วันอังคารที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗

- คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)
นำโดยท่านพระอาจารย์พระธรรมธรสันชัย สญฺชโย เลขานุการวัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง)
ลงจัดสถานที่ ณ พระวิหาร เพื่อรับศรัทธาญาติโยม
ที่นำปิ่นโตมารับตายายในวันสารทเดือนสิบที่จะมีในวันพรุ่งนี้ สถานที่พร้อม

ขอเรียนเชิญทุกท่าน ช่วยสืบสานประเพณี
โดยแบ่งช่วงเวลา
#เวลาเช้า ๐๘.๐๐ น. & #เวลาเพล ๑๐.๐๐ น.
ท่านสะดวกเวลาไหนก็มาได้ มี ๒ช่วงเวลานะ

สารทไทย หมายถึงอะไร

พระยาอนุมานราชธน ได้เขียนเล่าในหนังสือเทศกาลและประเพณีไทยว่า คำว่า "สารท" เป็นคำอินเดีย หมายถึง "ฤดู" ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษ ที่เรียกว่า "ออทั่ม" หรือ ฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะมีเฉพาะบางเขตของโลกอย่างยุโรป จีน และอินเดียตอนเหนือ เท่านั้น ช่วงนั้นเป็นระยะที่พืชพรรณธัญชาติ และผลไม้ เริ่มสุกให้พืชผลครั้งแรกในฤดู ดังนั้น ประชาชนจึงรู้สึกยินดี และถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง จึงมักทำพิธีตามความเชื่อและเลี้ยงดูกันอย่างที่เรียกว่า "Seasonal Festival"

โดยบางแห่งก็จะมีการนำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกที่เรียกว่า "ผลแรกได้" ไปสังเวยหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงความเคารพที่ท่านช่วยบันดาลให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้ เช่น พิธีปงคัล ในอินเดียตอนใต้ ที่มีพิธีต้มข้าวกับน้ำนมทำเป็นขนม เรียกว่า ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส ถวายพระคเณศ เป็นต้น

ที่มาบทความ : เว็บกระปุกดอทคอม

อย่าลืมมารับ คุณตาคุณยายที่วัดพัฒนารามนะ

เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม 
วันอังคารที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๗ - คณะสงฆ์วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) นำโดยท่านพระอาจารย์พระธรรมธรสันชัย สญฺชโย เลขานุการวัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง) ลงจัดสถานที่ ณ พระวิหาร เพื่อรับศรัทธาญาติโยม ที่นำปิ่นโตมารับตายายในวันสารทเดือนสิบที่จะมีในวันพรุ่งนี้ สถานที่พร้อม ขอเรียนเชิญทุกท่าน ช่วยสืบสานประเพณี โดยแบ่งช่วงเวลา #เวลาเช้า ๐๘.๐๐ น. & #เวลาเพล ๑๐.๐๐ น. ท่านสะดวกเวลาไหนก็มาได้ มี ๒ช่วงเวลานะ สารทไทย หมายถึงอะไร พระยาอนุมานราชธน ได้เขียนเล่าในหนังสือเทศกาลและประเพณีไทยว่า คำว่า "สารท" เป็นคำอินเดีย หมายถึง "ฤดู" ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษ ที่เรียกว่า "ออทั่ม" หรือ ฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งจะมีเฉพาะบางเขตของโลกอย่างยุโรป จีน และอินเดียตอนเหนือ เท่านั้น ช่วงนั้นเป็นระยะที่พืชพรรณธัญชาติ และผลไม้ เริ่มสุกให้พืชผลครั้งแรกในฤดู ดังนั้น ประชาชนจึงรู้สึกยินดี และถือเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง จึงมักทำพิธีตามความเชื่อและเลี้ยงดูกันอย่างที่เรียกว่า "Seasonal Festival" โดยบางแห่งก็จะมีการนำพืชผลที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกที่เรียกว่า "ผลแรกได้" ไปสังเวยหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ เพื่อความเป็นสิริมงคล และแสดงความเคารพที่ท่านช่วยบันดาลให้พืชพรรณธัญญาหารอุดมสมบูรณ์จนเก็บเกี่ยวได้ เช่น พิธีปงคัล ในอินเดียตอนใต้ ที่มีพิธีต้มข้าวกับน้ำนมทำเป็นขนม เรียกว่า ข้าวทิพย์ ข้าวปายาส ถวายพระคเณศ เป็นต้น ที่มาบทความ : เว็บกระปุกดอทคอม อย่าลืมมารับ คุณตาคุณยายที่วัดพัฒนารามนะ เครดิตรูปภาพ : พระมหาวรสถิตย์ นาถธมฺโม 
0 Comments 0 Shares 117 Views 0 Reviews