Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย

มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru

กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท)

จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง

ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง

ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน

สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน

#Newskit
-----
ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
Saloma Link สะพานที่มากกว่าไฟสวย มาเลเซียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการ (Recreational Attraction) จำนวนมาก ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการพักผ่อนและเสริมสร้างสุขภาพ ให้ความสนุกสนาน บันเทิง และการศึกษาหาความรู้ แม้ไม่มีความสำคัญในแง่ประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม แต่มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวร่วมสมัย ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ River of Life บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Masjid Jamek และสะพาน Saloma Link บริเวณสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru กล่าวถึงสะพาน Saloma Link (ซาโลมาลิงก์) เป็นสะพานขนาดไม่ใหญ่ ยาว 69 เมตร กว้าง 3 เมตร สูง 7 เมตร ข้ามทางด่วนสาย E12 อัมปัง-กัวลาลัมเปอร์ (AKLEH) และแม่น้ำแคลงที่อยู่เกาะกลาง มีทางลาดลงไปยังด้านข้างสุสานอิสลามจาลันอัมปัง แล้วออกทางแยกหน้าอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ ย่าน KLCC เปิดให้เข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2563 โดยมีบริษัท VERITAS Design Group ออกแบบโครงสร้าง ใช้งบก่อสร้าง 31 ล้านริงกิต (237 ล้านบาท) จุดเด่นของสะพานซาโลมาลิงก์ คือการออกแบบโครงสร้างเหล็ก โดยได้แรงบันดาลใจจากการจัดช่อดอกไม้มงคลที่เรียกว่า ซิเระ จุนจุง (Sireh Junjung) ในพิธีแต่งงานของชาวมาเลย์ ประดับด้วยกระจกและแผงไฟ LED รูปทรงเพชร ฉายแสงในรูปแบบต่างๆ หลากสีสัน ชื่อสะพานมาจาก ซาโลมา ชื่อเรียกของ ซัลมาห์ อิสมาอิล (Salmah Ismail) นักร้อง นักแสดงชื่อดังชาวสิงคโปร์-มาเลเซีย ฉายามาริลิน มอนโรแห่งเอเชีย ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2526 ด้วยวัย 48 ปี และถูกฝังอยู่ในสุสานอิสลามจาลันอัมปัง ก่อนจะมาเป็นสะพานที่สวยงามแห่งนี้ แต่เดิมเคยเป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคลง จากกัวลาลัมเปอร์ไปยังกำปุงบารู (Kampung Baru) ชุมชนที่อยู่อีกฝั่ง แต่ได้รื้อสะพานเมื่อปี 2539 เพื่อก่อสร้างทางด่วนที่ยกสูงขึ้น เสมือนเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำที่อยู่ตรงกลาง ในยามค่ำคืน สะพานแห่งนี้จะเปิดไฟ LED หลากสีสันอย่างสวยงาม ล้อไปกับตึกแฝดปิโตรนาสทาวเวอร์ ที่เปิดไฟส่องไสวไปทั่วตึกเช่นกัน นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายรูปสะพานโดยเฉพาะฝั่งกำปุงบารู จะเห็นด้านหลังทั้งสะพานและตึกปิโตรนาส เป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนมาเลเซียต้องไม่พลาด ซึ่งฝั่งกำปุงบารูจะเป็นชุมชนเก่าแก่ขนาดเล็ก มีร้านอาหารแบบสตรีทฟู้ดจำหน่าย ขึ้นลงได้จากบันไดและลิฟต์ และมีทางเดินไปถึงสถานีรถไฟฟ้า LRT Kampung Baru ซึ่งเป็นสถานีใต้ดิน สะพานแห่งนี้เปิดให้เข้าชมฟรี ตั้งแต่ 05.00-24.00 น. โปรดปฎิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ความระมัดระวังในการถ่ายรูป ไม่ปีนป่ายราวสะพาน และระวังสิ่งของที่ติดตัวตกจากสะพาน #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 137 มุมมอง 0 รีวิว