พิรงรองจะล้มยักษ์ ยกแรกคุก 2 ปี

ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องกรณีที่ กสทช.มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ไม่ให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา

ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี 2559 ประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (Over-The-Top หรือ OTT) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อ 16 ก.พ. 2566 จำเลยทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมนำวาระการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องทรูไอดี และแอปฯ True ID มาพิจารณา แต่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ให้บริการ OTT เช่นเดียวกันจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลจาก กสทช. และยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกฎหมาย

ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 127 ราย โดยเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จัดทำบันทึกและร่างหนังสือของสำนักงาน กสทช. ตามระบบสารบัญ คนที่กลั่นกรองงานให้แก่รองเลขาธิการ กสทช. สอบถามเหตุผลและความจำเป็นว่าทำไมต้องระบุชื่อ True ID เป็นการเฉพาะ ได้รับแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทำ ต่อมาการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 จำเลยต่อว่าและตำหนิฝ่ายเลขานุการที่ไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID และในรายงานการประชุมครั้งที่ 3/2566 ไม่ได้มีมติให้ทำหนังสือแจ้งถึงบริการ True ID แต่บันทึกรายงานการประชุมกลับระบุว่ามีมติรับรอง อันเป็นการทำเอกสารรายงานการประชุมอันเป็นเท็จ

นอกจากนี้ จำเลยยังได้กล่าวถ้อยคำในการประชุมครั้งที่ 3/2566 พยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา อีกทั้งก่อนจบการประชุมจำเลยใช้คำพูดว่า "ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์" และยอมรับว่าหมายถึงโจทก์ สื่อความหมายชัดเจนว่าประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์และใช้อำนาจไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้มีผู้ประกอบกิจการหลายรายได้ชะลอหรือขยายเวลาเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์

น.ส.พิรงรองได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ กสทช. เช่นเดิม ถึงกระนั้นยังต้องต่อสู้อีกสองศาลที่เหลือ ได้แก่ ชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา

#Newskit
พิรงรองจะล้มยักษ์ ยกแรกคุก 2 ปี ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางพิพากษาจำคุก 2 ปี น.ส.พิรงรอง รามสูต คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือละเว้นการปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 กรณีที่บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด ยื่นฟ้องกรณีที่ กสทช.มีหนังสือแจ้งผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ไม่ให้นำช่องรายการไปให้บริการบนแพลตฟอร์ม True ID เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 ที่ผ่านมา ศาลเห็นว่าโจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี 2559 ประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ (Over-The-Top หรือ OTT) ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อ 16 ก.พ. 2566 จำเลยทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมนำวาระการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านกล่องทรูไอดี และแอปฯ True ID มาพิจารณา แต่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ให้บริการ OTT เช่นเดียวกันจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตและกำกับดูแลจาก กสทช. และยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ 127 ราย โดยเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ จัดทำบันทึกและร่างหนังสือของสำนักงาน กสทช. ตามระบบสารบัญ คนที่กลั่นกรองงานให้แก่รองเลขาธิการ กสทช. สอบถามเหตุผลและความจำเป็นว่าทำไมต้องระบุชื่อ True ID เป็นการเฉพาะ ได้รับแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทำ ต่อมาการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566 จำเลยต่อว่าและตำหนิฝ่ายเลขานุการที่ไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID และในรายงานการประชุมครั้งที่ 3/2566 ไม่ได้มีมติให้ทำหนังสือแจ้งถึงบริการ True ID แต่บันทึกรายงานการประชุมกลับระบุว่ามีมติรับรอง อันเป็นการทำเอกสารรายงานการประชุมอันเป็นเท็จ นอกจากนี้ จำเลยยังได้กล่าวถ้อยคำในการประชุมครั้งที่ 3/2566 พยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา อีกทั้งก่อนจบการประชุมจำเลยใช้คำพูดว่า "ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์" และยอมรับว่าหมายถึงโจทก์ สื่อความหมายชัดเจนว่าประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์และใช้อำนาจไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้มีผู้ประกอบกิจการหลายรายได้ชะลอหรือขยายเวลาเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์ น.ส.พิรงรองได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1.2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ ทำให้ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการ กสทช. เช่นเดิม ถึงกระนั้นยังต้องต่อสู้อีกสองศาลที่เหลือ ได้แก่ ชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา #Newskit
Like
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 78 มุมมอง 0 รีวิว