ค่ายมือถือ MVNO ไทยมืดมน ล็อกซเล่ย์อำลา NT ไม่ขอไปต่อ

ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 850, 2100 และ 2300 MHz. ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน ส.ค. 2568 แม้ว่าลูกค้า NT Mobile มีแผนโอนย้ายลูกค้าคลื่น 850 MHz. จำนวน 1.6 ล้านเลขหมายไปยังคลื่น 700 MHz. แต่ลูกค้าผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือน (MVNO) ของ NT ที่มีหลักแสนราย กลับไม่มีแผนดำเนินการด้านเทคนิคเพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยังโครงข่ายใหม่ของ NT ประกอบกับต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้บางค่ายอาจหายไปจากตลาด

เช่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ i-Kool 3G ประกาศว่าจะยุติให้บริการ โดยมีแผนที่จะสิ้นสุดบริการในวันที่ 30 มิ.ย. 2568 ลูกค้า i-Kool 3G ต้องย้ายค่ายเบอร์เดิมไปยังผู้ให้บริการรายอื่น หรือปิดเบอร์ ยกเลิกการใช้บริการ แล้วขอรับเงินคืนค่าใช้บริการทั้งหมด ภายในวันที่ 31 พ.ค. 2568 นับเป็นการปิดฉากธุรกิจ MVNO หลังล็อกซเล่ย์เช่าใช้โครงข่ายและทำตลาดในระบบ 3G บนเครือข่ายของ TOT เมื่อปี 2552 เป็นระยะเวลา 16 ปี

ขณะที่บริษัท เรดวัน เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด หรือ redONE หนึ่งใน MVNO ของ NT กำลังเจรจากับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อเปลี่ยนมาทำธุรกิจในฐานะ MVNO โดยใช้เครือข่าย True แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไขทางธุรกิจ เช่น ราคาความจุ มาตรฐานคุณภาพบริการ ซึ่งเรดวันเป็นแบรนด์ MVNO ของมาเลเซีย ใช้เครือข่าย Celcom Axiata ก่อนเปิดให้บริการในสิงคโปร์ ใช้เครือข่าย StarHub และให้บริการในไทยเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564

MVNO ของ NT นอกจาก i-Kool 3G และ redONE แล้ว ยังมี บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด (Penguin) บริษัท บางกอกเทลลิ้ง จำกัด (Infinite) บริษัท ฟีล เทเลคอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Feels) และบริษัท เคโฟร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (K4) ปัญหาก็คือ นอกจากต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายแก่ กสทช. เดือนละ 1.50 บาทต่อเบอร์แล้ว ยังต้องจ่ายค่าบริการอื่น ซึ่งเป็นระบบหลังบ้านของ NT เช่น ระบบ MVNE และการใช้งานอุปกรณ์ HLR เดือนละ 10 บาทต่อเบอร์ ทำให้แข่งขันได้ยาก

พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการ MVNO หลายรายขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถชำระค่าบริการให้ NT ได้ ประกอบกับต้นทุนค่าโรมมิ่งที่สูง กระทบความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ใบอนุญาตคลื่นความถี่ของ NT กำลังจะหมดอายุ จึงตัดสินใจถอนตัวจากตลาด MVNO ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ของ กสทช. หากไม่มีพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาสนับสนุน

#Newskit
ค่ายมือถือ MVNO ไทยมืดมน ล็อกซเล่ย์อำลา NT ไม่ขอไปต่อ ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 850, 2100 และ 2300 MHz. ของบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน ส.ค. 2568 แม้ว่าลูกค้า NT Mobile มีแผนโอนย้ายลูกค้าคลื่น 850 MHz. จำนวน 1.6 ล้านเลขหมายไปยังคลื่น 700 MHz. แต่ลูกค้าผู้ให้บริการโครงข่ายเสมือน (MVNO) ของ NT ที่มีหลักแสนราย กลับไม่มีแผนดำเนินการด้านเทคนิคเพื่อโอนย้ายลูกค้าไปยังโครงข่ายใหม่ของ NT ประกอบกับต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้บางค่ายอาจหายไปจากตลาด เช่น บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ i-Kool 3G ประกาศว่าจะยุติให้บริการ โดยมีแผนที่จะสิ้นสุดบริการในวันที่ 30 มิ.ย. 2568 ลูกค้า i-Kool 3G ต้องย้ายค่ายเบอร์เดิมไปยังผู้ให้บริการรายอื่น หรือปิดเบอร์ ยกเลิกการใช้บริการ แล้วขอรับเงินคืนค่าใช้บริการทั้งหมด ภายในวันที่ 31 พ.ค. 2568 นับเป็นการปิดฉากธุรกิจ MVNO หลังล็อกซเล่ย์เช่าใช้โครงข่ายและทำตลาดในระบบ 3G บนเครือข่ายของ TOT เมื่อปี 2552 เป็นระยะเวลา 16 ปี ขณะที่บริษัท เรดวัน เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด หรือ redONE หนึ่งใน MVNO ของ NT กำลังเจรจากับบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อเปลี่ยนมาทำธุรกิจในฐานะ MVNO โดยใช้เครือข่าย True แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดเงื่อนไขทางธุรกิจ เช่น ราคาความจุ มาตรฐานคุณภาพบริการ ซึ่งเรดวันเป็นแบรนด์ MVNO ของมาเลเซีย ใช้เครือข่าย Celcom Axiata ก่อนเปิดให้บริการในสิงคโปร์ ใช้เครือข่าย StarHub และให้บริการในไทยเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2564 MVNO ของ NT นอกจาก i-Kool 3G และ redONE แล้ว ยังมี บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด (Penguin) บริษัท บางกอกเทลลิ้ง จำกัด (Infinite) บริษัท ฟีล เทเลคอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (Feels) และบริษัท เคโฟร์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (K4) ปัญหาก็คือ นอกจากต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเลขหมายแก่ กสทช. เดือนละ 1.50 บาทต่อเบอร์แล้ว ยังต้องจ่ายค่าบริการอื่น ซึ่งเป็นระบบหลังบ้านของ NT เช่น ระบบ MVNE และการใช้งานอุปกรณ์ HLR เดือนละ 10 บาทต่อเบอร์ ทำให้แข่งขันได้ยาก พ.อ.สรรพชัยย์ หุวะนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ NT กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ให้บริการ MVNO หลายรายขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถชำระค่าบริการให้ NT ได้ ประกอบกับต้นทุนค่าโรมมิ่งที่สูง กระทบความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ขณะที่ใบอนุญาตคลื่นความถี่ของ NT กำลังจะหมดอายุ จึงตัดสินใจถอนตัวจากตลาด MVNO ไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่รอบใหม่ของ กสทช. หากไม่มีพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาสนับสนุน #Newskit
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 17 มุมมอง 0 รีวิว