านบลูทูธ โดยใช้แอปพลิเคชันธนาคารทำรายการ รองรับการชำระเงินด้วยการแตะบัตร (Contactless) จำกัดไม่เกิน 1,500 บาทต่อรายการ และการเสียบบัตรชิปการ์ด (Dip Chip) ลงในเครื่อง ซึ่งไม่จำกัดวงเงินต่อรายการ

โดยเปิดแอปฯ ผ่านสมาร์ทโฟน ใส่จำนวนเงินลงไป เสียบบัตรเครดิตที่เครื่องรูดบัตร กระทั่งรายการอนุมัติเพียงไม่กี่นาที ซึ่งพบว่ามีผู้เสียหายถูกคนร้ายรูดบัตรเครดิตด้วยมูลค่าตั้งแต่ 85,900 บาท ถึง 343,000 บาท บางธนาคารยอมระงับรายการที่คนร้ายรูดและช่วยเหลือตำรวจสืบสวน แต่บางธนาคารให้ลูกค้าไปตามเรื่องเอาเอง ไม่ยอมระงับรายการ และไม่เปิดเผยข้อมูลร้านค้าที่กระทำความผิด โดยพบว่ามีทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร จ.นนทบุรี ธุรกิจรถฉุกเฉิน จ.ปทุมธานี และเต็นท์รถมือสองที่ จ.มหาสารคาม

ปัจจุบันการขอใช้เครื่องรูดบัตร (EDC) ของแต่ละธนาคารเป็นไปอย่างง่ายดาย ร้านค้าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ขอได้ กลายเป็นช่องว่างที่ทำให้มีขบวนการปล่อยเช่าเครื่องรูดบัตรเพื่อกระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบว่าร้านค้าแต่ละแห่งมีการใช้เครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าโดยตรงหรือไม่ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร้านค้าหรือไม่ เพื่อไม่ให้กลายเป็นการนำเครื่องรูดบัตรไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการปล่อยเช่าแก่กลุ่มมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายแก่ผู้คนในสังคม

#Newskit
ปล่อยเช่าเครื่อง EDC ขโมยรูดปรื๊ดบัตรเครดิต ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จับกุมนางวิยะดา พลเวียง อายุ 41 ปี เจ้าของเครื่องรูดบัตร (EDC) ที่ปล่อยให้คนร้ายเช่าที่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ถือเป็นการต่อจิ๊กซอว์ขบวนการลักขโมยวงเงินบัตรเครดิต ที่ปรากฎเป็นข่าวไปเมื่อต้นปี 2568 ซึ่งพบว่ามีกลุ่มคนไทยร่วมมือกับชาวจีนร่วมกระทำความผิด แม้นางวิยะดาอ้างว่าให้แฟนสาวของแก๊งชาวจีนเช่าเครื่องรูดบัตร ได้ค่าตอบแทน 15% รวมกว่า 130,000 บาท แต่ไม่รู้เห็นกับการกระทำความผิดก็ตาม ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ตำรวจฝ่ายสืบสวน สน.ทองหล่อ จับกุม น.ส.ธัญชนก ชุ่มชื่นจิตร อายุ 22 ปี หนึ่งในผู้ร่วมก่อเหตุที่คอนโดมิเนียมย่านเอกมัย กทม. เป็นคนทำทีไปใช้บริการออนเซน แล้วแอบเก็บเอาสายรัดข้อมือ (ริสแบนด์) ที่ใช้สแกนเข้าออกและเปิดตู้ล็อกเกอร์ไปทำแถบแม่เหล็กเพิ่ม โดยให้กลุ่มเพื่อนชาวจีนอีก 4 คน ช่วยทำอันใหม่ขึ้นมา ก่อนตระเวนเปิดล็อกเกอร์ของผู้เสียหายรายต่างๆ ระหว่างแช่ออนเซน แล้วหยิบบัตรเครดิตไปรูดโดยใช้เครื่อง EDC แบบพกพา สำหรับเครื่องรูดบัตรที่กลุ่มคนร้ายนำมาใช้เป็นแบบพกพายี่ห้อ BLUEPAD-50 v2 ของบริษัท DATECS ที่ธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งให้บริการร้านค้ารับบัตร เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนผ่านบลูทูธ โดยใช้แอปพลิเคชันธนาคารทำรายการ รองรับการชำระเงินด้วยการแตะบัตร (Contactless) จำกัดไม่เกิน 1,500 บาทต่อรายการ และการเสียบบัตรชิปการ์ด (Dip Chip) ลงในเครื่อง ซึ่งไม่จำกัดวงเงินต่อรายการ โดยเปิดแอปฯ ผ่านสมาร์ทโฟน ใส่จำนวนเงินลงไป เสียบบัตรเครดิตที่เครื่องรูดบัตร กระทั่งรายการอนุมัติเพียงไม่กี่นาที ซึ่งพบว่ามีผู้เสียหายถูกคนร้ายรูดบัตรเครดิตด้วยมูลค่าตั้งแต่ 85,900 บาท ถึง 343,000 บาท บางธนาคารยอมระงับรายการที่คนร้ายรูดและช่วยเหลือตำรวจสืบสวน แต่บางธนาคารให้ลูกค้าไปตามเรื่องเอาเอง ไม่ยอมระงับรายการ และไม่เปิดเผยข้อมูลร้านค้าที่กระทำความผิด โดยพบว่ามีทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร จ.นนทบุรี ธุรกิจรถฉุกเฉิน จ.ปทุมธานี และเต็นท์รถมือสองที่ จ.มหาสารคาม ปัจจุบันการขอใช้เครื่องรูดบัตร (EDC) ของแต่ละธนาคารเป็นไปอย่างง่ายดาย ร้านค้าบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ขอได้ กลายเป็นช่องว่างที่ทำให้มีขบวนการปล่อยเช่าเครื่องรูดบัตรเพื่อกระทำความผิด จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบว่าร้านค้าแต่ละแห่งมีการใช้เครื่องรูดบัตรที่ร้านค้าโดยตรงหรือไม่ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร้านค้าหรือไม่ เพื่อไม่ให้กลายเป็นการนำเครื่องรูดบัตรไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการปล่อยเช่าแก่กลุ่มมิจฉาชีพ สร้างความเสียหายแก่ผู้คนในสังคม #Newskit
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 33 มุมมอง 0 รีวิว